หมวดหมู่ทั่วไป > ห้องพักผ่อนรวม (Common Room)

ปอยส่างลอง-สารคดี(เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)

(1/1)

pani:

ท่ามกลางเสียงอึงคะนึงจากเครื่องดนตรีไทยใหญ่  ขบวน เสด็จของบรรดา “เจ้าชาย” เคลื่อนมาลิบๆ เมื่อมาถึงปะรำพิธี แสงตะวันบ่ายก็ฉายให้เห็นอาภรณ์แสนวิจิตร เครื่องทรงอันงดงาม และเสื้อแขนกระบอกสีทองวาววับโทนเดียวกับโจงกระเบน เจ้าชายบางองค์สะบัดพัดโบกไล่อากาศร้อนจากผิวกาย ทว่าตะแปผู้แบกหามเจ้าชายเหล่านั้นเล่า กลับ ร่ายลีลาสะบัดฟ้อนไปตามจังหวะดนตรีเร้าใจราวกับไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิต และไม่แยแสแดดระอุตอนบ่ายสามเลยแม้แต่น้อย
                ขอต้อนรับสู่งานปอยส่างลอง หรืองานบวชลูกแก้ว การบรรพชาสามเณรหมู่ของชาวไทยใหญ่ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีเมื่อย่างเข้าสู่หน้าร้อนราวเดือนมีนาคมและเมษายน ในวันนี้เด็กผู้ชายหลายคนก้าวมาถึงช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต พวกเขาจะเดินเข้าสู่รั้วพัทธสีมา และอุทิศช่วงเวลาปิดเทอมภาคฤดูร้อนให้กับพุทธศาสนา แต่ก่อนจะเปลี่ยนเสื้อตัวเก่งแล้ว   โกนผมห่มผ้าไตร  ตามความเชื่อของคนไทใหญ่ เด็กๆจะต้องเข้าสู่สถานะของ    “ส่า งลอง” หรือเจ้าชายตามอย่างเจ้าชายสิทธัตถะในพุทธประวัติ เสียก่อน แล้วจึงค่อยออกผนวชเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นเอกลักษณ์นี้เองที่ทำให้การบรรพชา สามเณรภาคฤดูร้อนของที่นี่แตกต่างจากที่อื่น
                กระนั้นคนไทยใหญ่กลับมองปอยส่างลองในมิติที่ลึกซึ้งกว่านั้น พวกเขาใช้การบวชสามเณรเป็นกุศโลบายเพื่อให้เด็กชายก้าวเข้าสู่พุทธศาสนา ควบคู่ไปกับโอกาสในการศึกษาวิชาการอ่านการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อนที่โรงเรียนและการศึกษายังไม่ทั่วถึงเหมือน ศาสนา
                ความผูกพันระหว่างชาวไทย ใหญ่และพุทธศาสนาเริ่มต้นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ชาวไทยใหญ่ตั้งรกรากในรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าและในเขตแดนไทยก็ มีชุมชนไทยใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและตาก พวกเขานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทในรูปแบบที่ผสมผสานกับการนับถือผีและพราหมณ์ ตามความเชื่อดั้งเดิม
                แม้จะ นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับคนไทยน้อย (อย่างผม) ทว่าคนไทยใหญ่ก็มีศรัทธาอันแรงกล้าในพุทธศาสนา ถึงขนาดมีคนกระทบกระเทียบว่าถ้าคนไทยใหญ่มีเงินอยู่ 4 บาท พวกเขาจะทำบุญถึง 8 บาท นั่นเพราะพุทธศาสนาของคนไทยใหญ่เป็นเครื่องมือในการจัดระดับชนชั้นในสังคม ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆว่า สมมติผมจัดงานบวชส่างลองให้กับลูกชาย ผมจะมีตำแหน่งในสังคมเป็น พ่อส่าง และถ้าผมจัดบวชภิกษุ ชาวบ้านจะเรียกผมว่า พ่อจาง แล้วถ้าบังเอิญว่าผมร่ำรวยขึ้นมา (สักวัน) จนอุปถัมภ์สร้างวัดวาอารามได้ ผมจะได้อัพเกรดเป็น พ่อจอง ซึ่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีความสำคัญมากในระบบสังคมของคนไทยใหญ่ เพราะเป็นการจัดลำดับชนชั้นทางสังคมและเป็นการสร้างระบบจารีตที่มีนัยสำคัญ เลยทีเดียว
                ทว่าในทางกลับกัน เมื่อผมมีตำแหน่งแห่งที่ในสังคมหรือเป็นที่นับหน้าถือตาแล้ว แต่หากกระทำผิดศีลธรรมหรือขนบธรรมเนียมในสังคม ระบบจารีตที่ว่านี้ก็จะย้อนกลับมาลงโทษผมด้วยการประณามแทน

ย่างเข้าหน้าร้อนปีนั้น ย้อน หลังกลับไปเมื่อกว่า 70 ปีก่อน สงครามโลกครั้งที่สองยังระอุอยู่ แม่ฮ่องสอนในช่วงนั้นความเจริญยังเข้าไปไม่ถึงนัก เส้นทางสู่เชียงใหม่เป็นทางเท้าที่ต้องใช้เวลาเดินถึงสิบวัน ขณะนั้นเด็กชายสามารถ หิมะนันท์ อายุได้ 10 ขวบเต็ม และร่วมอยู่ในพิธีปอยส่างลองที่วัดหัวเวียง เขาแต่งองค์เครื่องด้วยชุดเจ้าชายไทยใหญ่และตื่นเต้นเป็นที่สุดเมื่อกำลังจะ ถ่ายภาพหมู่                                                                                       

                  มา วันนี้  จากเด็กชายวัยสิบขวบมาเป็นคุณปู่สามารถในวัย 82 ทว่าตะกอนความทรงจำของเขายังแจ่มชัดถึงบรรยากาศอันครื้นเครงของงานปอยส่า งลองเมื่อวันวาน "มันก็อยากกลับไปอายุเท่านั้นอีก เพราะว่ามันสนุก” ปู่สามารถพูดถึงบรรยากาศวันนั้นผ่านภาพถ่ายสีซีดที่อยู่ในมือ
                ปู่สามารถเป็นอดีตส่างลองรุ่นเก่าที่สุดใน เมืองแม่ฮ่องสอนที่ผมได้พบด้วย ปู่เป็นคนที่ลึกซึ้งในประเพณีความเป็นไทยใหญ่ชนิดหาตัวจับยากคนหนึ่ง และเป็นคลังข้อมูลรุ่นเดอะของสภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว "คนไทยใหญ่อย่างเราเค้าถือว่าบวชเณรนี่สำคัญกว่าบวชพระ เพราะเด็กมันยังไม่รู้เรื่อง มันบริสุทธิ์ คนบวชพระ เมาเหล้าเมายามาก็มี" ปู่สามารถบอก นี่คือกุศโลบายสำคัญของการบวชสามเณร นั่นเพราะเด็กๆใสบริสุทธิ์ดุจผ้าขาว การอบรมบ่มนิสัยผ่านธรรมะย่อมกระทำได้ดีกว่าผู้ใหญ่เสมือนเป็นไม้อ่อนดัด ง่าย
                ทว่าในโลกปัจจุบันที่โลกการ เรียนรู้ของเด็กๆไม่ได้จำกัดแค่ในตำราหรือรั้ววัดเช่นในอดีต ความเคร่งครัดในศาสนาอาจแตกต่างกันไปบ้าง วันหนึ่งผมอยู่ที่วัดม่วยต่อ กำลังนอนอ่านหนังสือเช่นเดียวกับเด็กน้อยอีกสิบกว่าชีวิต ที่มาเข้า “ค่าย” อบรมบ่มนิสัยและฝึกท่องคำขอบรรพชาก่อนบวช เด็กๆเหล่านั้นส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวอย่างลิง และนอนกลิ้งทับกันไปมาอย่างสนุกสนาน เด็กน้อยคนหนึ่งก็เดินมาเอ็ดผม "พี่รู้ไหม ที่วัดเค้าไม่ให้นอนอย่างนี้นะครับ มันบาป" ผมสะดุ้งโหยง พลางชี้ไปเด็กๆคนอื่น “แล้วพวกนั้นล่ะ”               
               "นั่น ก็บาปกันหมด"                                                                                                                                   

                เด็กคนนี้ น่าสนใจทีเดียว
                เด็กชายตัวผอมบางคนนั้น ชื่ออาทิ เขาไม่มีนามสกุล เป็นเด็กไทยใหญ่รุ่นพ่อแม่อพยพ เขากำพร้าพ่อ อาศัยอยู่กับป้าและยายที่แถวชานเมือง ปีนี้เขาได้บวชส่างลองสมใจอยาก หลังรอมานานหลายปี ใจหนึ่งนอกจากจะได้เข้าร่วมพิธี         อันสนุกสนาน และศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว อีกใจหนึ่งเขายังปลาบปลื้มที่จะได้พบแม่บังเกิดเกล้าที่ไปทำงานที่จังหวัด สมุทรปราการเสียที ความเคร่งครัดในธรรมะของอาทิส่วนหนึ่งได้มาจากการปลูกฝังของผู้เป็นยาย ที่เพิ่งอพยพข้ามฝั่งมาจากรัฐฉาน ผู้เป็นคนปลูกฝัง เรื่องธรรมะ รวมทั้งสอนมารยาทในวัดและความผิดชอบชั่วดีให้หลานชายหัวแก้วหัวแหวน 
                มีผู้ตั้ง ข้อสังเกตว่าคนไทยใหญ่รุ่นอพยพค่อนข้างเคร่งในวิถีชีวิต ประเพณีดั้งเดิมและศาสนามากกว่าคนไทยใหญ่ ในเมือง สังเกตได้จากจำนวนส่างลองที่เข้ารับการบวชในงานประจำปีล่าสุดของจังหวัด แม่ฮ่องสอนทั้งหมด 33 องค์ ในจำนวนนี้มากกว่า 20 องค์เป็นลูกหลานคนไทยใหญ่อพยพ   
                แม้ในระยะหลัง ความเคร่งครัดในสายเลือดของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าจะแตกต่างกัน แต่งานบุญอย่างปอยส่างลองไม่เพียงช่วยลดช่องว่างระหว่างคนไทยใหญ่ดั้งเดิมใน พื้นที่กับคนไทยใหญ่ต่างด้าวได้เป็นอย่างดี นั่นเพราะทุกคนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในขบวนแห่ และทุกคนก็เท่าเทียมกันโดยไม่มีแบ่งสี 
                แม้จะ เป็นประเพณีที่ชาวไทยใหญ่ร่วมแรงร่วมใจกัน กระนั้น ความอลังการของขบวนแห่ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวมามากเสียจนปอยส่างลองเกือบจะ กลายเป็นสินค้าการท่องเที่ยวไปแล้ว โดยเฉพาะในเมืองแม่ฮ่องสอน หลายปีที่ผ่านมา  มีคนหัว ใส (บางคน) พยายามเปลี่ยนปอยส่างลอง ให้กลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวและช่องทางแสวงหาผลประโยชน์             
                ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา งานปอยส่างลองไม่เคยต้องติดป้ายโอ้อวด ไม่ต้องพึ่งพาประธานเปิดงาน หรือรายชื่อสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนยาวเหยียด ปอยส่างลองเป็นงานร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ไม่ใช่งานจัดตั้ง ซ้ำร้ายกว่านั้น ความหวังดีแบบขาดการไตร่ตรองได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในประเพณีดั้งเดิม ที่ทำให้คนเก่าแก่บางคนถึงกับหัวเสีย ตั้งแต่การนำเอาเครื่องดนตรีล้านนาเข้ามาในขบวนแห่ เชิญหมอทำขวัญนาคจากภาคกลางมาทำพิธี ไปจนถึงการเปิดคาราโอเกะ เป็นต้น               
                ไม่ เชื่อลองถามป้าเทพินท์แห่งชุมชนป๊อกกาดเก่า (ประธานจัดงานปี 2553) ดูก็ได้ "ที่นี่เราเคร่งมากค่ะ ส่างลองปีนี้เราจะพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราไว้ให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณอยากมาร่วมงานกับเรา ก็ต้องทำตามอย่างเรา"

ริ้วขบวนอันงดงามในวันแห่โคหลู่ หรือ วันแห่เครื่องไทยธรรม ส่วนหนึ่งคือผลลัพธ์ จากการเตรียมงานอย่าง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดหลาย เดือนก่อนหน้าของเจ้าภาพ  ส่า งลองซึ่งบัดนี้แต่งองค์อย่างหรูหรา ประทับบนบ่าตะแป  ผู้ กรำน้ำเมาจนดวงตาแดงก่ำและร่ายรำไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เสียงดนตรีเร้าเร่งท้ายขบวนชวนให้ใครต่อใครออกมาฟ้อนรำไปกับจังหวะลูกขัดของ มือกลองก้นยาว
                ส่วนหน้าขบวนส่า งลองนั้นเล่า แม่อุ๊ยพ่ออุ๊ยหลายคนพูดคุยเรื่องลุกหลานกันสนุกปาก ส่วนสาวๆหลายคนก็ใส่ซิ่นนุ่งชุดไทยใหญ่แบบเข้ารูปให้ชวนมอง พวกเขาช่วยกันหามหาบเครื่องอัฐบริขาร และข้าวของเครื่องใช้ของเจ้าชาย ส่วนผู้ชายกำยำเสียหน่อยก็เป็นคนแบกหามต้นตะเปส่า และเครื่องหาบหามที่มีน้ำหนักมาก เอ้าๆๆ ขบวนเริ่มเคลื่อนแล้ว "โม่ง ตึงๆ โม่ง" กลองมองเซิง ฆ้องและฉาบ เริ่มบรรเลง ขบวนเคลื่อนไปช้าๆ ตามจังหวะ ระหว่างทางชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงออกมาโปรยข้าวตอกดอกไม้ใส่ขบวนเพื่อเฉลิม ฉลองวาระอันเป็นมงคล
                บรรยากาศ วันนี้อบอวลไปด้วยความสุข ไม่มีการแยกชนชั้น ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งเชื้อชาติ พวกเขายึดโยงกันไว้ด้วยหัวใจ ศรัทธา และพุทธศาสนา ส่วนส่างลองน่ะหรือ หลังงานในวันนี้จบลง รุ่งขึ้นพวกเขาจะสละพัสตราภรณ์ของเจ้าชายไทยใหญ่ซึ่งเปรียบ ได้กับโลกียทรัพย์ เหลือแต่เพียงผ้าสีฝาดที่ห่มคลุมร่างน้อยๆ และแสวงหาหนทางแห่งมรรคผลนิพพานเฉกเช่นเจ้าชายสิทธัตถะในครั้งพุทธกาล
มิถุนายน 2553

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version