ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดหน้ากาก....ใคร?ใคร?...ตอนที่ ๒  (อ่าน 2712 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เปิดหน้ากาก....ใคร?ใคร?...ตอนที่ ๒
« เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2012, 00:08:55 »


เมื่อสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทรุ่นอาวุโส สามารถดำเนินการให้มีการตราพระราชบัญญัติต่างๆได้สำเร็จแล้ว ก็จะมีการจัดตั้งกองทุนที่จะได้รับการจัดสรรเงินมาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่เป็นเงินจากภาษีของประชาชน เพื่อมาดำเนินการตามสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินั้นๆ และดำเนินงานโดยคณะกรรมการ ซึ่งกำหนดวิธีการเลือกคณะกรรมการตามแบบที่กำหนดไว้แล้วตามที่คนเขียนพระราช บัญญัติ(กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท)ได้กำหนดไว้ และผู้ที่จะมาเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารในกองทุนของสถาบันนั้นๆ เพื่อ “บุกเบิก” และวางรากฐานรวมทั้งกฎเกณฑ์ในการทำงาน(และที่สำคัญก็คือ “การบริหารเงิน” )ขององค์กรนั้นในเวลาต่อๆไป โดยกำหนดให้มีสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทอาวุโสเป็นที่ปรึกษา ได้แก่

1.   สถาบัน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เมื่อแรกตั้งก็ให้นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นผู้อำนวยการ มีนพ.ประเวศ วะสี เป็นที่ปรึกษามีเงินเดือนที่ปรึกษาเดือนละ 100,000 บาท

2.   นี่เป็น เพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่ สสส.อนุมัติเงินจากงบประมาณแผ่นดิน ให้แก่องค์กร”ลูก” เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดตั้งสสส.สำเร็จก็ส่งนพ.สุภกร บัวสาย  มาเป็นผู้อำนวยการคนแรกซึ่งเราจะเห็นได้ว่า สสส.ได้รับงบประมาณจาการที่กรมสรรพากรแบ่งมาจากการเก็บภาษีสุราและบุหรี่ ปีละ หลายพันล้านบาท และ สสส.ก็สามารถใช้เป็น “แหล่งเงิน” ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับชมรมแพทย์ชนบท สามารถ “ขอ” ไปทำงานตามวัตถุประสงค์ของตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น อนุมัติให้ดำเนินการจัดทำโครงการ “พัฒนาศักยภาพผู้นำ”  (คศน.)หรือ เรียกว่า Leadership Network for the New Health Movement (LN4H) เป็นจำนวนเงิน 29,400,000 บาท โดยมีที่ปรึกษา (แต่เปลี่ยนมาเรียกว่า “กัลยาณมิตรอาวุโส”) คนสำคัญคือนพ.ประเวศ วะสี และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์

 ทั้งนี้มีการ เขียนไว้ว่า เป็นโครงการที่ขอรับทุนจาก สสส. ผ่าน สวรส. และดำเนินการโดยสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ที่ไม่ได้พัฒนาแต่ “ศักยภาพผู้นำในด้านสุขภาพ”ตามชื่อโครงการภาษาอังกฤษ แต่ขยายเครือข่ายออกไปถึง การ “ปฏิรูประบบสื่อสารมวลชน” ได้แก่โครงการ 2563 เปลี่ยนประเทศไทย โดย น.ส.ณาตยา แวววีรคุปต์ โดยมีหลักในการที่จะเป็นผู้นำคือ WASI (อ่านว่า วะสี ตามนามสกุลของ “กัลยณมิตรอาวุโส) คือ Wisdom, Awakening, Spirituality, Inspiration หรือคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
นี่เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายๆโครงการที่สวรส.และสสส.ช่วย “หาทุน” ให้องค์กรลูกและเครือข่ายไปทำงานตามต้องการ

3.   เมื่อมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว ก็ส่ง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาเป็นเลขาธิการสปสช.ในวาระแรกและวาระที่ 2 แต่เมื่อนพ.สงวน เสียชีวิต ก็ได้ส่ง นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการ ซึ่งเรียนรู้งานของสปสช.อย่างดีแล้วมาเป็นเลขาธิการ แต่สมาชิกชมรมแพทย์ชนบทอาวุโส(ซึ่งประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบันได้เขียน หนังสือยกย่องว่า เป็น “พี่ใหญ่ชมรมแพทย์ชนบท) คือ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ มาคอยกุมบังเหียนหรือ “สั่ง”ให้เลขาธิการสปสช.ดำเนินการอย่างไร

 โดย นพ.มงคล ณ สงขลา สมาชิกชมรมแพทย์ชนบทอาวุโสอีกคนหนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งรมว.สธ. และเป็นประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในขณะนั้น  ได้แต่งตั้งให้ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นประธานอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ของสปสช. ซึ่งมีอำนาจสำคัญที่สุด คือ การพิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกำกับ ติดตามการบริหารงาน และส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งอนุมัติกรอบและแผนพัฒนาโครงสร้าง ระบบงาน และอัตรากำลังของ สปสช. และสามารถแต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้อีก

  นอกจากนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ จะมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ สปสช.แล้ว จึงมีตำแหน่งสำคัญใน สปสช.คือ เป็นประรานอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์(ที่กล่าวมาแล้ว) ยังส่งเป็นประธานอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม และเป็นอนุกรรมการงบการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

นอกจาก นั้น ถ้าไปตรวจสอบรายชื่อกรรมการและอนุกรรมการของ สปสช.ในวาระที่ผ่านมา 2 วาระ จะเห็นว่า สมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและอนุกรรมการ เป็นจำนวนมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เช่น

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา เป็นกรรมการและอนุกรรมการ  3 คณะ
นายอัมมาร์ สยามวาลา เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ
นายจอน อึ้งภากรณ์ เป็นกรรมการอนุกรรมการ 4 คณะ
นายเจษฎ์ โทณวณิก เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ
นางยุพดี สิริสินสุข เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ
นายบารมี ขัยรัตน์ เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ
นพ.ไพจิตร ปวะบุตร เป็นกรรมการและอนุกรรมการอีก 3 คณะ
นายนิมิตร เทียนอุดม เป็นกรรมการและอนุกรรมการ 2 คณะ(ในฐานะผู้แทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV/เอดส์)
ผศ.สำลี ใจดี เป็นกรรมการและอนุกรรมการอีก 3 คณะ
นางสุนทรี เซ่งกิ่ง เป็นกรรมการและอนุกรรมการอีก 1 คณะ
และนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ เป็นอนุกรรมการ 1 คณะ

    ถ้าผู้อ่านได้ติดตามข่าวคราวการออกมาตั้งชมรมหลักรักประกัน ชมรมคนรักษ์หลักประกัน  การใส่ร้ายป้ายสีว่ามีคนหลายกลุ่มจ้องจะล้มหลักประกันหรือการโจมตีกรรมการ บอร์ดชุดใหม่ ตลอดจนถึงมี “บุคคล” นำเรื่องไปฟ้องศาล ไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี หรือออกแถลงการณ์ต่างๆในเรื่องเหล่านี้ก็จะเห็นรายชื่อคนเหล่านี้อยู่ใน กลุ่มบุคคลที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้นจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สมาชิกชมรมแพทย์ชนบทกำลังสูญเสียอำนาจการมีส่วนร่วมในการ “คุมบังเหียน” การ “บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ชาติ”หลายแสนล้านบาท ที่พวกตนได้ “เคย” มีอำนาจที่จะทำงานตามที่กลุ่มตนต้องการ และได้รับผลประโยชน์ส่วนตนอย่างมากมายมหาศาล จากการอนุมัติเงินเดือน ค่าตอบแทนพิเศษ ค่าเบี้ยประชุม (ซึ่งก็กำหนดกันเองในอัตราสูงกว่าที่มติ ครม.กำหนดไว้ ตามที่ สตง.ชี้มูลไว้แล้ว) และกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีอำนาจในการอนุมัติเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ที่ควรจะตกถึงมือประชาชน ไปเป็นผลประโยชน์แก่พวกพ้อง ทำให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากเงินกองทุนนั้นอย่างเต็มที่ตามวัตถุประ สงค์ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (จากการชี้มูลของ สตง. ที่ว่าใช้เงินผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ผิดระเบียบ ครม. ผิดระเบียบ สตง. และผิดระเบียบของสปสช.เอง)

  ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งในจำนวนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้เฝ้าสังเกตและติดตามการบริหารงานของ สปสช.ในรอบเกือบ 10ปีที่ผ่านมา จึงอยากจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ ที่ได้จากการติดตามตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ “ตระกูล ส.”ให้ประชาชนได้พิจารณาว่า มีมูลความจริงที่น่าเชื่อถือหรือไม่? หรือเป็นเพียงการใส่ร้ายป้ายสีโดยไม่มีมูลความจริง

  วัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลเหล่านี้มาเผยแพร่ก็เพื่อที่จะให้ “กลุ่มบุคคลที่ต่อต้านการคอรัปชั่น” และผู้บริหารบ้านเมือง ได้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการคอรัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิ ชอบ จากเงินภาษีของประชาชนโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่เอกชน ไม่ใช่ข้าราชการประจำ แต่เป็นกลุ่มผู้ทำงานในองค์กรอิสระที่มีอำนาจบริหารงบประมาณแผ่นดินปีละหลาย แสนล้านบาทมาเกือบ 10 ปีแล้ว

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
8 ก.พ. 55