ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดหน้ากาก....ใคร?...ตอนที่ ๑  (อ่าน 6543 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เปิดหน้ากาก....ใคร?...ตอนที่ ๑
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2012, 23:21:51 »


  หมู่นี้เราจะได้เห็นบทบาทของ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นข่าวบนสื่อมวลชนแทบทุกวัน ส่วนมากก็เป็นข่าวเกี่ยวกับการออกมายืนยันเรื่องการมีกลุ่มคนจ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง บ้าง ไม่เห็นด้วยกับการจะเรียกเก็บเงิน 30 บาทบ้าง ไม่เห็นด้วยกับการเลือกกรรมการบอร์ดหลักประกันสุขภาพบ้าง และกล่าวว่ากรรมการบอร์ดชุดใหม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนบ้าง เป็นกลุ่มทุนที่จะมาแสวงหาผลประโยชน์บ้าง และ ฯลฯ ร้อยแปดพันเก้า ทำให้หลายคนเริ่มหันมาสนใจว่า “ชมรมแพทย์ชนบทคือใครบ้าง?” เป็นหมอในรพ.ชุมชนทั้งหมดหรือว่าเป็นหมอที่ทำงานในต่างจังหวัดทั้งหมด  หรือถามว่าหมอเหล่านี้ทำงานอะไร และออกมาให้ข่าวบ่อยๆในช่วงนี้เพราะอะไร?

   ต่อคำถามมากมายเหล่านี้ ผู้เขียนคงจะตอบคำถามเหล่านั้นไม่ได้ แต่ก็ทำให้ผู้เขียน ได้ไปค้นหาความจริงเกี่ยวกับ “ชมรมแพทย์ชนบท” มาเล่าสู่กันฟัง ถ้าประเด็นใดไม่ตรงกับความจริง ก็ขอให้ประธานชมรมแพทย์ชนบทชี้แจงแถลงไขได้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน

จากการเปิดอ่านเรื่อง ชมรมแพทย์ชนบทใน http://assets.gotoknow.org/blogs/posts/228706  ซึ่งเขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เขียนไว้ว่า ชมรมแพทย์ชนบท คือการรวมตัวกันของชมรมวิชาชีพมีวัตถุประสงค์ 2 ด้านคือ ด้านหนึ่งเพื่อความเข้มแข็งของวิชาชีพ และอีกด้านหนึ่งคือรวมตัวกันเพื่อทำประโยชน์สาธารณะสำหรับชมรมแพทย์ชนบทก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และได้จัดตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบทขึ้นมาในปีพ.ศ. 2525 เพื่อที่จะได้มีเงินทุนทำงานตามวัตถุประสงค์ของชมรม

 สำหรับรายชื่อผู้ที่เคยเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทได้แก่ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ นพ.พงษ์พิสุทธ์ จงอุดมสุข นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ฯลฯ

 ที่ปรึกษาคนสำคัญของชมรม คือ นพ.ประเวศ วะสี ฉายาราษฎรอาวุโส ซึ่งได้ก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานระบาดวิทยาซึ่งก่อตั้งขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขจากการสนับสนุนของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์แห่งสหรัฐอเมริกา

 กลุ่มคนเหล่านี้มีการประชุมกันเป็นประจำที่สวนสามพราน จึงเรียกว่าสามพรานฟอรั่ม  โดย นพ.ประเวศ วะสี มีความคิดที่จะพัฒนาระบบสาธารณสุขทั้งหมด แต่เนื่องจากไม่มีอำนาจในการบริหารกระทรวงสาธารณสุข และไม่ศรัทธาในการ บริหารงานของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้พยายามที่จะจัดตั้งองค์กรที่ไม่อยู่ในภาคราชการ แต่มีงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในการทำงานตามแนวคิดของกลุ่มพวกตน

 ผลงานที่ทำสำเร็จก็คือ เข้าหานายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ได้ทำให้เกิดมีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ขึ้นตาม
พ.ร.บ.สวรส. พ.ศ.2535 ทำให้สวรส.ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ มีภาระหน้าที่ในการวิจัย “ระบบ” สาธารณสุข โดยมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นผู้อำนวยการ และมี นพ.ประเวศ วะสี เป็นที่ปรึกษา

โดยเริ่มจากช่วงปลายรัฐบาลชวน 2 ได้เข้าหานายกชวน ได้ทำให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ(คปรส.)  และได้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ(สปรส.)โดยมี นพ.อำพล จินดาวัฒนะเป็นผู้อำนวยการสปรส.เป็นคนแรก และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นหลายคณะเช่นคณะอนุกรรมการสร้างความรู้ มี นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน มี น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐเป็นเลขา คณะอนุกรรมการการเคลื่อนไหวทางสังคม มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน มี นพ.พลเดช ปิ่นประทีปเป็นเลขาฯ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายมี นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นประธาน มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะเป็นเลขา คณะอนุกรรมการด้านสื่อ มีนายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นประธาน มี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นเลขา และ สปรส.ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็น สวรส. ตามพ.ร.บ. สวรส. พ.ศ. 2535

สวรส.จึงนับเป็นองค์กรตระกูล “ส.” แห่งแรก ที่ นพ.ประเวศ วะสี เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าองค์กร ส. สามารถ “ออกลูก”ได้
องค์กรลูกอันแรกของ สวรส. คือ สสส. ซึ่งเสนอเข้ามาในยุคในยุคที่นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่สำเร็จมาเป็น พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดให้เอาเงินภาษี”บาป” จากผู้เสียภาษีสุราและบุหรี่ ตามอัตราที่กำหนด มาเป็นงบประมาณในการดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้ลดการบริโภคสุรา ยาสูบและสารหรือสิ่งที่ทำลายสุขภาพ พัฒนาความสามารถของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ

ต่อมาได้ผลักดันให้มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี พ.ศ. 2545 ในยุคที่คุณหญิงสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรี ได้กำหนดให้ประชาชนร่วมจ่าย 30 บาท จนได้มีการเรียกขานกันว่า “30 บาทรักษาทุกโรค”

ต่อมาในยุค คมช. ได้แต่งตั้งให้นพ.มงคล ณ สงขลาเป็นรัฐมนตรี สธ. และ นพ.มงคล ได้สั่งให้เลิกจ่าย 30 บาท เพื่อลบภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ นพ.มงคล ได้เพิ่มอำนาจการสั่งจ่ายเงินของเลขาธิการ สปสช.ขึ้นไปจนถึงครั้งละ 1,000 ล้านบาท ทำให้เลขาธิการ สปสช.มีอำนาจสั่งจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินได้ครั้งละมากกว่านายกรัฐมนตรีเสียอีก

และ นพ.มงคลนี้เอง ได้ร่วมกับ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขานุการรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2550 โดยที่นพ.อำพล จินดาวัฒนะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสช.คนแรกโดยไร้คู่แข่ง !

และคนกลุ่มนี้สามารถทำให้รัฐบาลยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ(สพคส.) เป็นองค์กรลูกใน สวรส.ในปีพ.ศ. 2553 โดยสพคส.มีภารกิจสำคัญในการที่จะต้อง “รวมกองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุนเข้าเป็นกองทุนเดียว”

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช.ได้กล่าวอย่างเปิดเผยว่า  ความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขก็คือ ในอนาคต สช.จะเป็นผู้กำหนดนโยบาย สปสช.เป็นผู้ถือเงินงบประมาณ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุข

  จะเห็นได้ว่า กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสาธารณสุขในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยการ”เข้าหา” ผู้ที่มีอำนาจทุกยุคทุกสมัย เพื่อ “ขับเคลื่อน” ให้แนวคิดและความต้องการของกลุ่มตนสัมฤทธิ์ผล โดยอาศัยหลักการตามแนวคิดของ นพ.ประเวศ วะสี คือ “ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูขา หรือบันได 3 ขั้น คือ

1.       อ้างผลการวิจัยหรือ “องค์ความรู้ โดยมี สวรส. รับผิดชอบในการทำงานนี้ ปัจจุบันคนรับหน้าที่นี้คือนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยของสวรส.

2.       ออกมาทำให้คนในสังคมตระหนักหรือตระหนก ในข้อมูลการวิจัยหรือ “ความรู้นั้น” โดยผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญนี้คือนพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส พูดได้ทุกเรื่อง

3.       จะทำการให้สำเร็จต้องมีอำนาจรัฐบาลมาสนับสนุน เพื่อให้สามารถออกฎหมาย กำหนดให้มีเงิน “กองทุน” มาบริหารงานตามกฎเกณฑ์ที่ “พวกตน” บัญญัติไว้ในกฎหมาย

 หลังจากชมรมแพทย์ชนบทได้สามารถทำให้เกิดการ “ปฏิรูป”ระบบสาธารณสุขหลายอย่างแล้ว โดยการดึงเอาภาระงานไปไว้ในองค์กรอิสระนอกเหนือการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาแล้ว คนกลุ่มนี้ได้พยายามที่จะ “ปฏิรูป” ประเทศไทยบ้าง จึงได้เข้าหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะทำงานปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศสำเร็จ โดยกำหนดให้รัฐบาลจ่ายเงินงบประมาณครั้งแรก 600 ล้านบาทเพื่อเป็นงบประมาณในการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ

โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปมีนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน แต่ทั้งสองคณะนี้ มี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์เป็นเลขานุการทั้ง 2 คณะ และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศได้แต่งตั้ง นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานจัดสมัชชาปฏิรูปประเทศ ปัจจุบันนี้มีสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ที่มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะเลขาธิการ สช.เป็นผู้รับช่วงมาจัดทำ “สมัชชาปฏิรูปประเทศ”เพื่อให้ดำเนินการจัดให้ครบทุกจังหวัดในปีพ.ศ. 2555

 อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านก็คงคิดว่า ชมรมแพทย์ชนบท มีผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างมาก ก็ถือว่าเป็นความจริงส่วนหนึ่งที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน คือคนในกลุ่มนี้ ได้ทำงานให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในระบบสาธารณสุข ทำให้ประชาชนมีสิทธิในการได้รับการบริการด้านสาธารณสุขมากขึ้น ประชาชนได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยโดยไม่ต้องกังวลกับภาระการจ่ายเงิน

  แต่ผลพวงของการดำเนินการอย่าง “รวบรัด”และ “รวดเร็ว” ของ สปสช.ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพมาตรฐานการบริการทางการแพทย์มากมายมหาศาล เกิดการร้องเรียน/ฟ้องร้อง จนหลายคนกล่าวว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ และเกิดปรากฎการณ์ที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการทำงานให้บริการสาธารณะสุขแก่ประชาชนต้องประสบกับภาวะการขาดทุน จนมีข่าวว่าบริษัทยาไม่ส่งยาให้รพ.บางแห่งเนื่องจากติดค้างค่ายาเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มียาไปรักษาประชาชน  ซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขนี้ นายอัมมาร สยามวาลา และ สปสช.ได้ปฏิเสธตลอดมาว่า “ไม่เป็นความจริง”

ที่สำคัญ ก็คือ ข้าราชการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขได้พากัน “ลาออก” จากการทำงานในกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมากปีละหลายร้อยคน จนเกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่างเห็นได้ชัดเจน

ที่สำคัญที่สุด ก็คือ รพ.ไม่สามารถให้การรักษาประชาชนตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีได้ ทั้งนี้ เนื่องจากโรงพยาบาลส่วนมากของกระทรวงสาธารณสุขต่างก็มีความขาดแคลนทั้งในเรื่องการขาดงบประมาณ ขาดบุคลากร ขาดอาคารสถานที่ เตียง และเวชภัณฑ์ต่างๆในการดูแลรักษาประชาชน

    ในขณะเดียวกัน จะเห็นว่าผู้ที่ไปมี “อำนาจ” ในการบริหารองค์กรที่ถือกำเนิดมาจากพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว (หรือมาคุม “บังเหียน”ขององค์กรเหล่านี้) รวมทั้งกรรมการบริหารหรืออนุกรรมการในองค์กรเหล่านี้นี้ล้วนเป็นคนที่มีที่มาหรือใกล้ชิดกับชมรมแพทย์ชนบท และNGO สาธารณสุข ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทมาอย่างยาวนานทั้งสิ้น

โดยคนเหล่านี้จะมากำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆในการบริหารงานและระเบียบการใช้จ่ายเงินกองทุน ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนต่างๆแก่บุคลากรและกรรมการ(เบี้ยประชุม) ในอัตราที่สูงกว่าค่าตอบแทนในระบบราชการมากมายหลายเท่าตัว และยังรวบอำนาจในการเอาเงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่สปสช.ได้รับมา(เพื่อจ่ายให้แก่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการโดยตรง) เอาไปจัดสรรเป็นกองทุนย่อยอีกหลากหลายกองทุน จนทำให้ไม่มีเงินจ่ายให้โรงพยาบาลตามค่าหัวที่สปสช.จะต้องจ่ายตามภารกิจที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนทำให้รพ.ขาดงบประมาณในการดูแลรักษาประชาชน

  เท่ากับว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถได้รับประโยชน์ตอบแทนสูงๆจากเงินงบประมาณแผ่นดินตามระเบียบที่พวกตนตั้งขึ้นมาเองได้แทบทุกองค์กร ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน และการใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานต่างตามภาระหน้าที่ขององค์กร  โดยที่ไม่ได้รับการตรวจสอบว่า ตรงตามภาระหน้าที่ขององค์กรนั้นๆตามกฎหมายหรือไม่?

แต่กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้รับเลือกตั้งมาให้เป็นผู้แทนของประชาชน แต่เป็นการจัดตั้งจากกลุ่มพวกพ้องในหมู่คนไม่กี่คน โดยอาศัยความเกี่ยวพันกับนักการเมืองที่กำลังบริหารประเทศ เพื่อมามีอำนาจทำงานและบริหารงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย แต่เป็น “คณาธิปไตย” โดยที่นักการเมืองแต่ละกลุ่มต่างก็ไม่รู้เท่าทันแผนการของคนกลุ่มนี้ เพราะนักการเมืองมีอำนาจในการบริหารไม่นาน แล้วก็ต้องออกไปตามวาระ และกลุ่มคนเหล่านี้ยังอยู่ยงคงกระพันทุกยุคทุกสมัย

 ตอนนี้ เปลี่ยนพรรคการเมืองมาเป็นพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นวาระการเปลี่ยนบอร์ด สปสช.พอดี เมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการบอร์ดชุดใหม่ ซึ่งไม่มีมีรายชื่อของคนจากกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทและ NGOในจำนวนมากเหมือนเดิม ทำให้คนกลุ่มนี้ดาหน้าออกมาโจมตีการแต่งตั้งกรรมการบอร์ด สปสช.อย่างต่อเนื่อง มีการประท้วงของกรรมการบอร์ดในกลุ่มเอ็นจีโอโดยการไม่เข้าประชุมบ้าง และชมรมแพทย์ชนบทได้ออก “แถลงการณ์” ว่ามีคนจ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นฉบับที่ 3 แล้วในตอนนี้ โดยกล่าวว่ามี 4 ขั้นตอน มีกลุ่มใครบ้าง มีกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์บ้าง ถ้าเราฟังอย่างผิวเผินก็อาจจะคล้อยตามแถลงการณ์เหล่านี้

  แต่ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า

1.คนในชมรมแพทย์ชนบท ได้เป็นเลขาธิการ สปสช.เป็นคนแรก และคนที่ 2 คือคนปัจจุบัน ตอนนี้เลขาธิการสปสช.ก็จะครบวาระการดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกัน

2.รองเลขาธิการ สปสช.ก็คือ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ก็เป็นคนของชมรมแพทย์ชนบท

3.บอรด์ของ สปสช.ใน 2 วาระแรก ก็มีรายชื่อคนจากชมรมแพทย์ชนบทเป็นกรรมการร่วมกับบุคลากรจากกลุ่มNGO สาธารณสุขซึ่งทำงานร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ยุคมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นายอัมมาร สยามวาลา น.ส.สารี อ๋องสมหวัง นายนิมิต เทียนอุดม    น.ส.บุญยืน ศิริธรรม น.ส.สุพัตรา นาคะผิว นายจอน อึ้งภากรณ์  ซึ่งต่างก็เป็นอนุกรรมการคนละ 1- 4 คณะ ในขณะที่เป็นบอร์ด สปสช.ด้วย 

 โดยกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้ จะต้องออกไปตามวาระ บางคนเป็นมา 2 วาระแล้วก็ต้องเลิกเป็นกรรมการบอร์ด
โดยที่บอร์ดใหม่นี้ ได้รับการเสนอชื่อมาในยุคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาล และมีนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี  เลขาธิการอย.ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นบอร์ดใหม่ด้วย แต่ได้ถูกทักท้วงว่าขาดคุณสมบัติเนื่องจากนพ.พิพัฒน์ เป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานโดยตำแหน่งจะมาเป็นบอร์ดอีกไม่ได้ จึงทำให้มีการเสนอชื่อนพ.ประดิษฐ์ มาเป็นกรรมการแทน แต่ก็ถูกประท้วงและถูกคัดค้านจากกลุ่มเอ็นจีโอ ที่ต้องการให้ ผศ.สำลี ใจดี จากกลุ่มเอ็นจีโอสาธารณสุข มาเป็นกรรมการแทนที่นพ.พิพัฒน์ แต่นายวิทยา บุรณะศิริไม่ฟังเสียงทักท้วงเหล่านี้  และได้เสนอแต่งตั้งนพ.ประดิษฐ์มาเป็นกรรมการแทนนพ.พิพัฒน์

  จึงทำให้ถูกกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท และเอ็นจีโอสาธารณสุข ออกมากล่าวหาว่านายวิทยา ว่าต้องการล้มระบบหลักประกันและต้องการผลประโยชน์จากกองทุนหลายแสนล้านบาทของสปสช.
และตัวละครอื่นๆที่กำลังผลัดกันเรียงหน้าออกมา “กล่าวหา” ในเรื่องต่างๆนาๆว่าจะมีการล้มหลักประกัน ประชาชนจะไม่ได้รับการรักษาเหมือนเดิม ไม่ว่าจะมาในนามชมรมแพทย์ชนบท หรือตั้งชมรมใหม่ เช่น ชมรมคนรักหลักประกันสุขภาพ ชมรมคนรักษ์หลักประกัน หรือในนามชมรมเก่า ได้แก่ชมรมแพทย์ชนบท ก็มีนพ.เกรียงศักดิ์ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ฯลฯดังที่หลายๆท่านก็เห็น/ได้ยินข่าวอยู่แล้ว

 ถ้าไปสืบค้นดูจากGoogle ก็จะพบว่า บุคคลต่างๆเหล่านี้ที่ออกมาโจมตี/คัดค้าน/ออกแถลงการณ์ในช่วงนี้ ล้วนเคยมีชื่อเป็นกรรมการ/ ประธานกรรมการ/ อนุกรรมการ /หรือประธานอนุกรรมการ /ปรึกษา และอื่นๆอีกคนละมากมายหลายตำแหน่ง ในองค์กรต่างๆคือ สปสช. สวรส. สสส. สช. สพคส.

จึงเห็นได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้สามารถรวบอำนาจ(ผูกขาด)ในการบริหารงบประมาณหลายแสนล้านในองค์กรเหล่านี้รวมทั้งใน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศอีกด้วย โดยที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่เข้ามาใช้อำนาจรัฐโดยการฉ้อฉลตกลงกับนักการเมือง ที่ไม่รู้ทันแผนการของคนกลุ่มนี้ เนื่องจากนักการเมืองมาแล้วก็ไป แต่คนกลุ่มนี้อยู่กันมานานอย่างเหนียวแน่น

นับได้ว่าคนกลุ่มนี้ได้สร้างและขยายเครือข่ายจากชมรมแพทย์ชนบท ไปประสานกับNGO และภาคการเมืองได้อย่างกลมกลืน ถ้ารัฐมนตรีว่การกระทรวงสาธารณสุขคนใดสามารถทำงานร่วมกับคนกลุ่มนี้ได้ ก็จะไม่มีปัญหาใดๆให้สื่อมวลชนและประชาชนรับรู้ แต่ถ้ารัฐมนตรีคนไหน ไม่ทำตามความต้องการของคนกลุ่มนี้ ก็จะถูกเปิดโปงความ “ทุจริต” ทั้งที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่สังคมก็อาจจะหลงเชื่อไปแล้ว

เอกสารที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
1.    http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=2886.0 ผลการตรวจสอบสปสช.โดยสตง.
2.   http://suchons.wordpress.com/2012/01/17/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD/ ศาลรับฟ้องวิทยาตั้งบอร์ดสปสช.มิชอบโดยนางสาวบุญยืน ศิริธรรมและนางสุนทรี เซ่งกี่ 16 ม.ค. 55
3.   http://thaipublica.org/2011/12/oag-national-health-transparency/  สตง.ตรวจสอบสปสช.ระบุไม่โปร่งใส ใช้งบสุขภาพถ้วนหน้าเหมาจ่ายรายหัวผิดประเภทเกือบ 100 ล้าน
4.   หลังจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้ดำเนินการมาถึง 9 ปี มีการท้วงติงมากมายว่าควรปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพราะในช่วงที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายต่อหัวของประชาชนที่อยู่ในกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติมีประมาณ 48 ล้านคนได้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ แต่โรงพยาบาลที่ให้บริการกลับขาดทุนมากขึ้นๆ ( อ่านนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์” ย้ำ“งบสาธารณสุข” มีปัญหา บีบสปสช.ปล่อยเงินค้างท่อ 17,000 ล้าน อุ้มรพ.ขาดสภาพคล่อง)
5.   และปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 200 ล้านครั้งต่อปี เฉลี่ยประมาณ 500,000 ครั้งต่อวันทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านอื่นๆ ในหน่วยบริการคือโรงพยาบาล มีแพทย์ประมาณ 10,000 คน พยาบาล 100,000 คนเศษ ต้องให้บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งระบบไม่สามารถรองรับได้ ทั้งนี้เป็นผลจากนโยบายประกันสุขภาพถ้วน 30 บาทรักษาทุกโรค (อ่าน นพ.เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ” ชี้เป้าเมื่อ “แพทย์ – พยาบาล” โดนถล่มจากผู้ใช้บริการ 48 ล้านคน หวั่นระบบรักษาพยาบาล “ตายซาก” )
6.   ขณะที่น.อ.(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการ แพทยสภา ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่มีนโยบายสุขภาพดี ถ้วนหน้า ระบุว่าวันนี้โรคมากขึ้น เด็กตายมากขึ้น มีผู้ป่วยมากขึ้น (อ่าน ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ “แพทย์ไทย” กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ )
7.   ขณะที่นายวิทยา แก้วภราไดย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เคยกล่าวว่าปัญหาของสปสช. ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคณะกรรมการบริหารมีความเป็นอิสระสูงมาก จนยากที่จะตรวจสอบ แม้ตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อเข้าไปอยู่ในวงล้อมของบอร์ดสปสช. ก็อาจตกอยู่ในที่นั่งลำบาก (อ่าน อดีตประธานสปสช. ระบุบอร์ดสปสช. มีอำนาจล้น ชงเลขาฯ อนุมัติครั้งละ 1 พันล้าน)
8.   http://www.thainhf.org/?module=page&page=detail&id=2   ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (จดทะเบียนพ.ศ. 2534นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนผ่านองค์กรงานด้านสุขภาพให้มีองค์กรอิสระมาทำงานมากกว่าสาขาอื่นๆ เช่นสวรส. สสส. สปรส. สปสช. และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ปัจจุบันมีนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นเลขาธิการ โดยมีรายชื่อผู้เคยเป็นเลขาธิการเช่น พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.ไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพศาล
9.   
http://www.medicthai.com/admi
/news_cpe_detail.php?id=8148Itdii,dkiry<okit[[c]td]wdl,y==kl6-4krgCrktrnhomujc]tl,y==kl6-4kr ฉายภาพวิกฤตระบบยา สวรส. ดันเครือข่ายวิจัยฯ ผ่าตัดปัญหาของประเทศ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา สวรส.
10.   http://www.thaisarn.com/th/news_reader.php?newsid=684238 ะสมัชชาแห่งชาติ และในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
11.   http://web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/?name=news&file=readnews&id=293 มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ สนับสนุนงบประมาณกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐ ให้ไทยจัดตั้งศูนย์พัฒนาขีดความสามารถหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นต้นแบบ ความสำเร็จให้ประเทศกำลังพัฒนาเรียนรู้
12.   http://reform.or.th/sites/default/files/012355-ptt-suwit-update_0.pdf การขับเคลื่อนสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยพ.ศ. 2553-2556
13.   http://hsri.opendream.in.th/about
 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี)ของสวรส.
1.   ศ.นพ.ประเวศ วะสี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
2.   ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3.   ศ.ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4.   รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5.   ศ.นพ.เทพ   หิมะทองคำ  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6.   นพ.มงคล   ณ สงขลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
7.   นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
8.   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรรมการและเลขานุการ

15.http://www.tcijthai.com/investigative-story/1196
 
เปิดเส้นทาง ‘บัตรทอง’ ขุมทรัพย์ที่พึ่งคนจน ‘สปสช.’ ถึงวันสั่นคลอน การเมือง-ผลประโยชน์จ่องาบงบแสนล้าน
 
16. http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/236449.html

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
6 ก.พ. 55
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กุมภาพันธ์ 2012, 00:00:11 โดย seeat »