ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าตอบแทน.... ตอบแทนใคร? จะได้เรื่อง หรือเป็นเรื่อง?  (อ่าน 8569 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด


มีความเห็นของคณะกรรมการฯที่กระทรวงฯตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาระเบียบค่าตอบแทนฉบับต่างๆของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
มีการร่าง ระเบียบฉบับ ๙ ขึ้นมาเพื่อทดแทนฉบับ ๗ ลองดูเนื้อหากัน

..................................................................................................
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ …..) พ.ศ. .....
-------------------------------

   ตามที่  กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ   และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข    ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม นั้น
   บัดนี้ เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้   เป็นข้อ 11 ของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544  และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ใช้ความต่อไปนี้

ข้อ 11 ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนพื้นฐาน โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจโดยให้เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนสะท้อนและผันแปรตามผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ซึ่งสามารถนำปริมาณงานทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ครอบคลุมทั้งงานด้านบริการสุขภาพต่อผู้ป่วยโดยตรงและงานสนับสนุนการบริการสุขภาพ งานด้านบริหารและด้านวิชาการ มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ โดยให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้  

11.1 เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ

11.2 การจัดทำรายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการจัดทำหลักการ  วิธีการคำนวณผลการปฏิบัติงาน การกำหนดค่าประกันงานขั้นต่ำ อัตราค่าตอบแทนต่อผลการปฏิบัติงาน การกำหนดวงเงินที่นำมาเบิกจ่าย และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสอดคล้องกับคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น

11.3 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  จัดให้มีกระบวนการภายในหน่วยบริการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบและเข้าใจอย่างทั่วถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยบริการได้ร่วมพัฒนาและดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านการออกแบบระบบเพื่อการคิดค่าตอบแทน การตรวจสอบและการติดตามประเมินผล โดยต้องมีการประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ และภายหลังการดำเนินการโดยให้ประเมินทุก 3 เดือนในปีแรก และปรับเป็นปีละ 1 ครั้ง ที่สอดคล้องกับกับคู่มือฯ

11.4 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  เสนอหลักการดำเนินการเมื่อเริ่มดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ตามข้อ ๙ ของข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544

11.5 ให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุงของหน่วยบริการ  โดยให้กำหนดวงเงินที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานให้คำนวณจากวงเงินขั้นต่ำที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ฯ ฉบับที่ ๗ หรือคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการอาจพิจารณาเพิ่มได้ รวมแล้วไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยงบดำเนินงาน งบบุคลากรและงบลงทุนซึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของรายได้ที่เหลือหลังหัก ....

   หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ ๑๑.๗ (๒) พิจารณา

11.6 ค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนจะได้รับ ต้องสะท้อนกับหน้าที่ความรับผิดชอบและผลการดำเนินงาน หากมีภาระงานที่เกินกว่าค่างานประกันขั้นต่ำให้ได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน  โดยให้ได้รับไม่เกินเดือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท

11.7 การตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผล ให้มีคณะกรรมการดังนี้
   (1) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับกระทรวง  เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน และการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกินบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตาม (2)  
   (2) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับส่วนราชการระดับกรม หรือระดับเขต เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการในสังกัด และดำเนินการการตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผลการดำเนินงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 255๕  เป็นต้นไป
 
ยกเลิก ฉ. ๗ หากดำเนินการตามระเบียบนี้ไม่ได้ ให้ คกก ๑๑.๗(๒) อนุมัติให้จ่ายตาม ฉ.๗ ได้แต่ไม่เกิน ๓ เดือนนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับ
...

ตัวแทนของสมาพันธ์ฯได้เสนอไปยังปลัดกระทรวงฯช่วงปีใหม่แล้วว่าขอทวงสัญญาจากผู้บริหาร โดยเรียกร้องให้มีการใช้ ฉบับ ๗ อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้ P4P เป็นค่า K แทน   และเมื่อเห็นเนื้อหาของฉบับ ๙ แล้วจึงไม่เห็นด้วย เสนอให้มีการปรับแก้เพื่อให้สอดรับกับคำเรียกร้อง ดังนี้

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ …..) พ.ศ. .....
-------------------------------

   ตามที่  กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ   และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข    ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม นั้น
   บัดนี้ เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้   เป็นข้อ 11 ของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544  และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ใช้ความต่อไปนี้

ข้อ 11 ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนพื้นฐาน โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจโดยให้เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนสะท้อนและผันแปรตามผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ซึ่งสามารถนำปริมาณงานทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ครอบคลุมทั้งงานด้านบริการสุขภาพต่อผู้ป่วยโดยตรงและงานสนับสนุนการบริการสุขภาพ งานด้านบริหารและด้านวิชาการ มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ โดยให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้  

11.1 เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ

11.2 ค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนได้รับ ประกอบด้วย
      11.2.1 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปซึ่งมีภาระงานมาก มีเจตนารมณ์ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง โดยให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้



                 11.2.2 ค่าตอบแทนกรณีที่ภาระงานมากเกินกว่าค่างานประกันขั้นต่ำ ให้ได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน โดยการจัดทำรายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการจัดทำหลักการ  วิธีการคำนวณผลการปฏิบัติงาน การกำหนดค่าประกันงานขั้นต่ำ อัตราค่าตอบแทนต่อผลการปฏิบัติงาน การกำหนดวงเงินที่นำมาเบิกจ่าย และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสอดคล้องกับคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น

11.3 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  จัดให้มีกระบวนการภายในหน่วยบริการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบและเข้าใจอย่างทั่วถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยบริการได้ร่วมพัฒนาและดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านการออกแบบระบบเพื่อการคิดค่าตอบแทน การตรวจสอบและการติดตามประเมินผล โดยต้องมีการประเมินสถานการณ์ก่อนดำเนินการ และภายหลังการดำเนินการที่สอดคล้องกับกับคู่มือฯ

11.4 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  เสนอหลักการดำเนินการเมื่อเริ่มดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ตามข้อ ๙ ของข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544

11.5 ให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุงของหน่วยบริการ  
   หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ ๑๑.๖ (๒) พิจารณา

11.6 การตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผล ให้มีคณะกรรมการดังนี้
   (1) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับกระทรวง  เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน และการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกินบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตาม (2)  
   (2) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับส่วนราชการระดับกรม หรือระดับเขต เพื่อทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการการตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผลการดำเนินงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555  เป็นต้นไป
 
ยกเลิก ฉ. ๗ หากดำเนินการตามระเบียบนี้ไม่ได้ ให้ คกก ๑๑.๖(๒) อนุมัติให้จ่ายตาม ฉ.๗ ได้แต่ไม่เกิน ๓ เดือนนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับ
...
ทางสมาพันธ์ฯ เคยเสนอ เรื่อง รพศ/รพท ที่อยู่พื้นที่พิเศษ ไปทางกระทรวง ช่วงก่อนหน้านี้( ฉ.7/2) ถ้าตามระเบียบกระทรวงการคลังใช้ตัวพิจารณา 4 ตัว ของเราน่าจะใช้ 2 ตัว คือ ความยากลำบากของการคมนาคม และความเสี่ยงภัย  อย่างน้อย รพศ/รพท ที่อยู่ในพื้นที่มีดังนี้

รพท.เกาะสมุย
รพท.ปัตตานี
รพศ.ยะลา
รพท.เบตง
รพท.สุไหงโก-ลก
รพท.นราธิวาสราชนครินทร์
รพท.เชียงคำ
รพท.ศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน
รพท.แม่สอด
.....................................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กุมภาพันธ์ 2012, 00:45:09 โดย pradit »

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าตอบแทน.... ตอบแทนใคร? จะได้เรื่อง หรือเป็นเรื่อง?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2012, 07:16:50 »
ประเด็นสรุปจากคณะกรรมการพิจารณาจัดทำข้อเสนอค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข 30 มค. 2555

วันที่ 30 มค. 2555 ได้มีการประชุมนัดแรกของคณะกก.ชุดนี้ ที่สนย. มีรองปลัดฯ.นพ.โสภณ เมฆธน (ประธาน) พร้อมรองประธานอีก 2 ท่าน คือ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย (รับผิดชอบ การแบ่งพื้นที่พิเศษ และสาขาขาดแคลน) และนพ.ทวีเกียรต บุญยไพศาลเจริญ (รับผิดชอบ P4P) มีตัวแทนของสถานบริการทั้งในสังกัดสป.และกรม ตัวแทนรพศ. (อ.ประเสริฐ ขันเงิน) รพช. ตัวแทนวิชาชีพ  เป็นกก. สำหรับเนื้อหาที่สรุปด้านล่าง เป็นเพียงแค่มติ ความเห็นของที่ประชุม เพื่อเตรียมนำเสนอปลัดฯ.พิจารณาต่อไป ยังไม่ใช่คำสั่ง หรือระเบียบที่นำไปอ้างอิงได้นะครับ  (ได้เข้าร่วมประชุม เป็นตัวแทนของอดีตผอ.เชาวโรจน์ อุบลวิโรจน์ ซึ่งเป็นต้นแบบของการจัดทำ P4P ในรพ.ทั่วไป และมีการจ่ายมาแล้ว 2 ปีกว่า)
...
ค่าตอบแทน ตามฉบับที่ 4 และ 6 มีการปรับเปลี่ยน เกี่ยวกับ พื้นที่ใหม่  :  การปรับพื้นที่ปรับดังนี้ แบ่งรพ.ทั้งหมดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 รพศ./รพท. และกลุ่มที่ 2 รพช.
   กลุ่มที่ 1 รพศ./รพท. แบ่งเป็น รพศ./รพท.ปกติ  และรพศ./รพท.ที่ขาดแคลนบุคลากร
           โดยรพศ./รพท.ในกลุ่มขาดแคลนบุคลากร มีประมาณ 5-8 แห่ง ซึ่งจัดให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามฉบับที่ 4 แล 6 ด้วย
   กลุ่มที่ 2 รพช.
          เดิม แบ่งรพช.เป็น พื้นที่ปกติ , ทุรกันดาร1 , ทุรกันดาร2
          ใหม่ แบ่งรพช.เป็น พื้นที่เขตเมืองและปริมณฑล , พื้นที่ปกติ , ทุรกันดาร1 , ทุรกันดาร2
  โดยมีเกณฑ์ สำรวจความเห็นจากสสจ.ในปัจจุบันและอดีตอีก 2-3 ท่าน ความยากลำบากในการเดินทาง (ระยะทางจากตัวจังหวัด) City-Life Effect (ระยะเวลาเดินทางจากอำเภอไปจังหวัด reference city คือมีการจัดเก็บรายได้จากอปท.>250 ลบ.ต่อปี) และสุดท้ายดูจากความเจริญ เช่น Seven index (จำนวนร้าน 7-11) จำนวนธนาคารพาณิชย์ (ไม่นับ ธ.ออมสิน,ธกส.)
       ผลจากการแบ่ง จาก ทุรกันดาร 2 เดิม 66 แห่ง ลดเหลือ 45 แห่ง
                                  ทุรกันดาร 1 เดิม 119 แห่ง ลดเหลือ 68 แห่ง
                                  พื้นที่ปกติ เดิม 552 แห่ง เพิ่มเป็น 570 แห่ง
                                  พื้นที่เขตเมืองและปริมณฑล เพิ่มเป็น 53 แห่ง
•   อัตรา ค่าตอบแทนใน ฉบับที่ 4 และ 6 คาดว่า น่าจะใช้อัตราเดิม  สำหรับอัตราของรพศ./รพท.ที่ขาดบุคลากร ใช้อัตราเดียวกับ รพช.ในเขตพื้นที่ปกติ
          แต่รพช.ในเขตเมืองและปริมณฑล อัตราใหม่จะน้อยกว่ารพช.พื้นที่ปกติ
•   มีการทบทวนพื้นที่ ทุก 2 ปี
•   คิดว่า วงเงินน่าจะลดลง เนื่องจากมีการปรับพื้นที่ของรพช. สำหรับเงินที่จะใช้ ประธานคาดว่าจะเสนอขอเป็นงบประมาณในปี 2556
...
ค่าตอบแทน ฉบับที่ 7 มีการปรับเปลี่ยนแน่นอน คือยกเลิก แล้วให้จ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน P4P แทน มีรายละเอียด
•   เรื่ม ดำเนินการให้เร็ว (เนื่องจากสตง.ทักท้วงมาหลายรอบ) คาดว่าน่าจะ พค.หรือมิย.นี้ โดยที่ให้รพ.จ่ายค่าตอบแทน ฉบับที่ 7 ไปจนกว่าจะเริ่ม P4P
•   วิธีการ อ้างอิงตามคู่มือฯ.ของทีมนพ.ทวีเกียรติ
•   วงเงินของแต่ละรพ. ให้ใช้วงเงินเดิมที่เคยจ่ายค่าตอบแทน ฉบับที่ 7 (สำหรับรพ.ที่ต้องการจ่ายมากกว่า ฉบับ 7 เดิม น่าจะรอ Phase ถัดไป)
•   ที่ ประชุมส่วนใหญ่ เห็นด้วย ให้มีการ แบ่งกลุ่มวิชาชีพก่อน และใช้วงเงินเดิมตาม ฉบับที่ 7 ของแต่ละกลุ่มวิชาชีพ ในการบริหาร P4P ของแต่ละกลุ่ม
•   กรณี รพศ./รพท.ที่มีปัญหาการเงิน ให้ผู้ตรวจฯ.แต่ละเขตพิจารณาปรับเกลี่ยจากงบเสื่อมของ UC ของเขต
•   อนาคต ปลัดฯ.จะพยายามผลักดันในอนุฯ.ของสปสช. ให้มีการเพิ่มค่าตอบแทนรายหัว 100 บาท
...
ข้อเสนอสำหรับ แผนในอนาคต เกี่ยวกับ ค่าตอบแทน
•   รพช.ตัดค่าตอบแทน ฉบับที่ 4 และ 6 บางส่วน มาจ่ายตาม P4P
•   P4P ให้ทำได้ในทุกระดับสถานบริการ จนถึง รพ.สต.
•   เสนอ ให้มีการปรับเพิ่ม เงิน พตส.
•   ทีม กฎหมาย พิจารณา ความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเก็บเงินค่าบริการนอกเวลา และจ่ายให้บุคลากรรพ.ได้  ในรพศ.รพท. (เหมือนโรงเรียนแพทย์ และกรมการแพทย์ที่ดำเนินการอยู่แล้ว)

by อนุกูล ไทยถานันดร์

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าตอบแทน.... ตอบแทนใคร? จะได้เรื่อง หรือเป็นเรื่อง?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2012, 00:48:16 »
แก้ไขข้อความที่ สมาพันธ์ฯเสนอไปครับ คลาดเคลื่อน เพราะตอนแรกใช้การขีดฆ่าข้อความที่ไม่เอาออก แต่ในเวบไม่แสดงเส้นที่ขีดฆ่า เลยขอแก้ไขโดยการลบออกไป
ลองอ่านเนื้อหาใหม่ที่ถูกต้อง

onzevil12

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • คาสิโนออนไลน์
Re: ค่าตอบแทน.... ตอบแทนใคร? จะได้เรื่อง หรือเป็นเรื่อง?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2012, 12:20:54 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคับ
หากคุณต้องการเล่น คาสิโนออนไลน์ ผ่านระบบบนโทรศัพท์มือถือของคุณให้ได้ความเป็น คาสิโนออนไลน์ มากขึ้นคุณควรใส่หูฟัง

watesutt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าตอบแทน.... ตอบแทนใคร? จะได้เรื่อง หรือเป็นเรื่อง?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2012, 21:12:35 »
  แล้วตอนนี้ ทราบหริอยังครับ ว่าโรงพยาบาลไหนถูกจัดเป็น พื้นที่ปกติ/กันดารระดับ1 /กันดารระดับ 2

เพราะในเมื่อได้ตัวเลขของจำนวนแห่ง ตามที่รายงานมา ก็น่าจะทราบได้แล้ว ใช่ไหมครับ

จะได้วางแผนชีวิต กันต่อไปครับ :o :o :o