ผู้เขียน หัวข้อ: การแก้ปัญหาในระบบบริการสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (อ่าน 1031 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 มาตรา 51 กำหนดไว้ว่า

"บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะส ม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์"

ปัญหาในปัจจุบันคือ คนยากไร้ และไม่ยากไร้ มีสิทธิได้รับบริการฟรีหมดซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาต่อมา เนื่องจากสาเหตุดังนี้คือ

1.   งบประมาณไม่เพียงพอ จากการบริหารที่ไม่ถูกต้องของสปสช. และการยึดอำนาจการบริหารสปสช.โดยคนบางกลุ่ม
2.   บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ
3.   อาคารสถานที่และเตียงคนไข้ไม่เพียงพอ

ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ นำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงกว่าคือ ประชาชนเสี่ยงอันตรายต่อความเสียหายด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ที่เกิดจากการไปรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจากโรงพยาบาลของรัฐ(โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข) ทั้งนี้เนื่องจาก การขาดแคลนดังกล่าว จะเป็นผลให้การบริการทางการแพทย์ขาดคุณภาพมาตรฐาน

  ฉะนั้น วิธีแก้ปัญหาในระบบบริการสาธารณาสุขและหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานก็คือ

1.การจัดสรรงบประมาณรายหัว ต้องตรงไปตรงมา และควบคุมการบริหารเงินของสปสช.ให้สุจริต โปร่งใส ถูกกฎหมายและวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

2.ควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องทั้งด้านอาคารสถานที่ เทคโนโลยีและบุคลากร

3.ต้องควบคุม ตรวจสอบและลงโทษผู้ทุจริตคอรับชันอย่างเด็ดขาด ตรงไปตรงมา ไม่ว่าเขาคนนั้น จะเป็นนักการเมือง ข้าราชการประจำ หรือ เป็นลูกจ้างองค์กรอิสระอย่าง สสส. สววรส. สปสช. สวช. และสพฉ.

4.หาวิธีจูงใจให้แพทย์ พยาบาลอยากมาทำงานในภาครัฐเพื่อช่วยกันบริการประชาชน

 ข้อนี้ ประธานกรรมการวางแผนกำลังคนแห่งสช. (นพ.มงคล ณ สงขลา)น่าจะคิดวิธีจูงใจทางด้านบวก (คือ Positive reinforcement )ไม่ใช่ทางด้านลบ( คือการเพิ่มเวลาการใช้ทุนและเพิ่มค่าปรับเงินชดใช้ทุน) ซึ่งคนระดับอดีตรมต.น่าจะคิดออกและทำได้  หรือนพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงคนปัจจุบัน น่าจะคิดเป็น ทำเป็น ไม่เช่นนั้นรัฐมนตรีก็ควรจะหาคนใหม่มาเป็นปลัดกระทรวง หรือนายกต้องหาคนใหม่มาเป็นรัฐมนตรี

 ตัวอย่างที่ขอเสนอในการแก้ปัญหา เช่น การบรรจุลูกจ้างทั้งหมดเป็นข้าราชการ การปรับขึ้นเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับภาระงานและความรับผิดชอบ การจัดระเบียบการทำงานไม่ให้ทำงานมากจนไม่มีเวลาพักผ่อน เพราะจะเป็นสาเหตุนำไปสู่ความผิดพลาดของการทำงานรักษาสุขภาพประชาชน ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อความเสียหาย

4.   เพิ่มความตระหนักและความร่วมมือของสังคมในการที่ช่วยให้ประชาชนทุกคนมีความตระหนักและมีส่วนร่วม ในการสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคอย่างได้ผล (Health Promotion and Prevention) โดยไปควบคุมกำกับสสส.ให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่กี่ปีๆหรือใช้เงินไปกี่หมื่นล้านแล้วก็ยังไม่เห็นผลว่ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนพลเมืองไทย เช่น ยังดื่มเหล้าและขับรถ เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นทุกๆปี
 
ปัญหาเหล่านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพต้องแก้ไขให้ได้ ไม่เช่นนั้นนายกรัฐมนตรีต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน แล้วหาคนใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาได้มาทำงานแทน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
3 กุมภาพันธ์ 2555