ผู้เขียน หัวข้อ: สมาคมแพทย์ขอพบ “มาร์ค” ขอทวน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ชี้หมดหวังกับ “จุรินทร์”  (อ่าน 2533 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
สมาคมแพทย์ขอพบ “มาร์ค” ขอทวน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ชี้หมดหวังกับ “จุรินทร์”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   13 กรกฎาคม 2553 14:11 น.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข
       สมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพ คอตก หลังนายกฯปฏิเสธการขอเข้าพบ กรณีการเสนอให้ทบทวน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เผย ผิดหวังจาก “จุรินทร์” ที่แก้ปัญหาไม่ได้ เล็งประสาน นพ.อรรถสิทธิ์ คุยกับนายกฯ ขณะที่ "หมอสัมพันธ์ "ยัน ยังคงเห็นด้วยกับการถอนร่าง พ.ร.บคุ้มครองผู้เสียหายฯ ฝากบอกสภาฯ หากกฏหมายถูกประกาศใช้ โปรดรับผิดชอบในการตัดสินใจด้วย
       
       วันนี้ (13 ก.ค. ) พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศ ไทย นำตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร และ นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 6 คน แต่งชุดดำเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบ รัฐบาลเพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกของให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ….ออกจากการพิจารณาของสภาก่อน เพื่อนำมาทำประชาพิจารณ์ถึงผลดี ผลเสียของ พ.ร.บ.นี้ แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าพบ โดยมอบหมายให้ตัวแทนของ นางอัญชลี วานิชเทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มารับจดหมายแทน
       
       พญ.เชิดชู กล่าวว่า ทราบว่า นายกรัฐมนตรีจะเข้าทำเนียบฯเพื่อประชุม ครม.จึงมาขอพบ เพื่อยื่นจดหมายซึ่งใช้เวลาเพียง 1-2 นาที หลังจากที่เครือข่ายตัวแทนสภาวิชาชีพฯ รู้สึกหมดหวังกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ที่บอกว่า จะยอมถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จากสภา จึงจำเป็นต้องมาพบนายกรัฐมนตรี ขณะที่รู้สึกผิดหวังที่นายกฯไม่ยอมพบ
       
       ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมแพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า แพทย์และเครือข่ายสภาวิชาชีพ ไม่ได้คัดค้านการมีกฎหมายฉบับนี้ แต่ต้องการให้รัฐบาล นำ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนที่จะเสนอเข้ามาใหม่ เพราะผลกระทบที่ตามมามีผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น ในอนาคตแพทย์อาจจะไม่รับคนไข้หนัก โดยเฉพาะคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการ เสียชีวิตสูง เพราะเสี่ยงถูกฟ้อง วิธีที่ทำได้ ก็คือ ส่งต่อคนไข้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสียชีวิตของคนไข้บนรถพยาบาลมาก ขึ้น คนที่ไม่สมควรตาย อาจจะต้องตาย เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษา แม้แต่ทำคลอด ถ้าต้องเสี่ยงมากๆ แพทย์ก็คงจะไม่กล้าทำเช่นเดียวกัน
       
       “โดยหลักการแล้ว อยากให้รัฐบาลพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ให้รอบคอบ โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญๆ เช่น การกำหนดเพดานของการจ่ายเงินชด เชยความเสียหาย สำหรับการตั้งคณะอนุกรรมการบริหารกองทุน ควรจะให้ครอบคลุมจากทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ได้รับความเสียหาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เช่นนั้น อนุกรรมการที่พิจารณาจะกลายเป็นศาลแพ่ง อยู่เหนือกฎหมาย” นพ.ศิริ ชัย กล่าว
       
       ด้านพญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์สมาคมแพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้เข้าพบ ก็อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะติดภารกิจ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสภาวิชาชีพต่างๆ จะเดินหน้าต่อสู้เรื่องนี้ต่อไป โดยล่าสุด ได้พยายามประสานงานผ่านทาง ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เป็นแพทย์ และเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ที่มีความเมตตา น่าจะได้รับความเข้าใจมากขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวอื่นๆ นั้น ต้องหารือกันในกลุ่มแพทย์ของสมาพันธ์อีก ครั้ง
       
       นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ตนทราบเรื่องที่สมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย นำตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อันประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร และ นักเทคนิคการแพทย์ เข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นจดหมาย เปิดผนึกของให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข พ.ศ….ออกจากการพิจารณาของสภาฯแล้ว แต่ไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่นายกรัฐมนตรีปฏิเสธการขอพบของ สมาพันธ์ ฯ เนื่องจากการดำเนินการของกลุ่มดังกล่าวเป็น คนละส่วนกับการดำเนินการของแพทย์สภา ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเคลื่อนไหวอย่าง ไรก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของสมาพันธ์ฯ สำหรับแพทยสภาเองขณะนี้ยังไม่ความ เคลื่อนไหวใดเพิ่มเติม แต่โดยเจตนารมณ์แล้วยัง ยืนยังเหมือนเดิมทุกประการ ว่า แพทยสภาเห็นด้วยกับการถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรที่ให้บริการด้านสาธารณสุขทุกฝ่าย แต่ก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะถึงอย่างไรอำนาจการตัดสินใจก็ต้อง ขึ้นอยู่กับสภาฯ
       
       "ตอนนี้ในส่วนของแพทยสภาเองยังสามารถทำได้แค่ ทักท้วง ให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ที่มีเท่านั้น ส่วนสภาฯจะเห็นควรอย่างไรก็แล้วแต่ จะพิจารณา เนื่องจากอำนาจขึ้นอยู่กับสภาฯโดยตรงอยู่แล้ว แต่อยากฝากไว้ว่าหาก พ.ร.บ.ได้รับการประกาศใช้จริงๆ ก็ขอให้รับผิดชอบในสิ่งที่ได้ตัดสินใจลงไปด้วย " นพ.สัมพันธ์ กล่าว

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ไทยรัฐ online

http://www.thairath.co.th/content/pol/95927

กลุ่มหมอ อ้างหายนะวงการแพทย์ ยื่นหนังสือร้องนายกรัฐมนตรี ค้าน กม.คุ้มครองคนไข้...

ก่อนที่การประชุมครม.จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แห่งประเทศไทยนำตัวแทนผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และ นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 6 คน แต่งชุดดำเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบ รัฐบาลเพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกของให้ รัฐบาลถอนร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ….ออกจากการพิจารณาของสภาฯก่อน เพื่อนำมาทำประชาพิจารณ์ถึงผลดี ผลเสียของพ.ร.บ.นี้ แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าพบ

โดยมอบหมายให้ตัวแทนของนางอัญชลี วาณิชเทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มารับจดหมายแทน พญ.เชิดชู กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่นายกรัฐมนตรีมีท่าทีเช่นนี้ เพราะการขอเข้าพบได้ปฏิบัติตามขั้นตอน โดยประสานงานผ่านทางทีมงาน ของนางอัญชลี วาณิชเทพบุตร รองเขาธิการนายกรัฐมนตรี และทราบว่านายกรัฐมนตรีจะเข้าทำเนียบฯเพื่อประชุมครม.จึงมาขอพบ เพื่อยื่นจดหมายซึ่งใช้เวลาเพียง 1-2นาที หลังจากที่เครือข่ายตัวแทนสภาวิชาชีพซึ่งประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด ฯลฯ หมดหวังกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข ที่พูดกับสภาวิชาชีพเมือนหลอก เด็ก เช่น ให้แพทยสภาไปล่ารายชื่อคนที่เกี่ยวข้องมาให้ได้ 80% ว่าไม่มีความสุขกับพ.ร.บ.นี้ จึงจะยอมถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จากสภาฯ จึงจำเป็นต้องมาพบผู้บังคับบัญชาของรมต.ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี ที่เคยยืนยันกับประชาชนว่า พรรคประชาธิปัตย์ยึดมั่นในหลักการว่า ประชาชนต้องมาก่อน ซึ่งแพทย์ก็เป็นประชาชนที่กำลังจะได้รับความเดือดร้อนจาก กฎหมายของรัฐบาล นายกฯกลับไม่ยอมพบ แต่คนเผาบ้าน เผาเมือง นายกรัฐมนตรีเดืนทางไปพบหลายครั้ง เป็นเรื่องน่าเสียใจอย่างมาก

ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า หากพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะเกิดความเสียหาย ต่อประชาชนอย่างมากในหลาย ประเด็น เช่น แพทย์และพยาบาลจะพากันลาออก เนื่องจากไม่มีใครอยากเสี่ยงที่จะต้องถูกฟ้อง ผลก็คือ ผู้ป่วยต้องเข้าคิวรอรักษานานขึ้น อาจต้องไป รพ. เอกชน ซึ่งต้องจ่ายแพง เพราะเสี่ยง มากขึ้น เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ระบุชัดเจน ว่า ไม่ตัดสิทธิในการฟ้องศาลแพ่งและอาญาได้ภายใน 10 ปี นอกจากนี้ผู้ป่วยทุกคน ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเข้ากองทุน เมื่อมารักษาทุกครั้งในทุก รพ. และทุกคลินิก ผู้ป่วยนอก 5 – 10 บาท ทุกครั้ง ผู้ป่วยนอน รพ. 80 – 159 บาท ทุกครั้ง ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อไป รพ. อื่นในโรคที่เสี่ยงต่อการถูก ฟ้อง มากขึ้น เป็นการสร้างภาระให้ผู้ป่วยมากกว่า ที่จะเป็นผลดี “ในกรณีของความเสียหายทางการแพทย์ปัจจุบันมี พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมอยู่แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของมาตรา 41 ที่กันเงินไว้ 1% ของงบประมาณแสนล้าน ก็เป็นเงินประมาณ 1,000 ล้าน ที่ผ่านมามีผู้ได้รับความเสียหายเข้าร้อง เรียนตามพ.ร.บ.นี้ประมาณ 0.1%ที่ต้อจ่ายเงินชดเชยไป ซึ่งก็ไม่มาก แต่รัฐบาลกำลังจะออกกฎหมายมาทำร้ายคนอีกเกือบ 100% เพื่อคุ้มครองคน 0.1% เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง”พญ.เชิดชู กล่าว

และว่า การขอให้ถอนร่างพ.ร.บ.นี้ก็ไม่ใช่ ว่าจะให้ถอนออกไปเลย แต่ให้นำไปทำประชาพิจารณ์ให้เหมาะสมก่อนก่อนนำ เสนอสภาฯ การกระทำของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เหมือนมองว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ ฯลฯ เป็นผู้ร้ายตั้งใจจะทำร้ายผู้ป่วยให้ เสียหาย จึงต้องออกกหมายมาคุ้มครองผู้ป่วย โดยลืมไปว่าผู้ประกอบวิชาชีพก็จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียว กัน ตามมาตรา 80(2)ของรัฐธรรมนูญ ส่วนที่แต่งชุดดำมาวันนี้ ไม่ได้ต้องการประท้วง แต่แต่งดำเพื่อไว้อาลัยต่อมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ ที่ดูเหมือนกำลังจะตายไปแล้ว

ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมแพทย์รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า แพทย์และเครือข่ายสภาวิชาชีพ ไม่ได้คัดค้านการมีกฎหมายฉบับนี้ แต่ต้องการให้รัฐบาล นำพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนที่จะเสนอเข้ามาใหม่ เพราะผลกระทบที่ตามมาจากกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น ในอนาคตแพทย์อาจจะไม่รับคนไข้หนัก โดยเฉพาะคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง เพราะเสี่ยงถูกฟ้อง วิธีที่ทำได้ก็คือ ส่งต่อคนไข้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสีย ชีวิตของคนไข้บนรถพยาบาลมากขึ้น คนที่ไม่สมควรตาย อาจจะต้องตาย เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษา แม้แต่ทำคลอด ถ้าต้องเสี่ยง มากๆ แพทย์ก็คงจะไม่กล้าทำเช่นเดียวกัน นพ.ศิริชัย กล่าวด้วยว่า โดยหลักการแล้ว อยากให้รัฐบาลพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างละเอยดถี่ถ้วน ให้เป็นต้นร่างที่ดี โดยเฉพาะประเด็นสำคัญๆ เช่น การกำหนดเพดานขอบงการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย เพราะในพ.ร.บ.นี้ไม่มีการจำกัดวงเงิน เรียกร้องเท่าไหร่ก็ได้ ในระยะเวลา 10 ปีก็ยังทำได้ ถ้าปล่อยต่อไป อนาคตก็จะเกิดการฟ้องไล่เบี้ยไป ตลอด จึงควรมีการจำกัดวงเงินที่เหมาะสม การสร้างระบบตรวจสอบการใช้เงินที่ ดี กฎหมายฉบับนี้เป็นความตั้งใจดีของเอ็นจีโอที่ต้องการคุ้มครอง ประชาชน แต่ถ้าไม่มีระบบตรวจสอบที่ดี ในอนาคตหากกรรมการไม่ใช่คุณสารี อ๋อง อาจจะมีการคอร์รัปชั่นก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการตั้งคณะอนุกรรม การบริหารกองทุน ควรจะให้ครอบคลุมจากทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ได้รับความเสียหาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เช่นนั้น อนุกรรมการที่พิจารณาจะกลายเป็นศาลแพ่ง อยู่เหนือกฎหมาย “ปัจจุบันการชดเชยความเสียหาย ในมาตรา 41 ครอบคลุมค่อนข้างมากอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องเข้าไปดูในเรื่องของการปรับเงื่อนไขการจ่ายเงิน ทำให้เม็ดเงินลื่นไหลได้มากขึ้น สภาวิชาชีพต่างๆไม่ได้คัดค้ายน แต่ต้องการให้มีกฎหมายที่เป็นธรรม อยู่ในเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายรับได้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง เพราะถ้ารัฐบาลไม่พิจารณาให้ดี ปล่อยให้กฎหมายฉบับนี้ออกมา จะกลายเป็นบูมเมอแรง กลับไปที่รัฐบาลและคนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือประชาชน ” นพ.ศิริชัย กล่าว

ด้านพญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์สมาคมแพทย์รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้เข้าพบ ก็อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะติดภารกิจ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสภาวิชาชีพต่างๆจะเดินหน้าต่อสู้เรื่องนี้ต่อไป โดยล่าสุดได้พยายามประสานงานผ่านทางศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เป็นแพทย์และเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ที่มีความ เมตตา น่าจะได้รับความเข้าใจมากขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวอื่นๆนั้น ต้องหารือ กันในกลุ่มแพทย์ของสมาพันธ์อีกครั้ง


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เป็นกำลังใจให้ อ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา อ.ศิริชัย ศิลปอาชา อ.พจนา กองเงิน สู้ต่อไปครับ