ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อสังเกตที่น่าสนใจ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ(มีผู้วิเคราะห์ไว้)  (อ่าน 1933 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ข้อสังเกต

            (1)  กฎหมายนี้อ้างอิง จากกลุ่มประเทศร่ำรวย ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย คือ ตัวอย่าง'รัฐสวัสดิการ'ที่ดีที่สุด จำนวนประชาชนจ่ายภาษีเฉลี่ย 50% ,คนไทยจ่ายเฉลี่ย 17-18%  และอัตราภาษีรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศไทย มาก โดยมี GDP สูงกว่าไทย และ สัดส่วนงบที่รัฐบาลใช้ต่อระบบสุขภาพมากกว่าไทย จึงใช้ระบบนี้ได้โดยไม่มีปัญหา และระบบเขาวางรากฐาน 10-20ปี ทำโดยเริ่มทีละภาคแบบสมัครใจ-ให้สังคมบอบช้ำน้อยที่สุด ไม่ควรที่จะบังคับทั้งหมดโดยไม่พร้อม-ไม่ศึกษาผลกระทบในแต่ละภาคส่วนก่อน หากเงินไม่พอก็จัดแบบค่อยเป็นค่อยไป

            (2) ต้องวาง concept ผู้ดูแลกฎหมายให้ เข้าใจตรงกันและชัดเจนเสียก่อน ว่า การช่วยเหลือเยียวยานี้เป็น การเสียหายโดยสุดวิสัย ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง นำไปสู่ปัญหาการให้บริการสาธารณสุข การแก้ ปัญหาตาม พรบ.นี้นั้น เป็น เรื่องการที่มีผู้เสียหาย โดยไม่มีใครเจตนา กรณีสุดวิสัย จากโรคและการรักษาแม้มีมาตรฐานแล้ว (ไม่ ใช่กรณีกระทำผิดมาตรฐานวิชาชีพ) ที่อาจเกิดจากระบบบริการ ความขาดแคลนต่างๆ โดยไม่หาตัวบุคคลมาเพ่งโทษ  ส่วนหนึ่งเป็นจากระบบที่ขาดแคลนทรัพยากร และงบประมาณที่ไม่พอเพียงและ อีกส่วนเป็นระบบคุณธรรมที่ต้องการการเยียวยา ให้ทุกคนได้รับตามสิทธิความเป็นคนไทย

            (3) กองทุนรัฐสวัสดิการเดิมของประชาชนที่มี ตามมาตรา 41 สปสช. ไม่ควรให้รัฐถอนตัวออกแล้วโอนความเสี่ยงให้กับหน่วยบริการ(ทั้งของรัฐและ เอกชน)ต่างๆ เพราะถือเป็นรัฐสวัสดิการ ประกันความเสี่ยงให้คนไทย ทุกคนที่เสียภาษี เพื่อให้กลไกระบบสาธารณสุขเดินต่อได้ แบบเดียวกับในต่างประเทศ  ไม่ควรนำกลไกที่จะเกิดการได้เสียผลประโยชน์ใส่เข้าไปในระบบ โดยไปดึงค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยมาจ่ายเข้ากองทุน เพราะจะไปรอนสิทธิของ ประชาชนทั่วไปทั้ง 64 ล้านคน โดยจะทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้น  และ คุณภาพลดลงจากงบน้อยลง

            (4) กลไกของภาครัฐอื่นๆต้องเดินพร้อมกัน ในอีก 4 กระทรวง ราว 100 แห่ง ที่มีแพทย์ 1/3 ของประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัย(รามา ศิริราช เชียงใหม่ สังกัด ศธ.) ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ กทม. สภากาชาดไทย ที่ไม่ทราบรายละเอียดกฎหมายนี้ก่อนและไม่ได้ร่วมเสนอข้อมูลกับกฤษฎีกา ย่อมมีผลกระทบเมื่อ พรบ.นี้ออกมาควรทบทวนให้มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน หากมองว่าสาธารณสุขทั้งระบบต้องเดินไปด้วยกัน แบบสมานฉันท์และปรองดอง

            (5)กลไกการฟ้องร้องร้อง เรียนเพื่อได้รับเงินจะรุนแรงขึ้นจากการ ที่ประชาชนที่ไม่ได้รับเงินจะรู้สึกว่าต้องหาผู้รับผิดชอบ โดยกระบวนการศาลเปิดโอกาส จะทำให้มีผู้ใช้ช่องทางมากขึ้น แม้ว่าจะเป็น กระบวนการเสียหายโดยโรคตามปกติ แม้ว่าจะถูกต้องในชั้นศาลแต่กระบวนการต้องสืบสวน สอบสวน ในหลายระดับเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอ จะมีกลไกยับยั้งอย่างไร ทั้งนี้รวมไปถึง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ กายภาพบำบัด เทคนิกการแพทย์ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ ที่อาจร่วมด้วยในสถานพยาบาล เช่น ศูนย์ อนามัย-สาธารณสุข ทหาร หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตลอดจน รพ.สต. ที่ถูกร้องเรียน และต้องมาพบชี้แจงตามกรรมการเรียกร้อง

            (6)อ้างอิงระบบเดิมเพื่อใช้ต้นทุนน้อยที่สุดที่ช่วยเหลือประชาชน ได้รวดเร็ว ระบบนี้ ทำอยู่แล้ว ใน มาตรา 41 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่เป็น 2 มาตรฐานเพราะไม่ช่วย ข้าราชการ กับประกันสังคม และอื่นๆ ควรขยายเพิ่ม จาก 46 ล้านเป็น 64 ล้านคน โดยใช้องค์กรเดิมที่มีกลไก กรรมการอยู่แล้ว ทุกจังหวัด ในปีงบประมาณ 52 ใช้งบช่วยเหลือเพียง 72 ล้านบาท หากขยายทั้งหมดช่วยเหลือ น่าจะอยู่ราว 100-150 ล้านบาท และขยายชดเชยด้วย ไม่เกิน 5 เท่า หรือ 500 ล้านบาท ยังต่ำกว่าที่กฎหมายให้กันงบ 1% ของ สปสช.ไว้ (คือ 1,000ล้านบาท) ก็จะทำให้เกิดมาตรฐาน เดียวกันทั้งประเทศที่รัฐคุ้มครอง และไม่ต้องเสียค่าจัดตั้งองค์กรใหม่ในช่วงแรก เมื่อกลไกศึกษาดีแล้ว ก็ค่อยขยายการครอบคลุมออกไปตามลำดับ หรือออก พรบ.ใหม่ตั้งสำนักงานกองทุนใหม่เมื่อทุกอย่างพร้อมแบบสมานฉันท์ ทั้ง นี้ประชาชนจะไม่ถูกรอนสิทธิ  ได้รับการปฏิบัติแบบ มาตรฐานเดียวกัน และได้รับการช่วยเหลือทันทีในรัฐบาลนี้

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด

            (1)  กฎหมายนี้อ้างอิง จากกลุ่มประเทศร่ำรวย ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย คือ ตัวอย่าง'รัฐสวัสดิการ'ที่ดีที่สุด จำนวนประชาชนจ่ายภาษีเฉลี่ย 50%
 

พวก NGO คิดว่า ประเทศไทยรวยเหมือน NGO กันทั้งประเทศ
ถ้าNGO บางคน ตอนนี้ยังไม่รวย ถ้าได้บริหารกองทุน ก็รวยๆๆๆๆๆ