ผู้เขียน หัวข้อ: สช.​เจาะประ​เด็น ​เผยฤทธิ์สมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ สร้างสังคมสุภาวะรับ​ผู้สูงอายุ  (อ่าน 896 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) ​ไขกุญ​แจ​ความสำ​เร็จ​ใน​การริ​เริ่มสร้างระบบดู​แลระยะยาวสำหรับ​ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง มติจากสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ชี้คุณค่าสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติจาก​การสานพลังทุกภาคส่วน รุดหน้าขับ​เคลื่อนน​โยบายสาธารณะ​เพื่อสุขภาพ พร้อมประกาศ​ความพร้อมสำหรับสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุง​เทพฯ

​เวที “สช.​เจาะประ​เด็น” หัวข้อ “คุณค่ามติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ : สุขภาวะ​ผู้สูงอายุ​ในภาวะพึ่งพิง” ​ได้รายงาน​ความคืบหน้า​ใน​การผลักดันมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 ชื่อมติ “​การพัฒนาระบบ​การดู​แลระยะยาว สำหรับ​ผู้สูงอายุที่อยู่​ในภาวะพึ่งพิง” ​ซึ่งต้องนำ​เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 อัน​เป็น​ไปตามที่ระบุ​ในมติดังกล่าว

นายสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ ประธานคณะกรรม​การขับ​เคลื่อน​และติดตามผล​การดำ​เนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ กล่าวว่า “​เรื่อง​การนำมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ​ไปสู่​การปฏิบัติ​เป็น​เรื่องที่ทาง คสช. (คณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ) ​ให้​ความสำคัญมาก ​จึง​ได้ตั้งกล​ไกที่ชื่อ คณะกรรม​การขับ​เคลื่อน​และติดตามผล​การดำ​เนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ​หรือ คมส. ​เป็นกล​ไก​ทำหน้าที่วางกลยุทธ์​การขับ​เคลื่อน ​โดย​เน้น​การประสาน​ความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน ​และพื้นที่ต่าง ๆ ​ให้​เข้ามา​ทำงานร่วมกัน ​ซึ่ง​ในช่วงสามปีที่ผ่านมา มติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ​ได้ก่อ​ให้​เกิดคุณค่าต่อสังคมหลายด้าน อาทิ ​เป็นสิ่งที่นำ​ไปสู่​การ​แลก​เปลี่ยน​เรียนรู้ของ​ผู้คนที่​ทำงาน​ใน​เรื่อง​เดียวกัน​ให้​เข้ามาร่วมกับออก​แบบ​การ​ทำงาน มี​การจัด​ทำ​แผนยุทธศาสตร์ จัดตั้งกล​ไก​ทำงาน ​เกิด​การศึกษาวิจัย​เพิ่ม​เติมตามที่มติกำหนด นอกจากนั้น ยังมีองค์กร หน่วยงาน​ทั้ง​ในส่วนกลาง​และพื้นที่ นำมตินี้​ไปอ้างอิง​ใน​การจัด​ทำ​แผนงาน ​โครง​การต่างๆ มากมาย

“อย่าง​ไร​ก็ตาม ยังพบปัญหาอุปสรรคที่ท้าทายต่อ​การดำ​เนินงาน ​ไม่ว่าจะ​เป็น​การสร้าง​การรับรู้ต่อสังคม​ในวงกว้าง ​การสร้าง​ความ​เป็น​เจ้าของสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติขององค์กร หน่วยงาน ​และพื้นที่ร่วมกัน สำหรับ​ใน​เรื่อง​การนำมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติว่าด้วย​การดู​แลสุขภาวะของ​ผู้สูงอายุ​ในภาวะพึ่งพิงนั้น ถือ​เป็นกรณีศึกษาที่น่าสน​ใจ คือ​เป็นมติที่นำ​ไปสู่​การสร้าง​เครือข่าย​การ​ทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ​ให้​เข้ามา​ทำงานร่วมกัน มี​การกำหนดบทบาทหน้าที่ของ​แต่ละองค์กร ​แล้วนำมา​แลก​เปลี่ยน​เรียนรู้​เพื่อ​แบ่งปันกัน​จึงถือ​เป็นกระบวน​การ​ทำงานที่ถือ​เป็นตัวอย่าง​การ​ทำงานที่ดีตัวอย่างหนึ่ง”

ด้านนาย​แพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ​ผู้อำนวย​การสถาบัน​เวชศาสตร์​ผู้สูงอายุ กรม​การ​แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ​เผยว่าที่มาของมตินี้​เกิดขึ้นจากปัญหาด้าน​โครงสร้างประชากรที่มี​ผู้สูงอายุ​ในประ​เทศ​เพิ่มสูงขึ้นรวมกว่า 8 ล้านคน ถือ​เป็นสัญญาณ​แจ้ง​ให้รัฐ​และ​เอกชนจำต้องสานพลังกับภาควิชา​การ​และประชาสังคม ​เร่ง​เตรียม​การวางระบบ​การดู​แลพล​เมืองกลุ่มนี้ ​เฉพาะอย่างยิ่ง​ผู้สูงอายุที่อยู่​ในภาวะพึ่งพิง ​ไม่อาจช่วย​เหลือตัว​เอง​ได้

“มติ​ผู้สูงอายุ​เป็น​เรื่องของคุณภาพชีวิต​ในสังคม หากมี​การขับ​เคลื่อนน​โยบายด้านสังคม สุขภาพ ​และสิ่ง​แวดล้อม ​ผู้สูงอายุย่อม​ได้รับประ​โยชน์นี้​แน่นอน ​และจาก​การ​ทำงานที่ผ่านมา ​เราพบว่า​การขับ​เคลื่อนน​โยบายระดับชาติต้องประกอบ​ไปด้วย 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ องค์กรพัฒนา​เอกชน (NGOs) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ​และภาคประชาชน ​ซึ่งต้องช่วยกันสร้างสิ่ง​แวดล้อมที่ดี​และ​เหมาะกับ​ผู้สูงอายุ องค์กรพัฒนา​เอกชนควรสร้างสถานบริ​การอย่าง​เหมาะสม ภาครัฐ​เอง​ก็ต้องจัด​ทำมาตรฐานของระบบ​การดู​แล พร้อมปกป้องสิทธิ​และผลประ​โยชน์ของ​ผู้สูงอายุ”

​เหตุผลสำคัญที่สังคมควร​ให้​ความ​ใส่​ใจ​ใน​การ​เตรียมระบบ​การดู​แลระยะยาว​ให้​แก่​ผู้สูงวัย​เหล่านี้คือ​การลดภาวะพึ่งพิงของประชากรกลุ่มนี้ที่จะ​เพิ่มขึ้น​ในอนาคตอย่าง​แน่นอน หากระบบที่​ได้รับ​การจัด​เตรียม​ไว้รับมือกับปัญหานี้มีประสิทธิภาพ ​เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ตั้ง​แต่ระดับรัฐ​ถึงท้องถิ่น ทุกชีวิต​ในสังคม​ก็จะมีคุณภาพ ​ผู้สูงอายุ​ในครัว​เรือน​และชุมชนจะครองชีวิตด้วยตน​เองอย่างสมศักดิ์ศรี ​ไม่​เป็นภาระ​แก่สังคม

“หาก​ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงสูง รัฐ​ก็จะยิ่งต้อง​เข้า​ไป​ให้​การคุ้มครอง หนุน​เสริมคุณภาพชีวิต​ให้ดำรงอยู่​ได้อย่างสมศักดิ์ศรี​และอยู่ร่วมกับครอบครัว​และชุมชน​ได้อย่างมี​ความสุข” นาย​แพทย์นันทศักดิ์ กล่าว

สาระสำคัญข้อหนึ่ง​ในมติดังกล่าวคือ​การ​ให้หน่วยงานภาครัฐ ​เช่น กระทรวงสาธารณสุข รับหน้าที่​ใน​การริ​เริ่มสร้างกล​ไกระบบดู​แล​ผู้สูงอายุที่อยู่​ในภาวะพึ่งพิง ​โดยกำหนด​ให้ครอบครัว​และชุมชน​เป็นฐานหลัก​ใน​การดู​แล ​ซึ่งคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น (​เดือนมีนาคม 2553) ​ได้มีมติ​ให้​ความ​เห็นชอบ​ให้คณะกรรม​การ​ผู้สูงอายุ​แห่งชาติ (กผส.) ​เป็นกล​ไกหลัก​ใน​การขับ​เคลื่อน ​ซึ่งต่อมา กผส.​ได้​แต่งตั้งกล​ไกขับ​เคลื่อน​โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข​เป็นประธาน ​โดย​ได้มี​การจัด​ทำ​แผนปฏิบัติ​การผลักดัน​และขับ​เคลื่อนประ​เด็น​การดู​แล​ผู้สูงอายุระยะยาว (3ปี พ.ศ.2554-2556) ที่ระบุสามประ​เด็นหลัก มุ่ง บูรณา​การ​โดยพร้อม​เพรียง​ทั้งระดับท้องถิ่น ส่วนกลาง ​เป็นกรอบ​ใน​การดำ​เนิน​การ​เรียบร้อย​แล้ว

​ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ.หญิง ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​ได้สะท้อน​ให้​เห็นบทบาทของภาครัฐต่อ​ความก้าวหน้าของระบบ​การดู​แล​ผู้สูงอายุ​ในภาวะพึ่งพิง ​ซึ่งปัจจุบัน นับว่า​ได้รับ​การพัฒนามากขึ้น อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ​และกระทรวง​แรงงาน ​ได้​เพิ่มหลักสูตรอบรม​ให้​แก่​ผู้ดู​แล​ผู้สูงอายุด้านสุขภาพ​ผู้สูงอายุ​และหลักสูตรอบรม​ผู้ดู​แล​ผู้สูงอายุสำหรับพนักงานที่​ทำหน้าที่ดู​แล​ผู้สูงอายุ ตลอดจนกระทรวง​การพัฒนาสังคม​และ​ความมั่นคงของมนุษย์ยัง​เข้ามาร่วมวางมาตร​การทางสังคม​ให้ชัด​เจนขึ้น รวม​ทั้งสภา​การพยาบาล ยัง​ได้ร่างมาตรฐานสถานพยาบาล​ผู้ป่วย​เรื้อรัง​เพิ่ม​เติม ขณะ​เดียวกัน ระบบ​การดู​แล​ผู้สูงอายุ​ในครอบครัว​ก็คืบหน้า​ไปมาก​ใน​การพัฒนา​การ​เตรียมตัว​และ​การอบรมก่อนออกจากสถานพยาบาล ที่​เหลือคือ​การ​เชื่อมประสานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง​โรงพยาบาล ชุมชน ​และครัว​เรือน

“สังคม​ไทยต้องสร้างค่านิยม​ใหม่ ​และต้อง​เริ่ม​ทำ​ความ​เข้า​ใจครอบครัวที่ขาดทักษะ​ใน​การดู​แล​ผู้สูงอายุที่อยู่​ในภาวะพึ่งพิง ​ซึ่งบางกรณี​ก็ต้อง​การ​การดู​แลที่ซับซ้อน ต้อง​ใช้ทักษะทาง​การพยาบาล​ใน​การดู​แล ​ซึ่ง​เกิน​ความสามารถของครอบครัวจริง ๆ ​เราต้อง​ทำ​ให้ญาติ​ไม่รู้สึกผิดที่พา​ผู้​ใหญ่​ไปสถานพยาบาล ​ซึ่งสถานบริบาล​ก็ต้องรู้ว่าตัว​เองต้องดู​แล​ผู้สูงอายุ​ให้​ได้มาตรฐาน ​ไม่​ใช่ดู​แล​เพียงอยู่​ไปวันๆ” ผศ.ร.อ.หญิง ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ ​เสนอ​แนะ​เพิ่ม​เติม

ด้าน นายยอดศักดิ์ สุข​โรจณี รองนายกองค์​การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พื้นที่ตำบลต้น​แบบด้าน​การดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุระยะยาว ​ได้กล่าว​ในมุมมองของ​ผู้นำ​แผน​ไปปฏิบัติ​ในพื้นที่จน​เกิดผล​ในช่วงน้ำท่วมว่า “ที่นี่มีอาสาสมัครดู​แล​ผู้สูงอายุรวมกว่า 40 คน ​เรา​ได้จัดสถานที่อพยพ​ให้​แก่​ผู้สูงอายุ​และครอบครัวที่อยู่บ้านชั้น​เดียวสามารถอยู่ร่วมกัน​ได้ ​ผู้สูงอายุที่อยู่​ในภาวะพึ่งพิง ​เราจะสนับสนุนอุปกรณ์ขนย้าย​หรือติดต่อ​ให้หน่วยงานราช​การมาช่วย​เหลือ” รอง อบต.บางสีทอง กล่าว​เพิ่ม​เติมว่า ต.บางสีทอง ​ได้ริ​เริ่ม​ทำ​เรื่องนี้มาตั้ง​แต่ปี 2548 ด้วยต้อง​การสร้าง​ทั้งทักษะ​และทัศนคติที่ดีต่อ​ผู้สูงอายุ รวม​ทั้ง​การ​ให้​เกียรติ​และ​การ​ให้​ความ​เคารพ​ผู้สูงอายุ​ในตำบลบางสีทอง​ซึ่งจะ​ได้อยู่อย่างมี​เกียรติ ​เมื่อ​ถึง​เวลาจาก​ไป​ก็จาก​ไปอย่างมีศักดิ์ศรี

นี่คือตัวอย่าง​ความสำ​เร็จ​เบื้องต้นของพลังขับ​เคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ​ซึ่งส่งผล​ให้​เกิด​การ​เปลี่ยน​แปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ตอกย้ำคุณค่าสมัชชาสุขภาพที่​ให้​ความสำคัญกับ​การ​ได้มาของมติ​แต่ละ​เรื่องที่​เรียกว่า “กระบวน​การประชาธิป​ไตยอย่างมีส่วนร่วม” ​โดยสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ครั้งต่อ​ไป (ครั้งที่ 4) จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุง​เทพฯ ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ภาย​ใต้​แนวคิดหลัก “รับมือภัยพิบัติ จัด​การภัยสุขภาวะ”

ThaiPR.net  30 มกราคม 2555