ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นจีโอแถลงดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายสาธารณสุข (คมชัดลึก9ก.ค.2553)  (อ่าน 1894 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
"เอ็นจีโอ” ออกแถลงการณ์ดัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ” ช่วยลดปัญหาขัดแย้งแพทย์ผู้ป่วย ด้าน “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ” ประกาศยุติบทบาททันทีหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ แถมไม่มีการฟ้องหมอทั้งแพ่งและอาญาอีกต่อไป เพราะผู้ป่วยได้รับการชดเชยแล้ว พร้อมวิงวอนวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เข้าใจและเลิกต้าน ขณะที่ “ เครือข่ายผู้บริโภค ” ตั้งข้อสังเกตหมอบางกลุ่มเคลื่อนไหว ให้ข้อมูลผิดๆ เหตุหวังผลคะแนนเสียงเลือกตั้ง คกก.แพทยสภาปีหน้า

ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 9 ก.ค.เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และศูนย์ประสานงานหลักประสุขภาพภาคประชาชน ร่วมออกแถลงการณ์ยืนยัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ” ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์ในสมัยประชุมในเดือนสิงหาคมนี้ โดย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้   ช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะเป็นการชดเชยผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย

ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้คือคนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ทั้งนี้ที่ผ่านมามีข่าวและความเห็นที่สร้างความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกฎหมายอย่างมาก สร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่มแพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ การตั้งกองทุนชดเชยเพื่อลดการฟ้องร้อง และครอบคลุมทุกระบบการรักษา เพราะเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ โดยมีคณะกรรมกลางอิสระพิจารณา ไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ

 น.ส.บุญยืน กล่าวว่า ส่วนปัญหาการฟ้องร้องอาญาแพทย์นั้น ข้อเท็จจริงไม่มีคนไข้ที่อยากฟ้องแพทย์ จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในจำนวนผู้เสียหายที่เข้ามาปรึกษา 600 ราย มีไม่ถึง 10 ราย ที่ฟ้องคดีอาญา สาเหตุมาจากการพิจารณาของแพทยสภาที่ล่าช้าจนเกิดปัญหาอายุความแพ่งที่จะหมดลง จึงต้องยืนฟ้องคดีอาญาเพื่อยืดอายุความคดีแพ่งออกไป นอกจากนี้การฟ้องส่วนใหญ่เป็นการฟ้องโรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องร้องแพทย์ด้วย

 “ แพทยสภาควรพูดให้ชัด เพราะผู้เสียหายไม่ได้ฟ้องแพทย์แต่ฟ้องหน่วยงาน ดังนั้นแพทยสภาไม่ควรให้ข้อมูลที่สร้างความตื่นตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์ ทั้งที่ไม่เป็นข้อเท็จจริง อีกทั้งไม่ได้ทำให้การฟ้องแพทย์เพิ่มขึ้น แต่ช่วยลดปัญหาการฟ้องแพทย์ลง เพราะผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยเร็ว ” น.ส.บุญยืน กล่าว และว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการต่อต้านของแพทย์บางกลุ่มที่เป็นขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น เกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นในต้นปีหน้านี้หรือไม่ เนื่องจากมีอดีตกรรมการแพทยสภาบางคนเป็นคนเปิดเรื่องนี้

 ด้าน นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ก่อตั้งมา 8 ปีแล้ว เหมือนว่าเรายืนคนละฝั่งกับวิชาชีพมาโดยตลอด ซึ่งในการแก้ไขปัญหามองว่า การฟ้องร้องไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะทำให้บุคลากรทางการแพทย์หวั่นไหว ขณะที่คนไข้ก็ถูกปิดกั้นการหาข้อมูลทุกรูปแบบ ส่งผลให้ความขัดยังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตนก็ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้งอีกต่อไป จึงเสนอขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด จนมีการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข แต่ไม่เข้าใจว่า เมื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ที่มาจาการเสนอของทุกภาคส่วน ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาและกำลังเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา ทำไมแพทยสภาเพิ่งออกมาเคลื่อนไหว ทั้งๆ ที่ในการประชุมพิจารณาในชั้นกฤษฎีกามีตัวแทนแพทยสภาเข้าร่วมทุกครั้ง หรือว่าไม่ต้องการเห็นสังคมมีความสงบสุขหรืออย่างไร เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นทางออกเพียงทางเดียงของคนไข้ ปัญหานี้เหมือนกับลูกโป่งหากถูกกดดันมากจะให้พวกเราใช้ความรุนแรงหรืออย่างไร 

 นางปรีญานันท์ กล่าวว่า ส่วนการฟ้องคดีอาญาที่แพทย์ตระหนกนั้น ขอชี้แจงให้สบายใจว่า สาเหตุเป็นการฟ้องเพื่อดึงคดีแพ่งที่มักถูกดึงโดยหน่วยงาน เพื่อให้คดีมีอายุความยืดเป็น 10 ปี และการเจราจาไกล่เกลี่ยมักใช้เวลานานมาก มีการปิดกั้นการขอเวชระเบียนทำให้เกิดความโกรธและฟ้องร้อง ขณะที่กฎหมายฉบับนี้จะทำให้การชดเชยรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ชดเชยแต่เฉพาะเรื่องเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังการเป็นยุติคดีทางแพ่งโดยสิ้นเชิง เพราะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนการฟ้องอาญาแพทย์นั้นตัดไปได้เลย เพราะเมื่อผู้ป่วยได้รับการชดเชยก็ไม่รู้จะไปจ้างทนายเพื่อฟ้องทำไมอีก

 “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ขอประกาศว่า หาก ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขบังคับใช้เมื่อไหร่ เราจะตั้งโต๊ะแถลงข่าวประกาศเลิกเครือข่ายอย่างเป็นทางการ จะไม่มีการฟ้องหมอ หรือรวมตัวกันอีกต่อไป เพราะกลไกลที่เข้ามาดูแลแล้ว และเราเองไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้ง สร้างปัญหาให้สังคม เพราะสังคมไทยวันนี้แตกแยกพอแล้ว และไม่อยากมีมือที่ 3 มาใช้ความเจ็บปวดในชีวิตพวกเรามาหาผลประโยชน์ เคลื่อนไหวทางใดทางหนึ่งต่อไป และขอวิงวอนให้ฝ่ายวิชาชีพเลิกต่อต้าน และหันมาช่วยกันหาทางออกของปัญหา หากจะเคลื่อนไหวขอให้ไปในสภาเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งคิดว่าเป็นทางออกของคนที่มีปัญญา เราเลิกทะเลาะกันเถอะ เพราะตัวเองก็เบื่อ มันหลายปีมาแล้ว ” ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าว

 น.ส.สุภรัทา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งให้เกิดการฟ้องอาญาแพทย์ เพียงแต่เป็นการขยาย มาตรา 41 ในการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ครอบคลุมระบบหลักประกันอื่นๆ ด้วย ซึ่งจากข้อมูลหลังที่ได้บังคับใช้มาตราดังกล่าวในช่วง 6-7 ปี มีผู้ขอใช้สิทธิ์เพียง 810 ราย ในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์รับการชดเชย 660 ราย และมีการจ่ายเงินชดเชย 73 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 100,000 บาทเท่านั้น ทั้งนี้เห็นว่าความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น มาจากการให้ข้อมูลที่ผิด ซึ่งยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์ได้ ทั้งนี้อยากให้แพทย์อ่านเนื้อหาร่างกฎหมายให้ดี อย่าฟังเพียงแต่ข้อมูลที่มีคนนำเสนอ