ผู้เขียน หัวข้อ: ความจริงและความเท็จของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ  (อ่าน 1638 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

ปรากฏการณ์ของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายประชาชนกลุ่มโรคมะเร็ง โรคไตวาย ได้ออกมาอ้าง “แผนการล้มหลักประกันสุขภาพ” ว่ามีกลุ่มองค์กรต่างๆ ถึง 7 กลุ่มมีแผนการที่จะล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งได้ออกแถลงการณ์ แถลงข่าว ทั้งทางสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์หรือทางจดหมายอีเล็คโทรนิคอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีแนวโน้มที่จะเชื่อกลุ่มคนหลักรักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า มีคนจ้องจะทำลายระบบบัตรทองเนื่องจากเสียผลประโยชน์จากการที่ประชาชนได้รับบริการฟรีที่อ้างว่ามีความเสมอภาคและเท่าเทียม
 
บทความของใบตองแห้งออนไลน์ เรื่องเพื่อไทยจะถลุง 30 บาท ใน ประชาไทออนไลน์ ก็ได้อธิบายว่ามีใครเสียผลประโยชน์จากโครงการบัตรทองบ้าง และเนื่องจากนายใบตองแห้งได้กล่าวชื่อผู้เขียนด้วย ก็เลยจะขอใช้สิทธิถูกพาดพิง อธิบายความจริงที่ผู้เขียนได้ตระหนักด้วยตนเอง (และจากเรื่องที่เพื่อนแพทย์ได้เล่าให้ฟัง) ในแง่ของแพทย์ผู้เคยปฏิบัติงานให้การดูแลรักษาประชาชนก่อนระบบ 30 บาท และหลังระบบ 30 บาท เพื่อให้ประชาชนที่อยู่นอกวงการแพทย์หรือนอกแวดวงโรงพยาบาล และนักการเมืองผู้ต้องรับผิดชอบการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน ได้รู้เรื่องความเท็จและความจริงในเรื่องหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ดังนี้
 
1.ก่อนระบบ 30 บาท โรงพยาบาลตรวจรักษาผู้ป่วยในราคาถูก ถือว่าเป็นสวัสดิการที่ราชการจัดให้ประชาชน  โดยโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากประชาชนผู้ที่ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลมีเงินเก็บเป็นทุนสำรองไว้ใน “คลัง” ของโรงพยาบาล เรียกว่า “เงินบำรุงโรงพยาบาล” เงินจำนวนนี้ผู้อำนวยการและกรรมการบริหารรพ.สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาโรงพยาบ าลและ “จ้าง”บุคลากรมาช่วยทำงานในโรงพยาบาลได้
 
 แต่ตอนเริ่มต้นของระบบบัตรทอง รัฐบาลไทยรักไทยมองเห็นเงินใน “คลัง” ของโรงพยาบาล จึงจัดสรรงบประมาณรายหัวในการรักษาประชาชนเป็นงบประมาณขาดดุล(ติดลบ)แค่หัวละ 1,200 บาทต่อปี ทำให้โรงพยาบาล (รพ.) ต่างๆต้อง “ล้วง”เอาเงินในคลังมาใช้จนหมด รพ.จึง “ปรับราคาค่าตรวจรักษาผู้ป่วยมากขึ้น” แต่ก็เรียกเก็บเงินในระบบ 30 บาทไม่ได้เพิ่มขึ้นอยู่ดี เพราะสปสช.กำหนดระเบียบและอัตราการจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลโดยไม่สนใจตัวเลข ทางบัญชีของโรงพยาบาล และถึงแม้ในปัจจุบันจะเพิ่มงบรายหัวไปจนถึง 2,800 บาท แต่เพิ่มสิทธิประโยชน์อีกมาก งบประมาณก็คงไม่พอสำหรับทำงานให้มีมาตรฐานอยู่ดี
 
  การที่หมอในรพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปออกมาให้ข้อมูลเรื่องการขาดทุนมาก ก็เพราะการรักษาผู้ป่วยในรพ.เหล่านี้เป็นการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน(ในระดับที่รพ.ชุมชนไม่สามารถรักษาได้)  รพศ./รพท.จึงได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานได้เนื่องจากขาดงบประมาณ
 
แต่ในระบบประกันสังคม(สปส.)และสวัสดิการข้าราชการสามารถจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยใน ระบบสปส.และสวัสดิการได้ตามอัตราใหม่ที่ทำให้โรงพยาบาลไม่ขาดทุนจากการรักษาผู้ป่วยนี้
 
ทำให้ตัวเลขการใช้งบประมาณใน 2 ระบบนี้เพิ่มขึ้นมากมาย จนนำไปสู่การกล่าวหาว่า สวัสดิการข้าราชการ “ผลาญงบประมาณจากภาษีประชาชน” และกรมบัญชีกลางหันมาเข้มงวดการจ่ายเงินในระบบสวัสดิการข้าราชการ โดยลดการจ่ายเงินผู้ป่วยในเหลือเท่ากับระบบบัตรทองจึงทำให้ โรงพยาบาลขาดทุนมากขึ้น (มีตัวเลขจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแสดงไว้อย่างชัดเจน)
 
2. การที่โรงพยาบาลขาดทุนในการดำเนินงานตามภารกิจที่ต้องตรวจรักษาประชาชนนี้ ทำให้ปสปช. “กำหนดรายการยา” ที่แพทย์จะรักษาผู้ป่วยได้เป็นบางรายการเท่านั้น  คือสปสช. “ใช้เม็ดเงิน” เป็นข้อกำหนดให้แพทย์ปฏิบัติในการสั่งการรักษาผู้ป่วย หรือกำหนด “มาตรฐานขั้นต่ำ” ในการรักษา แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งยา “ที่เหมาะสมที่สุด”ที่ผู้ป่วยสมควรจะได้รับ 
 
      เปรียบให้เข้าใจอย่างชัดเจนก็คือเรื่องการที่รัฐบาลให้ประชาชนสามารถเดินทางได้ โดยการนั่งรมเมล์ร้อน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ)หรือรถไฟชั้นสามฟรีเท่านั้น แต่ประชาชนไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินชั้นหนึ่งฟรีทั่วประเทศและต่างประเทศ เหมือน สส. สว.หรือรัฐมนตรี แบบนี้จะถือว่าการเดินทางมีมาตรฐานเดียว เสมอภาคและเท่าเทียม หรือไม่?
 
  แต่การเดินทาง ไม่ว่าจะไปแบบประชาชน หรือรัฐมนตรี ก็คงถึงที่หมายเหมือนกัน อาจจะใช้เวลายาวนานกว่ากันบ้าง
 
ส่วนการรักษาผู้ป่วยนั้น การรักษาและการใช้ยาที่ไม่เหมือนกัน ก็ไม่สามารถให้ผลดีในการรักษาเหมือนกัน อาจจะไม่ถึงเป้าหมายของการรักษาโรคคือไม่หายจากโรคแต่อาจจะหายจากโลกเร็วขึ้น
 
  นี่จึงเป็นต้นเหตุให้พวกเรา สผพท.ที่เป็นกลุ่มนักวิชาการและนักปฏิบัติทางการแพทย์ในการดูแลรักษาประชาชน ในระบบบัตรทอง ได้ออกมาให้ความเห็นเพราะความห่วงใยต่อสุขภาพของประชาชนจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค และระบบการแพทย์ไทยในระบบบัตรทองจะถอยหลังเข้าคลอง เพราะงบประมาณไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถให้การรักษาประชาชนตามมาตรฐานการแพ ทย์ที่ดีและทันสมัย เหมือนกับในโรงพยาบาลเอกชนที่สามารถรักษามาตรฐานการแพทย์ได้ดี มีชื่อเสียงไปทั่วโลก จนเป็นที่เชื่อถือของประชาชนที่มีเงินจ่ายและชาวต่างชาติที่มั่นใจในมาตรฐานการแพทย์ไทย

3.  กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากการเป็นบอรด์และอนุกรรมการสปสช.มาอย่างยาวนาน ๒ วาระแล้วแต่ปีนี้ไม่ได้เป็น  โดยกลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและอนุกรรมการในระบบนี้มากมาย ที่มีที่มาจากชมรมแพทย์ชนบท และในกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สามารถเข้ามาเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างมากจากการมาเป็นกรรมการและอนุกรรมการของสปสช. ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นกรรมการบอรด์สปสช.มา 2 วาระ ในวาระแรกเป็นบอร์ดในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิการแพทย์แผนไทย ต่อมาในวาระที่สอง มาเป็นบอร์ดในนามกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิการแพทย์ทางเลือก ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามเป็นกรรมการบอร์ดติดต่อกันเกิน 2 วาระ  แต่ในปีนี้นพ.วิชัยฯ สามารถเข้ามาเป็นบอร์ดในนามกลุ่มองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มคนรักหลักประกันน่าจะยื่นให้ศาลตรวจสอบว่า นพ.วิชัยฯ ขาดคุณสมบัติในการเป็นบอร์ดในปีนี้หรือไม่ เนื่องจากเป็นคนๆเดียวกันแต่เปลี่ยนหมวกใหม่เท่านั้น (แต่กลุ่มรักหลักประกันคงไม่ทำหรอก เพราะเป็นกลุ่มเดียวกัน) และถ้าเราไปดูรายชื่อกลุ่มคนรักหลักประกันทั้งหลาย ต่างก็เคยเป็น และกำลังเป็นบอร์ด หรืออนุกรรมการต่างๆของสปสช.มาแล้วทั้งสิ้น จึงน่าสงสัยว่า ใครที่กำลังจะสูญเสียผลประโยชน์จากการเป็นกรรมการและอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
โดยหลายคนในกลุ่มนี้ไม่ได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในปีนี้ คนที่เป็นบอร์ดจากกลุ่มนี้จึงประท้วงไม่เข้าประชุมถึง 3 ครั้ง และนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครองในขณะนี้
 
4. ที่สำคัญก็คือเลขาธิการสปสช.คนปัจจุบันกำลังจะหมดวาระในเร็วๆนี้ แต่เลขาธิการสปสช.กำลังถูกสตง.ชี้ประเด็นความผิดอย่างน้อย 7 ประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งในการบริหารสำนักงานและการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  คงจะเป็นผลให้เลขาธิการสปสช.คนนี้ไม่สามารถจะกลับมานั่งเก้าอี้เลขาธิการได้ เป็นสมัยที่สอง กลุ่มที่กำลังเสียประโยชน์จากการไม่ได้เป็นบอร์ด จึงได้ออกมากล่าวหาว่าการเมืองจะ “ล้วงลูก” ในการบริหารสปสช.หรือกล่าวว่าพรรคเพื่อไทยเขียนด้วยมือและลบด้วยเท้า
 
แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบัน  ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องจากที่สตง(สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน).ชี้ประเด็นไว้แล้ว ไม่เช่นนั้นรมว.สาธารณสุขก็อาจจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ที่ปล่อยให้เลขาธิการสปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่ยุค พ.ศ. 2548- 2554กระทำความผิดโดยไม่ได้ดำเนินใดๆตามกฎหมายต่อเนื่องจากการชี้ประเด็นของสตง.

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณศุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
20 มค.55