30บาทรักษาทุกที่ สุขภาพดี เริ่มที่ใกล้บ้าน ของ สปสช ทางเลือกใหม่ (สำหรับอาการป่วยเล็กน้อย) สะดวก ไม่ต้องรอคิว ลดความแออัดในโรงพยาบาล 32อาการ รับยาฟรีที่ร้านยาคุณภาพ กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม ในที้นี้จะขอเสนอมุมมองด้านกฎหมายของประเทศไทย (แต่ละประเทศมีกฎหมายของตัวเอง ซึ่งแตกต่างกัน ตามบริบทของประเทศนั้นๆ)
เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องรักษา ประชาชนก็จะไปหาหมอ(+พยาบาล) ที่สถานพยาบาล นี้เป็นสิ่งที่รับรู้และปฏิบัติกันมาตลอด หากคิดว่าตัวเองเป็นไม่มาก (หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ) ก็จะดูแลตัวเอง ด้วยการบำบัดเบื้องต้น(พื้นบ้าน/ทางเลือก)ตามความรู้ที่สืบทอดกันมา หรือ
ไปซื้อยากินเอง ที่ร้านขายยา (+-เภสัชกร แนะนำ) หายหรือไม่หาย ก็แล้วแต่ภาวะของโรคที่เป็น ถ้าไม่หายก็จะไปรักษาที่สถานพยาบาล (ภาครัฐ หรือเอกชน) นี่คือ บริบทของสังคมไทยที่เป็นมาแต่ดั่งเดิม
30 บาทรักษาทุกที่ มีบริการเพิ่มเติมอะไรบ้าง :
สปสช. ที่ผ่านได้เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอยู่เรื่อยๆ นอกจากไปรับบริการที่สถานพยาบาล เช่น
คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น: เจ็บ ไข้ ไอ ปวด รับบริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแบบผู้ป่วยนอก และ
คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น: รับบริการการพยาบาลพื้นฐาน เช่น ทำแผล ล้างแผล และตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 อาการ ซึ่ง
ไม่มีประเด็นในแง่ของกฎหมาย เพราะ คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น ตรวจ/รักษาโดยแพทย์ (ตาม พรบ.วิชาชีพเวชกรรม) และ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น (ตาม พรบ.วิชาชีพการพยาบาลฯ และข้อบังคับสภาการพยาบาล) ซึ่งมีการตรวจ และรักษาตามมาตรฐานของบริการสาธารณสุข
* (ภาครัฐมีหลายระดับ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต., โรงพยาบาลชุมชน รพช., โรงพยาบาลทั่วไป รพท. หรือ โรงพยาบาลศูนย์ รพศ. เป็นต้น)
ล่าสุด ร้านยาคุณภาพ: เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการ มีคำถามตามมา เช่น เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย (32 อาการ) ไปที่ร้านยาคุณภาพ(ที่เข้าโครงการกับ สปสช.) แล้ว
มีการตรวจ (ดูแล, บำบัด)รักษา หรือไม่ -
ถ้ามีการตรวจรักษา ใครเป็นผู้ตรวจรักษา ซึ่งตามกฎหมายเปิดให้ทำได้โดย แพทย์ และพยาบาล(เวชปฏิบัติ) ในกรณีนี้ผู้ป่วย(อาการเล็กน้อย 32 อาการ)ก็จะเป็นผู้รับบริการ (ตาม พรบ.หลักประกันแห่งชาติ)
-
ถ้าไม่มีการตรวจรักษา จะถือเป็นบริการสาธารณสุข ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้หรือไม่? ผู้ป่วย(อาการเล็กน้อย 32 อาการ)จะเป็นผู้รับบริการหรือไม่? แล้วใครเป็นผู้ให้บริการ?
ซึ่งต่างจากการที่ประชาชนไปซื้อยาที่ร้านยา ซึ่งถือเป็น
การขายยา (ตาม พรบ.ยา) ซึ่งไม่ได้เป็นการบริการสาธารณสุขที่รัฐมีให้ประชาชน
คำถามต่อมา คือ ตามมาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ได้รับความเสียหาย หากผู้ป่วย(32 อาการเล็กน้อย) แย่ลง หรือเสียหายจากการไปรับยาตามโครงการของ สปสช. จะ
ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.41) ได้หรือไม่?"อาการ(symptoms)"เป็นความรู้สึก/ความคิดของผู้ป่วย ว่า "มาก" หรือ"น้อย" ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่า เจ็บป่วย(ด้วยโรคที่)เล็กน้อย หรือรุนแรงตามความรู้สึกของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบริการสาธารณสุข การตรวจเพื่อหา "อาการแสดง(signs)" จะนำไปสู่การวินิจฉัย ว่า เป็นโรคที่เล็กน้อย หรือรุนแรงกันแน่
ดังนั้นเราจะไม่รู้เลยว่า เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่ จนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการตรวจ และวินิจฉัยโรค
ถ้าจะไม่ให้มีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ทางออกในเบื้องต้นของโครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ผู้ที่จะให้บริการดูแลรักษาอาการเล็กน้อย(เบื้องต้น)ที่ร้านยาคุณภาพ อย่างน้อยน่าจะเป็น
พยาบาลเวชปฏิบัติ ตามกฎหมายเท่าที่มีอยู่ (เหมือนคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น)
นอกจากประเด็นด้านกฎหมายแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
ความจำเป็น,
ความปลอดภัย และ
ความคุ้มค่า ของโครงการ
*
จำนวนหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามระดับของสถานพยาบาล
โรงพยาบาลศูนย์
(รพศ.)35 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป
(รพท.)92 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน
(รพช.)776 แห่ง สาธารณสุขอำเภอ
(สสอ.)878 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
(รพ.สต.)9,781 แห่ง (ข้อมูลจาก HDC Dashboard กระทรวงสาธารณสุข 2566)