ผู้เขียน หัวข้อ: ความคิดเห็นของแพทย์ใช้ทุนปี2-3 (ทฤษฎี, หัตถการ, กรอบเวลาการทำงานของแพทยสภา)  (อ่าน 320 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด

จากกรณี สมาพันธ์แพทย์รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ “ความคิดเห็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้าย (extern)
ต่อหลักสูตรและชีวิตนักศึกษาแพทย์” ซึ่งเป็นข้อมูลจากนักศึกษาแพทย์ก่อนจบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทางสมาพันธ์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ซึ่งจบหลักสูตรแพทย์ฯ แล้ว ว่ามีประสบการณ์และความคิดเห็น แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ผลแบบสอบถาม: ความคิดเห็นแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์
เพิ่มพูนทักษะ”
สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป ได้สำรวจความคิดเห็นของแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ” ในช่วง 1 ก.ค. ถึง 30 ต.ค. 2567 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 107 คน
หมายเหตุ: แพทย์ใช้ทุนที่ร่วมตอบแบบสอบถามบางคน อาจไม่ตอบคำถามทุกข้อ


ช่วงเวลาสำรวจ คือ 1 ก.ค. ถึง 30 ต.ค. 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม 107 คน ทั้งที่ฝึกเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาล
ศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม แพทย์ใช้ทุนฯ ให้ข้อมูลว่า ขณะศึกษาอยู่ในคณะแพทย์มีจำนวนผู้ป่วยและหัตถการให้ฝึกฝนเพียงพอ 57%

เมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ คิดว่าตนเองมีความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพ 78 %  และ สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเอง (พบ.1) ได้ครบ (ตามที่กำหนด) 70%
โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy, Intercostal drainage, Episiotomy, Removal of nail or nail fold, Neonatal resuscitation, Normal labor


เมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้ว แพทย์ใช้ทุนฯ ตอบว่าความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพเพิ่ม
เป็น 91 % และสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบเพิ่มเป็น 86% โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy, Episiotomy, Intravenous fluid infusion



สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้วต้องทำได้ด้วยตนเอง (พท.1) ได้ครบ (ตามที่กำหนด) เพียง 29% โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Tubal ligation & resection (postpartum), Venesection or central venous catheterization, Insertion of intrauterine contraceptive device แต่มีความมั่นใจปานกลางถึงมากในการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และ ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic heart disease) 96 – 98%



คิดว่าโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะมีประโยชน์มากถึงมากที่สุด 92% แต่ขณะฝึกอบรมในฐานะแพทย์เพิ่มพูนทักษะ อยู่ในกรอบของประกาศแพทยสภา เรื่อง แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ (ทำงานนอกเวลาราชการไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์, เวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่เกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน, ปฏิบัติงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ต้องได้พักผ่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง) เพียง 33%

ความเห็นเพิ่มเติมต่อหลักสูตรแพทย์และโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ได้แก่ ควรมีการจำกัดเวลาการทำงานของแพทย์
เพิ่มพูนทักษะ, โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะทำให้มีโอกาสฝึกฝนการตัดสินใจและการทำหัตถการ, บางครั้งแพทย์เพิ่มพูนทักษะต้องดูแลผู้ป่วยโดยไม่มีสตาฟดูแลอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ความเครียด และถูกฟ้องร้อง, สตาฟที่ใจดีทำให้แพทย์ใช้ทุนทำงานด้วยความสบายใจ, ขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ไม่ได้ฝึกการตัดสินใจด้วยตนเองและฝึกทำหัตถการเพราะแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ทำ ได้เพียงช่วยหรือสังเกตการณ์, ติดภาระงานทำให้ไม่สามารถไปฝึกฝนหัตถการ

สมาพ้นธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ
22 พฤศจิกายน 2567
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤศจิกายน 2024, 11:45:23 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
แบบสอบถาม และความคิดเห็นของแพทย์ใช้ทุนปี2-3
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2024, 23:47:55 »
ผลแบบสอบถาม: ความคิดเห็นแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์
เพิ่มพูนทักษะ”

สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป ได้สำรวจความคิดเห็นของแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ” ในช่วง 1 ก.ค. ถึง 30 ต.ค. 2567 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 107 คน
หมายเหตุ: แพทย์ใช้ทุนที่ร่วมตอบแบบสอบถามบางคน อาจไม่ตอบคำถามทุกข้อ

คำถามที่ 1 ท่านคิดว่าช่วงที่ศึกษาอยู่ในคณะแพทย์ จำนวนผู้ป่วยที่ให้เรียนรู้และจำนวนหัตถการที่ให้ฝึกฝน เพียงพอ
หรือไม่
(107 คำตอบ)
คำตอบ เพียงพอ 61 คน (57%) ไม่เพียงพอ 46 คน (43%)

คำถามที่ 2 เมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ความรู้ด้านทฤษฎีของท่านเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพ หรือไม่ (107 คำตอบ)
คำตอบ เพียงพอ 83 คน (78%) ไม่เพียงพอ 24 คน (22%)

คำถามที่ 3 เมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ท่านสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าแพทย์ที่จบหลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเอง หรือ หัตถการระดับที่ 1.1 (พบ.1) ครบทั้ง 30 รายการ หรือไม่ (107 คำตอบ)
คำตอบ สามารถทำได้ครบ 75 คน (70%) ไม่สามารถทำได้ครบ 32 คน (30%)
หัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy (artificial rupture of membranes at time of delivery) 12 คำตอบ Intercostal drainage 12 คำตอบ Episiotomy 7 คำตอบ Removal of nail or nail fold 6 คน Neonatal resuscitation 5 คำตอบ Normal labor 5 คำตอบ

คำถามที่ 4 ท่านเข้าร่วมโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ณ สถานพยาบาลใด (104 คำตอบ)
คำตอบ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป 100 คน รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม 4 คน

คำถามที่ 5 เมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้ว ความรู้ด้านทฤษฎีของท่านเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพ
หรือไม่
(105 คำตอบ)
คำตอบ เพียงพอ 96 คน (91%) ไม่เพียงพอ 9 คน (9%)

คำถามที่ 6 เมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้ว ท่านสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าแพทย์ที่จบ
หลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเอง คือหัตถการระดับที่ 1.1 (พบ.1) ครบทั้ง 30 รายการ หรือไม่
(106 คำตอบ)
คำตอบ สามารถทำได้ครบ 91 (86%) ไม่สามารถทำได้ครบ 15 (14%)

หัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy (artificial rupture of membranes at time of delivery) 4 คำตอบ
Episiotomy 4 คำตอบ Intravenous fluid infusion 3 คำตอบ

คำถามที่ 7 เมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ท่านสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าแพทย์ที่ผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้วต้องทำได้ด้วยตนเอง หรือ หัตถการระดับที่ 2.1 (พท.1) ครบทั้ง 18 หัตถการ หรือไม่ (เข้าเงื่อนไข 103 คำตอบ จาก 105 คำตอบ)
คำตอบ สามารถทำได้ครบ 30 (29%) ไม่สามารถทำได้ครบ 73 (71%)

หัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Tubal ligation & resection (postpartum) 47 คำตอบ Venesection or central
venous catheterization 38 คำตอบ Insertion of intrauterine contraceptive device 20 คำตอบ

คำถามที่ 8 ท่านมีความมั่นใจในการดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยในสภาวะดังต่อไปนี้เพียงใด
คำตอบ
ผู้ป่วยอุบัติเหตุ: มาก 58 คำตอบ ปานกลาง 47 คำตอบ น้อย 2 คำตอบ (มั่นใจปานกลางถึงมาก 98%)
ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke): มาก 84 คำตอบ ปานกลาง 20 คำตอบ น้อย 3 คำตอบ (มั่นใจปานกลางถึงมาก 97%)
ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic heart disease): มาก 53 คำตอบ ปานกลาง 50  คำตอบ น้อย 4 คำตอบ (มั่นใจปานกลางถึงมาก 96%)

คำถามที่ 9 ขณะปฏิบัติงานในฐานะแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ท่านปฏิบัติงานอยู่ในกรอบของประกาศแพทยสภาที่ 56 /
2565 เรื่อง แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ หรือไม่
(107 คำตอบ)
กรอบการทำงานสำหรับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ
1. ชั่วโมงการทำงานของแพทย์นอกเวลาราชการ ไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
2.  ระยะเวลาการทำงานเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน
3. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง แพทย์ต้องได้รับการพักผ่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ขึ้นไป
คำตอบ อยู่ในกรอบ 35 คน (33%) ไม่อยู่ในกรอบ 72 คน (67%)
ไม่อยู่ในกรอบข้อที่หนึ่ง 40 คำตอบ, ไม่อยู่ในกรอบข้อที่สอง 13 คำตอบ, ไม่อยู่ในกรอบข้อที่สาม 45 คำตอบ
สาเหตุ หมอไม่พอ 4 คำตอบ แพทย์ใช้ทุนไม่เพียงพอ 2 คำตอบ

คำถามที่ 10 ท่านคิดว่าโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ มีประโยชน์ต่อท่านเพียงใด (107 คำตอบ)
คำตอบ มากที่สุด 49 คน (46%) มาก 49 คน (46%) ปานกลาง 8 คน (7%) น้อย 1 คน (1%)

คำถามที่ 11 ความคิดเห็นอื่นๆ ต่อหลักสูตรแพทย์ และโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (34 คำตอบ)
คำตอบ ได้แก่ ควรมีการจำกัดเวลาการทำงานของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ, โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะทำให้มีโอกาสฝึกฝนการตัดสินใจและการทำหัตถการ, ควรมีจำนวนแพทย์เพิ่มพูนทักษะที่เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละโรงพยาบาล, บางครั้งแพทย์เพิ่มพูนทักษะต้องดูแลผู้ป่วยโดยไม่มีสตาฟดูแลทำให้มีความผิดพลาด ความเครียดและอาจถูกฟ้องร้อง,  สตาฟที่ใจดีทำให้แพทย์ใช้ทุนทำงานได้ด้วยความสบายใจ, ขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ไม่ได้ฝึกการตัดสินใจด้วยตนเองและฝึกทำหัตถการ เพราะแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ทำ ได้เป็นเพียงผู้ช่วยหรือสังเกตการณ์, ติดภาระงานทำให้ไม่สามารถไปฝึกทำหัตถการได้

สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2024, 12:07:02 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
บทวิเคราะห์: ความคิดเห็นแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2024, 23:53:08 »
บทวิเคราะห์: ความคิดเห็นแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ “หลักสูตรแพทย์ศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ”

จากกรณี สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ “ความคิดเห็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้าย (extern)
ต่อหลักสูตรและชีวิตนักศึกษาแพทย์” ซึ่งเป็นข้อมูลจากนักศึกษาแพทย์ก่อนจบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทางสมาพันธ์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ซึ่งจบหลักสูตรแพทย์ฯ แล้ว ว่ามีประสบการณ์และความคิดเห็น แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ช่วงเวลาสำรวจ คือ 1 ก.ค. ถึง 30 ต.ค. 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม 107 คน ทั้งที่ฝึกเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาล
ศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม แพทย์ใช้ทุนฯ ให้ข้อมูลว่า ขณะศึกษาอยู่ในคณะแพทย์มีจำนวนผู้ป่วยและหัตถการให้ฝึกฝนเพียงพอ 57% เมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ คิดว่าตนเองมีความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพ 78 %  และ สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเอง (พบ.1) ได้ครบ (ตามที่กำหนด) 70% โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy, Intercostal drainage, Episiotomy, Removal of nail or nail fold, Neonatal resuscitation, Normal labor

เมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้ว แพทย์ใช้ทุนฯ ตอบว่าความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพเพิ่ม
เป็น 91 % และสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ ต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบเพิ่มเป็น 86% โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Amniotomy, Episiotomy, Intravenous fluid infusion

สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้วต้องทำได้ด้วยตนเอง (พท.1) ได้ครบ (ตามที่กำหนด) เพียง 29% โดยหัตถการที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ Tubal ligation & resection (postpartum), Venesection or central venous catheterization, Insertion of intrauterine contraceptive device แต่มีความมั่นใจปานกลางถึงมากในการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และ ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic heart disease) 96 – 98%

คิดว่าโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะมีประโยชน์มากถึงมากที่สุด 92% แต่ขณะฝึกอบรมในฐานะแพทย์เพิ่มพูนทักษะ อยู่ในกรอบของประกาศแพทยสภา เรื่อง แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ (ทำงานนอกเวลาราชการไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์, เวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่เกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน, ปฏิบัติงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ต้องได้พักผ่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง) เพียง 33%

ความเห็นเพิ่มเติมต่อหลักสูตรแพทย์และโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ได้แก่ ควรมีการจำกัดเวลาการทำงานของแพทย์
เพิ่มพูนทักษะ, โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะทำให้มีโอกาสฝึกฝนการตัดสินใจและการทำหัตถการ, บางครั้งแพทย์เพิ่มพูนทักษะต้องดูแลผู้ป่วยโดยไม่มีสตาฟดูแลอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ความเครียด และถูกฟ้องร้อง, สตาฟที่ใจดีทำให้แพทย์ใช้ทุนทำงานด้วยความสบายใจ, ขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ไม่ได้ฝึกการตัดสินใจด้วยตนเองและฝึกทำหัตถการเพราะแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ทำ ได้เพียงช่วยหรือสังเกตการณ์, ติดภาระงานทำให้ไม่สามารถไปฝึกฝนหัตถการ

บทวิเคราะห์
แพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 จบหลักสูตรแพทย์และผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะไม่นาน มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพแพทย์มาระยะหนึ่ง ทำให้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรแพทย์ โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์การทำงาน ได้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน

ข้อมูลจากแพทย์ใช้ทุนฯ พบว่า ขณะศึกษาในคณะแพทย์จำนวนผู้ป่วยและหัตถการเพียงพอให้ฝึกฝนเพียง 57% เมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ แล้ว มีความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอเพียง 78%  และสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ แล้ว จะต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบเพียง 70% สอดคล้องกับ ‘ผลสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้าย’ ที่คิดว่าตนเองมีความพร้อมทั้งด้านทฤษฎีและหัตถการเพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพเพียง 43%

แม้โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะมีประโยชน์ช่วยให้แพทย์จบใหม่มีความรู้ด้านทฤษฎีเพียงพอเพิ่มเป็น 91% และสามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าเมื่อจบหลักสูตรแพทย์ฯ จะต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบเพิ่มเป็น 86% และยังทำให้แพทย์ใช้ทุนฯ มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินก็ตาม แต่ยังมีแพทย์ที่ผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ที่ไม่มั่นใจในความรู้ทางด้านทฤษฎีอยู่อีก 9% ไม่สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าแพทย์จบใหม่จะต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบอีก 14% และไม่สามารถทำหัตถการที่แพทยสภากำหนดว่าแพทย์ที่ผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะแล้วต้องทำได้ด้วยตนเองได้ครบอีกถึง 71% โดยหัตถการที่ทำไม่ได้ล้วนเป็นหัตถการที่ต้องทำประจำหรือใช้ในกรณีฉุกเฉิน

ปัญหาที่แพทย์จบใหม่บางส่วนไม่สามารถฝึกทำหัตถการได้ตามเกณฑ์ของแพทยสภา น่าจะเกิดจากจำนวนผู้ป่วยและหัตถการต่อนักศึกษาแพทย์ที่ลดลงเนื่องจากการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มทั้งแพทย์ทั่วไปและเฉพาะทาง การเร่งผลิตแพทย์ทั่วไปทำให้นักศึกษาแพทย์ต้องเฉลี่ยทรัพยากรในการผลิตกันเอง และการเร่งผลิตแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ประจำบ้านที่ยังไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนการดูแลผู้ป่วยและทำหัตถการขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสาขาตนเองอย่างเพียงพอขณะเป็นนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ก็ต้องใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อฝึกฝนเช่นกัน ทำให้นักศึกษาแพทย์และแพทย์เพิ่มพูนทักษะที่ฝึกฝนอยู่ในสถานพยาบาลเดียวกันขาดแคลนทรัพยากรในการฝึกฝนยิ่งขึ้น ดังนั้นการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มไม่ว่าแพทย์ทั่วไปหรือเฉพาะทาง จะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสำหรับนักศึกษาแพทย์และแพทย์เพิ่มพูนทักษะได้

แม้แพทยสภาพยายามแก้ปัญหาคุณภาพแพทย์ด้วยการจัดโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ และออกประกาศแพทยสภา เรื่อง แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ เพื่อลดภาระงาน สามารถเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม แต่แพทย์เพิ่มพูนทักษะส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่แพทย์เพิ่มพูนทักษะรับหน้าที่ให้การบริการด่านหน้าของสถานพยาบาล หากสถานพยาบาลนั้นมีแพทย์ประจำน้อยหรือได้รับแพทย์เพิ่มพูนทักษะจำนวนน้อย แล้วไม่มีการบริหารจัดการที่ดี แพทย์เพิ่มพูนทักษะก็ต้องรับภาระหนัก แต่การแก้ไขด้วยการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มจะกระทบต่อคุณภาพในการผลิต การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์บริการด่านหน้าจึงไม่ควรแก้ไขด้วยการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มเพียงประการเดียว แต่ควรใช้การบริหารจัดการ ได้แก่ การกระจายแพทย์ การมีส่วนร่วมในการให้บริการจากทั้งแพทย์เพิ่มพูนทักษะ แพทย์อื่นๆ รวมทั้งแพทย์ประจำด้วย

แพทย์ที่จบหลักสูตรแพทย์ฯหรือผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างหนัก 6-7 ปี ยังพบว่าส่วนหนึ่งไม่มั่นใจในการประกอบวิชาชีพ ดังนั้นหลักสูตรแพทย์ที่ลดระยะเวลาฝึกอบรมลง ทั้งหลักสูตรแพทย์ 4 ปี และหลักสูตรแพทย์ 2 ปริญญา ที่ต้องศึกษาสาขาอื่นระดับปริญญาโทในเวลาเดียวกัน ย่อมมีโอกาสประสบปัญหามากขึ้น  แพทยสภาและคณะแพทย์ ควรพิจารณาว่าหลักสูตรดังกล่าวเหมาะสมหรือจำเป็นหรือไม่

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์เป็นจำนวนมาก ทำให้การเร่งผลิตแพทย์เพิ่มถูกมองว่าเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และมองว่าทรัพยากรในการผลิต คือ ผู้ป่วยและหัตถการมีไม่จำกัด ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแพทย์บรรเทาลง ประกอบกับจำนวนผู้ป่วยที่สามารถจะใช้เป็นทรัพยากรในการฝึกฝนต่อนักศึกษาแพทย์ไม่เพียงพอ การแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์โดยการเร่งผลิตแพทย์เพิ่มจึงไม่น่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอีกต่อไป ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐบาล คณะแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ควรพิจารณาผลิตแพทย์โดยคำนึงถึงมาตรฐานการผลิต หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ไม่กระทบต่อคุณภาพแพทย์ ได้แก่ การแก้ปัญหาการลาออกของแพทย์ภาครัฐ การกระจายแพทย์ การบริหารจัดการแพทย์ภาครัฐ และการให้สถานพยาบาลเอกชนมีส่วนร่วมในการให้บริการมากขึ้น

สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปฯ

เอกสารอ้างอิง
1.สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป, “ผลแบบสอบถาม ความคิดเห็นแพทย์ใช้ทุน ปีที่ 2-3 ต่อ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และ โครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ”, เวปไซต์สมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
2.สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป, “ความคิดเห็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้าย (extern) ต่อหลักสูตร และชีวิตนักศึกษาแพทย์”, เวปไซต์สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จาก https://www.thaihospital.org/board2/index.php?PHPSESSID=1fg6hb1vii4hnvb1rmihnedt0o&topic=33113.0
3.แพทยสภา, “ประกาศแพทยสภา ที่ 12/2555 เรื่องเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563”
4.นพ.ภีศเดช สัมมานันท์ และนพ.ยุทธนา ป้องโสม, “แพทยศาสตรศึกษาไทย.. จะไปทางไหน?”, Hfocus เจาะลึกสุขภาพ (7 มกราคม 2566) จาก https://www.hfocus.org/content/2023/01/26758
5.แพทยสภา, “ประกาศแพทยสภาที่ 46/2565 เรื่อง แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ”
6.ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์, “อดีตนายกแพทยสภา ขอนายกฯชะลอ-ทบทวนโครงการผลิตแพทย์,” ประชาชาติ (17 เมษายน 2567)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พฤศจิกายน 2024, 15:37:29 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563

หัตถการระดับที่ 1.1 (พบ.1) คือ หัตถการที่สถาบันผลิตแพทย์ต้องสอนและประเมินนิสิตนักศึกษาแพทย์จนทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเมื่อนิสิตนักศึกษาแพทย์ทุกคนจบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สามารถอธิบายข้อบ่งชี้ ข้อห้าม สภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสม ขั้นตอนการกระทำ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้ถูกต้อง สามารถทำได้ด้วยตนเอง วินิจฉัยและดูแล บำบัดภาวะแทรกซ้อนได้

หัตถการระดับที่ 1.1 (พบ.1) มีจำนวนทั้งสิ้น 30 หัตถการ
1 Advanced cardio-pulmonary resuscitation
2 Amniotomy (artificial rupture of membranes at time of delivery)
3 Anterior nasal packing
4 Aspiration of skin, subcutaneous tissue
5 Capillary puncture
6 Endotracheal intubation (adult)
7 Episiotomy
8 External splinting
9 FAST ultrasound in trauma
10 First aid management of injured patient
11 Incision and drainage
12 Injection: intradermal, subcutaneous, intramuscular, intravenous
13 Intravenous fluid infusion
14 Intercostal drainage
15 Local infiltration and digital nerve block
16 Lumbar puncture (adult)
17 Nasogastric intubation and related procedures (gastric gavage, lavage)
18 Neonatal resuscitation
19 Normal labor
20 Pap smear
21 Radial artery puncture for blood gas analysis
22 Removal of nail or nail fold
23 Skin traction of limbs
24 Strengthening and stretching exercise
25 Stump bandaging
26 Suture
27 Urethral catheterization
28 Vaginal packing
29 Venipuncture
30 Wound dressing


หัตถการระดับที่ 2.1 (พท.1) คือ หัตถการที่บัณฑิตแพทย์สามารถอธิบายข้อบ่งชี้ ข้อห้าม สภาพและเงื่อนไข ที่เหมาะสม ขั้นตอนการกระทำ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้ถูกต้อง และโรงพยาบาลในโครงการเพิ่มพูนทักษะต้องกำกับ ดูแลและประเมินแพทย์เพิ่มพูนทักษะ จนทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเมื่อจบโครงการฯ แพทย์เพิ่มพูนทักษะทุกคนสามารถ ทำหัตถการระดับนี้ได้ด้วยตนเอง วินิจฉัยและดูแลบำบัดภาวะแทรกซ้อนได้

หัตถการระดับที่ 2.1 (พท.1) มีจำนวนทั้งสิ้น 18 หัตถการ
1 Abdominal paracentesis
2 Biopsy of skin, superficial mass
3 Cervical dilatation and uterine curettage
4 Contraceptive drug implantation and removal
5 Debridement of wound
6 Endotracheal intubation (children)
7 Excision of benign tumor and cyst of skin and subcutaneous tissue
8 Insertion of intrauterine contraceptive device
9 Joint aspiration, knee
10 Manual vacuum aspiration
11 Plaster of Paris technique
12 Pleural paracentesis (thoracentesis)
13 Posterior nasal packing
14 Removal of foreign body from vagina in
15 Removal of intrauterine contraceptive device
16 Tubal ligation & resection (postpartum)
17 Ultrasonography, gravid uterus
18 Venesection or central venous catheterization