ผู้เขียน หัวข้อ: ล้วงลึก! แพทยสภาแจงทุกข้อสงสัย ฟ้อง สปสช. ย้ำ 'ปลอดภัย' ต้องมาก่อน 'สะดวก'  (อ่าน 272 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
ดั่งสายฟ้าฟาด! เมื่อโครงการที่เป็นหน้าเป็นตาให้ สปสช. อย่างนโยบาย ‘ร้านขายยาชุมชนอบอุ่น’ ที่ปชช.สามารถรับยาฟรีใน 32 กลุ่มอาการ ถูกแพทยสภาฟ้องร้อง และมากกว่านั้นคือศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องเสียด้วย!

ข้อสำคัญที่มีการโต้เถียงเกิดขึ้นคือ ‘ประเด็นการวินิจฉัยโรค’ ที่แพทยสภายึดเป็นจุดยืนว่าเกิดการก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เนื่องจากเภสัชไม่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยโรคตามพรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม
แหล่งข่าววงในเปิดเผยกับโพสต์ทูเดย์ว่า ในขั้นตอนของการบริการของร้านขายยามีการกรอกรหัสโรค (ICD)ในระบบหลังการจ่ายยา ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานการวินิจฉัยโรคแล้วว่ามีการวินิจฉัยโรคและละเมิดกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม

มีข้อมูลว่าทางคณะทำงานแพทยสภา ร่วมกับ ราชวิทยาลัยทางการแพทย์ และสมาคมทางการแพทย์ได้ศึกษาคู่มือดังกล่าวแล้วพบว่า มียาอันตรายหลายอย่างที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านที่ใช้รักษาอาการปกติธรรมดา และยาหลายชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
มีกฎหมายที่ว่าประชาชนสามารถซื้อยาที่ร้านยาได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายในประเด็นประชาชนสามารถวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองเบื้องต้น
แม้จะประเมิน 3 วัน แต่บางโรครอแบบนั้นไม่ได้ หากคนไข้ตายหรือพิการแล้ว คำถามต่อมาใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบ
ดั่งสายฟ้าฟาด! เมื่อโครงการที่เป็นหน้าเป็นตาให้ สปสช. อย่างนโยบาย ‘ร้านขายยาชุมชนอบอุ่น’ ที่ปชช.สามารถรับยาฟรีใน 32 กลุ่มอาการ ถูกแพทยสภาฟ้องร้อง และมากกว่านั้นคือศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องเสียด้วย!

จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่น ส่วนประชาชนก็ได้แต่งงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น? เพราะโครงการดังกล่าวมีมานานกว่า 1 ปีและมีการ ‘อัปเกรด’ จาก 16 กลุ่มอาการเป็น 32 กลุ่มอาการ ภายใต้การประชาสัมพันธ์ว่า รับยาฟรีกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

โพสต์ทูเดย์ รวบรวมประเด็นข้อสงสัยของทุกฝ่าย หอบไปถามและขอข้อมูลจาก  รศ.(พิเศษ) เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา และผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  ตลอดจน ‘แหล่งข่าววงใน’ อย่างตรงไปตรงมา และสรุปเพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

ข้อถกเถียงหลัก ‘เภสัช’ วินิจฉัยโรคหรือไม่? ในนโยบายนี้
ข้อสำคัญที่มีการโต้เถียงเกิดขึ้นคือ ‘ประเด็นการวินิจฉัยโรค’ ที่แพทยสภายึดเป็นจุดยืนว่าเกิดการก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เนื่องจากเภสัชไม่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยโรคตามพรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม

โดยแพทยสภายืนยันจุดยืนคือ 'เพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนในทุกมิติ แต่ความปลอดภัยต่อชีวิตต้องไม่ถูกลดทอนลงไปโดยเด็ดขาด'  ทั้งนี้แพทยสภาชี้แจงว่าประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาที่จะส่งผลต่อ ความปลอดภัยในชีวิตและอนามัยของประชาชนทั่วประเทศในหลายประเด็น

ในแง่ของกฎหมาย หลักคือ การก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา 4 และมาตรา 8(1) แห่ง พรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 ที่แพทยสภามีหน้าที่ต้องดูแลตามกฎหมาย  กล่าวคือ ประกาศดังกล่าวเป็นเสมือนให้การรับรองว่า ‘เภสัชกรสามารถทำงานแทนแพทย์โดยเสมือนทำการวินิจฉัยโรคและจ่ายยาได้เองโดยไม่ต้องผ่านการตรวจรักษาของแพทย์' หรือไม่?

ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและอนามัยของประชาชนทั่วประเทศแล้ว ยังสุ่มเสี่ยงทางกฎหมายต่อเภสัชกรทั่วประเทศในการละเมิดมาตรา 43 แห่ง พรบ.วิชาชีพเวชกรรม รวมไปถึงเจ้าของกิจการร้านขายยาและเภสัชกร ก็จะกระทำผิดตามมาตรา 29 แห่ง พรบ.ยาโดยอาจไม่รู้ตัว  และผิดกฎหมายสถานพยาบาล ซึ่งกม.เหล่านี้มีไว้เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน

อย่างไรก็ตาม นายกเภสัชกรรมได้ออกมาให้ข่าวกับทาง Hfocus.org โดยมีการออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใดสวนทางกับการฟ้องร้องของแพทยสภา โพสต์ทูเดย์ จึงเกิดคำถามว่ามีจุดไหนที่แสดงถึงการวินิจฉัยโรคของ ‘เภสัชกร’ ในนโยบายดังกล่าวหรือไม่?

แหล่งข่าววงในเปิดเผยกับโพสต์ทูเดย์ว่า ในขั้นตอนของการบริการของร้านขายยามีการกรอกรหัสโรค (ICD)ในระบบหลังการจ่ายยา ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานการวินิจฉัยโรคแล้วว่ามีการวินิจฉัยโรคและละเมิดกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม เนื่องจากการกรอกรหัสโรคนั้นจะกระทำได้ โดยแพทย์เท่านั้น มิฉะนั้นหากทำโดยบุคคลอื่นและนำไปเบิกเงินหลวง อาจสุ่มเสี่ยงต่อความผิดที่เกี่ยวข้องบางประเด็น

แม้ว่า สปสช. จะมีการยกเลิกกระบวนการนี้ภายหลัง แต่คำถามคือ ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องหรือไม่? ซึ่งหากไม่มีการกรอกรหัสโรค ฐานข้อมูลผู้ป่วยก็จะบิดเบี้ยวไปหมด เพราะฉะนั้นสถิติว่าคนตายด้วยโรคอะไร ป่วยด้วยโรคใดจะบิดเบี้ยวไปเช่นกัน และจะทำให้มีปัญหาระยะยาวกับการวางแผนทั้งนโยบายสาธารณสุข การตั้งงบประมาณสาธารณสุข และกระทบนโยบายการวางแผนงบประมาณของชาติตามมา

นอกจากนี้แหล่งข่าวยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “คู่มือเภสัชกรชุมชน”  ที่สภาเภสัชกรรมวางแนวทางขึ้นมา โดยให้ความเห็นว่า ในเนื้อหาของคู่มือดังกล่าวเปรียบเหมือนเป็นแนวทางการวินิจฉัยโรคก่อนสั่งจ่ายยาโดยไม่ผ่านการตรวจสอบหรือให้คำแนะนำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ซึ่งทำให้คณะกรรมการแพทยสภาที่มีตัวแทนจากทั้งกระทรวงสาธารณสุขและคณบดีที่ดูแลการเรียนการสอนของแพทย์ทั้งประเทศ เกิดความกังวลว่า ประชาชนทั้งประเทศจะตกอยู่ในความเสี่ยงของการได้รับยาทั้งโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าทางคณะทำงานแพทยสภา ร่วมกับ ราชวิทยาลัยทางการแพทย์ และสมาคมทางการแพทย์ได้ศึกษาคู่มือดังกล่าวแล้วพบว่า มียาอันตรายหลายอย่างที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านที่ใช้รักษาอาการปกติธรรมดา และยาหลายชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่สั่งจ่ายผ่านความเห็นของแพทย์ ที่ต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคก่อนสั่งจ่ายยาเช่น ยารักษาไมเกรน ( Ergotamine) ที่มีผลข้างเคียงรุนแรงถึงขั้นตัดแขนหรือขา เป็นต้น

ประชาชนสงสัย ซื้อยาที่ร้านด้วยตัวเองตลอด ทำไมไม่มีปัญหา
จากประเด็นข้อสงสัยนี้  โพสต์ทูเดย์ ได้ไปสอบถาม รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา และผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่าจะขอชี้แจงตามข้อกฎหมาย  มีกฎหมายที่ว่าประชาชนสามารถซื้อยาที่ร้านยาได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายในประเด็นประชาชนสามารถวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองเบื้องต้น เช่น ท้องเสียและคิดว่าอาหารเป็นพิษจึงไปซื้อคาร์บอนหรือยาแก้ท้องเสีย ซึ่งกฎหมายให้อำนาจเภสัชกรในการขายยาได้ โดยเภสัชกรมีหน้าที่แนะนำเรื่องยา เช่น แพ้หรือไม่ ยาต้องกินกี่ครั้ง อาการที่จะเกิดหลังจากกินยาคืออะไร อำนาจหน้าที่ของเภสัชกรคือให้คำแนะนำเรื่องยา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้เภสัชกรจะไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะมีการให้คำแนะนำอย่างไม่เป็นทางการบ้าง แต่ถือว่าประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามในประเด็นที่มีการเปรียบเทียบกับการจ่ายยาของแพทย์ในคลินิกว่าผิดเช่นกันนั้น รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี กล่าวว่าแพทย์ไม่ได้ขายยาที่คลินิก หากประชาชนจะต้องซื้อยากินเอง ซื้อยาต่อเพิ่มเติมจากที่แพทย์เคยสั่งให้ ต้องไปที่ร้านขายยา ถ้าจะตรงเข้าไปที่คลินิกเพื่อซื้อยานั้นทำไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย กฎหมายตาม พรบ.ยา อนุญาตให้หมอขายหรือจ่ายยาได้เฉพาะคนไข้ที่หมอตรวจเท่านั้น หากไปคลินิกแล้วแพทย์ไม่อยู่มีแต่ผู้ช่วยอยู่แล้วขายยาก็จะผิดทันทีเช่นกัน

นอกจากนี้คลินิกจะมียาเพียงแค่ไม่กี่ประเภทที่หมอจะคุ้นเคยกับยาที่ตนเองสั่งจ่ายยา ต่างกับร้านยาที่มียาในสต็อคเป็นจำนวนมาก ในทางปฏิบัติหากแพทย์พบว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาที่คลินิกไม่มี ก็จะต้องแนะนำหรือออกใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปซื้อยาและรับคำแนะนำเรื่องยาจากเภสัชกรประจำร้านยา

ส่วนการระบุถึงการจ่ายยาโดยไม่เขียนชื่อยาหน้าซองของแพทย์ เพื่อไม่ให้ประชาชนไปซื้อยาเอง เพราะเกรงว่าจะขาดรายได้นั้น ก็ผิดตามกฎหมายซึ่งประกาศใช้มาราว 2 ปี โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า หากคลินิกไหนจ่ายยาไม่มีชื่อยาและรายละเอียดของยานั้นถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งแพทยสภาเห็นด้วยกับกระทรวงสาธารณสุขและสภาเภสัชกรรมอย่างมากเพราะเป็นความปลอดภัยของประชาชนจากการใช้ยา จึงสนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างเต็มที่

แพทย์ระบุการวินิจฉัยก่อนการให้ยาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ และเอาความปลอดภัยมาก่อนความสะดวก
รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา และผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวินิจฉัยโรคก่อนให้ยาว่า บางอาการใน 16 กลุ่มอาการหรือ 32 กลุ่มอาการเป็นอาการที่ดูเจ็บป่วยเล็กน้อยก็จริง แต่ถ้าหากไม่มีการตรวจเพิ่มเติมอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสการรักษาได้ เพราะให้แค่ยากลับไป

" บางคนอาจบอกว่าอีกสามวันมีการโทรติดตามอาการ ซึ่งดูเหมือนจะแค่ไม่กี่วันเองทำไมต้องกังวลด้วย  แต่ก็อยากให้ลองคิดว่าผู้ป่วยได้ยาไปแล้วไม่ดีขึ้น ตอนดึกจะโทรปรึกษาใคร ใครให้คำแนะนำเพิ่มเติมในภาวะเร่งด่วน หลายโรคที่มีการแสดงออกเหมือนเจ็บป่วยเล็กน้อยในครั้งแรกที่มีอาการอาจจะตายหรือพิการได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ดังที่เป็นข่าวเนือง ๆ เช่น เจ็บกล้ามเนื้อแล้วไม่กี่ชั่วโมงก็เสียชีวิตจากหัวใจวาย หากแพทย์ได้มีโอกาสตรวจเบื้องต้นและมีการตรวจร่างกายหรือส่งตรวจเลือดเพิ่มเติม ก็จะช่วยดึงโอกาสรอดชีวิตนี้กลับมาได้ ปวดศีรษะที่ดูเหมือนเล็กน้อยแล้วไปวินิจฉัยว่าเครียด แต่อาจหมายถึงการพิการถาวรครึ่งซีกจากเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งทั้งแพทยสภาและสปสช.เองก็ร่วมกันรณรงค์มาตลอดให้รีบไปพบแพทย์ ทำให้แพทยสภาวิตกห่วงใยประชาชนมากต่อนโยบายเพิ่มความสะดวกแต่ลดความปลอดภัยนี้ ทั้ง ๆ ที่แพทยสภาพยายามเสนอทางออกที่ดีทั้งสองฝ่าย ทั้งความสะดวกและความปลอดภัยแต่ไม่ได้รับการตอบสนองใด ๆ เลยตลอด 1 ปีเศษที่ผ่านมา"

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีการทักท้วงจากแพทย์หลายต่อหลายฝ่ายเพิ่มเติมเข้ามายังแพทยสภา อย่างเช่น ทางราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทยก็ทักท้วงว่า ‘อาการตกขาวผิดปกติของผู้หญิง’ ไม่ใช่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยแล้วไปร้านขายยาซึ่งให้แค่ยาเหน็บ เพราะตกขาวอาจเป็นสัญญาณของมะเร็ง ต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ต้องดูข้อมูลประวัติที่มีในโรงพยาบาล จึงจะทราบไม่ใช่ตกขาวแล้วให้ยาเหน็บเลยเพราะมีแรงจูงใจที่จะไปขึ้นเงินได้ฟรีจากสปสช.

โพสต์ทูเดย์ถามย้ำกลับว่า แต่ในนโยบายดังกล่าวมีการติดตามอาการหลังให้ยา 3 วัน เป็นระยะ ๆ

"หากไม่นับว่าในทางปฏิบัติว่าทำได้จริงแค่ไหน?  แม้จะประเมิน 3 วัน โรคเหล่านี้รอแบบนั้นไม่ได้ หากคนไข้ตายหรือพิการแล้วจะทำอย่างไร คำถามต่อมาใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบ”

ข้อกังวลที่ตามมาหลังการจ่ายยาโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยดังกล่าว ทางแพทยสภาถูกสมาชิกแพทย์ร้องเรียนกลับมาหลายต่อหลายครั้ง ว่าการที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้าจากต้นทาง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับแพทย์แต่ส่งผลเสียต่อประชาชน  ประชาชนจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าการจ่ายยานั้นถูกต้องตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลและการวินิจฉัยโรค สปสช.หรือสภาเภสัชกรรมจะเข้ามาทำหน้าที่นี้แทนแพทยสภาใช่หรือไม่ และหากมีคดีฟ้องร้องเภสัชกรว่าจ่ายยาผิดหรือไม่เหมาะสม เมื่อมีคดีไปสู่ศาล ศาลจะให้องค์กรใดช่วยให้ความเห็นก่อนทำคำพิพากษา?

บทสรุปสุดท้าย ผลเสียนั้น จะเกิดขึ้นแก่ใคร? เมื่อนโยบายนำเอาความสะดวกมาก่อนความปลอดภัย

ล้วงลึก! แพทยสภาฟ้อง สปสช. ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ตอนหน้า ล้วงลึกทำไม แพทยสภาใช้เวลานานกว่าจะฟ้อง แม้จะรู้ว่าจะโดนตำหนิจากประชาชน และตอบข้อสงสัยทำไมหน่วยงานรัฐถึง ‘ไม่คุยกัน’  มีการกล่าวว่าที่ประเทศอังกฤษทำได้ทำไมไทยถึงไม่ทำ?

ทิ้งไว้เพียงว่า แพทยสภาใช้เวลามาเป็นปี แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จนคดีหมดอายุความ ก่อนศาลปกครองสูงสุดกลับคำวินิจฉัยศาลปกครองชั้นต้นหลังจากแพทยสภายื่นอุทธรณ์ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของสาธารณะ!.

18 พฤศจิกายน 2567
โพสต์ทูเดย์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
สส.พรรคประชาชน มองปม 'แพทยสภา' ค้านเภสัชกรจ่ายยา 16 อาการ สะท้อนปัญหาความทับซ้อนของวิชาชีพในระบบสุขภาพไทย ชี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ - ก่อนหน้านี้กรรมการแพทยสภา เผยสาเหตุฟ้องปม สปสช. ให้ 'ร้านยาชุมชนอบอุ่น' จ่ายยา 16 อาการ ว่าเข้าข่ายวินิจฉัยโรค แนะทางออกจ่ายยารูปแบบ OTC ด้าน 'สภาเภสัชกรรม' ออกแถลงการณ์ยืนยันร้านยาที่เข้าร่วมโครงการทุกร้านผ่านการประเมิน เภสัชกรมีความรู้และความสามารถในการจ่ายยากลุ่มยาอันตรายและยาที่จ่ายเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ตาม พ.ร.บ.ยา

เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2567 ว่า นายธัญธร ธนินวัฒนาธร สส.กทม. พรรคประชาชน ให้ความเห็นกรณีแพทยสภาฟ้องสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดำเนินโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น ให้เภสัชกรสามารถจ่ายยา 16 กลุ่มอาการให้ผู้ป่วยผ่านร้านยาได้ โดยชี้ว่าเป็นการขัดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         
นายธัญธร ระบุว่า กรณีนี้สะท้อนถึงความท้าทายของระบบสุขภาพไทย ที่มีความซับซ้อนและการทับซ้อนของขอบเขตวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ของประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งมีข้อดี คือ เพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็วและสะดวก โดยไม่ต้องรอคิวที่โรงพยาบาลนาน ช่วยลดความแออัดในระบบสาธารณสุขได้ อีกทั้งยังช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถได้รับการรักษาเบื้องต้นได้ ส่วนข้อเสีย คือ ความเสี่ยงจากการที่ผู้ป่วยอาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับสาเหตุที่แท้จริงของอาการ อาจนำไปสู่การใช้ยาผิดประเภทหรือการรักษาที่ไม่ตรงจุด ซึ่งเห็นว่าเพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการประสานงานและร่วมมือระหว่างสภาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม โดยเฉพาะการทำให้ร้านขายยามีเภสัชกรวิชาชีพประจำตลอดเวลา และต้องมีการติดตามผลผู้ป่วยที่รับยาอย่างมีประสิทธิภาพ การโทรติดตามผลต้องสามารถดำเนินการจริงและต้องมีระบบตรวจสอบความคืบหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
         
นอกจากนี้ กรณีที่บางอาการอาจมีสาเหตุจากโรคอื่นร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด เช่น ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดหัว อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง ตั้งแต่ไมเกรน คลัสเตอร์ เทนชั่น ไปจนถึงโรคอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก หรือแม้กระทั่งการบาดเจ็บทางสมอง ดังนั้น การซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญ และหากอาการไม่ดีขึ้นภายหลังการใช้ยา ต้องมีการส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเพื่อการตรวจรักษาต่อไป
         
ทั้งนี้ โครงการนี้สามารถสร้างประโยชน์ได้มาก หากดำเนินการอย่างรอบคอบและมีการควบคุมดูแลที่ดี โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

กรรมการแพทยสภา เผยสาเหตุฟ้องปม สปสช. ให้ 'ร้านยาชุมชนอบอุ่น' จ่ายยา 16 อาการ
เว็บไซต์ Hfocus รายงานเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 ว่า จากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับฟ้องคำร้องของแพทยสภา ประเด็นการจ่ายยาตาม 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ซึ่งเป็นโครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสภาเภสัชกรรม เป็นอีกหนึ่งบริการรองรับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว

พญ.ชัญวลี ศรีสุโข กรรมการแพทยสภา ให้สัมภาษณ์กับ Hfocus ถึงกรณีดังกล่าวว่า จริงๆไม่ได้ฟ้องสภาเภสัชกรรม แต่ฟ้องคำสั่งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งโยงกับสภาเภสัชกรรม เพราะเป็นผู้รับดำเนินการ ตามโครงการจ่ายยา 16 อาการของโรค ที่ร้านยาชุมชนอบอุ่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย กลายเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ที่ผ่านมาการจ่ายยาของร้านยาจะทำตามปกติ ไม่ใช่การประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพราะคนไข้เป็นคนสั่งซื้อยา เป็นการรักษาตนเอง จ่ายเงินเอง แต่การตรวจวินิจฉัยโรค และให้การรักษา เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม 2525 หมวด 5 มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

พญ.ชัญวลี กล่าวอีกว่า แพทยสภา ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเภสัชกรจ่ายยากรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย ตรงนี้เราเห็นด้วย เพราะจะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ไม่ต้องไปหาหมอเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่ปัญหาคือ 16 กลุ่มอาการที่มีลิสต์ยาที่สามารถจ่ายได้นั้น พบว่ามียาที่ต้องจ่ายต่อเมื่อมีการวินิจฉัยแล้ว ซึ่งมีรายการยาออกมา เมื่อทางแพทย์เห็นก็กังวล ยกตัวอย่าง เรื่องสูตินรีเวช อย่างมีอาการตกขาว จะจ่ายยากิน ต้องวินิจฉัยก่อน แม้จะเป็นอาการเล็กน้อย แต่เมื่อตรวจภายในพบว่า มีอาการเบาหวานร่วม หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร่วมก็มี

ดังนั้น การจ่ายยา 16 กลุ่มโรค ถือว่ามีการวินิจฉัยแล้ว ตรงนี้คือข้อห่วงใยของแพทยสภา อย่างไรก็ตาม เคยหารือร่วมกันแล้วแต่ไม่ได้ข้อสรุป สุดท้ายจึงต้องดำเนินการฟ้องร้อง แต่ก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นบอกว่าขาดอายุความเพราะต้องฟ้องภายใน 90 วัน ที่ประชุมกรรมการแพทยสภามีมติ เสนอให้อุทธรณ์และปรึกษานักกฎหมายทางการแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญด้านศาลปกครองนักกฎหมายเสนอว่าต้องให้เหตุผล การฟ้องเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพและคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนเป็นประโยชน์ของสาธารณะ จะฟ้องเมื่อไหร่ก็ได้ไม่มีอายุความ เมื่อยื่นอุทธรณ์ด้วยเหตุผล เพื่อประโยชน์สาธารณะ ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำตัดสิน ของศาลปกครองชั้นต้น ให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา พิพากษาตามรูปคดี

“ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้อง ยังต้องมีการดำเนินการต่ออีก ดังนั้น ปัจจุบันยังจ่ายยา 16 อาการได้ ซึ่งปัจจุบันทางสปสช.ได้ขยายเป็น 32 กลุ่มอาการ และไม่ให้ลงคำวินิจฉัยเพื่อหลีกเลี่ยงเข้าองค์ประกอบของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แต่ก็ยังเสี่ยงต่อประชาชนอยู่เพราะการไม่วินิจฉัย และใช้ยาอาจจะไม่สอดคล้องกันยาที่ใช้บางชนิดเป็นยาที่อันตราย ไม่ตรงโรค ทำให้เกิดการดื้อยา ฯลฯ” พญ.ชัญวลี กล่าว

พญ.ชัญวลี กล่าวอีกว่า ตนเสนอว่า หากเภสัชกรร้านยาจ่ายยา ควรปรับรูปแบบการจ่ายยาเป็น over-the-counter drug: OTC ซึ่งไม่ใช่แค่ยาสามัญประจำบ้าน แต่สามารถมาหารือร่วมกันได้ว่า ควรจ่ายยาแบบใด แต่ปรากฎว่า รายการยาที่ออกมาให้จ่ายกลับเป็นยาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยก่อน ซึ่งที่น่ากังวลคือ ยาตา ยาไมเกรน เรื่องนี้แพทยสภาได้หารือกับราชวิทยาลัยต่างๆ ก็มีความเห็นถึงปัญหายาอะไรบ้างที่ต้องผ่านการวินิจฉัย ดังนั้น การจ่ายยา OTC จะเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะสามารถจ่ายให้ผู้บริโภคได้โดยตรงไม่จำเป็นมีใบสั่งยาจากการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งตรงข้ามกับ prescription drug ซึ่งหมายถึงยาที่จะสามารถจ่ายให้ผู้บริโภคก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น

สำหรับ 16 กลุ่มอาการ คือ
1. ปวดหัว (HEADACHE)
2. เวียนหัว (Dizziness)
3. ปวดข้อ (PAIN IN JOINT)
4. เจ็บกล้ามเนื้อ(MUSCLE PAIN)
5. ไข้ (FEVER)
6. ไอ (COUGH)
7. เจ็บคอ (SORE THROAT)
8. ปวดท้อง (STOMACHACHE)
9. ท้องผูก (CONSTIPATION)
10. ท้องเสีย (DIARRHEA)
11. ถ่ายปัสสาวะขัด,ปัสสาวะลำบา,ปัสสาวะเจ็บ (DYSURIA)
12. ตกขาวผิดปกติ(VAGINAL DISCHARGE)
13. อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน (SKIN RASH/LESION)
14. บาดแผล (WOUND)
15. ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตา(EYE DISORDER) 
16. ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหู (EAR DISORDER)
แต่ปัจจุบันได้มีการขยายเป็น 32 กลุ่มอาการ

17 พฤศจิกายน 2567
https://prachatai.com/journal/2024/11/111410

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
*สปสช. เปิดนโยบาย “ร้านยาคุณภาพ” ให้ประชาชนรับยาฟรีสำหรับ 32 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หวังเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ ลดความแออัดในโรงพยาบาล และแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างไร้ประสิทธิภาพ
*แพทยสภาคัดค้านนโยบายดังกล่าว โดยมองว่าการสั่งจ่ายยาบางกรณีอาจเกินความสามารถของเภสัชกร เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และอาจขัดต่อขอบเขตวิชาชีพเวชกรรม
*สภาเภสัชกรรมยืนยันการดำเนินโครงการเป็นไปตามกฎหมาย พร้อมให้เภสัชกรปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และย้ำว่าการรักษาจะดำเนินการตามมาตรฐาน รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยหากจำเป็น
*ความขัดแย้งระหว่างสองวิชาชีพสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสาธารณสุขไทย ที่ยังขาดการบูรณาการบทบาทหน้าที่ การแก้ไขจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและปรับปรุงกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ร้านยาคุณภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หนึ่งในความพยายาม แก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล กำลังกลายเป็นศึกระหว่างสองวิชาชีพที่ต้องจับตาว่าจะจบลงอย่างไร

นโยบาย ร้านยาคุณภาพของฉัน จ่ายยาฟรี สิทธิบัตรทอง 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ต่อมาขยายเป็น 32 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถือเป็นหนึ่งในความพยายาม เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน หวังแก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลและการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขไทยมาอย่างยาวนาน

การดำเนินนโยบายดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั่วไป เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกรณีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้าน การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางเภสัชกรรมได้สะดวกขึ้นยังช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และลดความเสี่ยงจากการซื้อยารับประทานเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง

ทว่า การดำเนินนโยบายร้านยาจ่ายยาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ได้เผชิญกับการคัดค้านอย่างหนักจากแพทยสภา ซึ่งได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง มาตั้งแต่ยุค นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความกังวลในหลายประเด็น ประเด็นสำคัญที่สุดคือเรื่องขอบเขตการประกอบวิชาชีพ โดยแพทยสภาเห็นว่าการวินิจฉัยและสั่งจ่ายยาบางกลุ่มอาการอาจเกินขอบเขตความสามารถของเภสัชกร และอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่อาการแสดงของโรคมีความคล้ายคลึงกัน แต่ต้องการการวินิจฉัยที่แม่นยำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อ้างอิงตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม 2525 หมวด 5 มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ด้าน สภาเภสัชกรรม ออกแถลงการณ์ ตามที่ปรากฏข้อมูลในสื่อเกี่ยวกับประเด็นการที่สภาเภสัชกรรมและสปสช.ถูกฟ้องร้องจากแพทยสภานั้น สภาเภสัชกรรมขอเรียนให้สมาชิกทราบว่า การทำงานตามโครงการของสภาเภสัชกรรมเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยา และ พ.ร.บ.วิชาชีพ

ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมได้เตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรวบรวมทีมนักกฎหมายเพื่อเตรียมการดำเนินการ

สภาเภสัชกรรมขอให้เภสัชกรที่ร่วมโครงการ ยังคงดำเนินการตามปกติ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น, ในการดำเนินการทุกโครงการขอให้ทำตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัดและถูกต้องตามกำหนด และขอให้เภสัชกรแสดงบทบาทการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 มีประชาชนเข้ารับบริการแล้วทั้งสิ้น 1,771,758 คน รวม 4,912,114 ครั้ง สภาเภสัชกรรมขอยืนยันข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดเสียชีวิตจากการเข้ารับบริการในโครงการนี้ และจากการตรวจสอบพบว่าประชาชนทุกคนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และ ประชาชนที่เข้ารับบริการในโครงการนี้มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ย้ำถึงกระบวนการคิดและขั้นตอนสำคัญก่อนการสั่งจ่ายยาของแพทย์ โดยระบุว่า การสั่งจ่ายยาจำเป็นต้องผ่านกระบวนการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) หรืออย่างน้อยต้องมีการวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis) เสียก่อน

“แพทย์จะต้องผ่านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และสั่งการตรวจที่จำเป็นก่อนการสั่งยาทุกครั้ง เราไม่สามารถสั่งยาโดยไม่ผ่านกระบวนการวินิจฉัยโรคได้” นพ.เมธีกล่าว พร้อมเน้นว่า กระบวนการนี้เป็นผลจากการศึกษาและฝึกฝนในหลักสูตรแพทยศาสตร์เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปี และอาจถึง 11 ปีสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ยังชี้ให้เห็นว่า การได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น แพทย์จะต้องผ่านการสอบความรู้ระดับชาติและได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องผ่านการฝึกปฏิบัติจริงในการรับมือและแก้ไขปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนจากการสั่งยา ไม่ใช่เพียงการอ่านคู่มือเพียงเล่มเดียว

“การสั่งยาโดยไม่มีการวินิจฉัยโรคหรือวินิจฉัยแยกโรค หรือไม่พยายามวินิจฉัยแยกโรคโดยปราศจากเหตุอันสมควร ถือเป็นการกระทำที่ผิดทั้งจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพอย่างร้ายแรง”

นพ.เมธี กล่าวอย่างหนักแน่น พร้อมเตือนว่า “โรคร้ายแรงแทบทุกโรค ล้วนเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อยแทบทั้งสิ้น”

ท้ายที่สุด นพ.เมธี ย้ำว่า ความปลอดภัยต่อชีวิตและอนามัยของประชาชนต้องมาก่อนนโยบายใดๆ เสมอ และไม่มีประเทศใดในโลกที่อนุญาตให้มีการสั่งจ่ายยาโดยไม่ผ่านกระบวนการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสม

สปสช. ยันเจ็บป่วยเล็กน้อยรับยา “ร้านยาใกล้บ้าน” จนกว่าศาลสั่ง
แม้ท่าทีแพทยสภาชัดเจนว่าค้านนโยบาย ร้านยาจ่ายยา 32 กลุ่มอาการ ถึงกับร้องศาลปกครอง แต่จนถึงเวลานี้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. ยืนยันว่า ยังคงให้สิทธิผู้ป่วยเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถรับยา ร้านยาใกล้บ้านได้ตามเดิม ตราบเท่าที่ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาด เพราะมีเจตนาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนจะสะดวกไปรับบริการที่โรงพยาบาล ขณะที่หมอก็มีจำนวนจำกัด โครงการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยได้

สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการสำรวจสุขภาพประชาชนทุก 2 ปีว่า เมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้นทำอย่างไร พบว่า 40% ไปร้านยา บอกอาการและซื้อยารับประทาน ทางสปสช.จึงนำข้อมูลตรงนี้มาปรับใช้ในระบบ โดยให้อยู่ในบัตรทองและมีการติดตามอาการโดยเภสัชกร หากรุนแรงขึ้นส่งต่อโรงพยาบาล โดยตัวเลข 40% ดังกล่าว หากมาใช้บริการตรงหน่วยบริการวิชาชีพก็จะลดความแออัดในโรงพยาบาลได้

เลขาธิการ สปสช. ขอไม่ก้าวล่วงในทางกฎหมายระหว่างสภาวิชาชีพ แต่ขอฝากทางสภาวิชาชีพ ช่วยพิจารณาว่า โดย พ.ร.บ.ฯที่ทางสภาวิชาชีพต่างๆ ถือว่า อะไรทำได้ ทำไม่ได้ แต่สปสช.ยืนยันกรณี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ว่า

หน่วยบริการสภาวิชาชีพสามารถเป็นหน่วยบริการในระบบได้แน่ 
เมื่อเป็นแล้วมีเครือข่าย ทั้งวิชาชีพ ทั้งโรงพยาบาล ทั้งแพทย์ อย่างวิชาชีพใดมีปัญหาสามารถส่งต่อโรงพยาบาล
“ยกตัวอย่าง ร้านยาคุณภาพที่ร่วมโครงการ หาก 72 ชั่วโมงโทรติดตามอาการแล้วอาการดีขึ้นถือว่าปกติ แต่หากแย่ลงต้องรีบส่งต่อเครือข่ายตามขั้นตอนต่อไป จริงๆ เคยเจอปัญหา โรงพยาบาลบางแห่งไม่ยอมรับส่งต่อ ซึ่งไม่ได้ จะขัดตามกฎหมาย” นพ.จเด็จ ระบุ

สมศักดิ์ เดินหน้าเปิด “ตู้อุ่นใจ” บอกเรื่องถึงศาลก็ต้องจบที่ศาล
แต่ในจังหวะร้อนแรงระหว่าง “แพทยสภา” กับ “สภาเภสัชกรรม” สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางไปเปิดนวัตกรรมบริการ “ตู้ห่วงใย” ที่ชุมชนสหกรณ์เคหสถานเจริญชัยนิมิตใหม่เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2567 และจะขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องประชาชน เข้าถึงบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและใกล้บ้าน พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะช่วยลดความแออัด และระยะเวลารอคอย  การรักษาพยาบาลได้อีกด้วย

“ตู้ห่วยใย“ ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์วัดสัญญาณชีพต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนสามารถตรวจค่าสุขภาพพื้นฐานที่แม่นยำและรับผลการตรวจทันที ทั้งยังพบแพทย์ผ่านระบบวิดีโอคอล กรณีที่ต้องรับยาสามารถเลือกรับยาที่บ้าน หรือไปรับที่ร้านยาคุณภาพของฉัน ที่เข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยตัวเองได้

โดย สมศักดิ์ ก็ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการฟ้องร้องกันระหว่างแพทยสภากับสภาเภสัชกรรมว่า ทั้ง 2 วิชาชีพต่างก็มีกฎหมายคนละฉบับ ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องร้อนแรง ซึ่งเรื่องเข้าศาลก็ต้องจบที่ศาล ถ้าได้ข้อสรุปร่วมกันก็ไปแถลงต่อศาลก็จบ แต่ถ้าไม่จบก็ว่ากันต่อไปในทางคดี

“เรื่องที่เถียงกันเป็นปัญหาชาวบ้าน หรือปัญหาใคร ถ้าเรามีตู้ห่วงใย ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ด้วย สะดวก เข้าตู้แล้ว คลินิกส่งยาให้ไม่ต้องไปร้านเอง” สมศักดิ์ รมว.สธ. กล่าว

ความขัดแย้งแพทยสภา – สภาเภสัชฯ​ จะจบอย่างไร
ความขัดแย้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสาธารณสุขไทย ที่ยังขาดการบูรณาการระหว่างวิชาชีพและการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนระหว่างบุคลากรทางการแพทย์แต่ละสาขา การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเข้าใจและการยอมรับในบทบาทของแต่ละวิชาชีพ

หากพิจารณาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องดำเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้น ควรมีการจัดทำแนวทางการคัดกรองที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการซับซ้อน นอกจากนี้ ควรมีการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการรักษา

ในระยะยาว ควรมีการพัฒนาระบบ Collaborative Practice ระหว่างแพทย์และเภสัชกร โดยอาจเริ่มจากการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างแพทยสภาและสภาเภสัชกรรม เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน และกำหนดบทบาทและขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน
ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน และสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
ท้ายที่สุด การแก้ไขปัญหานี้ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยต้องสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพและการรักษาความปลอดภัยของผู้ป่วย การพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการยอมรับในบทบาทที่แตกต่างแต่เกื้อกูลกันของบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา

อนาคตของนโยบายร้านยาคุณภาพจะเป็นอย่างไรนั้น? ขึ้นอยู่กับความสามารถในการหาจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของทุกฝ่าย และการพัฒนาระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

19 พ.ย. 2567
https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-76

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
แถลงการณ์แพทยสภา
เรื่อง ความเข้าใจในกรณีการฟ้องศาลปกครอง
เกี่ยวเนื่องกับ โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ๑๖ กลุ่มอาการ
โดยเภสัชกรร้านยา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
................................

กรณีที่แพทยสภาใช้กระบวนการยุติธรรรมทางปกครองกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสภาเภสัชกรรม เรื่องประกาศของ สปสช. ให้ประชาชนที่มีภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อยใน ๑๖ กลุ่มอาการไปรับยาจากเภสัชกรในโครงการ "ร้านยาชุมชนอบอุ่น" ได้นั้น แม้ว่าจะเป็นแนวทางที่มีประโยชน์กับประชาชนในแง่การได้รับยาได้รวดเร็ว และยังอาจช่วยลดความแออัดโนโรงพยาบาลได้ แต่แนวทางดังกล่าว แทนที่ประชาชนส่วนหนึ่งที่เจ็บป่วยจะได้รับการตรวจ รักษา บำบัด เยียวยา อย่างถูกต้องและตรงตามสมมติฐานของโรคอันแท้จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การให้ยาตามอาการแต่อาจไม่ตรงกับโรค ทำให้โรคซับซ้อนขึ้นจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จนถึงมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเพิ่มโอกาสในการดื้อยาอันยากต่อการรักษา
.
แพทยสภามีความตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นต้องขออำนาจศาลปกครองเพื่อให้เกิดการ "หยุดและทบทวน" เพื่อคุ้มครองประชาชน
.
ประเด็นปัญหาสำคัญคือ ประกาศฉบับดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่าให้เภสัชกรเป็นผู้วินิจฉัยและใช้ดุลพินิจในการจ่ายยาหลายประเภท ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่อาจนำอันตรายอย่างร้ายแรงมาสู่คนไข้โดยไม่คาดคิด เช่น กรณีปวดหัว ปวดท้อง อาจคิดว่าเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ซึ่งปวดหัวอาจเป็นอาการนำของเส้นเลือดในสมองแตก การปวดท้องอาจเป็นอาการนำของโรคไส้ติ่งแตก หรือเส้นเลือดแดงใหญ่ปริแตก อาการดังกล่าวจึงควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเร่งด่วน คนไข้จะมีช่วงเวลาจำกัดที่ต้องได้รับการรักษาเพื่อช่วยชีวิต ดังนั้นการจ่ายยาโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงในอาการที่ไม่ได้รับการตรวจ ย่อมไม่สามารถวินิจฉัยแยกโรคหรือวินิจฉัยได้แต่ล่าช้า เสียโอกาสในการรักษา จนนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งมีหลายโรคที่แม้อาการนำแรกเริ่มจะดูเล็กน้อย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญขั้นตอนการตรวจร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำเป็นกระบวนการที่อยู่นอกเหนือขอบเขตวิชาชีพของเภสัชกร แม้ในบางประเทศมีระบบให้คนไข้ไปพบเภสัชกร ก่อนพบแพทย์ จะต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างแพทย์และเภสัชกร ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันในการแยกโรคที่มีภาวะรุนแรงออกไปจนเหลือโรค หรือภาวะที่เภสัชกรสามารถจ่ายยาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งต่างจากในประกาศฉบับนี้
.
ที่ผ่านมาแพทยสภาได้พยายามหาทางออกร่วมกับ สปสช. และสภาเภสัชกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนรายละเอียดของประกาศที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด คือเพื่อความปลอดภัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม ความพยายามดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จ แพทยสภาจึงมีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการยุติธรรมของศาลปกครองเพื่อ "หยุดและทบทวน" โครงการให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานเป็นสำคัญ
.
แพทยสภายินดีที่จะร่วมมือกับสภาเภสัชกรรม และ สปสช. เพื่อสร้างระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน เข้าถึงง่าย ปลอดภัย เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกๆคน
.
อนึ่ง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวในขณะนี้อยู่ในศาลปกครองแล้ว การให้รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ จึงสมควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อมิให้เกิดเป็นประเด็นในกระบวนการพิจารณาของศาล
.
แพทยสภา
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2024, 20:22:59 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
เลขาธิการ สปสช. ระบุ ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด ประชาชนยังใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการ “เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ รับยาที่ร้านยาคุณภาพ” ได้ พร้อมให้ข้อมูลที่มาของการจัดบริการ เพื่อดูแลประชาชนเจ็บป่วยเล็กน้อยเข้ารับบริการได้โดยสะดวก พร้อมร่วมประชุมตามที่ รมว.สาธารณสุข เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ 

    นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของแพทยสภาต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสภาเภสัชกรรม กรณีการดำเนินการให้บริการ “เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ รับยาที่ร้านยาคุณภาพ” ซึ่งเป็นบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาทนั้น ขอเรียนประชาชนว่า ณ วันนี้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองฯ ยังคงเข้ารับบริการที่ร้านยาคุณภาพได้ จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำวินิจฉัยอื่นออกมา 

ทั้งนี้ ต้องเรียนว่าที่มาของการให้บริการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการฯ นี้ เกิดจากความร่วมมือ สปสช. และสภาเภสัชกรรม เพื่อดูแลประชาชนให้เข้าถึงการรักษาเบื้องต้น ซึ่งสืบเนื่องจากเวทีการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปในระบบบัตรทองฯ ปี 2560 ที่ได้มีข้อเสนอให้ขึ้นทะเบียนร้านยาคุณภาพ เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิเข้ารับบริการ ประกอบกับผลสำรวจสถานการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน พบว่ามีประชาชนซื้อยากินเองในระหว่าง 1 เดือน เมื่อมีการเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ 17.6

ข้อมูลข้างต้นนี้ยังสอดคล้องกับผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ปี 2561 ถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนไม่ใช้สิทธิบัตรทอง คือการรอรับบริการนานสูงถึงร้อยละ 51.9 ประกอบกับก่อนหน้านี้ ปี 2555 มีข้อมูลผลสำรวจปัญหายาเหลือใช้ในบ้านผู้ป่วย โดยมีผู้ป่วยที่ครอบครองยาเกินจำเป็นที่มีมูลค่าความสูญเสียทางการคลังคิดเป็น 2,350 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อดูจำนวนร้านยาทั่วประเทศ ยังมีจำนวนถึงหลักหมื่นแห่ง  ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีประกาศเกณฑ์ GPP (Good Pharmacy Practice) ที่กำหนดให้ปี 2563 ร้านขายยา (ขย.1) ทุกแห่งต้องมีเภสัชกรปฏิบัติงานประจำตลอดเวลาทำการ และผ่านการรับรอง GPP 

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดี บริการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาคุณภาพ แม้ว่าดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มให้บริการ แต่ข้อเท็จจริงได้มีการนำร่องมาก่อนหน้านี้แล้วในระบบบบัตรทอง มาตั้งแต่ปี 2547 -2559 เป็นบริการในรูปแบบ “การจัดบริการร้านยาคุณภาพ” ประมาณ 300 แห่ง โดยให้บริการ เช่น คัดกรอง ความเสี่ยงโรคเรื้อรัง การให้ความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การให้ความรู้ด้านการใช้ยาอย่าง สมเหตุผลเป็นต้น โดยพบว่าร้านยาคุณภาพนี้ ได้ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านยาที่มีคุณภาพได้มากขึ้นด้วย

ต่อมาในการประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2562 มีมติเห็นชอบกำหนดร้านยาแผนปัจจุบัน ขย.1 เป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม ตามมาตรา 3 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มดำเนินการในเขต 13 กรุงเทพมหานคร ในการให้บริการด้านสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค

นอกจากนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประชาชนไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ ทำให้ต้องมีการกระจายการดูแลประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 ทีมีอาการไม่รุนแรง โดยร้านยาก็เป็นหน่วยบริการที่เข้าร่วมให้การดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการคัดกรองผู้ติดเชื้อ การจ่ายยารักษา และการติดตามอาการหลังได้รับยา เป็นต้น และเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาสู่การจัดบริการเจ็บป่วยเล็กน้อย รับยาที่ร้านยานี้ด้วย

จากที่กล่าวมาแล้วนำมาสู่บริการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาคุณภาพ เริ่มต้นที่ 16 อาการ และขยายเป็น 32 อาการ ซึ่งการบริการต้องมีการติดตามอาการโดยเภสัชกร หากอาการไม่ดีขึ้นจะแนะนำให้ไปรับบริการที่โรงพยาบาล โดยเป็นบริการทางเลือกให้กับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง และลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ ขณะเดียวกันยังเพิ่มการเข้าถึงสิทธิบัตรทองโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่เคยใช้สิทธิบัตรทองรับบริการที่โรงพยาบาลด้วย และที่ผ่านมาก็ได้รับการตอบรับจากประชาชนในการเข้ารับบริการ

“ขอเรียนว่า ปกติแล้วหากเจ็บป่วยเล็กน้อย ร้านยาก็สามารถขายยาให้ผู้ป่วยได้อยู่แล้ว ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ. สภาวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่ง สปสช. นำจุดเด่นนี้มาสร้างเครือข่ายบริการ โดยร้านยาที่เข้าร่วมจะต้องขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานบริการว่า ร้านขายยาต้องติดตามอาการประชาชนที่ไปรับบริการ หากไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ต้องส่งต่อไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิต่อไป ดังนั้นทำให้ร้านยาในระบบ สปสช. ต่างจากร้านขายยาทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ลดภาระของแพทย์ในโรงพยาบาล และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยให้สามารถไปรับยาที่ร้านยาได้”

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ส่วนวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ตามที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหารือเรื่องนี้ ทาง สปสช. ก็มีความพร้อมที่จะเข้าร่วม อย่างไรก็ดีเรื่องนี้เป็นประเด็นในส่วนของวิชาชีพ คงให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยสิ้นสุด โดยระหว่างนี้ สปสช. ให้ประชาชนไปใช้สิทธิบัตรทองที่ร้านยาไปก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย

12 พฤศจิกายน 2567
https://www.nhso.go.th/news/4633

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
นายกสภาเภสัชกรรม ยืนยัน โครงการจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยาคุณภาพที่ร่วมกับสปสช. มีประโยชน์กับประชาชน และมีความปลอดภัย ยึดหลักตามข้อกฎหมาย และยังดำเนินการใหห้บริการประชาชนจนกว่าจะมีตำตัดสินจากศาลปกครอง เชื่อปมปัญหา ที่แพทยสภาฟ้องร้องต่อศาล สามารถพูดคุย และสร้างความเข้าใจร่วมกันกับแพทยสภาได้

รศ.(พิเศษ)เภสัชกร กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ระบุถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของแพทยสภาต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภาเภสัชกรรม กรณีโครงการจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยาคุณภาพที่ร่วมกับสปสช. ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ว่า ทางสปสช.ยืนยัน ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ประชาชนสิทธิบัตรทองยังสามารถใช้บริการรับยาที่ร้ายยาคุณภาพได้ เนื่องจากศาลปกครองยังไม่มีคำตัดสินสิ้นสุดออกมา

นายกสภาเภสัชกรรม มองว่า เรื่องนี้ต้องสร้างความเข้าใจกัน เพราะโดยหลักการดำเนินการของร้านยาได้ทำตามหลัก พ.ร.บ.วิชาชีพฯ อยู่แล้ว แต่ก็จะต้องมาหารือกันว่าขอบเขตไหนที่ต้องระวัง ขอบเขตไหนควรทำ เพื่อสนับสนุนและช่วยกันดูแลผู้ป่วยและให้เกิดระบบส่งต่อชัดเจน ซึ่งทางสภาเภสัชกรรม จะเตรียมข้อมูลให้ศาลปกครองเห็นภาพรวมทั้งหมด ทั้งในด้านกฎหมายที่ทางสภาเภสัชกรรมทำถูกต้อง พร้อมย้ำว่า16 อาการ ถือ เป็นอาการปกติที่ประชาชนไปรับบริการ้านยาอยู่แล้ว จึงมีการออกข้อกำหนดดังกล่าวขึ้น

นายกสภาเภสัชกรรม ยังยืนยัน ความปลอดภัยในการให้บริการแก่ประชาชน โดยปัจจุบันมีร้านยาคุณภาพ ประมาณ 4,000 แห่งที่เข้าร่วมโครงการกับทางสปสช. ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 มีประชาชนเข้ารับบริการกว่า 1 ล้าน 7 แสนคน รวม 4 ล้าน 9 แสนครั้ง ไม่มีผู้ป่วยรายได้รับอันตรายจากการเข้ารับบริการ

ด้านแพทยสภาได้ออกแถลงการณ์ทำความเข้าใจในกรณีการฟ้องดังกล่าว โดยมีใจความว่าแพทยสภามีความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน จึงมีความจำเป็นต้องขออำนาจศาลปกครองเพื่อให้เกิดการ "หยุดและทบทวน" โดยมองประเด็นปัญหาสำคัญว่าการให้เภสัชกรเป็นผู้วินิจฉัยและใช้ดุลพินิจในการจ่ายยาหลายประเภท ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่อาจนำอันตรายอย่างร้ายแรงมาสู่คนไข้โดยไม่คาดคิด เช่น กรณีปวดหัว ปวดท้อง อาจคิดว่าเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยแต่อาจเป็นอาการนำของโรคไส้ติ่งแตก หรือเส้นเลือดแดงใหญ่ปริแตก อาการดังกล่าวจึงควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเร่งด่วน ซึ่งที่ผ่านมาแพทยสภาได้พยายามหาทางออกร่วมกับ สปสช. และสภาเภสัชกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนรายละเอียดของประกาศที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ แพทยสภาจึงมีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการ

20 พฤศจิกายน 2567
https://www.tnnthailand.com/news/social/181744/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
สภาเภสัชกรรม ออกจม.เปิดผนึกกรณีแพทยสภา ฟ้องศาลปกครอง ประเด็นโครงการจ่ายยาผู้ป่วยบัตรทองเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ยืนยันเภสัชฯ จ่ายยาตามไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ยา พร้อมโชว์ข้อมูลผู้ป่วยรับยา “ร้านยา” แล้ว 1.74 ล้านคน ลดแออัดในรพ.  และช่วยผู้ป่วยอาการทุเลา 90% ส่วนผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อปรึกษาแพทย์ 1.57% เผยปชช.พึงพอใจมากที่สุด

ตามที่ผู้สื่อข่าว Hfocus ได้สัมภาษณ์ รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ถึงประเด็นศาลปกครองรับฟ้องคำร้องของแพทยสภา กรณีการจ่ายยาตาม 16 กลุ่มโรคอาการนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึกกรณีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวเนื่องกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการโดยเภสัชกรร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า

สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้องของแพทยสภาเกี่ยวกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการโดยเภสัชกรในร้านยาที่อยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทางสภาเภสัชกรรมขอขอบคุณแพทยสภาในความห่วงใยต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

โดยสภาเภสัชกรรมขอเน้นย้ำว่า ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่เภสัชกรทุกคนให้ความสำคัญสูงสุดเสมอ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เภสัชกรทุกท่านยินดีที่จะส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย

ยืนยัน “ยาที่จ่าย”ตามโครงการไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์
สภาเภสัชกรรมขอยืนยันว่า มาตรฐานการบริการโดยร้านยาที่เข้าร่วมโครงการทุกร้าน ได้ผ่านการประเมินร้านยาคุณภาพ เภสัชกรทุกท่านมีความรู้และความสามารถในการจ่ายยากลุ่มยาอันตราย และยาที่จ่ายเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ตามพระราชบัญญัติยา การจ่ายยาตามอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมในการให้บริการด้านยา โดยเภสัชกรต้องมีการซักประวัติของผู้มารับบริการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจริง รวมถึงสอบถามถึงโรคประจำตัว ยาที่ใช้ ประวัติการแพ้ยาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านยา หรืออันตรกิริยาของยาที่จะใช้ร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน

ผู้ป่วยรับยา “ร้านยา” 1.74 ล้านคน ลดแออัดในรพ.
นอกจากนี้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยรับบริการที่ร้านยาแล้วจำนวน 1.74 ล้านคน รวมเป็นการรับบริการทั้งสิ้น 4.8 ล้านครั้ง ซึ่งการรับบริการนี้ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นได้ทันท่วงที และช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสถานพยาบาล ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชน

โครงการนี้ช่วยผู้ป่วยอาการทุเลา 90%
ในโครงการนี้เภสัชกรชุมชนได้ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพถึง 1.05 ล้านครั้ง ซึ่งถือเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นที่แท้จริงของประเทศ ผลลัพธ์จากการดูแลพบว่าผู้ป่วยมีอาการทุเลาและหายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงร้อยละ 90  สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้น เภสัชกรจะให้คำแนะนำและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อปรึกษาแพทย์ในอัตราร้อยละ 1.57 นอกจากนี้ ทางสภาเภสัชกรรมยังได้ทำการวิจัยภาคประชาชน และพบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อการรับบริการที่ร้านยา

ท้ายนี้ สภาเภสัชกรรมขอขอบคุณประชาชน และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงขออนุญาตนำเรียนข้อมูลให้สาธารณะได้รับทราบด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง

12 November 2024
https://www.hfocus.org/content/2024/11/32217

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
สภาเภสัชกรรมออกจม.เปิดผนึก ฉบับที่2  แจง 5 ประเด็นจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ย้ำเป็นโครงการบริการสาธารณสุขที่ได้ผลและปลอดภัยระดับนานาขาติ ส่วนไทยผลตอบรับดี ปชช.พอใจ

จากกรณีศาลปกครองรับฟ้องคำร้องของแพทยสภา กรณีการจ่ายยาตาม 16 กลุ่มโรคอาการ โดยสภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 ไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 กรณีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวเนื่องกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ระบุว่า

จดหมายเปิดผนึก (ฉบับที่ 2) กรณีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวเนื่องกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ โดยเภสัชกรร้านยา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ตามปรากฏเป็นข่าว ทางสื่อมวลชน ต่อกรณี แพทยสภา ฟ้อง สปสช. และสภาเภสัชกรรม เกี่ยวกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ โดยร้านยาคุณภาพ และทางสภาเภสัชกรรมได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 แล้วนั้น ปรากฎว่าได้มีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูล จากส่วนต่าง ๆ ทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลายนั้น

สภาเภสัชกรรมในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมร่วมหาทางออกในปัญหาความไม่เข้าใจดังกล่าว ที่ปรากฎในสื่อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและการดูแลสุขภาพของประชาชน

ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมขอยืนยัน ข้อเท็จจริงที่สำคัญ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ไม่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังต่อไปนี้

สภาเภสัชกรรมในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมร่วมหาทางออกในปัญหาความไม่เข้าใจดังกล่าว ที่ปรากฏในสื่อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและการดูแลสุขภาพของประชาชน

ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมขอยืนยัน ข้อเท็จจริงที่สําคัญ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ไม่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังต่อไปนี้

1. การดําเนินการในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ๆ โดยเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แพทยสภา สปสช. และสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนในคณะกรรมการดําเนินการของ สปสช ได้มีการพูดคุย หารือ ประเด็นงานบริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ในประเด็นที่แพทย์บางท่านไม่เข้าใจในกฎหมายในส่วนของพระราชบัญญัติยา และบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรร้านยา แพทย์หลายท่านมีความเข้าใจ แต่ก็มีบางท่านที่ไม่ได้มา พูดคุยหารือด้วย และไม่เข้าใจ ว่า เภสัชกรจําเป็นต้องซักประวัติเพื่อทราบข้อมูล เพื่อคัดกรองอาการของผู้ป่วย ตามบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรตามพระราชบัญญัติยาและพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม มิได้เป็นการก้าว ล่วงวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด โดยก่อนที่จะมีการฟ้องศาลปกครอง แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และ สปสช. ได้มี การหารือในประเด็นที่ทางแพทยสภามีปัญหาว่า โครงการนี้เป็นการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งสภาเภสัชกรรมก็ได้ ชี้แจงว่าการดําเนินการดังกล่าวร้านยามีการดําเนินการมามากกว่า 50 ปีแล้ว ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติยา ไม่ได้มีการ ก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม การซักประวัติของเภสัชกรเพื่อการเลือกสรรยาที่ถูกต้องกับอาการเจ็บป่วย และเป็นการ ดําเนินการถูกต้องตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ซึ่งท้ายสุด นายกแพทยสภายังสรุปว่าก็ไม่น่าจะเป็นการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม และก็เป็นการดําเนินการเฉพาะร้านยาคุณภาพ ที่สภาเภสัชกรรมรับรอง ไม่ใช่ร้านยาทุกร้าน แต่มีกรรมการแพทยสภาท่านหนึ่งเสนอว่า อย่างน้อยก็อยากให้ขอ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้เกิดความชัดเจน ซึ่ง แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และ สปสช. ก็ได้ไปชี้แจง ข้อมูลกับคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ท้ายสุดคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ก็ได้มีหนังสือแจ้งกลับมาว่า

เห็นควรไม่รับข้อหารือไว้พิจารณา แต่ได้ให้ความเห็นมาว่า เรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นปัญหาที่มีความเกี่ยว ดําเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรฐานวิชาชีพของตนภายใต้กรอบกฎหมายของแต่ละวิชาชีพ และการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะต้องร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับขอบเขตการดําเนินการของแต่ละวิชาชีพ และเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดและความปลอดภัยของประชาชนเป็นสําคัญ นอกจากนี้ยังได้มีการไปชี้แจงรายละเอียด โครงการฯ ต่อกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกรรมาธิการสาธารณสุขก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร นอกจากนั้น กรรมาธิการยังมีความเห็นว่ายินดี ที่ สปสช. ได้จัดให้มีโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ที่ร้านยา เพราะได้สนใจศึกษาเรื่องการบริการปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าร้านยามีบทบาทในการให้บริการปฐมภูมิมาตลอด ตอนนี้ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการในสิทธิบัตรทอง ก็เป็นสิ่งที่ดี และหลังจากนั้น สภาเภสัชกรรม จึงทราบว่า แพทยสภาได้มีการฟ้อง สปสช.และสภาเภสัชกรรมไปยังศาลปกครอง

2. เภสัชกรรักษามาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและการใช้ยาของประชาชน

บุคลากรด้านสุขภาพทุกวิชาชีพล้วนให้ความสําคัญเรื่องความปลอดภัยของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ในการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยนั้น ประชาชนอาจเลือกดูแลตนเอง อาจพบเภสัชกรเพื่อขอคําปรึกษาตามโครงการนี้ ซึ่งเป็นบริการของรัฐที่ให้กับประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรืออาจเลือกพบแพทย์ก็ได้ ดังนั้นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของประชาชนโดยเภสัชกรที่เป็นผู้มีความรู้เรื่องยาโดยตรงจึงเป็นสิ่งสําคัญ มีประโยชน์ และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และวิชาชีพเภสัชกรรมก็มีกระบวนการและมาตรฐานในการประเมินความเหมาะสมในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง สมเหตุสมผล และไม่เกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา การดําเนินการในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยนี้จึงมิได้เป็นการลดมาตรฐานความปลอดภัยแต่อย่างใด แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกที่ยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยอีกทางหนึ่ง

3. เภสัชกรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านยาเป็นอย่างดี

วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นหลักสูตรการศึกษา 6 ปี มีความรู้เรื่องยาในทุกมิติ สามารถผลิตยา ควบคุมและประกันคุณภาพยา เลือกสรรยา จ่ายยาและให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ให้คําแนะนําการใช้ยาที่สมเหตุสมผล ตลอดจนการติดตาม อาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการคุ้มครองผู้บริโภค และมีการควบคุมกํากับดูแลด้านจรรยาบรรณอย่างเข้มงวด ในการประกอบวิชาชีพ โดยสภาเภสัชกรรม อีกทั้งในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยฯโดยร้านยา คุณภาพ ก็มีการควบคุม กํากับ ติดตามโดยสภาเภสัชกรรมและ สปสช. เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย และความถูกต้องของกรอบการดําเนินงานของ “ร้านยาคุณภาพ” และประชาชนได้รับยาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เภสัชกรในโครงการร้านยาคุณภาพ ยังมีการติดตามผลการใช้ยาเมื่อครบ 72 ชั่วโมง หากมีปัญหาใดๆ ก็สามารถส่งต่อ ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายเพื่อรักษาต่อได้ เภสัชกรในโครงการร้านยาคุณภาพยังมีมาตรฐานในการจ่ายยา อาทิ ยาที่จ่ายเป็นแผงระบุชื่อยา ความแรง วันหมดอายุ มีฉลากยาครบถ้วน ซึ่งถือว่ามาตรฐานดีที่สุด ทําให้ประชาชน ทราบข้อมูลของยาที่ได้รับอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบ และตรวจสอบย้อนกลับได้

4. โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยโดยเภสัชกรเป็นรูปแบบบริการสาธารณสุขที่ใช้กันอย่างได้ผลและปลอดภัยในระดับนานาชาติ

รูปแบบการให้บริการนี้สอดคล้องกับทิศทางการบริการสาธารณสุขในระดับนานาชาติ เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ภาครัฐมีดําเนินการโครงการ “Pharmacy first” เพื่อให้ประชาชนพบเภสัชกรเพื่อรับยากรณีการเจ็บป่วยเล็กน้อย คล้ายคลึงกับโครงการของประเทศไทย และยังสามารถจ่ายยาปฏิชีวนะ ซึ่งถือเป็นยาควบคุมพิเศษของประเทศสหราช อาณาจักรได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและกรอบของโครงการได้เพื่อให้ได้รับข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้อง https://www.fip.org/file/5624 ซึ่งของประเทศไทย เภสัชกรร้านยาคุณภาพ จ่ายเฉพาะยาอันตรายที่เภสัชกร สามารถจ่ายยาเองได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ นอกจากนี้ แนวโน้มของประเทศต่างๆ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิเช่น ประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกหลายประเทศ อีกทั้งยังมีการให้บริการที่กว้างขวางขึ้นในร้านยารวมถึงการฉีดวัคซีน และที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 เภสัชกรร้านยาคุณภาพของประเทศไทย ก็ได้มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงการคัดกรองตลอดจนการดูแลรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงให้ได้รับคําแนะนําที่เหมาะสม และช่วยลดภาระของโรงพยาบาลได้อย่างมาก

5. การประเมินผลการให้บริการในโครงการนี้พบว่าเป็นที่น่าพอใจและให้ผลดีกับระบบสุขภาพของไทย

ในการให้บริการที่ผ่านมาตามโครงการนี้ ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2566 ถึง ปัจจุบัน ได้มีการการดําเนินการอย่างรอบคอบ และค่อยๆ ขยายพื้นที่ในการให้บริการ มีผู้ที่ได้รับบริการแล้วทั้งสิ้นจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 จํานวน 1,771,758 คน และ 4,912,114 ครั้ง ไม่มีประชาชนคนใดเสียชีวิตจากการให้บริการจากโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยโดยร้านยาคุณภาพแต่อย่างใด และสภาเภสัชกรรมได้ตรวจสอบการให้บริการแล้วว่าประชาชนปลอดภัย ได้รับประสิทธิภาพการดูแลอาการตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในทุกกรณี นอกจานี้ ทางสภาเภสัชกรรมได้ ทําการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่เข้ารับบริการในโครงการนี้พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จึงได้มีการขยายกรอบโครงการจากที่ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ เป็น 32 กลุ่มอาการเพื่อให้บริการที่ดีขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้ สอดคล้องกับผลการสํารวจความเห็นของประชาชนต่อเภสัชกร ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และสภาเภสัชกรรม ที่พบว่าประชาชนให้ความเชื่อถือและมั่นใจในการปรึกษาปัญหายากับเภสัชกรอย่างมาก

ท้ายที่สุดนี้ สภาเภสัชกรรม มีความเห็นโดยสุจริตว่า ในการดําเนินการใดๆ สภาเภสัชกรรมจะคํานึงถึง พระราชดํารัสของพระราชบิดาที่ว่า "ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" เป็นสําคัญ และ ทางสภาเภสัชกรรม ขอความร่วมมือสมาชิกเภสัชกร ร่วมกันสร้างบรรยากาศอันดี มีการแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์อย่างสุภาพ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่
ผู้ป่วยและประชาชน

สภาเภสัชกรรม
17 พฤศจิกายน 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่สภาการเภสัชกรรม อาคารมหิตลาธิเบศร รศ.พิเศษ ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีแพทยสภาฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีโครงการจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยาคุณภาพที่ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ว่า  สปสช.ยืนยันว่ายังสามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากศาลปกครองยังไม่มีคำตัดสินสิ้นสุดออกมา โดยในส่วนของสภาฯ จะเตรียมข้อมูลให้ศาลปกครองเห็นภาพรวมทั้งหมด คือ

1. แง่กฎหมายทางสภาเภสัชฯ ทำถูกต้อง
2.ในกระบวนการให้บริการ ทาง สปสช.ยืนยันว่าทำถูกต้อง

ส่วนเรื่องความปลอดภัย ตนเชื่อว่าก็คล้ายที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องวิชาชีพเวชกรรม ต่างดำเนินการตามกฎหมายของตนเอง แสดงว่าทำถูกต้องตามกฎหมาย แต่เรื่องข้อกังวลความปลอดภัย ก็ต้องมาคุยกัน

รศ.พิเศษ ภก.กิตติ กล่าวว่า เภสัชฯ ยืนยันว่าเราดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น และทำมาตลอดตั้งแต่มี พ.ร.บ.ยา 50-60 ปีแล้ว เป็นการบริการพื้นฐาน ประชาชนเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ไม่ได้อยากไป รพ. อยากดูแลตัวเองไปร้านยา ระบบนี้ก็เพียงเสริมให้เภสัชฯ มาช่วยดูแลเพิ่มเติม หากดูแลได้ก็จ่ายยาตามกฎหมายกำหนด หากไม่ได้ก็ต้องส่งต่อ เราก็ส่งต่อไปยังแพทย์ คล้ายๆ มาช่วยคัดกรองให้แพทย์ ซึ่งโครงการนี้เน้นความปลอดภัยชัดเจน เพราะมีระบบติดตามภายใน 3 วัน โครงการจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ที่ผ่านมามีการประเมินผลของโครงการ 2-3 ปี จนถึงปัจจุบัน 1.7 ล้านคน รวมเกือบ 5 ล้านครั้งเฉพาะสิทธิบัตรทอง และ 90% บรรเทาอาการดีขึ้น มีน้อยมากที่ต้องส่งต่อ อีกทั้ง ประชาชนพึงพอใจมากกับโครงการนี้ เพราะเข้ารับบริการง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่าเดินทางไปรพ. และไม่ต้องรอ ยืนยันว่า ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโครงการดังกล่าว กรณีที่มีผู้เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียว่าเสียชีวิตนั้นเป็นข้อมูลเท็จ ผิดกฎหมาย PDPA

“โครงการนี้กว่าจะออกมามีการพิจารณาร่วมกัน และผ่านบอร์ด สปสช. เพียงแต่ตอนนั้นมีบางท่านไม่สบายใจก็ส่งทางคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ให้ความคิดเห็นว่า เป็นการดำเนินการตามกฎหมายของแต่ละวิชาชีพตนเอง ส่วนข้อกังวลเรื่องความปลอดภัย คุณภาพ ก็ควรหารือกันทั้ง สปสช. กระทรวงสาธารณสุข สภาเภสัชกรรม แพทยสภา ซึ่งที่ผ่านมาก็หารือกัน แต่หลังจากนั้นก็ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการฟ้องร้องไปศาลปกครอง” รศ.พิเศษ ภก.กิตติ กล่าว และว่า เรื่องนี้เราไม่ได้กังวล แต่รู้สึกว่า ทำไมเราถึงจะทำไม่ได้ เพราะเรียนเรื่องยามา 6 ปีเช่นกัน ที่สำคัญ 16 อาการเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เป็นเรื่องที่ประชาชนดูแลตนเอง


https://www.dailynews.co.th/news/4096547/
19 พ.ย. 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
*จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ สู่โครงการ ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ บริการประชาชนที่มีภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อยใน 16 กลุ่มอาการ โดยเภสัชกร ลดการเดินทางและความแออัดในโรงพยาบาล
*แพทยสภา ฟ้อง สปสช. และสภาเภสัช ชี้โครงการนี้ขัด พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
*นายกสภาเภสัช โต้ ร้านยาไม่ได้ไปรักษาโรคอย่างที่แพทย์กล่าวอ้าง แต่ดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นเท่านั้น
*ศาลปกครองสูงสุด ‘มีคำสั่งรับฟ้อง’ ชี้ คำฟ้องนี้เป็นประโยชน์สาธารณะ
*สปสช. แจง ร้านยาชุมชนอบอุ่น จะให้บริการต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำตัดสิน

จากกรณีที่ ‘แพทยสภา’ ฟ้องร้อง สปสช. และสภาเภสัชกรรม ประเด็นการให้เภสัชกร สามารถจ่ายยาได้ตาม 16 กลุ่มอาการที่ร้านขายยา ในโครงการ ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ซึ่งล่าสุด ‘ศาลปกครองสูงสุด’ มีคำสั่งรับฟ้อง

เรื่องนี้ ถือเป็นข้อถกเถียงในวงการแพทย์และเภสัชอย่างกว้างขวาง โดยด้านหนึ่งมองว่า เภสัชกรไม่สามารถจ่ายยาตามโครงการดังกล่าวได้ เนื่องจากยาบางชนิด จะจ่ายได้ก็ต่อเมื่อมีการวินิจฉัยของหมอแล้วเท่านั้น ส่วนอีกด้านมองว่า ปกติผู้ป่วย 40% ก็เลือกซื้อยาบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่ร้านขายยาอยู่แล้ว จึงนำข้อมูลนี้เข้าสู่ระบบ ‘บัตรทอง’ มีการติดตามอาการโดยเภสัชกรหลังจ่ายยา 3 วัน และหากอาการรุนแรงขึ้น ก็จะส่งต่อโรงพยาบาล โดยโครงการนี้จะช่วยลดความแออัดและการรอคิวนานในโรงพยาบาลได้

ไทยรัฐออนไลน์ จึงสรุปที่มาที่ไปของเรื่องนี้ และรวบรวมความคิดเห็นและแต่ละฝ่าย ทั้งแพทยสภา สปสช. สภาเภสัชกรรม รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ต่อโครงการและกรณีดังกล่าว ที่เกี่ยวพันกับประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ
...
จุดเริ่มต้นนโยบาย ลดความแออัดใน รพ.
หากยังจำกันได้ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งปี 2566 พรรคเพื่อไทย ได้ประกาศนโยบาย ‘ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค’ และเมื่อได้เป็นรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ระบุว่าจะยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคให้มีประสิทธิภาพ-ครอบคลุมมากขึ้น สะดวกด้วยบริการพื้นฐาน ไม่ว่าจะนัดพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยา ใกล้บ้าน พร้อมเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ผ่านบัตรประชาชนใบเดียว

ต่อมา เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นประกาศเดินหน้านโยบายนี้ โดยเริ่มคิกออฟที่กรุงเทพมหานคร เพื่อลดการแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ จากการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการ ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับบริการอย่างต่อเนื่องได้ทุกที่ และได้ดึงสภาวิชาชีพ 7 สาขา มาร่วมให้บริการเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการที่หน่วยบริการใกล้บ้านได้ ลดการเดินทาง ลดระยะเวลารอคอย และลดความแออัดในโรงพยาบาล

โดยหนึ่งในนวัตกรรมของนโยบาย ‘30 บาทรักษาทุกที่’  ก็คือบริการ ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ ภายใต้โครงการ  ร้านยาบริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ นั่นคือ ประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยตาม 16 กลุ่มอาการสามารถไปที่ร้านขายยาที่ร่วมโครงการ (สังเกตได้จากร้านยาที่มีโลโก้ 30 บาทรักษาทุกที่ หรือร้านที่ติดสติ๊กเกอร์ ‘ร้านยาคุณภาพของฉัน’) เพื่อปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวเพื่อยืนยันตัวตน และหลังจากได้รับยาแล้ว เภสัชกรจะมีการโทรติดตามอาการภายใน 3 วัน


โครงการนี้มุ่งไปที่การแก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถเดินเข้าร้านขายยาใกล้บ้านได้ ไม่ต้องไปเดินทางไกลและรอคิวนานเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ในตอนแรก โครงการนี้เน้นดูแลการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการเท่านั้น แต่ต่อมา ได้มีการขยายเป็น 32 กลุ่มอาการ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

‘แพทยสภา’ ฟ้องศาลทำไม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการเผยแพร่เอกสาร เรื่อง สปสช. และ สภาเภสัชกรรม ถูกฟ้องร้องจากแพทยสภา โดยศาลปกครองสูงสุด ‘มีคำสั่งรับฟ้อง’ โดยมีสาระสำคัญคือ แพทยสภา ฟ้องว่า ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง  การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม พ.ศ.2566 ซึ่งกำหนดให้ผู้ป่วย 16 กลุ่มอาการ สามารถรับยาได้ที่ ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยร้านขายยาที่เป็นหน่วยรับบริการสาธารณสุข จะรับค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็น ‘กฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย’

...

โดยคำร้องดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.แพทยสภายังมองว่า การให้เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาเอง โดยไม่ผ่านความเห็นของหมอ ขัดต่อ พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.ในคำร้องระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมายถึง บุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากแพทยสภา ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาเท่านั้น จึงจะสามารถจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้หลังซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.เป็นการกระทำที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558) ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจสภาเภสัชกรรมปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ประกอบวิชาชีพได้
4. ‘ร้านขายยา’ มิใช่สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ดังนั้น การให้เภสัชกรจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย 16 กลุ่มอาการ โดยไม่ผ่านการวินิจฉัยโรคของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้
แพทยสภา จึงขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งคือ

เพิกถอนประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม พ.ศ.2566 และระงับการกระทำนี้จนกว่าคดีจะสิ้นสุด

ในทีแรก ศาลปกครองชั้นต้นมีมติไม่รับฟ้อง ต่อมาแพทยสภาจึงยื่นอุทธรณ์โดยอ้างว่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ ‘รับคำฟ้อง’

‘แพทยสภา’ เผยสาเหตุฟ้องร้อง
...


ล่าสุดวันที่ 11 พ.ย. 2567 พญ.ชัญวลี ศรีสุโข กรรมการแพทยสภา ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Hfocus ว่า แพทยสภาไม่ได้ฟ้องสภาเภสัชกรรม แต่ฟ้องคำสั่งของ สปสช. ซึ่งโยงกับสภาเภสัชกรรม ที่เป็นผู้รับดำเนินการโครงการจ่ายยา 16 กลุ่มอาการ เพราะแม้ที่ผ่านมาการจ่ายยาของร้านยาจะทำตามปกติ ไม่ใช่การประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพราะคนไข้เป็นคนสั่งซื้อยา เป็นการรักษาตนเอง จ่ายเงินเอง  แต่การตรวจวินิจฉัยโรค และให้การรักษา เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม 2525 หมวด 5 มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

พญ.ชัญวลี ยังระบุว่า แพทยสภา ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเภสัชกรจ่ายยากรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย ตรงนี้เราเห็นด้วย เพราะจะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลได้ แต่ปัญหาคือ 16 กลุ่มอาการที่มีลิสต์ยาที่สามารถจ่ายได้นั้น พบว่า ‘มียาที่ต้องจ่ายต่อเมื่อมีการวินิจฉัยแล้ว’  เมื่อทางแพทย์เห็นจึงกังวล ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสูตินรีเวช อย่างมีอาการตกขาว จะจ่ายยากินเอง จะต้องวินิจฉัยก่อน แม้จะเป็นอาการเล็กน้อย แต่เมื่อตรวจภายในพบว่า มีอาการเบาหวานร่วม หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร่วมก็มี

พญ.ชัญวลี เสนอว่า หากเภสัชกรร้านยาจ่ายยา ควรปรับรูปแบบการจ่ายยาเป็น over-the-counter drug: OTC (ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์) ซึ่งไม่ใช่แค่ยาสามัญประจำบ้าน แต่สามารถมาหารือร่วมกันได้ว่า ควรจ่ายยาแบบใด แต่ปรากฏว่า รายการยาที่ออกมาให้จ่าย กลับเป็นยาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยก่อน ซึ่งที่น่ากังวลคือ ‘ยาตา ยาไมเกรน’  เรื่องนี้แพทยสภาได้หารือกับราชวิทยาลัยต่างๆ ก็มีความเห็นถึงปัญหายาอะไรบ้างที่ต้องผ่านการวินิจฉัย  ดังนั้น การจ่ายยา OTC จะเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะสามารถจ่ายให้ผู้บริโภคได้โดยตรงไม่จำเป็นมีใบสั่งยาจากการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งตรงข้ามกับ prescription drug หมายถึงยาที่จะสามารถจ่ายให้ผู้บริโภคก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น

...

นอกจากนี้ พญ.ชัญวลี ยังได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ย้ำว่า การฟ้องร้อง สปสช.และสภาเภสัชโดยแพทยสภา ไม่เกี่ยวกับการห้ามเภสัช จ่ายยา ตามธรรมเนียมเดิมแม้แต่น้อย และไม่เกี่ยวข้องกับสภาเภสัชกรรมจะมาห้ามแพทย์จ่ายยาที่คลินิกเช่นกัน


สปสช. ชี้ ยังรับยาได้จนกว่าศาลจะตัดสิน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. ได้ให้สัมภาษณ์ต่อประเด็นนี้ว่า ขณะนี้ สปสช. ยังคงให้สิทธิผู้ป่วยเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถรับยา ร้านยาใกล้บ้านได้ตามเดิม ตราบเท่าที่ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดให้ดำเนินการอะไร

นพ.จเด็จ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ว่า เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล เพราะจากข้อมูลที่ผ่านมา สปสช. มีการสำรวจสุขภาพประชาชนทุกๆ 2 ปี ว่า ‘เมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้น ทำอย่างไร’

จากการสำรวจพบว่า ประชาชน 40 เปอร์เซ็นต์ ไปร้านขายยา บอกอาการ และซื้อยารับประทานเอง

ทาง สปสช. จึงนำผลสำรวจนี้มาปรับใช้ในระบบ โดยให้อยู่ใน ‘บัตรทอง’ และมีการติดตามอาการโดยเภสัชกร หากรุนแรงขึ้นส่งต่อโรงพยาบาล โดยตัวเลข 40% ดังกล่าว หากมาใช้บริการตรงหน่วยบริการวิชาชีพก็จะลดความแออัดในโรงพยาบาลได้

นพ.จเด็จ ย้ำว่า สปสช. ยืนยันกรณี พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า

1.หน่วยบริการสภาวิชาชีพสามารถเป็นหน่วยบริการในระบบได้แน่
2.เมื่อเป็นหน่วยบริการแล้วมีเครือข่าย ทั้งวิชาชีพ ทั้งโรงพยาบาล ทั้งแพทย์ อย่างวิชาชีพใดมีปัญหาสามารถส่งต่อโรงพยาบาลได้

“ยกตัวอย่าง ร้านยาคุณภาพที่ร่วมโครงการ หาก 72 ชั่วโมงโทรติดตามอาการแล้วอาการดีขึ้น ถือว่าปกติ แต่หากแย่ลงต้องรีบส่งต่อเครือข่ายตามขั้นตอนต่อไป จริงๆ เคยเจอปัญหา รพ.บางแห่งไม่ยอมรับส่งต่อ ซึ่งไม่ได้ จะขัดตามกฎหมาย”

นายกสภาเภสัช ยัน ไม่ผิด พ.ร.บ.ยาฯ
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ให้สัมภาษณ์กับ Hfocus ว่า เรื่องนี้ มีการพูดคุยกับแพทยสภาหลายรอบแล้ว ตอนแรกเหมือนจะเข้าใจ จนได้ข้อสรุปจากแพทยสภาว่า ‘จะไม่ได้ก้าวล่วงกัน’ แต่มีแพทย์บางกลุ่มไม่ยอม และเสนอว่าอย่างน้อยให้มีการส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ซึ่งก็สรุปว่า กรณีนี้เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม และ พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามกฎหมายของตัวเอง

ส่วนประเด็นความปลอดภัยตามที่แพทยสภากังวลนั้น กรรมการกฤษฎีกา แนะนำว่า ถ้าแพทยสภาห่วงเรื่องความปลอดภัยก็ให้เภสัชกับแพทย์มาคุยกันว่าขอบเขตแค่ไหนดี จะได้ไม่อันตราย

รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวว่า  โครงการนี้ดำเนินการถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิชาชีพฯ เพราะเภสัชกรจ่ายยาได้ ส่วนแพทย์จ่ายไม่ได้ แต่แพทย์ก็จ่ายยาอยู่ตลอด ซึ่งเรายังไม่ได้อยากจะฟ้องอะไรให้ทะเลาะกัน โดยยืนยันว่า ได้ทำตาม พ.ร.บ. ยาฯ

ส่วนประเด็นที่แพทยสภาพูดเรื่องโรครุนแรงว่าเป็นการรักษานั้น  รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวว่า เรามีหลายระดับตั้งแต่การดูแลสุขภาพเบื้องต้น (primary healthcare) และ การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ก็ช่วยกันดูในอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

“ร้านยาเราไม่ใช่ไปรักษาโรคอย่างที่แพทย์กล่าวอ้าง เราให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นเท่านั้นเอง เราถึงมีในโครงการกําหนดว่าถ้ามาด้วยอาการอะไร และสิ่งที่ท้วงว่าเภสัชกรไปซักประวัติเป็นการวินิจฉัยโรคซึ่งไม่ใช่ เพราะการซักประวัติของเราคือเพื่อให้มั่นใจว่าอาการที่ผู้ป่วยบอกเจ็บป่วยจริงและมีลักษณะอย่างนั้น เราถึงจะเลือกยาตามอาการได้ถูกต้อง และเราก็จ่ายแค่ 3-5 วัน เพราะยาบางตัวมันต้องกินทั้งอาทิตย์ แล้วก็ต้องให้ครบถ้วน แต่ว่า 3 วันเราจะโทรติดตามว่าดีขึ้นไหม ถ้าไม่ดีเราก็ต้องแนะนำว่าต้องไปหมอ”

แพทย์-เภสัช ถกสนั่น
ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอายุรแพทย์ระบบประสาท โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ดังนี้

*เจตนาของโครงการนี้เพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง และลดความแออัดในโรงพยาบาล
*โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ย.2565 จนถึงปัจจุบันมีการประเมินว่า ‘มีผลดี’ ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ตามเจตนา
*กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยนี้ ถ้าได้รับการประเมินและได้รับการรักษาเบื้องต้น ถ้าอาการตอบสนองดีก็จบ แต่ถ้าอาการไม่ดีผู้ป่วยก็สามารถเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลได้ ซึ่งเภสัชจะมีการติดตามผลการรักษาและให้คำแนะนำ
*ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย ซึ่งแต่เดิม เมื่อผู้ป่วยมีอาการแบบนี้ ก็จะมาซื้อยาที่ร้านขายยาเภสัชประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย
*ร้านยาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ได้ต้องผ่านการอบรม ประเมินและทดสอบความรู้ ซึ่งดีกว่าเดิมก่อนมีโครงการนี้ เภสัชสามารถจ่ายยาได้เลย ยาที่จ่ายให้ผู้ป่วยก็เป็นยาทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยก็ซื้อมาใช้อยู่แล้ว
*ถ้าแพทย์ต้องการเพิ่มคุณภาพของเภสัชกร เพื่อป้องกันและลดความผิดพลาดลงให้เหลือเป็นศูนย์ก็ต้องช่วยกันสร้างความรู้อย่างเหมาะสมให้เภสัชกรในโครงการ
*ผมทำงานร่วมกับเภสัชกรมานานกว่า 25 ปี พบว่าเภสัชกรสามารถช่วยในการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ และมีความสามารถในการใช้ยาได้เป็นอย่างดี
*ผมเชื่อมั่นว่าถ้าแพทย์ร่วมมือกับเภสัชกรในโครงการนี้จะช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดี รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และลดความแออัดลงได้ตามเจตนาของโครงการ

อีกด้าน รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา และผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ดุลพินิจขององค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด 5 ท่าน แต่ละวิชาชีพ แต่ละองค์กรมีหน้าที่บทบาทต่างกันไป ส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน ก่อนสั่งยา แพทย์ต้องมีกระบวนการคิดเพื่อวินิจฉัยโรค (Diagnosis) หรืออย่างน้อยก็ต้องวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis) ก่อนเสมอ แพทย์ จึงต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย สั่งการตรวจที่จำเป็น

กระบวนการคิดก่อนสั่งยาของแพทย์ ต้องผ่านการเรียนหลักสูตรแพทย์ อย่างน้อย 6 ปี  ขึ้นไป และอาจถึง 11 ปี สำหรับผู้เชี่ยวชาญบางสาขา ที่สำคัญต้องสอบผ่านการทดสอบความรู้ระดับชาติ และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาก่อน การอ่านคู่มือเพียงหนึ่งเล่มไม่สามารถทดแทนกระบวนการฝึกสอนที่ให้ได้มาซึ่งกรอบความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยโรคได้

แพทย์ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องผ่านการฝึกจริง (Practice) (ไม่ใช่การอ่าน) ต้องรับมือและแก้ปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนจากการสั่งยาของตนได้เอง ทั้งหมดนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี ตลอดหลักสูตร แพทยศาสตร์ ก่อนจะไปสั่งยาให้ผู้ป่วยทั่วประเทศได้

ด้าน ดร.ภก.กฤติน บัณฑิตานุกูล ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

*เห็นด้วยที่ไม่ควรแค่จ่ายยาตามอาการ โดยไม่ซักประวัติหรือตรวจร่างกาย แต่ท่านรู้ได้อย่างไรครับว่าร้านยาไม่ซักประวัติคนไข้ก่อนจ่าย วิชาชีพเภสัชไม่ใช่แค่ซื้อมาขายไปครับ บางท่านอาจจะบอกว่าอาการเล็กน้อยก็กลายเป็นรุนแรงได้ แต่ในทางตรงข้ามคลินิก หรือ รพ.สต. เองบางแห่งการตรวจร่างกายเป็นเพียงเบื้องต้น และไม่สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ เพียงจ่ายยาตามอาการเช่นกัน รวมถึงอาจไม่ได้นัดคนไข้มาติดตามอาการซ้ำ ก็อาจไม่ได้แตกต่างจากร้านยาที่ท่านกำลังโจมตีครับ

*ระบบ Primary Care ของประเทศเรายังไม่ได้แข็งแรงเหมือน US หรือยุโรปครับ ดังนั้นทุกคนก็อยากจะไปโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทำให้โรงพยาบาลแต่ละแห่ง คนไข้แน่นและ work load หนักมาก คลินิกเช้ากว่าจะเสร็จบ่ายโมง บ่ายสอง แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์เองก็ขาด ต้องรับเวรต่อเวรแทบไม่ได้พัก คนไข้เจ็บป่วยเล็กน้อยจึงไม่อยากไปโรงพยาบาล โครงการดังกล่าวจึงพยายามช่วยลดภาระคนไข้กับโรงพยาบาลตรงนี้ แต่หากท่านมองว่าก็ไปคลินิกหรือ รพ.สต. แทนสิ คำถามคือความพร้อมของ คลินิกกับ รพ.สต. มีบุคลากรพร้อมขนาดไหน มีแพทย์ครบทุกแห่งไหม และครอบคลุมทุกพื้นที่หรือไม่

*ทุกวงการและวิชาชีพ มีคนที่ทำดีและไม่ดีครับ คิดว่าแพทยสภาก็พอทราบว่าไม่ใช่ทุกคลินิก หรือทุกวิชาชีพที่ทำได้ตามมาตรฐานอุดมคติ และปัญหาที่เจอคืออะไรบ้างอย่างที่ไม่ต้องแจง เราควรไปพัฒนาจัดการให้ดี และสร้างระบบที่เข้มแข็ง มากกว่าการบอกว่าร้านยาจะ harm ผู้ป่วยครับ

*สิ่งที่ดีที่สุดคือการสร้างระบบใบสั่งยา ซึ่งทุกคนที่เกี่ยวข้องควรมานั่งคุยกัน และสร้างขึ้นมาเพราะต้องเป็นนโยบายระดับชาติถึงจะเกิดได้ และทุกคนยอมรับแต่มันมีความข้องเกี่ยวหลายส่วน และถ้าอยากให้เกิดทุกคนต้องช่วยกันครับ

*ในฐานะที่ทำงานร่วมกับแพทย์หลายท่านและมีร้านยา ทุกคนมองความปลอดภัยของคนไข้เป็นหลักครับ คงจะดีกว่าถ้ามานั่งคุยและพัฒนาแก้ปัญหาด้วยกัน มากกว่ากล่าวโทษกันครับ

ด้าน สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ผ่านเพจเฟซบุ๊กไว้เช่นกัน เรื่องว่า แพทยสภาอังกฤษไม่ฟ้อง NIH (National Institute of Health) แต่แพทยสภาไทย ฟ้อง สปสช.และ สภาเภสัชกรรม

ในประเทศอังกฤษ รัฐบาลได้ทำโครงการไปร้านขายยาก่อน Pharmacy First เช่นเดียวกับที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ร่วมกับร้านขายยาคุณภาพ ที่สนใจร่วมให้บริการกับผู้ป่วยบัตรทอง และสามารถจ่ายยาพื้นฐานได้กับ 16 กลุ่มอาการ และโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการนางฟ้ากับ 7 สภาวิชาชีพ เพื่อให้ช่วยสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยบัตรทองใกล้บ้าน ลดความแออัดของโรงพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ติดเตียง

โดยโครงการสภาวิชาชีพ 7 นางฟ้า เป็นโครงการของ สปสช. ที่มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิบัตรทอง และการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ เน้นการใช้ 7 กลุ่มวิชาชีพที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมการรับรู้และการให้คำแนะนำในชุมชน เป็นตัวกลางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในสิทธิ์การรักษาของประชาชนในระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย

1.พยาบาล - ให้คำแนะนำด้านสุขภาพและบริการทางการแพทย์ในชุมชน
2.เภสัชกร - ช่วยแนะนำการใช้ยาและการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวกับยา
3.นักกายภาพบำบัด - ให้คำแนะนำและบริการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังการเจ็บป่วย
4.นักจิตวิทยา - ช่วยให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและการดูแลทางจิตใจ
5.นักโภชนาการ - ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการดูแลสุขภาพผ่านการกินอาหารที่เหมาะสม
6.นักเทคนิคการแพทย์ - ทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพและการวินิจฉัยโรค
7.ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก - ส่งเสริมการใช้การแพทย์ทางเลือกในบางกรณีที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

โครงการนี้ มุ่งหวังให้กลุ่มวิชาชีพเหล่านี้สามารถช่วยสื่อสารและให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) แก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการแนะนำในการเข้าถึงบริการที่เหมาะสมตามสิทธิของตนเอง และช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในบางกลุ่มที่อาจจะไม่รู้ถึงสิทธิ์ของตนเอง

ด้าน กรรณิการ์ กิจติเวชกุล หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการในการพัฒนาและผลักดันกลไกการเข้าถึงยาจำเป็น และอีกหลายบทบาทด้านการเรียกร้องให้มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดี โดยเธอได้โพสต์ข้อความ กรณีแพทยสภาฟ้องศาลปกครอง ค้านการจ่ายยา 16 กลุ่มอาการที่ร้านยาคุณภาพในบัตรทอง หรือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยยกกรณี  บริการ Pharmacy first  ในระบบระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NIH) ที่สหราชอาณาจักรกำลังผลักดันและประชาสัมพันธ์

โดยบริการ Pharmacy First (พบเภสัชก่อน) สร้างขึ้นจากบริการ NHS Community Pharmacist Consultation Service ที่เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือน ต.ค. 2019 ซึ่งบริการให้คำปรึกษานี้ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังร้านขายยาในชุมชน เพื่อรักษาอาการป่วยเล็กน้อยหรือจัดหายาซ้ำเร่งด่วน

บริการ Pharmacy First แบบใหม่ ที่เปิดตัวในวันที่ 31 มกราคม 2024 ได้เพิ่มจากบริการให้คำปรึกษาเดิม โดยอนุญาตให้ร้านขายยาในชุมชนสามารถให้การดูแลสุขภาพสำหรับอาการทั่วไป 7 ประเภท ตามแนวทางการรักษาที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของบริการ Pharmacy First

ในเดือนพฤษภาคม 2023 NHS England และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลสังคม ได้ประกาศแผนฟื้นฟูการเข้าถึงการรักษาเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถรับยาบางประเภทจากร้านขายยาโดยไม่ต้องนัดพบแพทย์ทั่วไป

บริการใหม่นี้ คาดว่าจะช่วยลดจำนวนการนัดหมายกับแพทย์ทั่วไป ทำให้ผู้ที่ต้องการการรักษาด่วนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น โดยรวมถึงการจัดหายาที่เหมาะสมสำหรับ 7 อาการทั่วไป เช่น ปวดหู เจ็บคอ และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจลุกลาม

ปัจจุบัน ผู้ป่วยของ NHS ในอังกฤษ ต้องพบแพทย์ทั่วไปเพื่อเข้าถึงยาที่สั่งจ่ายได้เฉพาะตามใบสั่งยา ซึ่งอาจทำให้เกิดการพบแพทย์ซ้ำและการล่าช้าในการรักษา ร้านขายยาในชุมชน จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกยิ่งขึ้นในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ การตรวจวัดความดันโลหิต การคุมกำเนิด รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิด

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อร้านขายยาในชุมชนพบว่า ผู้ป่วยกว่า 90% ที่ได้รับคำแนะนำจากร้านขายยาในปีที่ผ่านมา รายงานว่าพวกเขาได้รับคำแนะนำที่ดี

อย่างไรก็ดี หากมีความคืบหน้าเรื่องคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด และโครงการดังกล่าวหลังจากนี้ ไทยรัฐออนไลน์จะมารายงานสถานการณ์ให้ผู้อ่านได้ทราบอีกครั้ง

อ้างอิง

*คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองออกกฎหม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา)
*“ร้านยาชุมชนอบอุ่น” ที่เข้าร่วม 30 บ.รักษาทุกที่ ปชช.รับบริการแล้วกว่า 2.84 ล้านครั้ง
*สภาเภสัชกรรม แจงเจ็บป่วยเล็กน้อย ยังรับยา “ร้านยาใกล้บ้าน” ได้ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น
*หมอเมธี โพสต์เฟซบุ๊ก ดุลยพินิจองค์คณะตุลาการศาลปกครอง ประเด็น 16 อาการรับยาร้านยาชุมชนอบอุ่น
*สปสช. ย้ำนโยบาย “ร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ”จ่ายยาเฉพาะผู้ป่วยมีอาการ ไม่เจ็บป่วยไม่ได้รับยา
*ร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย สิทธิบัตรทองรับบริการแล้วเกือบ 1.6 ล้านครั้ง ส่วนใหญ่อาการไข้ ไอ เจ็บคอ
*สภาเภสัชฯ ย้ำ “ร้านยาคุณภาพ” ดูแล “เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
*นายกฯ คิกออฟ '30 บาท รักษาทุกที่ กทม.' บริการปฐมภูมิ สิ้นปีนี้ครบทั่วประเทศ
*เปิดคำแถลงนโยบายนายกฯ 'เศรษฐา' มุ่งยกระดับ '30 บาทรักษาทุกโรค' เข้าถึงบริการผ่านบัตรประชาชนใบเดียว สร้างความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศ
*ส่อง สปสช. รับนโยบาย 'ยกระดับ 30 บ.รักษาทุกโรค' 100 วันเห็นผล พร้อมวิธีลดภาระงานบุคลากร
*พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
*ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

บทความโดย
ทีมข่าวเฉพาะกิจ ไทยรัฐออนไลน์
12 พ.ย. 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"วิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า วิชาชีพที่กระทาต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัด
โรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์การปรับสายตาด้วยเลนซ์สัมผัส การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือ
เพื่อระงับความรู้สึก และหมายความรวมถึงการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสาร การสอดใส่
วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกายด้วย
"โรค" หมายความว่า ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ความผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจ และหมายความรวมถึง
อาการที่เกิดจากภาวะดังกล่าวด้วย
"ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวช
กรรมจากแพทยสภา
มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรม
โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้..............................
…………………………………………………………………………………………………………………………………..

พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘

 มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้...........................
“ การประกอบวิชาชีพการพยาบาล ”(๓) หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การพยาบาลต่อบุคคล
ครอบครัว และชุมชน โดยการกระทำต่อไปนี้
(๑) การสอน การแนะนา การให้คาปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
(๒) การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อการแก้ปัญหา
ความเจ็บป่วย การบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรค และการฟื้นฟูสภาพ
(๓) การกระทำตามวิธีที่กาหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค
(๔) ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พ.ศ. ๒๕๖๔

หมวด ๓
การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ชั้นหนึ่ง ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค ดังต่อไปนี้
๑๐.๑ ไข้ตัวร้อน
๑๐.๒ ไข้และมีผื่นหรือจุด
๑๐.๓ ไข้จับสั่น
๑๐.๔ ไอ
๑๐.๕ ปวดศีรษะ
๑๐.๖ ปวดเมื่อย
๑๐.๗ ปวดหลัง
๑๐.๘ ปวดเอว
๑๐.๙ ปวดท้อง
๑๐.๑๐ ท้องผูก
๑๐.๑๑ ท้องเดิน
๑๐.๑๒ คลื่นไส้อาเจียน
๑๐.๑๓ การอักเสบต่าง ๆ
๑๐.๑๔ โลหิตจาง
๑๐.๑๕ ดีซ่าน
๑๐.๑๖ โรคขาดสารอาหาร
๑๐.๑๗ อาหารเป็นพิษ
๑๐.๑๘ โรคพยาธิลาไส้
๑๐.๑๙ โรคบิด
๑๐.๒๐ โรคไข้หวัด
๑๐.๒๑ โรคหัด
๑๐.๒๒ โรคสุกใส
๑๐.๒๓ โรคคางทูม
๑๐.๒๔ โรคไอกรน
๑๐.๒๕ โรคผิวหนังเหน็บชา
๑๐.๒๖ ปวดฟัน
๑๐.๒๗ เหงือกอักเสบ
๑๐.๒๘ เจ็บตา
๑๐.๒๙ เจ็บหู
๑๐.๓๐ โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
๑๐.๓๑ ภาวะแท้งคุกคามหรือหลังแท้งแล้ว
๑๐.๓๒ การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่บุคคลทั่วไป หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด ทารกและเด็ก
๑๐.๓๓ ความเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
..................................................................................................

พระราชบัญญัติ วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
 “วิชาชีพเภสัชกรรม”  หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์การปรุง การจ่ายยา การขายยา และการดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยยาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยา การให้คำแนะนำปรึกษาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา รวมทั้งการดำเนินการหรือร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหาป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤศจิกายน 2024, 20:22:39 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10108
    • ดูรายละเอียด
สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับ 3 แจงยิบ 4 ประเด็นใหญ่ โต้แพทยสภา โครงการจ่ายยา 16 กลุ่มอาการ

จากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับฟ้องคำร้องของ แพทยสภา ที่คัดค้านการจ่ายยาตาม 16 กลุ่มโรคอาการ โดยไม่มีการตรวจโดยแพทย์ เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน ขณะที่ สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึกไปแล้ว 2 ฉบับ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 3 ชี้แจงกรณีแถลงการณ์ของ แพทยสภา ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

สืบเนื่องจากแถลงการณ์ของทางแพทยสภาทำให้สมาชิกเภสัชกรกังวลใจเป็นอย่างยิ่งในข้อมูล และทัศนคติดังกล่าว และอาจส่งผลต่อการทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพในการร่วมดูแลประชาชนด้านยา และสุขภาพ

สภาเภสัชกรรม ขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.กระบวนการพิจารณาโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการโดยร้านยาคุณภาพนั้น ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและกลั่นกรองหลายขั้นตอน โดยอนุกรรมการชุดต่างๆ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทั้งคณะอนุกรรมการกําหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข คณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุน คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และในที่สุดเสนอ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนแพทย์ เภสัชกร และวิชาชีพ อื่นๆ ภาคประชาสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ

จึงมีมติเห็นชอบให้ดําเนินการในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการโดยเภสัชกรร้านยา ดังกล่าวนี้ โดยมีรายละเอียดแนวปฏิบัติที่รอบคอบ เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้รับบริการ โดยให้บริการตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2565 จนถึง 21 พฤศจิกายน 2567 มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 1,791,930 คน จํานวนครั้ง 4,985,145 ครั้ง ร้อยละ 90 อาการหายหรือทุเลา ไม่พบกรณีที่ผู้เข้ารับบริการที่เกิดปัญหารุนแรง หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นจากเภสัชกร มีบางส่วนได้รับการส่งต่อแพทย์ทันที ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น แนะนําการใช้ยาและ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และจากผลการสํารวจพบว่า ประชาชนที่เข้ารับบริการในโครงการนี้ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

2.กระบวนการซักประวัติเพื่อจ่ายยาในการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เป็นมาตรฐานที่เภสัชกร ให้การบริบาลต่อผู้ป่วยมาเป็นเวลานานมากกว่า 70 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ.2479) และ เป็นไปอย่างถูกต้องและชอบธรรม ตามพระราชบัญญัติยาและพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งเดิมประชาชนเป็นผู้จ่ายค่ายาเอง สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เห็นประโยชน์ของการบริบาล ทางเภสัชกรรมดังกล่าว จึงได้บรรจุเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ให้ประชาชนโดยใช้งบประมาณของ สปสช. ซึ่งงบประมาณดังกล่าวได้มาจากภาษีของประชาชน ในขณะที่กรรมการแพทยสภาบางท่านได้มีการเผยแพร่ ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า “การฟ้องร้อง สปสช.และสภาเภสัชกรรมโดยแพทยสภา ไม่เกี่ยวกับการห้ามเภสัชกร จ่ายยา ตามบริบทเดิม แม้แต่น้อย” ซึ่งอาจตีความได้ว่า หากเป็นกรณีผู้ป่วยจ่ายเงินเอง แพทยสภาไม่ขัดข้อง แต่หาก สปสช. จ่ายค่าบริการแทนประชาชน ดังเช่นในโครงการฯนี้ แพทยสภากลับฟ้องร้องว่าไม่ปลอดภัย จึงทําให้ มีข้อสังเกตว่า การฟ้องร้องดังกล่าว เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของประชาชน มากน้อยเพียงไร

3.สภาเภสัชกรรม ขอขอบพระคุณเพื่อนแพทย์ ที่ได้ให้กําลังใจเภสัชกรในฐานะ “ทีมสุขภาพ” ด้วยความเป็นมิตรและให้เกียรติซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานของความเข้าใจในสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยที่มี ความเหลื่อมล้ำ ยังมีประชาชนจํานวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ โดยเฉพาะในอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ซึ่งเป็นความทุกข์และบั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นการยากมากที่จะเข้าถึงแพทย์ และมีค่าใช้จ่าย สูงในการเดินทางเข้ารับบริการนี้ที่โรงพยาบาล พยาบาล ในขณะที่ต้องหาเช้ากินค่ํา

อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยเหล่านี้ ไม่จําเป็นต้องผ่านการตรวจร่างกายหรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่สามารถที่จะซักถามเพื่อประเมินอันตรายโดยเภสัชกรซึ่งเป็นผู้ที่ร่ำเรียนด้านยาในด้านต่างๆ จากหลักสูตร การศึกษา 6 ปี ในคณะเภสัชศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเภสัชกรรม และยังผ่านการอบรมในโครงการร้านยาคุณภาพอีกด้วย หากมีความเสี่ยงอันตรายที่จะเป็นโรคร้ายแรง เภสัชกรจะรีบส่งต่อไปให้แพทย์ดูแลโดยด่วนตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติงานที่กําหนด โดยหากมั่นใจว่าเป็นเพียงอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เภสัชกร จะเลือกสรรยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการและดูแลอาการเจ็บป่วย อย่างเหมาะสม รวมทั้งทําการติดตามผลการใช้ยา เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนที่ได้รับบริการตามโครงการฯนี้ สามารถกลับไปประกอบอาชีพ หาเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการกลั่นกรองผู้ป่วย เพื่อลดภาระงานบริการ เพื่อให้แพทย์สามารถใช้เวลากับผู้ป่วยในโรคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย

4. สภาเภสัชกรรมเห็นด้วยว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน ควรคํานึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสําคัญ และขอให้แพทยสภาพิจารณาถึงประเด็นความปลอดภัยในการใช้ยาให้ครอบคลุมทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้ยามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคลินิก ซึ่งส่วนใหญ่ยังพบว่าฉลากยาไม่ระบุชื่อยาและรายละเอียดเกี่ยวกับยาที่จ่าย ทําให้ไม่สามารถตรวจสอบและตรวจสอบย้อนกลับได้หากมีปัญหาการใช้ยา และไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลเกี่ยวกับฉลากบรรจุยา พ.ศ.2565 เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ส่งมอบยาอาจเป็นผู้ที่มิได้มีความรู้เรื่องยา จึงขอให้ทางแพทยสภาพิจารณาการให้บริการในลักษณะดังกล่าวของคลินิกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของ ประชาชนด้านยาและสุขภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด

สภาเภสัชกรรมขอขอบคุณเภสัชกรที่ร่วมการแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งหลายท่านยังเสนอแนวทางในการเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชน และขอขอบคุณเพื่อนแพทย์หลายท่านที่แสดงความปรารถนาดีต่อประชาชนอย่างจริงใจ ด้วยการอาสาที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะให้เภสัชกร ให้มีสมรรถนะในการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอย่างรวดเร็วขึ้น ตลอดจนการร่วมพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันที่ชัดเจนระหว่างแพทย์และเภสัชกร

สภาเภสัชกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแพทยสภาจะเปิดใจ “หยุดและทบทวน” ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนความคิด รับฟังความเห็นและความรู้สึกของประชาชน ร่วมกันสร้างความสามัคคีและการทํางานร่วมกันของภาคีสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อย่างยั่งยืน

สุดท้ายนี้ สภาเภสัชกรรมพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับแพทยสภาในการหาทางออกที่เหมาะสม บนพื้นฐานของความเข้าใจร่วมกัน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทํางานร่วมกันของวิชาชีพ โดยอยู่บนพื้นฐานที่สําคัญที่สุดคือ ประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนอย่างแท้จริง

21 พย 2567
มติชน