ผู้เขียน หัวข้อ: เราอยู่ในยุคพลาสติก : เราผลิต เราใช้ และเรากินพลาสติก  (อ่าน 3497 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด

ตั้งแต่สมัยโบราณมา มนุษย์เราผ่านยุคหิน ยุคสำริด ยุคเหล็กมาแล้ว ตอนนี้เราอยู่ในยุคพลาสติก เราผลิตพลาสติก เราใช้พลาสติก และเราก็กินพลาสติก (โดยไม่รู้ตัว)
ช่วงเวลาที่มนุษย์เราเริ่มใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต หรือเป็นอาวุธ (ในช่วง 2- 5 ล้านปีมาแล้ว) เราเรียกช่วงเวลานั้นว่า ยุคหิน (stone age) พอเราเริ่มใช้โลหะแทนหิน คือ ใช้ทองแดงเป็นหลักผสมกับธาตุอื่นๆ เราเรียกช่วงเวลานั้นว่า ยุคสำริด (bronze age) คือ ช่วง 2,000- 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาเรารู้จักใช้เหล็ก ในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล จนบ้านเมืองพัฒนาขึ้นมากมาย เราเรียกช่วงนี้ว่า ยุคเหล็ก (iron age)
ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราสะดวกสบายมากขึ้น อยู่อย่างปลอดภัยมากขึ้น มีความเจริญของบ้านเมืองมากขึ้นในขณะที่เราก้าวผ่านยุคต่างๆมาเป็นลำดับ
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา ( World War II 1939-1945) พลาสติกมีอิทธิพลต่อการเป็นอยู่ของคนเรามากขึ้นๆ จนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า เราใช้พลาสติกในแทบจะทุกกิจกรรมในการดำรงชีวิต พลาสติกอยู่รอบตัวเรา บ้านเมืองเราก็เจริญมากขึ้นกว่าก่อน ตั้งแต่เกิดจนตาย เราอยู่กับพลาสติก ยุคนี้เป็นยุคพลาสติก(plastic age) เราอยู่ในยุคพลาสติกกันแล้ว


โลกเราผลิตพลาสติกมากขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าสามร้อยล้านตันแล้วในปีค.ศ. 2017 อุตสาหกรรมแทบจะทุกด้านล้วนแล้วแต่ใช้พลาสติก ทั้งด้านยานยนต์ ก่อสร้าง สิ่งทอ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ การบริโภคต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในวงการแพทย์
เราผลิตพลาสติกจากน้ำมัน/แก๊สธรรมชาติ (fossil fuel) โดยการเชื่อมต่อโมเลกุลของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นร้อยเป็นพันโมเลกุลเข้าด้วยกันกลายเป็นโมเลกุลใหม่ (polymer) ขนาดใหญ่ (มากๆ) เป็นโมเลกุลที่จุลินทรีย์ไม่รู้จัก (เป็นเอเลี่ยนสำหรับจุลินทรีย์) นี่แหละพลาสติก
ในธรรมชาติ พลาสติกจึงไม่ถูกย่อยสลาย (biodegradation) แต่เสื่อมสลาย และแตกสลายได้ จากวัสดุของใช้ก็เสื่อมสลายกลายเป็นชิ้นพลาสติก จากพลาสติกชิ้นใหญ่กลายเป็นชิ้นเล็กลงๆ** บางคนเปรียบเปรยว่า พลาสติกเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ซึ่งก็ทั้งจริงและไม่จริง จริงคือในธรรมชาติแล้ว พลาสติกคงอยู่ชั่วนิรันดร เล็กลงแต่ไม่ตาย*** ไม่จริง คือ ยังมีวิธีหนึ่งที่ทำให้พลาสติกตายได้ โดย“การเผา” เราสามารถเผาทำลายพลาสติกได้ (พลาสติก มาจากน้ำมัน/แก๊สธรรมชาติ




มีการประมาณว่า โลกเราผลิตพลาสติกจนถึงปัจจุบัน มากถึง 8.3 พันล้านตัน เราเผาทำลาย(incineration)ไปประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ อีกเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ยังอยู่บนโลกเรา เราเอากลับไปใช้ใหม่ (recycle) ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือนอกจากนั้นเป็นขยะพลาสติก (ประมาณ 6.3 พันล้านตัน) ขยะพลาสติกอยู่ที่ไหนบ้าง ส่วนหนึ่งเราฝังกลบอยู่ใต้ดิน ส่วนหนึ่งกลาดเกลื่อนบนพื้นดิน ส่วนหนึ่งลงสู่แหล่งน้ำและทะเล อีกส่วนกลายเป็นฝุ่นพลาสติกล่องลอยในอากาศ



ที่น่าตกใจ คือ มีขยะพลาสติก กระจายลงไปในทะเล ประมาณปีละ 8 ล้านตัน**** ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านั้น คือ ประเทศไทย อยู่ในอันดับ 6 ของโลกในการสร้างขยะในทะเล (จาก 192 ประเทศทั่วโลกที่มีดินแดนติดชายฝั่งทะเล) นักวิชาการกล่าวว่า 5 ประเทศ คือ จีน บวกกับอีก 4 ประเทศในอาเซียน (คือ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) สร้างขยะพลาสติกในทะเลมากกว่าทุกประเทศทั่วโลกที่เหลือรวมกัน แค่ 5 ประเทศนี้ดูแลเรื่องขยะพลาสติกให้ดี ก็แก้ปัญหาไปได้มากแล้ว



ในปี ค.ศ.2017 องค์การสหประชาชาติ(UN)ได้ประกาศรณรงค์ลดขยะในทะเล (#CleanSeas campaign) โดยกระตุ้นรัฐบาลทั่วโลกให้ออกนโยบายลดการใช้พลาสติก (plastic reduction policies) พุ่งเป้าไปที่ภาคอุตสาหกรรม และเรียกร้องให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้แล้วทิ้ง (throwaway habits)
ต้นปี ค.ศ. 2018 สหภาพยุโรป(EU)ก็เริ่มขยับ ประกาศรณรงค์ลดขยะพลาสติก และในปีเดียวกันองค์การอนามัยโลก (WHO)ก็กังวลเรื่องผลกระทบของมลพิษจากพลาสติกต่อสุขภาพของคน และเรียกร้องให้ขจัดมลพิษจากพลาสติก
องค์กรระหว่างประเทศทั้งสามออกโรงเรื่องพลาสติก ต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ ต้องมีผลกระทบที่สำคัญแน่นอน จากจุดนี้ไปจะขออ้างอิงงานวิจัยและบทความทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่




ผลกระทบต่อชีวิตสัตว์

ในแต่ละปี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(Marine mammals) และเต่าทะเล ประมาณหนึ่งแสนตัว ตายเพราะพลาสติกในทะเล
นกทะเล (sea birds) ประมาณหนึ่งล้านตัว ตายเพราะพลาสติกในทะเล




เต่าทะเล 30-50 เปอร์เซ็นต์กินพลาสติก นกทะเลมากกว่า 70-90 เปอร์เซ็นต์กินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร สัตว์ที่กินพลาสติกเข้าไป มากกว่าครึ่งตาย



ภาพวิดีโอที่เผยแพร่กันในช่วงปี 2015 ที่มีการดึงเอาหลอดพลาสติกออกจากจมูกของเต่าทะเล (ได้รับการดูผ่านทาง ยูทูป มากกว่า 30 ล้านครั้ง)***** กระทบกระเทือนใจคนที่ได้ดูเป็นจำนวนมาก และเป็นการกระตุ้นให้หลายๆส่วนออกมารณรงค์เลิกใช้หลอดพลาสติก และวัสดุพลาสติกอื่นๆ เช่น แมคโดนัลด์ในสหราชอาณาจักร และไอรแลนด์ จะเลิกใช้หลอดพลาสติกในปีนี้ (ค.ศ.2019), แมคโดนัลด์ในออสเตรเลียเลิกในปีหน้า (ค.ศ.2020) สตาร์บักส์ (ในอเมริกาและแคนาดา) ก็ประกาศจะเลิกใช้หลอดพลาสติกในปี ค.ศ.2020 เช่นกัน เป็นต้น
ล่าสุดนักวิจัยพบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของลูกเต่าทะเล ตายเพราะกินพลาสติก และการกินพลาสติกเพียงชิ้นเดียวก็อาจทำให้ลูกเต่าตายได้ ดังนั้น “หนึ่งหลอด อาจหมายถึง หนึ่งชีวิต”


***** https://www.youtube.com/watch?v=4wH878t78bw


ข่าวคราวเรื่องวาฬเกยตื้นตายเพราะกินพลาสติก มีมาเป็นระยะๆ พบได้ทั่วโลก (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิตาลี สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ...) วาฬมาเกยตื้นที่ชายหาด อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2561 แล้วตาย (พบพลาสติก 80 ชิ้น ประมาณ 8 กิโลกรัมในกระเพาะอาหารของวาฬ) หนึ่งในทีมสัตวแพทย์ที่พยายามช่วยชีวิตกล่าวว่า “มีช่วงหนึ่งที่วาฬเกร็งตัว สำรอกเอาพลาสติกออกมา......”*
ข่าวนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก สำนักข่าวดังๆต่างประเทศ ก็เล่นข่าวนี้
* https://www.bbc.com/thai/thailand-44346034
นี้เป็นผลกระทบของขยะพลาสติกต่อชีวิตสัตว์โลก คนที่รักสัตว์คงอยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว เค้าทรมานและตายเพราะเรา แต่...บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว มาดูผลกระทบอีกด้านของขยะพลาสติก



https://www.facebook.com/praditc/posts/2532794963438463
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มิถุนายน 2024, 23:07:54 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
หนึ่งในปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่หลายฝ่ายแสดงความกังวลถึงในขณะนี้ คือ “ไมโครพลาสติก” (Microplastic) หรืออนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ซึ่งมาจากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งทอ ยางรถยนต์สังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และแหล่งที่มาอื่น ๆ

ไมโครพลาสติกเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้างและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หากปลา เต่า หรือนก บริโภคเข้าไป อาจทำให้ตายได้ ขณะที่ในมนุษย์เอง สามารถสร้างกระทบหลายประการต่อหัวใจและปอดของมนุษย์ได้

ที่ผ่านมา มีการรายงานค้นพบไมโครพลาสติกในที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในท้องของปลา ในน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก และในหิมะบนเทือกเขาระหว่างฝรั่งเศสและสเปน แต่ล่าสุด มีการพบไมโครพลาสติกในที่ที่หลายคนอาจจะไม่คาดคิด นั่นคือ “บนท้องฟ้า”

ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นเปิดเผยผลการวิจัยฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Chemistry Letters ว่า “พบไมโครพลาสติกอยู่ในก้อนเมฆ” ซึ่งพวกเขาคาดว่า มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ แต่ในลักษณะที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้

ในการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ได้ปีนภูเขาไฟฟูจิและภูเขาโอยามะ เพื่อรวบรวมน้ำจากเมฆที่ปกคลุมยอดเขา จากนั้นจึงใช้เทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูงกับตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี

ทีมวิจัยพบว่า ในน้ำจากเมฆ 1 ลิตร จะมีไมโครพลาสติกประมาณ 6.7-13.9 ชิ้น มีขนาดตั้งแต่ 7.1-94.6 ไมโครเมตร ในบรรดาไมโครพลาสติกที่พบนั้น เป็นพอลิเมอร์ 9 ชนิดและยาง 1 ชนิด

โอโคจิ ฮิโรชิ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “หากปัญหามลพิษพลาสติกในอากาศไม่ได้รับการแก้ไขในเชิงรุก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาก็อาจกลายเป็นความจริง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงและแก้ไขไม่ได้ในอนาคต”

โอโคจิบอกว่า เมื่อไมโครพลาสติกขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นบนและสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ไมโครพลาสติกจะสลายตัวและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

อย่างไรก็ตาม กลไกการกระจายไมโครพลาสติกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ผ่านทางอากาศเป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน และการวิจัยเกี่ยวกับการกระจายไมโครพลาสติกทางอากาศยังมีจำกัด

“เท่าที่ทราบ นี่เป็นรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่ลอยอยู่ในอากาศในน้ำจากเมฆ” ทีมวิจัยระบุ

มหาวิทยาลัยวาเซดะ ระบุในแถลงการณ์ว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า “มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ อาจกินหรือสูดดมไมโครพลาสติกโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่การตรวจพบในร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ เลือด รก และอุจจาระ”

มหาวิทยาลัยเสริมว่า “เศษพลาสติกจำนวนสิบล้านตันจบลงในมหาสมุทร และหาทางขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเมื่อน้ำระเหย นี่หมายความว่า ไมโครพลาสติกอาจกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของเมฆ ปนเปื้อนเกือบทุกอย่างที่เรากินและดื่มผ่าน ‘สายฝนพลาสติก’”


PPTVHD36
28 กย 2566

AdChoices
สาเหตุหลักที่ทำให้คนสองคนนี้ต้องกล่าวคำอำลา

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
รายงานการศึกษาสิ่งแวดล้อม 2 ชิ้น ที่เผยแพร่ในวารสาร Science of the Total Envirionment เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้เผยผลลัพธ์ที่น่ากังวลใจ โดยรายงานดังกล่าว อาศัยพื้นที่ที่ถูกปิดกั้นจากโลกภายนอกของถ้ำแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในระบบน้ำใต้ดิน

เอลิซาเบธ ฮาเซนมูเอลเลอร์ นักธรณีเคมีและรองผู้อำนวยการสถาบัน WATER แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของทั้งสองกรณีศึกษากล่าวในแถลงการณ์ว่า มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่เน้นหนักเรื่องไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำที่อยู่บนผิวดิน แต่กลับมีการศึกษาเรื่องการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำใต้ดินน้อยมาก

ไมโครพลาสติกคือเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กที่มาจากการสลายตัวของวัสดุประเภทพลาสติก โดยกำหนดขนาดไว้ว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร

ทีมนักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ สามารถเดินทางไปถึงที่ใดบ้าง และดูเหมือนว่าจะยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่จากรายงานก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ระบุว่ามีการค้นพบไมโครพลาสติกอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่บนก้อนเมฆไปจนถึงอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์

พื้นที่ในการศึกษาครั้งคือถ้ำคลิฟฟ์ในรัฐมิสซูรี ซึ่งถูกปิดตาย ห้ามบุคคลภายนอกเข้าตั้งแต่ปี 2536 ถ้ำแห่งนี้มีตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน จึงไม่ถือว่าตัดขาดจากชุมชนเสียทีเดียวนัก และเหมาะจะเป็นสถานที่ศึกษาว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นั้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อยู่ใกล้เคียงอย่างไรบ้าง

ทีมวิจัยพบว่ามีการสะสมของไมโครพลาสติกในระดับเข้มข้นที่บริเวณปากถ้ำ แล้วยังถูกผลักดันให้เข้าไปในส่วนลึกของถ้ำเมื่อเกิดน้ำท่วมพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยยังชี้ว่ามีความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในตะกอนในถ้ำ สูงกว่าในน้ำถึง 100 เท่า

ฮาเซนมูเอลเลอร์ กล่าวว่า 99% ของชิ้นส่วนไมโครพลาสติกที่ทีมงานพบในถ้ำอยู่ในชั้นตะกอน มีเพียงชิ้นส่วนไมโครพลาสติกที่เล็กมาก ๆ เท่านั้นที่อยู่ในน้ำ

เหตุการณ์เท่ากับชี้ว่า น้ำทิ้งเศษไมโครพลาสติกไว้ที่ชั้นดินตะกอน ซึ่งจะเก็บพลาสติกเหล่านี้ไว้เป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษ แม้กระทั่งหลังจากที่น้ำลดระดับลงจากบริเวณนั้น นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่อนุภาคพลาสติกที่ปลิวอยู่ในอากาศจะตกลงสู่พื้นถ้ำด้วยเช่นกัน

ฮาเซนมูเอลเลอร์ กล่าวว่า อนุภาคพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในถ้ำเหล่านี้ อาจหลุดรอดไปในระบบน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่คนใช้อุปโภคบริโภค นอกจากนี้มันยังมีส่วนรบกวนสภาพที่อยู่อาศัยของค้างคาวและสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในถ้ำด้วย

หัวหน้าทีมวิจัยยังกล่าวว่า เมื่อพิจารณาว่าไมโครพลาสติกได้แพร่กระจายไปแทบจะทุกจุดแล้ว การจะเก็บเศษชิ้นส่วนพลาสติกกลับคืนหรือแก้ไขสภาพแวดล้อมให้กลับคืนเหมือนเดิมนั้น เป็นไปได้ยาก

ฮาเซนมูเอลเลอร์ กล่าวว่า ทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขได้ก็คือเราจะต้องเลิกใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ เนื่องจากเศษพลาสติกจำนวนมากที่พบในถ้ำในกรณีศึกษาทั้งสองนี้ คือเศษใยผ้าที่มาจากวัสดุสังเคราะห์

ก่อนหน้านี้ก็มีการวิจัยค้นพบว่า กระบวนการผลิต สวมใส่และซักล้างเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าใยสังเคราะห์ ล้วนแต่มีส่วนปลดปล่อยให้ใยสังเคราะห์หรือไมโครไฟเบอร์ หลุดรอดสู่ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่มา : futurism.com



เดลินิวส์
3 ตค 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องมากขึ้นในหลายประเทศ ให้มีการพัฒนาระบบน้ำประปาที่สามารถบริโภคได้ ล่าสุดมีงานวิจัยในสหรัฐฯ ที่หลายคนฟังแล้วอาจตกใจ เพราะพวกเขาพบว่า ในน้ำขวด 3 ยี่ห้อที่หาซื้อได้ทั่วไปจากวอลมาร์ตนั้น มีอนุภาคพลาสติกปะปนเฉลี่ยถึง 240,000 อนุภาคต่อลิตร

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อมาโดยตลอดว่า น้ำที่ถูกบรรจุอยู่ภายในขวดพลาสติกนั้น อย่างไรจะต้องมีอนุภาคพลาสติกปะปนอยู่ด้วยไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน แต่ยังไม่มีวิธีการศึกษายืนยันที่ชัดเจน

กระทั่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส ได้ทำการศึกษาตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดจำนวน 3 ยี่ห้อ ยี่ห้อละ 5 ขวด ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์เลเซอร์คู่ (Dual Laser Microscope) พวกเขาก็ได้พบกับอนุภาคพลาสติกจำนวนมาก

นักวิจัยพบว่า ระดับอนุภาคพลาสติกในน้ำขวดอยู่ที่ระหว่าง 110,000 ถึง 400,000 อนุภาคต่อลิตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 240,000 อนุภาค โดยยังพบด้วยว่า อนุภาคพลาสติกในน้ำเป็น “นาโนพลาสติก” มากกว่า “ไมโครพลาสติก” ราว 10-100 เท่า

ไมโครพลาสติกคืออนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ไปจนถึง 1 ไมโครเมตร ส่วนอะไรก็ตามที่เล็กกว่านั้นก็คือนาโนพลาสติก

นอกจากนี้ อนุภาคพลาสติกที่พบนั้น เบื้องต้นมีอยู่อย่างน้อย 7 ชนิด คือ โพลีเอไมด์, โพรพิลีน, โพลีเอทิลีน, โพลีเมทิลเมทาคริเลต, โพลีไวนิลคลอไรด์, โพลีสไตรีน และโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต

ดร.เฉียน ไน่ซิน จากภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า ดูเหมือนว่าอนุภาคพลาสติกส่วนใหญ่มาจากขวดและแผ่นกรองรีเวอร์สออสโมซิสที่ใช้เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ

เธอบอกว่า จะยังไม่เปิดเผยชื่อของน้ำขวดทั้งสามแบรนด์ เนื่องจากนักวิจัยต้องการตัวอย่างเพิ่มเติมมากกว่านี้ก่อน และต้องการศึกษายี่ห้ออื่น ๆ เพิ่มเติม แต่เธอบอกว่ามันเป็นน้ำขวดทั่วไปที่หาซื้อได้ตามวอลมาร์ต
ทั้งนี้ นักวิจัยยังคงไม่สามารถตอบคำถามสำคัญได้ว่า อนุภาคไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกที่อยู่ในน้ำดื่มเหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

ฟีบี สเตเปิลตัน นักพิษวิทยาจากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เราไม่รู้ว่ามันอันตรายหรืออันตรายแค่ไหน เรารู้ว่าพวกมันเข้าไปในเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงคนด้วย … และการวิจัยในปัจจุบันกำลังศึกษาว่า พวกมันทำอะไรบ้างเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์”

ด้านสมาคมน้ำดื่มบรรจุขวดระหว่างประเทศระบุในแถลงการณ์ว่า “ในปัจจุบัน เรายังขาดวิธีการการวัดอนุภาคพลาสติกที่ได้มาตรฐาน และยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากอนุภาคนาโนพลาสติกและไมโครพลาสติก ดังนั้นรายงานของสื่อเกี่ยวกับอนุภาคเหล่านี้ในน้ำดื่มไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการทำให้ผู้บริโภคหวาดกลัวโดยไม่จำเป็น”

สภาเคมีแห่งอเมริกา ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ผลิตพลาสติก ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในทันที

ทั้งนี้ ทีมวิจัยที่รายงานการค้นพบครั้งนี้เปิดเผยว่า หลังทำการศึกษานี้ พวกเขาก็เริ่มลดการดื่มน้ำจากน้ำบรรจุขวด

เว่ย หมิ่น นักเคมีจาก ม.โคลัมเบีย ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีกล้องจุลทรรศน์เลเซอร์คู่ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า เขาลดการดื่มน้ำดื่มบรรจุขวดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนสเตเปิลตันกล่าวว่าตอนนี้เธออาศัยดื่มน้ำกรองที่บ้านมากขึ้น แต่ผู้ร่วมวิจัยอีกคนอย่าง เหยียน เป่ย์จ้าน นักเคมีด้านสิ่งแวดล้อม ม.โคลัมเบีย ชี้ให้เห็นว่า ตัวกรองก็อาจเป็นปัญหาได้หากนำพลาสติกมาใช้

ด้านผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ก็ออกมาแสดงท่าทียกย่องการศึกษาวิจัยนี้ และส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า มีความไม่สบายใจโดยทั่วไปเกี่ยวกับอันตรายของอนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงถึงอันตรายของมัน

เจสัน โซมาเรลลี ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และผู้อำนวยการกลุ่มมะเร็งวิทยาเปรียบเทียบแห่งมหาวิทยาลัยดยุก กล่าวว่า “อันตรายจากพลาสติกยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ แต่สำหรับผม สารเติมแต่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด”

เขาบอกว่า “เราและคนอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า นาโนพลาสติกเหล่านี้สามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ได้ และเรารู้ว่านาโนพลาสติกมีสารเคมีทุกชนิดที่อาจทำให้เซลล์เกิดความเครียด เกิดความเสียหายของ DNA และเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญหรือการทำงานของเซลล์”

โซมาเรลลีกล่าวว่า ในผลงานการวิจัยของเขาที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ พบว่า “ในพลาสติกเหล่านี้ มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งมากกว่า 100 ชนิด”

ด้าน เชอร์รี เมสัน ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของ Penn State Behrend ในรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย กล่าวว่า การค้นพบครั้งใหม่นี้ตอกย้ำคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่มีมายาวนานว่า ควรดื่มน้ำประปาจากแก้วหรือภาชนะสแตนเลสมากกว่าพลาสติก

“ผู้คนไม่คิดว่าพลาสติกจะหลุดลอกออกมา แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นอย่างนั้น ในลักษณะเดียวกับที่เราผลัดเซลล์ผิวอยู่ตลอดเวลา พลาสติกจะปล่อยเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แตกออกอยู่ตลอดเวลา” เมสันกล่าว

เธอยังมีความคิดเห็นคล้ายกับโซมาเรลลีในเรื่องความอันตรายของอนุภาคพลาสติกด้วยว่า “สารเคมีต่าง ๆ ถูกใช้ในการผลิตพลาสติก ดังนั้นหากพลาสติกเข้าสู่ร่างกายเรา มันก็จะนำสารเคมีเหล่านั้นเข้ามาด้วย และเนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายคนสูงกว่าภายนอก สารเคมีเหล่านั้นจะเคลื่อนย้ายออกจากพลาสติกนั้นและจบลงที่ร่างกายของเรา”

เธอเสริมว่า “สารเคมีสามารถถูกส่งไปยังตับ ไต และสมองของคุณ และยังแพร่กระจายป่านรกไปอยู่ในเด็กในครรภ์ได้ด้วย” เมสันกล่าว โดยอ้างถึงงานวิจัยอื่นก่อนหน้านี้ ที่มีการศึกษาหนูที่ตั้งท้อง แล้วนักวิจัยพบสารเคมีพลาสติกในสมอง หัวใจ ตับ ไต และปอดของทารกหนูที่กำลังพัฒนา 24 ชั่วโมงหลังจากที่แม่หนูตั้งครรภ์ โดยลูกหนูจะกลืนหรือหายใจเอาอนุภาคพลาสติกเข้าไปด้วย

สเตเปิลตันเสริมว่า ปัจจุบัน “เคยมีการพบไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกในรกของมนุษย์ ในเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ ในอุจจาระของมนุษย์ หรือแม้แต่ในเลือดมนุษย์”

เหยียนกล่าวว่า เขากำลังเริ่มศึกษาแหล่งน้ำอื่น ๆ ในบอสตัน เซนต์หลุยส์ ลอสแอนเจลิส และที่อื่น ๆ เพื่อดูว่ามีพลาสติกอยู่ในน้ำประปามากแค่ไหน โดยการศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับไมโครพลาสติกและการทดสอบเบื้องต้นระบุว่าอาจมีนาโนพลาสติกในน้ำประปาน้อยกว่าน้ำบรรจุขวด

เรียบเรียงจาก Associated Press / CNN
PPTVHD36 
9 มค 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
"ธนาคารไทยพาณิชย์" เดินหน้าความยั่งยืนให้กับสังคมไทย ประกาศความพร้อมเปลี่ยนขวดน้ำดื่มเพื่อใช้ในกิจกรรมองค์กรเป็น "พลาสติกรีไซเคิล 100%" สร้างคุณค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงบทบาทในการเป็นตัวกลางที่จะผลักดันสังคมยั่งยืน ด้วยเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ Net Zero จากแผนการดำเนินงานภายในของธนาคารภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 แม้ว่าสถาบันการเงินจะเป็นธุรกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ แต่ธนาคารก็ยังให้ความสำคัญที่จะบูรณาการแนวทางการปฏิบัติงานภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยในปีนี้ได้ริเริ่มลดการใช้พลาสติกภายในองค์กร จากการเปลี่ยนขวดน้ำดื่มที่ใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของธนาคาร เป็นขวดน้ำที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 100% จำนวนปีละกว่า 1.3 ล้านขวด โดยเป็นธนาคารแรกที่ริเริ่มใช้ขวดประเภทดังกล่าว

ด้วยความห่วงใยถึงความสะอาดและความปลอดภัยของลูกค้าและผู้บริโภค ธนาคารจึงได้เลือกใช้ขวดน้ำดื่ม rPET (Recycled Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นขวดพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกมาตรฐานยุโรปที่ทันสมัย โดยโรงงานรีไซเคิลพลาสติกคุณภาพสูง ENVICCO หนึ่งใน GC Group ที่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพความสะอาดและความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานจาก อย.สหรัฐ rPET นับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะพลาสติกปิดเส้นทางขยะสู่หลุมฝังกลบ โดยหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วในประเทศไทยให้กลับมาเป็นทรัพยากรสำหรับการขึ้นรูปเป็นขวดน้ำใหม่ สามารถลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขวดน้ำดื่ม "น้ำใจไทยพาณิชย์ rPET" โฉมใหม่ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด "Sustainable Bloom" ความยั่งยืนที่เบ่งบานสู่อนาคต นำเสนอในลวดลายดอกไม้หลากสีรวม 17 สี อันสื่อถึง 17 เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นตัวแทนแสดงเจตจำนงของธนาคารที่จะส่งมอบความยั่งยืนให้แก่สังคมและดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับโลกใบนี้

ทั้งนี้ การใช้ขวด rPET สามารถลดปริมาณขยะฝังกลบและขยะที่ถูกทิ้งลงทะเล ลดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม ขวดน้ำดื่ม "น้ำใจไทยพาณิชย์ rPET" ขนาดบรรจุ 320 มิลลิลิตร จำนวน 1.3 ล้านขวด นับเป็นการรีไซเคิลพลาสติกกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ แม้จะดูเป็นจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับขวดน้ำในอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่การลดปริมาณพลาสติกใหม่จำนวน 1.3 ล้านขวดเทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นไม้ 2,200 ต้นในเวลา 1 ปี และคิดเป็นการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการใช้เม็ดพลาสติกผลิตขวดน้ำแบบเดิมถึง 60%

ตามแผนงานการมุ่งสู่ Net Zero ผ่านการปฏิบัติงานภายในธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2030 นั้น การเปลี่ยนขวดน้ำดื่มเป็นขวด rPET จำนวน 1.3 ล้านขวดต่อปี ในช่วงปี 2024-2030 คิดเป็นปริมาณขวด rPET รวมประมาณ 8 ล้านขวด เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นไม้ได้ถึง 13,500 ต้น สามารถบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกได้ในระยะยาว

ปลูกจิตสำนึกพนักงานไทยพาณิชย์ ลดการใช้พลาสติก ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากเปลี่ยนขวดน้ำดื่มเป็น "น้ำใจไทยพาณิชย์ rPET" แล้ว ธนาคารยังมีโครงการปลูกฝังจิตสำนึกพนักงานในการลดการใช้ขวดพลาสติกภายในชีวิตประจำวัน ด้วยการรณรงค์การนำกระบอกน้ำหรือบรรจุภัณฑ์ส่วนตัวที่ทนทานและใช้ซ้ำได้มาใช้เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปัญหาขยะพลาสติก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้ในอนาคต ธนาคารได้วางนโยบายขยายผลเพิ่มการเก็บกลับขวดพลาสติกใช้แล้วโดยร่วมมือกับ GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์มบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้ว เพื่อนำขวดพลาสติกเข้าสู่ระบบเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล และนำกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ให้ได้มากที่สุดตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปูทางสู่เป้าหมาย Net Zero ของทั้งสององค์กร ร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน

2 ม่ีค 2567
ไทยรัฐ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
งานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติกและนานาพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด

“โพลีเอทิลีนและโพลีไวนิลคลอไรด์ถูกนำมาใช้งานในหลากหลายรูปแบบทั้งภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งท่อน้ำ” ผู้เขียนวิจัยกล่าวในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร The New England Journal of Medicine
 
“ไมโครพลาสติก” เพิ่มความเสี่ยง “โรคหัวใจ”
จากการติดตามผลหลังจากผ่านไป 34 เดือน พบว่า 20% ของผู้ที่มีพลาสติกในหลอดเลือดแดงมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ สูงกว่าคนที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 4.5 เท่า โดยไม่รวมพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่มีพลาสติกในไขมันภายในหลอดเลือดแดง และอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และเสียชีวิตได้มากกว่าด้วยเช่นกัน

การอุดตันของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงที่คอ ถือเป็นสัญญาณอันตรายของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ เพราะเมื่อหลอดเลือดแดงที่คออุดตันจากไขมัน เลือดจะไหลเวียนไปยังสมองน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือทำให้เสียชีวิตได้

“ผมเป็นหมอหัวใจมา 30 ปี ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในหลอดเลือดแดงของเรา และการมีมันอยู่จะเร่งให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น” ดร.เอริค โทพอล แพทย์หทัยวิทยาและรองประธานบริหารของ Scripps Research ในสหรัฐกล่าว

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้มีอยู่ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม อาหาร และในอากาศ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายได้

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาหลายชนิดที่ ตรวจพบไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกหลายประเภทในเนื้อเยื่อของมนุษย์ รวมถึงลำไส้ใหญ่ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และรก
จากการทดลองในหนูแสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเซลล์หัวใจ ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดน้อยลง หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบในร่างกายมนุษย์

อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเริ่มแรกประกอบด้วยผู้ป่วย 304 ราย แต่มีเพียง 257 คนเท่านั้นที่อยู่จนครบกระบวนการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่าไมโครพลาสติกก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หรือไม่

กำจัดพลาสติก ลด “ไมโครพลาสติก”
ดร.ฟิลิป แลนดริแกน หนึ่งในผู้ร่วมเขียนงานวิจัย กล่าวว่า เราต้องตระหนักว่าถึงพลาสติกจะมีราคาถูกและทำให้เราสะดวกสบาย ในความเป็นจริงพลาสติกเหล่านั้นสร้างอันตรายให้แก่พวกเราได้

“เราจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยลดการใช้พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ไม่จำเป็น นานาชาติต้องมุ่งเน้นไปที่การจำกัดการใช้พลาสติกที่เป็นหนึ่งในปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย” ดร.แลนดริแกนกล่าว

ในรายงานปี 2022 ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่าการกินและสูดดมไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว และพลาสติกไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ควรดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดจำนวนพลาสติก

สนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติก (Global treaty on plastic) จะมีการประกาศใช้โดย 175 ประเทศ ในปี 2568 มีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 และจำกัดการสัมผัสไมโครพลาสติกทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือต่ำ และกลุ่มเด็ก ทั้งนี้สนธิสัญญาฉบับนี้ยังอยู่ในกระบวนการร่างแผนงาน

ขณะเดียวกันในหลายประเทศเริ่มนำร่องแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และถุงพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่มา: Euro News, Reuters, The Conversation, USA Today

Bangkokbiznews
22มีค2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
วิจัยเผย ‘กุ้งชุบแป้งทอด’ คืออาหารปนเปื้อนไมโครพลาสติกมากที่สุด

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า การวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Environmental Research ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์โปรตีนที่ผู้คนรับประทานกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน พบว่า กุ้งชุบแป้งทอด คือเมนูที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนมากที่สุด โดยมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่โดยเฉลี่ย 300 ชิ้นต่อมื้อ

เมนูที่มีไมโครพลาสติกมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาคือ นักเก็ตที่ทำจากพืช หรือแพลนต์เบส ซึ่งมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนไม่ถึง 100 ชิ้นต่อมื้อ ขณะที่อันดับ 3 คือนักเก็ตไก่ ตามด้วยชิ้นปลาคลุกแป้งขนมปัง เนื้อกุ้งสด และปลาแพลนต์เบสคลุกแป้งขนมปัง

อย่างไรก็ตาม อาหารที่เป็นโปรตีนที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนน้อยที่สุดคือ อกไก่ เนื้อสันนอก และเต้าหู้ และเมื่อเปรียบเทียบผลข้อมูลการบริโภค นักวิจัยคาดการณ์ว่าผู้ใหญ่ในสหรัฐมีโอกาสได้รับไมโครพลาสติกโดยเฉลี่ยระหว่าง 11,000-29,000 ชิ้นต่อปี และอาจมากสุดถึง 3.8 ล้านชิ้นต่อปี

ขณะที่ในหมวดหมู่ผักและผลไม้ นักวิจัยพบว่า แอปเปิลและแครอท คือผลไม้และผักที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกมากที่สุด มีมากกว่า 100,000 ชิ้นต่อกรัม โดยไมโครพลาสติกขนาดที่เล็กที่สุดถูกพบในแครอท แต่ไมโครพลาสติกชิ้นใหญ่ที่สุดถูกพบในผักสลัด ซึ่งถือเป็นผักที่ปนเปื้อนน้อยที่สุด

งานวิจัยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าพบไมโครพลาสติกอยู่ในตัวอย่างเนื้อสัตว์และผักที่นำมาตรวจสอบราว 90% และผักหรือผลไม้สามารถดูดซับไมโครพลาสติกผ่านรากและนำสารเคมีต่างๆ ไปอยู่ในก้าน ใบ เมล็ด และตัวผลไม้

ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำถึงการที่เราจะลดการรับไมโครพลาสติกได้ ประการแรกคือหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ถูกเก็บอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติก และให้เลือกอาหารที่ถูกเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว ภาชนะเคลือบ หรือฟอยล์ ประการที่สองคือสวมเสื้อผ้าหรือซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ทำจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติ ประการที่สาม อย่านำอาหารใส่บรรจุภัณฑ์พลาสติกไปอุ่นในไมโครเวฟ แต่ให้เลือกอุ่นอาหารด้วยเตาหรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว ประการที่สี่คือรับประทานอาหารสดให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และลดการซื้ออาหารแปรรูปสูงที่ห่อในพลาสติก

มติชนออนไลน์
25 เมษายน 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
“ไมโครพลาสติก” และ “นาโนพลาสติก” มลพิษจากพลาสติกที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ สามารถเดินทางไปทั่วโลก แม้แต่บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ขั้วโลกเหนือ ใต้มหาสมุทรและบนก้อนเมฆก็ยังพบอนุภาคพลาสติกปะปนอยู่ ดังนั้นทุกการหายใจเข้าออกของเรา จึงมีโอกาสที่เราจะสูดดมชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกเหล่านี้เข้าไป การศึกษาล่าสุดนำโดย ดร.สุวัส ซาฮา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ เผยให้เห็นเส้นทางที่มลพิษขนาดจิ๋วเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายของเราและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ชิ้นดังกล่าว ใช้พลศาสตร์ของไหลและอนุภาคเชิงคำนวณ (CFPD) ในการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเราหายใจเอาไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย และเมื่อมันเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราแล้วจะไปส่วนใด

“ขณะนี้มลภาวะทางอากาศจากอนุภาคพลาสติกแพร่กระจายไปทั่วโลก และการสูดดมถือเป็นหนึ่งในวิธีสารเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้มากที่สุด ไม่ต่างจากการกินและดื่ม” ดร.สุวัส ซาฮา ผู้เขียนนำในงานวิจัยกล่าว

“ไมโครพลาสติก” อยู่ทุกที่
ไมโครพลาสติก ชิ้นส่วนพลาสติกขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และนาโนพลาสติก พลาสติกขนาดเล็กกว่าเส้นผมและตรวจจับได้ยาก ลอยฟุ้งอยู่ทั้งในสภาพแวดล้อมกลางแจ้งและในร่ม ซึ่งหมายความว่านี่เป็นปัญหาที่ทุกคนในโลกสามารถสัมผัสได้ หากพลาสติกแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ มากพอ ผักและผลไม้จะสามารถดูดซับไมโครพลาสติกผ่านระบบรากของมัน เช่นเดียวกับสัตว์ต่าง ๆ ที่เผลอกินไมโครพลาสติกเข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อพืชและสัตว์เหล่านี้กลายเป็นอาหารของมนุษย์ ก็จะส่งมอบไมโครพลาสติกมาให้มนุษย์ด้วยเช่นกัน

ดร.ซาฮา ระบุว่า ไมโครพลาสติกในสิ่งทอสังเคราะห์เป็นอนุภาคพลาสติกที่พบได้มากที่สุดในอากาศภายในอาคาร ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก มีอนุภาคหลากหลายชนิดมากมายลอยอยู่ ตั้งแต่ฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนจากมหาสมุทร ไปจนถึงอนุภาคที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสีย

ก่อนหน้านี้ มีงานการวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกถูกพบในปอดของมนุษย์ เนื้อเยื่อรกของมารดาและทารกในครรภ์ นมแม่ และเลือดของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านาโนพลาสติกเป็นมลพิษจากพลาสติกประเภทที่น่าเป็นห่วงที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์

ไมโครพลาสติกส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ส่วนมากมาจากเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลหลายประเภท เช่น โฟมล้างหน้า ยาสีฟันที่มีเม็ดบีดส์ผสมอยู่ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ ที่สามารถแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ เช่น ขวดน้ำ บรรจุภัณฑ์อาหาร และเสื้อผ้า

“ไมโครพลาสติก” เข้าสู่ร่างกายในทุกลมหายใจ
การศึกษาพบว่า รูปแบบการหายใจที่ต่างกันจะทำให้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแตกต่างกัน การหายใจเร็วจะทำให้อากาศไหลผ่านจมูกและลำคออย่างรวดเร็ว อาจทำให้อนุภาคพลาสติกขนาดใหญ่เข้าไปติดในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นโพรงจมูก กล่องเสียง

ขณะที่ การหายใจช้าลงจะทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลง โดยเฉพาะนาโนพลาสติกสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ลึกมากขึ้น อาจเข้าไปถึงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อนของปอด เช่น เยื่อหุ้มปอด ถุงลมได้

นอกจากนี้ รูปร่างของไมโครพลาสติกก็มีส่วนสำคัญเช่นกันว่าจะทำให้พลาสติกเข้าไปได้ถึงจุดใด เศษไมโครพลาสติกที่มีรูปร่างอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทรงกลมมีแนวโน้มที่จะสามารถหลุดรอดผ่านกลไกการกรองตามธรรมชาติของร่างกายได้ดีกว่า

การวิจัยชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอนุภาคพลาสติกเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้ปอดผิดปรกติเร็วขึ้น รวมถึงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดพังผืดในปอด หายใจลำบาก (Dyspnea) โรคหอบหืด และ มีรอยทึบแบบกระจกฝ้า (ground glass opacity: GGO) ซึ่งเป็นรอยโรคผิดปรกติในปอด สามารถบ่งบอกถึงการอักเสบหรือโรคปอดระยะเริ่มแรก

“การค้นพบนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาอัตราการหายใจและขนาดอนุภาคในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสทางเดินหายใจกับอนุภาคนาโนและไมโครพลาสติก” ดร.ซาฮา กล่าวสรุป

ที่มา: Earth, Euro News, Phys


กรุงเทพธุรกิจ
11 พค 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
การแข่งขัน The Ocean Race เป็นการแข่งขันเรือยอชต์รอบโลกที่เดินทางกว่า 62,000 กิโลกเมตร ไปในพื้นที่มหาสมุทรทั่วโลก โดยเป็นการแข่งขันเพื่อร่วมมือกับสถาบันทางวิทยาศาสตร์ ที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทร ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลระหว่างการแข่งขัน เพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับโลกใต้ทะเลและภัยคุกคามที่ต้องเผชิญ ข้อมูลที่ลูกเรือเก็บรวบรวมทำให้องค์กรวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์ และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับมหาสมุทรได้แม่นยำยิ่งขึ้น

กล่าวว่า การแข่งขันใน The Ocean Race 2022 - 23 นี้ ทำให้ได้รู้ว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในน้ำมีระดับที่สูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับข้อมูลในปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมลพิษที่เพิ่มขึ้น.

ความเข้มข้นของพลาสติกในการแข่งขันรอบโลกผ่านสภาพแวดล้อมในมหาสมุทรที่ห่างไกลพบว่าสูงกว่าการแข่งขันครั้งก่อนถึง 18 เท่าในปี 2017 – 2018 ข้อมูลที่ได้ในปีนี้ ถือเป็นการย้ำถึงความรุนแรงของปัญหามลพิษจากพลาสติกและ ความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการจัดการกับมลพิษจากพลาสติกและนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว รวมถึงความร่วมมือกันของรัฐบาลและ ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกด้วย

นักเดินเรือทำการสุ่มตรวจน้ำระหว่างการแข่งขัน Ocean Race และพบว่า ทุกตัวอย่างน้ำที่สุ่มตรวจนั้น พบอนุภาคไมโครพลาสติกมากถึง 1,884 อนุภาคต่อน้ำทะเลหนึ่งลูกบาศก์เมตรในบางพื้นที่ ซึ่งสูงกว่าการทดสอบที่คล้ายกันระหว่างการแข่งขันโอเชี่ยนเรซครั้งล่าสุดซึ่งสิ้นสุดในปี  2018 ถึง 18 เท่า แม้แต่น้ำจาก Point Nemo

พื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นจุดที่ห่างไกลจากอารยธรรมมนุษย์มากที่สุดในโลกและไม่เคยมีผู้คนอาศัยอยู่ ก็ยังตรวจพบไมโครพลาสติกได้

ตัวอย่างถูกเก็บในช่วงเริ่มแรกของการแข่งขันซึ่งเริ่มในเดือนมกราคมและสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2023 โดยผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ใกล้กับสถานที่ที่ถือว่าอยู่ห่างจากพื้นดินมากที่สุดในโลก ตัวอย่าง 45 ตัวอย่างที่รวบรวมจากเลกที่สอง ซึ่งวิ่งจากเมืองกาโบ แวร์เด ไปจนถึงแอฟริกาใต้ แสดงให้เห็นความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่ 92-1,884 ในขณะที่เลกที่ 3 ระหว่างเมืองเคปทาวน์และเมืองอิตาจาอิ ประเทศบราซิล มีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 160-1,492 ต่อลูกบาศก์เมตร ตัวกรองบนเรือสามารถดักจับอนุภาคพลาสติกที่มีขนาดระหว่าง 0.03 มม. ถึง 5 มม. ตัวอย่างจะถูกส่งทุกวันไปยัง NOC เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยโรดไอส์แลนด์ ไมโครพลาสติกที่มีความเข้มข้นสูงสุดพบได้ใกล้กับชายฝั่งและเขตเมือง เช่น การอ่านค่า 816-1,712 ต่อลูกบาศก์เมตรนอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ และยังพบในบริเวณ “แผ่นขยะ” ในทะเล ซึ่งกระแสน้ำทำให้พลาสติกสะสม . ความเข้มข้นระหว่างการแข่งขันโอเชียนเรซปี 2017-18 อยู่ระหว่าง 50-100 ต่อ ลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างที่ถ่ายใกล้กับพื้นที่ห่างไกลที่สุดในโลก Point Nemo ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นดิน 2,688 กม. (1,450 ไมล์ทะเล) ในทุกทิศทาง เผยให้เห็นอนุภาคไมโครพลาสติก 320 ชิ้นต่อลูกบาศก์เมตร เทียบกับ 9-41 ในการแข่งขันครั้งล่าสุด

สารเคมีที่มีมากที่สุดในพลาสติกคือโพลีเอทิลีน ซึ่งใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ถุงพลาสติก และภาชนะต่างๆ เช่น ขวด ฟูลเฟอร์แสดงความตกใจเมื่อมีความเข้มข้นสูงใกล้ฝั่งมากขึ้น และเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากเพราะพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำการประมง

(ไมโครพลาสติกที่พบในตัวอย่างน้ำทุกตัวอย่างที่นำมาระหว่างการแข่งขันโอเชียนเรซ บทความนี้มีอายุมากกว่า 11 เดือน)

1 มิ.ย. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
‘ไมโครพลาสติก’ อยู่ที่ไหน ในร่างกายบ้าง?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2024, 22:59:44 »
"กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมงานวิจัยที่พบว่า "ไมโครพลาสติก" เข้าไปอยู่ส่วนใดของร่างกายบ้าง ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพหลายโรค

“ไมโครพลาสติก” ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกที่ในโลก ตั้งแต่บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ยันใต้ทะเลลึก หรือแม้แต่ในขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ พลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ในร่างกายของเราผ่านการสูดดูมและการบริโภค ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีงานวิจัยพบไมโครพลาสติกปะพบอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์เสมอ ซึ่งปัจจุบันอนุภาคจิ๋วเหล่านี้ได้แพร่ไปสู่เกือบทุกส่วนของร่างกาย

1. เลือด (2022)
การศึกษาที่ได้รับทุนวิจัยจากองค์การเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพแห่งชาติเนเธอร์แลนด์และ Common Seas กลุ่มทำงานเพื่อลดมลพิษจากพลาสติก ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Environment International เมื่อปี 2022 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี 17 คน จาก 22 คน มีอนุภาคพลาสติกใน “เลือด” โดยมีอนุภาคขนาดเล็กถึง 700 นาโนเมตร

พลาสติกที่พบในเลือดมีด้วยกัน 5 ชนิด เช่น โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต หรือที่เรียกว่า PET ใช้ในการผลิตขวด และโพลีเอทิลีน วัสดุใช้ลผิตบรรจุภัณฑ์อาหาร

ปัจจุบันนักวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ไมโครพลาสติกเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้อนุภาคเหล่านี้เคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 
2. สมอง (2022)
การศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวตุรกีเมื่อปี 2022 พบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในเซลล์สมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิจัยเป็นกังวล เพราะโดยปรกติแล้ว สมองจะมี “ตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง” หรือ BBB (Blood-brain barrier ตัวย่อ BBB) ทำหน้าที่คัดกรองไม่ให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อสมอง

มีความเป็นไปได้ที่ไมโครพลาสติกในเซลล์สมอง จะทำให้เกิดโรคสมองต่าง ๆ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคอัลไซเมอร์ หรือไม่ รวมถึงเป็นต้นตอที่ทำให้เกืดเลือดออกในสมองและโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

3. น้ำนม (2022)
วิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Polymers ในปี 2022 พบไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่เป็นครั้งแรก โดยไมโครพลาสติกที่พบ ประกอบด้วยโพลีเอทิลีน พีวีซี และโพลีโพรพีลีน ทั้งหมดพบได้ในบรรจุภัณฑ์ ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับทารก

จากการเก็บตัวอย่างน้ำนมแม่จากมารดาที่เพิ่งคลอดลูกได้ 1 สัปดาห์และมีสุขภาพดี 34 ราย ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี พบว่ามี 75% ที่มีพลาสติกปะปนอยู่ในน้ำนม

4. ตับ (2022)
ทีมนักวิจัยสหรัฐทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อตับจากอาสาสมัคร 17 ตัวอย่าง ทั้งผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ที่มีสุขภาพดี ในปี 2022 พบว่า มีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อเยื่อตับของมนุษย์ ซึ่งมีโพลีเมอร์ที่แตกต่างกัน 6 ชนิดในตับของบุคคลที่เป็นโรคตับแข็ง แตกต่างจากคนที่มีสุขภาพดีที่มีไม่ครบทุกชนิด

ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การมีไมโครพลาสติกสะสมอยู่ในตับ จะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับแข็งและโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับตับ

5. รก  (2023)
การศึกษาของ แมทธิว แคมเปน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพนิวเม็กซิโก ที่ทำการวิเคราะห์ตัวอย่าง “รก” 62 ตัวอย่างโดยละเอียดพบว่า ทุกตัวอย่างรกมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในความเข้มข้นตั้งแต่ 6.5-790 ไมโครกรัมต่อเนื้อเยื่อหนึ่งกรัม 

โพลีเมอร์ที่พบมากที่สุดคือโพลีเอทิลีน คิดเป็น 54% ของพลาสติกทั้งหมดที่ตรวจพบ ตามมาด้วยโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) และไนลอน มีสัดส่วนเท่ากันประมาณ 10% ของทั้งหมด นอกจากนี้จะเป็นส่วนผสมของโพลีเมอร์อื่น ๆ อีก 9 ชนิด

หากสามารถพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อรก ที่ใช้เวลาก่อตัวและเจริญเติบโตภายในระยะเวลาเพียงแปดเดือน แสดงว่าไมโครพลาสติก็สามารถสะสมอยู่ในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะสะสมอยู่ชั่วชีวิตของเรา

6. ปอด (2024)
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ใช้พลศาสตร์ของไหลและอนุภาคเชิงคำนวณ (CFPD) ในการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเราหายใจเอาไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย และเมื่อมันเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราแล้วจะไปส่วนใด 

การศึกษาพบว่ารูปแบบการหายใจที่ต่างกันจะทำให้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแตกต่างกัน การหายใจเร็วจะทำให้อากาศไหลผ่านจมูกและลำคออย่างรวดเร็ว อาจทำให้อนุภาคพลาสติกขนาดใหญ่เข้าไปติดในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นโพรงจมูก กล่องเสียง

ขณะที่ การหายใจช้าลงจะทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลง โดยเฉพาะนาโนพลาสติกสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ลึกมากขึ้น อาจเข้าไปถึงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อนของปอด เช่น เยื่อหุ้มปอด ถุงลมได้ 
 
7. หัวใจและหลอดเลือด (2024)
งานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด 

จากการติดตามผลหลังจากผ่านไป 34 เดือน พบว่า 20% ของผู้ที่มีพลาสติกในหลอดเลือดแดงมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ สูงกว่าคนที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 4.5 เท่า โดยไม่รวมพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่มีพลาสติกในไขมันภายในหลอดเลือดแดง และอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และเสียชีวิตได้มากกว่าด้วยเช่นกัน

8. อัณฑะ (2024)
นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาอัณฑะของมนุษย์ 23 ตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากผู้เสียชีวิตและผ่านการชันสูตรพลิกศพในปี 2559 ที่เป็นผู้ชายมีอายุตั้งแต่ 16-88 ปี ขณะที่เสียชีวิต พบว่า ทุกตัวอย่างมีไมโครพลาสติกอยู่ในทุกตัวอย่าง โดยพบพลาสติกมากถึง 12 ชนิด 

อัณฑะของมนุษย์มีความเข้มข้นของพลาสติกสูงถึง 330 ไมโครกรัมต่อเนื้อเยื่อหนึ่งกรัม ดยโพลีเอทิลีน สารที่ใช้ในถุงพลาสติกและขวดพลาสติก เป็นสารที่พบมากที่สุดในอัณฑะ รองลงมาเป็นสารพีวีซี

การที่พบไมโครพลาสติกในอัณฑะจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เพราะสมองและอัณฑะ เป็นอวัยวะเพียงสองอย่างเท่านั้น ที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อบางส่วนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมทะลุผ่านเข้าไปได้

9. อสุจิ (2024)
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า ค้นพบไมโครพลาสติกขนาดเล็กที่ใช้ในการผลิตแผ่นโฟมและท่อพีวีซี และทำให้เกิดโรคมะเร็ง 8 ชนิด ในตัวอย่างน้ำอสุจิของผู้ชายที่เข้าทดสอบทั้ง 36 คน

อสุจิตัวที่มีไมโครพลาสติกปนอยู่จะสามารถเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าปรกติ และอาจทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย แถมทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง ทีมวิจัยระบุว่าไมโครพลาสติกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกลดลง
 

ที่มา: Bloomberg, The Guardian, TRT WORLD

16 มิ.ย. 2024
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1131599

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบซาก "เต่าทะเล" เกยตื้นหาดแหลมเจริญ จ.ระยอง พบขยะจำพวกหลอดพลาสติก ยางวง พลาสติกอ่อน ในทางเดินอาหาร

วันที่ 18 ก.ค. 67 มีรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบ กรณีพบซากเต่าทะเลเกยตื้นหาดแหลมเจริญ จ.ระยอง วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้รับแจ้งจากศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ เทศบาลนครระยอง เรื่องมีผู้พบซากเต่าทะเลเกยตื้นหาดแหลมเจริญ ต.ปากน้ำระยอง อ.เมือง จ.ระยอง

จากการตรวจสอบพบเป็นเต่าตนุ (Green turtle, Chelonia mydas) ขนาดกระดองกว้าง 37.5 เซนติเมตร ยาว 38 เซนติเมตร ไม่ทราบเพศ พบหมายเลขไมโครชิป 933.076400572072 จากการตรวจสอบพบเป็นเต่าอนุบาล ที่ปล่อยจากเกาะมันใน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 อายุวันที่ปล่อย 1 ปี 1 เดือน สภาพซากเน่ามาก อวัยวะส่วนมากย่อยสลายแล้ว ในทางเดินอาหารพบขยะพวกหลอดพลาสติก ยางวง พลาสติกอ่อน แต่เนื่องจากสภาพซากเน่ามาก จึงไม่สามารถสรุปสาเหตุการตายที่แน่ชัดได้ ทั้งนี้ ได้ทำการฝังกลบทำลายซากเรียบร้อยแล้ว.

Thairath Online
18 ก.ค. 67

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
คำสั่งใหม่ของสหภาพยุโรปอนุมัตินโยบายที่กำหนดให้ต้องติดฝาขวดพลาสติกทั้งหมดกับภาชนะที่มีความจุน้อยกว่า 3 ลิตรโดยเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในสหภาพยุโรปเมื่อ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา

นับเป็นหนึ่งจากคำสั่งของสหภาพยุโรปที่เคยประกาศไว้ในปี 2018 ตามเป้าหมายลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่มักถูกทิ้งเป็นขยะทะเลอยู่เกลื่อนชายหาดจนยากต่อการจัดเก็บ

การเปิดเครื่องดื่มจากขวดพลาสติกเย็นๆ ในวันที่อากาศร้อนถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต แต่จากนี้ไปจะเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เพราะว่าขวดพลาสติกในยุโรปกำลังเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากกฎใหม่ของสหภาพยุโรป

วันนี้คุณอาจเจอฝาพลาสติกแบบใหม่ที่ผูกไว้กับขวดอยู่แล้วในซูเปอร์มาร์เก็ต หากไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ผลิตจะต้องดำเนินการโดยเร็วเนื่องจากเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันพุธที่ 3 ก.ค.2024 ทั่วทั้งสหภาพยุโรป แม้กระทั่งสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้อยู่กับอียูก็เอาด้วย

การออกแบบใหม่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แทนที่จะใช้ฝาปิด เรากลับคุ้นเคยกับการบิดเปิดฝาขวดจนสุดแล้วยกดื่ม หรือใช้หลอดดูด แต่นับจากนี้ขวดพลาสติกกับมีแถบพลาสติกพิเศษที่เชื่อมต่อฝาปิดเข้ากับขวด

ทั้งนี้ Coca-Cola เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากพวกเขาได้เปิดตัวการออกแบบนี้ไปทั่วยุโรปในปีที่แล้ว

Agnese Filippi ผู้จัดการของ Coca-Cola Ireland กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ นี้มีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ โดยทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะรีไซเคิลขวดของเรา และไม่เหลือฝาปิดใดๆ เลย

ผู้บริโภคคิดอย่างไรเกี่ยวกับฝาขวดแบบใหม่

ตอนที่สหภาพยุโรปประกาศกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในปี 2018 บรรดาผู้ผลิตเครื่องดื่มต่างตอบโต้โดยอ้างว่าจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของพลาสติกและทำให้ผู้ผลิตต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

แต่ขณะนี้มีการเปิดตัวไปทั่วทั้งทวีป ผู้บริโภคบางรายก็ไม่พอใจกับการออกแบบใหม่ด้วยเช่นกัน พวกเขาวิพากต์วิจารณ์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับฝาปิดขวดสัมผัสใบหน้าของเขาขณะดื่ม และยังทำให้เทเครื่องดื่มยากขึ้น

อ้างอิง https://www.euronews.com/green/2024/07/02/why-are-bottle-caps-attached-to-the-bottle-inside-the-eu-directive-causing-drink-spills-ev


12 ส.ค. 2567
ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
-วิจัยพบ สมองมีพลาสติกปนอยู่ประมาณ 0.5% ของน้ำหนักสมอง ทำให้สมองเป็นหนึ่งในอวัยวะที่พบไมโครพลาสติกมากที่สุด
-สมองของคนที่เสียชีวิตด้วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มีพลาสติกมากกว่าสมองของคนทั่วไปถึง 10 เท่า ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงที่น่ากังวลระหว่างโรคทางสมองและปริมาณพลาสติก
-แม้สมองจะมี “ตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง” หรือ BBB คอยคัดกรองไม่ให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อสมอง แต่ไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็ยังสามารถเข้าสู่สมองได้

ช่วงปีที่ผ่านมา มีงานการศึกษาตรวจพบเศษพลาสติกเล็ก ๆ หรือ “ไมโครพลาสติก” ในหลายส่วนของร่างกายมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ปอด รก อวัยวะสืบพันธุ์ ตับ ไต หลอดเลือด และไขกระดูก ล่าสุดนักวิจัยพบว่า “สมอง” ของพวกเราก็มีไมโครพลาสติกสะสมอยู่เช่นกัน

มนุษย์ต้องเผชิญกับไมโครพลาสติก ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มม. และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกที่ล่องลอยอยู่ในทุกที่ทั่วโลกทั้งในอากาศ น้ำ ดิน และแม้กระทั่งอาหาร

จากงานวิจัยของ แมทธิว แคมเปน นักพิษวิทยาและศาสตราจารย์ด้านเภสัชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก พบว่ามีพลาสติกอยู่ในสมองจาก 24 ตัวอย่างที่เก็บตัวอย่างในต้นปี 2567 โดยเฉลี่ยแล้วสมองมีพลาสติกปนอยู่ประมาณ 0.5% ของน้ำหนักสมอง อีกทั้งไมโครพลาสติกในสมองยังมีมากกว่าในตัวอย่างตับและไตที่เก็บจากร่างกายเดียวกันถึง 10-20 เท่า

การศึกษาของแคมเปนยังพบว่า ตัวอย่างสมองที่ตัดเก็บในปี 2567 มีปริมาณไมโครพลาสติกสูงขึ้นประมาณ 50% เมื่อเทียบกับปริมาณรวมในกลุ่มตัวอย่างในปี 2559 ซึ่งบ่งชี้ว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่พบในสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับที่พบในสิ่งแวดล้อม

ทีมวิจัยพบว่า สมองของคนที่เสียชีวิตด้วยโรคสมองเสื่อม รวมถึงโรคอัลไซเมอร์มีพลาสติกมากกว่าสมองของคนทั่วไปถึง 10 เท่า ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงที่น่ากังวลระหว่างโรคทางสมองและปริมาณพลาสติก

สำหรับสมองที่นำมาทดลองได้มาจากสำนักงานนักวิจัยทางการแพทย์ในเมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก โดยเป็นสมองของผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือได้รับความรุนแรง

“มันค่อนข้างน่าตกใจ สมองมีพลาสติกมากกว่าที่ผมจินตนาการเอาไว้ หรือจะรู้สึกสบายใจได้ ทำให้เห็นว่าสมองมีพลาสติกมากที่สุดอวัยวะหนึ่งที่เคยทำการศึกษามา ตอนนี้ยังผมไม่รู้ว่าต้องมีพลาสติกปริมาณเท่าไหร่ถึงจะจะทำลายสมอง”
-แคมเปนกล่าว

แม้ในตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไมโครพลาสติกที่สะสมอยู่ในร่างกายมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร แต่ในการศึกษาของแคมเปญดูชี้ให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันอาจทำให้เซลล์อักเสบหรือเสียหายได้ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

ขณะที่ การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ไมโครพลาสติกเชื่อมโยงกับการเกิดปัญหาการเจริญพันธุ์ มะเร็งหลายชนิด รวมถึงมีส่วนทำให้ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การเรียนรู้และความจำบกพร่องอีกด้วย

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกยังไม่มีมาตรฐานสำหรับการกำหนดควบคุมปริมาณอนุภาคพลาสติกในอาหารหรือน้ำ แต่ประเทศต่าง ๆ กำลังหาทางตรวจจับและวัดปริมาณของไมโครพลาสติกให้รวดเร็วและเห็นผลยิ่งขึ้น

เบธานี คาร์นีย์ แอลมรอธ นักพิษวิทยาทางนิเวศน์จากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก กล่าวว่า “การค้นพบไมโครพลาสติกในอวัยวะของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก เรารู้ว่าพลาสติกส่งผลกระทบต่อสุขภาพในสัตว์อย่างไร ฉันคิดว่ามันน่ากลัวมาก”

“คุณสามารถเชื่อมโยงมันได้ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวรพลาสติกในสมองก็ยิ่งมากขึ้น พอ ๆ กับพลาสติกในสิ่งแวดล้อม” แคมเปนกล่าว

การศึกษาจำนวนมากพบไมโครพลาสติกในสมองของสัตว์หลายสายพันธุ์ จึงมีโอกาสที่ไมโครพลาสติกจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ด้วย แต่ที่น่าแปลกใจคือ แม้สมองจะมี “ตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง” หรือ BBB (Blood-brain barrier) ทำหน้าที่คัดกรองไม่ให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อสมอง แต่ไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็ยังสามารถเข้าสู่สมองของเราได้

เซดัต กุนโดก์ดู ผู้ศึกษาไมโครพลาสติกที่มหาวิทยาลัยคูคูโรวา ในตุรกี กล่าวว่า “ปัญหาขยะพลาสติกจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉินระดับโลก เพื่อจัดการกับมลพิษจากพลาสติก”

ในตอนนี้ไม่มีที่ใดที่ไม่มีพลาสติกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ห่างไกลอย่างขั้วโลก ใต้ทะเลลึก บนก้อนเมฆ หรือแม้แต่ในสมองของเราเองก็มีพลาสติกด้วยเช่นกัน


ที่มา: Futurism, The Guardian, VICE

23 ส.ค. 2024
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1141400

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
“สมอง” ของคนเรามี “ตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง” หรือ BBB (Blood-brain barrier) ทำหน้าที่คัดกรองไม่ให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อสมอง แต่ดูเหมือนว่า “ไมโครพลาสติก” จะหลุดรอดเข้าไปในสมองได้ผ่านการหายใจ

นักวิจัยพบว่ามีไมโครพลาสติกในสมองส่วนรับรู้กลิ่นของมนุษย์เป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในร่างกายของเรามีพลาสติกขนาดเล็กนี้สะสมอยู่มากกว่าที่คิด

ผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Network Open เปิดเผยว่าผู้ใหญ่ 8 ใน 15 คนที่ทำการชันสูตรพลิกศพในเยอรมนีและบราซิลมีไมโครพลาสติกอยู่ภายใน “ป่องรับกลิ่น” หรือ ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) ซึ่งเป็นไปได้ว่าอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้น่าจะเข้าไปอยู่ในร่างกายของผู้เสียชีวิตตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา

ปี 2024 นี้ จะมีงานวิจัยพบไมโครพลาสติกในอวัยวะหลายส่วนของมนุษย์ ทั้งในปอด ลำไส้ ตับ เลือด อัณฑะ และแม้แต่ในอสุจิ แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดว่าจะมีไมโครพลาสติกในสมอง เพราะเชื่อว่า BBB จะสามารถป้องกันได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการวิจัยได้เน้นย้ำถึงความอันตรายของอนุภาคที่มีพิษเหล่านี้ที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และอาจทำให้เกิดโรงมะเร็งบางประเภท โดยเฉพาะในคนหนุ่มสาว

นอกจากนี้ การพบไมโครพลาสติกเข้าไปสู่สมองได้ผ่านทางป่องรับกลิ่น ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าไมโครพลาสติกอาจทำให้เกิดความผิดปรกติทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม ได้

นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบสมองของผู้เสียชีวิต 15 ราย แบ่งเป็นชาย 12 รายและหญิง 3 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ในเซาเปาโลมานานกว่า 5 ปี โดยพบอนุภาคโพลีเมอร์สังเคราะห์และเส้นใย 16 ชิ้น อยู่ในป่องรับกลิ่นของผู้เสียชีวิต 8 ราย โดยพลาสติกที่พบมากที่สุดคือโพลีโพรพีลีน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใช้ทำเสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์อาหาร และขวด

ที่น่าเป็นห่วงคือ ไมโครพลาสติกที่พบมีขนาดระหว่าง 5.5-26.4 ไมครอน หมายความว่าระดับของนาโนพลาสติก (ขนาเล็กกว่า 10 ไมครอน) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายกว่าที่เคยคาดไว้มาก

“แผ่นกระดูกพรุน” (Cribriform plate) รูเล็ก ๆ ที่อยู่ในกระดูกบริเวณฐานของกะโหลกศีรษะน่าจะช่องทางที่ทำให้อนุภาคพลาสติกในช่องจมูกเข้าสู่สมองได้ เพราะป่องรับกลิ่นอยู่เหนือแผ่นกระดูกพรุน

ระบบรับกลิ่นเป็นเส้นทางระหว่างจมูกกับสมอง ซึ่งคอยตรวจจับกลิ่นโดยประมวลผลโมเลกุลกลิ่นขนาดเล็กที่ลอยออกมาจากสิ่งของต่าง ๆ เช่น ขนมปังอบหรือช่อดอกไม้ โดยโมเลกุลเหล่านี้จะกระตุ้นเส้นประสาทรับกลิ่น และสมองจะประมวลผลสัญญาณเป็นกลิ่น

ขณะเดียวกันอนุภาคอื่น ๆ ก็สามารถเดินทางเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะพบได้ยาก แต่ก็เคยพบอะมีบาชนิดนีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) สามารถเข้าสู่สมองได้ผ่านเส้นประสาทรับกลิ่นเช่นกัน ดังนั้นหากอะมีบาที่มีขาดใหญ่กว่าไมโครพลาสติกสามารถผ่านเส้นทางนี้ได้ ไมโครพลาสติกก็อาจผ่านได้เช่นกัน

“การศึกษาครั้งนี้พบว่าเส้นทางการรับกลิ่นเป็นเส้นทางหลักที่อาจทำให้พลาสติกเข้าสู่สมองได้ ซึ่งหมายความว่าการหายใจในสภาพแวดล้อมในร่มอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายได้รับพลาสติก เพราะในบ้านเราเต็มไปด้วยพลาสติก” ศ.ทาอิส มาอิด หัวหน้าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลกล่าว

เนื่องจากมีไมโครพลาสติกอยู่เป็นจำนวนมากในอากาศ ปัจจุบันค้นพบได้ว่ามีไมโครพลาสติกในจมูกและป่องรับกลิ่น ยิ่งตอกย้ำแนวคิดที่ว่าระบบรับกลิ่นเป็นจุดสำคัญที่อนุภาคจากภายนอกเข้าสู่สมอง ดังนั้นเมื่อนาโนพลาสติกขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ระดับของอนุภาคพลาสติกโดยรวมอาจสูงขึ้นมาก สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ อนุภาคเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ในร่างกายอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่

นักวิจัยกล่าวว่าอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กอาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าที่เคยเชื่อกัน เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อระบบประสาทที่อาจเกิดขึ้นจากไมโครพลาสติกในสมอง และการปนเปื้อนของพลาสติกในสิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย ซึ่งยังคงต้องติดตามต่อไปว่าอนุภาคเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพสมองอย่างไร

การวิจัยนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ศาสตราจารย์ ดร.ลูคัส เคนเนอร์ ได้ค้นพบการมีอยู่ของพลาสติกในร่างกายเมื่อเดือนเมษายน 2024 และพบว่าเซลล์มะเร็งในลำไส้สามารถแพร่กระจายได้ใเร็วขึ้น หลังจากสัมผัสกับไมโครพลาสติก ดังนั้นพลาสติกอาจมีบทบาทสำคัญในการก่อมะเร็งในระยะเริ่มต้น

ปัจจุบัน พลาสติกถูกผลิตขึ้นมากกว่า 500 ล้านตันทุกปีเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกวบรวมรายชื่อสารเคมีมากกว่า 16,000 ชนิดที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์พลาสติก และในขณะเดียวกันก็พบว่าสารเคมีเหล่านี้มากกว่า 4,000 ชนิดเป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

เดือนพฤศจิกายน 2024 จะมีการเจรจารอบสุดท้ายเกี่ยวกับสนธิสัญญาพลาสติกระดับโลกของสหประชาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นที่เกาหลีใต้ นักรณรงค์และนักวิทยาศาสตร์ยังคงกังวลว่าในกฎหมายดังกล่าวจะไม่มีมาตรการที่กล่าวถึงผลกระทบของมลพิษจากพลาสติกต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างครบถ้วน และจำเป็นต้องเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน

ที่มา: Euro News, Independent, NBCNews

Bangkokbiznews
20 กย 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10044
    • ดูรายละเอียด
การศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุดพบว่า “พลาสติกสีดำ” ที่รีไซเคิลมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และถูกนำมาผลิตเป็นของเล่นเด็ก ภาชนะใส่อาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน อุปกรณ์เครื่องครัว ถาดใส่เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาจมี “สารหน่วงไฟ” (Flame Retardants) ที่รั่วไหลออกมาจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างการรีไซเคิล อาจทำให้ผู้คนได้รับสารเคมีจำนวนมาก ซึ่งให้เกิดมะเร็งและรบกวนการทำงานของฮอร์โมน

จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Chemosphere โดย Toxic-Free Future กลุ่มวิจัยและสนับสนุนด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม ทำการทดสอบหาสารหน่วงไฟในผลิตภัณฑ์พลาสติกสีดำสำหรับใช้ในครัวเรือนจำนวน 203 รายการ

พบว่า 85% ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มี “สารหน่วงการติดไฟกลุ่มโบรมีน” (Brominated Flame Retardants) หรือ BFR ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดเพื่อทำให้การติดไฟช้าลงในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ในปริมาณสูง

ผลิตภัณฑ์ประมาณ 17 รายการมีสารหน่วงการติดไฟที่มีปริมาณตั้งแต่ 40-22,800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ระหว่าง 5-1,200 เท่า โดยสหภาพยุโรปกำหนดปริมาณโบรมีนที่จำกัดไว้ที่ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยลูกปัดสำหรับตกแต่งเสื้อผ้ามีความเข้มข้นของโบรมีนสูงสุด

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบปริมาณโบรมีนในระดับสูงในถาดซูชิ อุปกรณ์ในครัว เกมกระดาน ของเล่น และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า ในผลิตภัณฑ์บางชนิดพบว่ามีสารหน่วงไฟมากถึง 9 ชนิด โดยนักวิจัยประเมินว่าการใช้ภาชนะสีดำในครัวอาจทำให้ได้รับ BFR มากถึง 34,700 นาโนกรัมต่อวัน

“พวกเรากำลังเผชิญกับความเสี่ยงในหลากหลายรูปแบบ นอกจากอาหารของเราอาจจะได้รับผลกระทบแล้ว สารหน่วงไฟยังสามารถรั่วไหลออกมาปะปนกับฝุ่นและในอากาศภายในบ้านของเราได้ เพราะสารเหล่านี้ไม่ได้ยึดติดกับพอลิเมอร์” เมแกน หลิว ผู้จัดการด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายของ Toxic-Free Future และผู้ร่วมเขียนผลการศึกษากล่าว

แม้ว่านักวิจัยจะไม่รู้ว่าร่างกายต้องได้รับสารเคมีในผลิตภัณฑ์มากเท่าใดถึงจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่พวกเขากล่าวว่าการมีอยู่ของสารเคมีเพียงอย่างเดียวก็เป็นปัญหาแล้ว

“ระดับสารเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ปรุงอาหาร หรือสัมผัสอาหารของเรา หรือในของเล่นที่เด็ก ๆ ของเราเอาเข้าปาก” หลิวกล่าว

สารหน่วงไฟเป็นสารเคมีประเภทหนึ่งที่เติมลงในผลิตภัณฑ์เพื่อให้ทนทานต่อการเผาไหม้มากขึ้นและชะลอการลุกลามของเปลวไฟ ในอดีตสารหน่วงไฟถูกใส่ในผลิตภัณฑ์ เช่น เคสทีวี และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ แต่ตอนนี้ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือน

ราสวามี นาคราจัน ศาสตราจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมพลาสติก มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์โลเวลล์ ซึ่งทำการวิจัยสารหน่วงไฟมานานกว่าทศวรรษ กล่าวว่า “เราใช้สารหน่วงไฟมานานมา และแน่นอนว่าเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สารพวกนี้อาจจะยังคงอยู่”

ในนามตัวแทนของอุตสาหกรรม สภาเคมีอเมริกัน จากลุ่มพันธมิตรสารหน่วงไฟแห่งอเมริกาเหนือ กล่าวว่า แม้ว่าผลการศึกษานี้จะทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการมีอยู่ของสารหน่วงไฟในของใช้ในครัวเรือน แต่ผู้ผลิตได้ดำเนินการวิจัยและประเมินความเสี่ยงอย่างเข้มงวด เพื่อให้แน่ใจว่าสารหน่วงไฟจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค

เอริช เช โฆษกของกลุ่มพันธมิตรสารหน่วงไฟแห่งอเมริกาเหนือกล่าวในแถลงการณ์ว่า รายงานดังกล่าวระบุถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากสารหน่วงไฟโดยพิจารณาจากอันตรายเพียงอย่างเดียว และไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงในระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจริงหรือเส้นทางการสัมผัส

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมพบว่าสารหน่วงไฟบางชนิดคงอยู่ได้นานและเป็นพิษต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ความทนทานของสารดังกล่าวทำให้สารเคมีเหล่านี้ย่อยสลายได้ยากในสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลระบุว่าสารหน่วงไฟมีความเชื่อมโยงกับการหยุดทำงานของต่อมไร้ท่อ ปัญหาต่อมไทรอยด์ ภาวะแทรกซ้อนของระบบสืบพันธุ์ พิษต่อระบบประสาท และมะเร็งในเด็ก

อีกทั้งการสัมผัสสารเคมีเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับช่วงความสนใจที่สั้นลง ทักษะการเคลื่อนไหวที่ไม่ดี และความล่าช้าในการพัฒนาทางปัญญา โดยนาคราจันกล่าวว่า แม้สารหน่วงไฟจะมีความเข้มข้นเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจเป็นพิษได้

หลิวกล่าวว่า การนำอุปกรณ์พลาสติกในครัวเรือนไปสัมผัสกับความร้อน อาจทำให้สารหน่วงไฟรั่วไหลลงไปในอาหารได้ และหากเด็ก ๆ กัดของเล่นของเด็กอาจทำให้สารหน่วงไฟปนเปื้อนในน้ำลายได้

 
ลดการใช้สารหน่วงไฟ
เป็นเวลาหลายปีที่เจ้าหน้าที่และบริษัทต่าง ๆ พยายามลดการใช้สารหน่วงไฟในผลิตภัณฑ์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ในปี 2017 คณะกรรมการความปลอดภัยผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคได้ลงมติให้เริ่มออกกฎเกณฑ์ไม่ให้ใช้

สารหน่วงไฟบางชนิดในผลิตภัณฑ์โฟมและเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเรียกร้องให้ผู้ผลิตนำสารเคมีดังกล่าวออกจากผลิตภัณฑ์ แต่ดูเหมือนว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

ในบางรัฐ เช่น วอชิงตัน นิวยอร์ก และแคลิฟอร์เนีย มีการรณรงค์จำกัดการใช้สารหน่วงไฟในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ส่วนสหภาพยุโรปพยายามห้ามและจำกัดการใช้สารหน่วงไฟประเภทต่าง ๆ อย่างเข้มงวด

“เราไม่มีกฎห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายที่สุดในวัสดุต่าง ๆ เรายังคงใส่สร้างสารเติมแต่งที่เป็นพิษเหล่านี้ลงในผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป” หลิวกล่าว พร้อมระบุว่า จำเป็นต้องมีกฎหมายระดับรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง เพื่อจำกัดการใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์

นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า พลาสติกที่มีสารหน่วงไฟปนเปื้อน อาจเป็นผลมาจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดการไม่ดี โดยขยะพลาสติกส่วนใหญ่ลงเอยในหลุมฝังกลบ บางส่วนได้รับการรีไซเคิล แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่าพลาสติกที่รีไซเคิลแล้วจะปราศจากสารเคมีอันตราย

“นี่คือผลจากการรีไซเคิลพลาสติกที่สกปรก ทั้งที่เราพยายามจะรักษาบ้านของเราให้สะอาดแล้ว แต่ก็ยังต้องมาเจอกับพิษที่ปนเปื้อนมากับพลาสติกต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาไม่ควรโยนภาระให้กับผู้บริโภค” หลิวกล่าว

ทั้งนี้ หลิวมีข้อแนะนำสำหรับการหลีกเลี่ยงใช้พลาสติกที่อาจจะมีสารหน่วงไฟปนเปื้อน

- เปลี่ยนภาชนะพลาสติกในครัวของคุณด้วยภาชนะไม้หรือสเตนเลส
- เลือกภาชนะที่ปราศจากพลาสติก เพื่อลดการสัมผัสกับสารเติมแต่งที่เป็นอันตราย
- ซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีนโยบายต่อต้านสารเคมีพิษในผลิตภัณฑ์ของตน
- ทำความสะอาดและระบายอากาศ รวมถึงปัดฝุ่นและถูพื้นเป็นประจำ เพื่อกำจัดสารหน่วงไฟที่อาจสะสมอยู่ในอากาศ

ที่มา: CNN, Forbes, The Washington Post

Bangkokbiznews
7 ตค 2567