ผู้เขียน หัวข้อ: ความเสียหายที่จะเกิดจากพ.รงบ.คุ้มครองความเสียหาย  (อ่าน 1940 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ความเสียหายของประเทศชาติและประชาชนที่จะเกิดจากพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตที่ 5144
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
คณะทำงานศึกษาและพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
6 กรกฎาคม 2553
 ปัจจุบันนี้ คงไม่มีเรื่องอะไรร้อนแรงในวงการแพทย์และสาธารณสุขมากไปกว่า ข่าวที่พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ถึง 6 ร่างรวมทั้งร่างของรัฐบาลที่เสนอเข้าค.ร.ม.โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบัน คือนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์
รายละเอียดมีปรากฏใน web ของแพทยสภาและใน web ข้างล่างนี้คือ

http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=298.msg472#msg472

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1277214740

   ซึ่งจะทำให้ท่านได้ทราบถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งข้าพเจ้าผู้เขียนบทความนี้ จะขอสรุปความไม่เหมาะ สม ที่จะก่อให้เกิด "ความเสียหาย" ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขโดยรวม และผลสุดท้ายประชาชนและประเทศชาติจะเสียหายดังนี้
1.จากหลัก การและเหตุผล นอกจากจะอ้างว่าจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยแล ะบุคลากรสาธารณสุขดีขึ้น แต่ถ้าอ่านด้วยใจเป็นธรรมแล้วจะพบว่า บุคลากรสาธารณสุข นอกจากต้องทำงานหนักทั้งกลางวันกางคืน ไม่ว่าวันราชการหรือวันหยุด เพื่อรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน /ฟ้องร้อง/ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยและถูกไล่เบี้ย/หรือถูกตัดสินจำคุกในคดีอาญาเหมือนเป็นฆาตกร และยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อเตรียมไว้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้นทุกราย และยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย และยังต้องถูกฟ้องร้องต่อศาลได้อีก
เมื่อ ผู้ร้องขอเงินช่วยเหลือได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว จึงจะหยุดการฟ้องคดี หรือยังสามารถไปฟ้องคดีได้อีก และยังเขียนไว้ในมาตรา 45 ว่าศาลอาจจะลงโทษหรือไม่ก็ได้
ข้อสังเกตุ  1.1 การเขียนกฎหมายแบบนี้ ผู้ป่วยจะเป็น “ฝ่ายได้ผลประโยชน์”อย่างเดียว คือได้รับการรักษา(ที่ส่วนมากฟรี) ได้รับเงินช่วยเหลือ(แปลว่าบุคลากรไม่ได้ทำผิด แต่ได้เงินช่วยเพราะมีมนุษยธรรม) และได้เงินชดเชย(แปลว่าบุคลากรทำผิด จึงต้องชดเชยความเสียหาย) และผู้ป่วย(ญาติ)ยังมีสิทธิไปฟ้องศาลแพ่งและศาลอาญาได้อีก และกฎหมายบางร่างที่เสนอเข้าไป ยังอนุญาตอีกว่าถ้าศาลตัดสินว่าแพทย์ไม่ผิดไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย ผู้ป่วยยังกลับมาขอเงินช่วยเหลือได้อีก
 แต่ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์นั้น นอกจากจะต้องประกอบวิชาชีพด้วยความระมัดระวังให้อยู่ในมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละเวลา(ที่ควรจะได้พักผ่อนอยู่กับลูกเมีย/ผัว) มาดูแลผู้ป่วยทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ เสี่ยงต่อการติดโรค ยังเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการถูกร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง ต้องถูกไล่เบี้ยจากการที่ต้องจ่ายเงินคืนกองทุน เพราะในกองทุนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ ไม่มีเขียนไว้ที่ตรงไหนเลยว่าห้ามไล่เบี้ย และเสี่ยงต่อการถูกจำคุก ทำให้หมดอนาคตการรับราชการ ต้องถูกไล่ออกเพราะเป็นนักโทษคดีอาญา
และซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น จะถูกสภาวิชาชีพลงโทษซ้ำ เนื่องจากใครถูกจำคุก ก็จะต้องถูกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันทีโดยอัตโนมัติ

                    1. 2  มีบริการสาธารณะใดบ้างที่ต้องมีเงินประกันความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ทั้งนี้การบริการสาธารณะที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล เช่นการศึกษานั้น ถ้านักเรียนสอบตก ไม่เห็นมีการฟ้องร้องครู ว่าทำให้นักเรียน “เสียหาย” มีแต่จะลงโทษเด็กนักเรียน ให้เรียนซ้ำชั้น/ไล่ออก และไม่เห็นมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองเด็กนักเรียนที่เสียหายจากการรับบริการการศึกษาแต่อย่างใด
หรือในระบบราชการตำรวจ ไม่เห็นมีการออกพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตาย โดยที่ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้าย
(หรือถ้ามีพ.ร.บ.เช่นว่านี้ ก็โปรดบอกข้าพเจ้าผู้เขียนเรื่องนี้ด้วย)

                     1.3 พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องการรักษาพยาบาลเลย มาเป็นกรรมการตัดสินว่าใครควรได้ค่าชดเชย ที่ไม่ได้เกิดจากการเกิดขึ้นตามธรรมดาของโรคนั้นแม้ได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือความเสียหายที่ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ (ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(1, 2 และ3)ตามลำดับ
เปรียบเหมือนเอากรรมการตัดสินฟุตบอลโลก มาจากใครก็ได้ ที่ไม่เคยสอบผ่านเป็นกรรมการตัดสินฟุตบอลนานาชาติเกรดเอ
การบัญญัติไว้แบบนี้ จะเป็นการทำลายมาตรฐานการประกอบวิชาชีพแพทย์ ว่ามาตรฐานไม่มีความหมาย เพราะกรรมการที่มาตัดสินไม่รู้จักว่ามาตรฐานคืออะไร ไม่ชอบใครก็ให้ใบแดง(จำคุก) ใบเหลือง(ชดใช้ค่าเสียหาย) และตักเตือน(ด่า/ประณามหยามเหยียด)ได้ตามอำเภอใจ
สภาวิชาชีพมีพ.ร.บ.ให้ทำหน้าที่กรรมการตัดสินการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ระดับเกรดเอ แต่ประชาชนไม่พอใจ จะออกกฎหมายมาบังคับแทนกฎหมายวิชาชีพซะเอง
ขอถามว่า บ้านนี้เมืองนี้ เขาจะปกครองกันด้วยความ”สะใจ”(ถูกใจ)ใครบางพวก แต่ละเลยความ “ถูกต้อง ชอบธรรม” สมควรที่จะไว้วางใจรัฐบาลที่ยินยออมเสนอกฎหมาย เข้าสภาโดยไม่คิดให้รอบคอบ ถึงผลกระทบที่จะมีต่อประชาชน/ประเทศชาติ และมาตรฐานการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแล้วหรือ?
                      1.4  มีการแจ้งให้ผู้ที่จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน รู้ตัวล่วงหน้าหรือยังว่า นอกจากจะต้องทำงานบริการประชาชนแล้ว ยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายอีก ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ก็คงไม่มีปัญหาอะไร โรงพยาบาลก็ต้องขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะต้องเอาเงินภาษีจากหยาดเหงื่อแรงงานของประชาชนมาเพิ่มงบประมาณให้โรงพยาบาลเพื่อส่งเข้ากองทุน  คุ้มครองผู้เสียหายนี้
ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็คงต้องผลักภาระนี้ให้แก่ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินเอง อย่างแน่นอน เพราะเป็นต้นทุนที่ถูกบังคับ (โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า)
1.   5 แต่กฎหมายนี้ ดูเหมือนว่าผู้มีส่วนได้ คือประชาชน ผู้ที่มีส่วนเสียคือโรงพยาบาล/คลีนิก ร้านขายยา และผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ถ้าอ่านกฎหมายให้ดีแล้วจะเห็นว่าประชาชนที่จะได้ประโยชน์ มีเพียงจำนวนไม่กี่คน คือพวกที่เขียนกฎหมายที่พร้อมจะเข้าไปเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.นี้ คือจะเข้าสู่ตำแหน่งระดับชาติโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก มีอภิสิทธิ์ในการตัดสินผู้ที่ต้องเรียน/สอบความรู้วิชาชีพและมีประสบการณ์รักษามายาวนาน พวกกรรมการนี้ก็ยังมีรายได้ประจำเป็นค่าประชุม/เบี้ยเลี้ยงเดินทาง และออกความเห็นโดยการยกมือตามดุลพินิจ (ดุลพินิจที่ปราศจากความรู้ คือดุลพินิจที่ไม่มีเหตุผล ไม่ต้องอาศัยความถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ทำตามอารมณ์/ความรู้สึกเท่านั้น)

แต่ประชาชนตัวจริงอีก 65 ล้านคนจะต้องเป็นฝ่ายสูญเสียโอกาสที่จะได้รับ การรักษา ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีประชาชนที่เจ็บป่วยอาการหนัก คาดว่าถ้ารักษาแล้วอาจจะมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 20% และมีโอกาสตาย 80%(เรียกว่าจะตายมิตายแหล่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า moribund หรือ dying)
 ถ้ายังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ บุคลากรในโรงพยาบาล ก็ย่อมต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยกันรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อยื้อแย่งชีวิต (จากพญามัจจุราช)ที่มีโอกาสรอดเพียง 20% นี้ให้กลับคืนมาให้ได้
แต่ถ้ามีพ.ร.บ.ที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้น แทนที่บุคลากรจะกระตือรือร้นรีบช่วย รักษาให้รอดตามอัตราความเป็นไปได้  20%  บุคลากรของโรงพยาบาลก็อาจจะ (ถอดใจ)ไม่รับรักษา  เพราะผู้ป่วยมีโอกาสตายถึง 80% ซึ่งจะเป็นเหตุให้บุคลากรต้องตกเป็นจำเลย/ถูกร้องเรียนให้จ่ายค่าช่วยเหลือและชดเชย  และยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีแพ่ง คดีอาญา ต้องจ่ายเงินเอง(ถ้าถูกฟ้องคดีแพ่ง) และเสี่ยงต่อการติดคุกอีกด้วย
และผู้บริหารโรงพยาบาล ก็คงจะสั่งห้ามบุคลากร ไม่ให้เอารถของโรงพยาบาล ไปส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรง พยาบาลอื่น คงจะต้องปล่อยให้ผู้ป่วย/ครอบครัวหารถไปส่งผู้ป่วยเอง เพราะถ้าผู้ป่วยไป ตายในรถของโรงพยาบาลระหว่างเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ก็คงจะต้องรับผิดชอบความตายบนรถ โดยการต้องจ่ายเงินช่วย เหลือและชดเชย และอาจจะถูกฟ้องศาลอีก
กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ ข้าพเจ้าผู้เขียนมิได้เพ้อฝันไปเอง แต่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ที่แพทย์ทั่วไป(General practitioner) ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ (specialist) การผ่าตัดหรือให้ยาสลบระงับความรู้สึก ไม่กล้าทำการดมยาหรือผ่าตัด เพราะเกรงกลัวบรรทัดฐานของศาลที่ตัดสินจำคุกหมอ 4 ปี ในฐานความผิดที่มแพทย์ทั่วไปให้ยาบล็อกหลังเพื่อผ่าตัด และผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจนถึงแก่ความตาย)
ประชาชนในท้องที่ห่างไกล ก็เลยเสียโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดอย่างทันเวลานาทีทอง ต้องเดินทางไป “รอคิว”ผ่าตัดในโรงพยาบาลจังหวัด จนอาการที่จะต้องผ่าตัดรักษานั้นทรุดหนักจนเกินจะเยียวยารักษาก็เป็นได้
เป็นการปิดกั้นโอกาสของประชาชนในชนบท ให้ด้อยโอกาสกว่าปะชาชนในเมือง เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น
เป็นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่สวนทางกับการแถลงนโยบายปัจจุบันที่จะ “ลดช่องว่าง”ทางเศรษฐกิจและสังคม” เป็นรัฐบาลที่พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่งที่ขัดแย้งกับคำพูดของตัวเอง

2. การยืดอายุความจาก 1 ปีเป็น 3 ปี และเริ่มนับเวลาจากการที่ "ประชาชนทราบความเสียหาย" ไม่ได้เริ่มนับจาก "วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์" ซึ่งคงจะยากในการพิสูจน์ข้อ "กล่าวอ้าง" ของผู้เสียหายว่า "ทราบความเสียหาย" เมื่อใด  และถ้าประชาชน “อ้าง” ว่ายังมีความเสียหายอีก ก็ยังสามารถร้องขอ “เงินช่วยเหลือและชดเชย” ได้ถึง 10 ปี ส่วนบุคลากรนั้นทำงานไป 10ปี อาจถูกกรรมการมาชี้โทษได้ (โดยกรรมการไม่รู้เรื่องมาตรฐานวิชาชีพดังกล่าว) ถึง 10 ปี

3. พ.ร.บ.นี้ ขัดต่อหลักนิติรัฐ เนื่องจากตามปกติแล้ว กฎหมายมีไว้เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุ ประสงค์ ในการบริหาราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะสำหรับประชาชนให้ได้รับการบริการที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่พ.ร.บ.นี้จะกระทบกับการรักษาของแพทย์ (ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น)  และพ.ร.บ.นี้ขัดต่อพ.ร.ก.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และขัดต่อพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539  ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ กำหนดอายุความแค่ 1 ปี แต่ในกรณีพ.ร.บ.นี้ ขยายอายุความเป็น 3-10 ปีถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
    นอกจากนั้น เมื่อเกิดมีการรักษาพยาบาลแล้ว การอ้างว่าไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดนั้น จะไม่สามารถทำได้จริงเพราะคณะกรรมการมี “อำนาจ” ในการเรียกเอกสาร/พยานบุคคลมาให้การ และใครขัดคำสั่งกรรมการมีโทษถึงจำคุก เป็นการตั้งธงไว้เลยว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำผิดไว้ก่อน
    เมื่อประชาชนไม่พอใจการไกล่เกลี่ย โดยไม่ยอมตกลงรับเงินตามการไกล่เกลี่ย และไปฟ้องศาลเอง ถ้าเป็นคดีที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรได้รับเงินชดเชย ผู้ร้องยังย้อนกลับไปขอเงินชดเชยจากกองทุนได้อีก ประชาชนคิดว่าตนเองมีแต่ทางได้ไม่มีทางเสีย แต่ให้ไปอ่านข้อ 1.5 แล้วจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริงๆ

4. ถ้ารัฐบาลเสนอพ.ร.บ.นี้เข้าสภา เมื่อใด บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชาชีพ คงต้องดำเนินการประท้วงรัฐบาลนี้ ที่จะก่อให้เกิดหายนะต่อมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข และทำความเสียหายแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และทำลายมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน
 การประท้วงจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ารัฐบาลยังทำตัวเป็นเด็กดื้อ ไม่ฟังการท้วงติงอย่างมีเหตุผลเชิงประจักษ์จาก ผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์และสภาวิชาชีพ