ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อแม่เด็ก3เดือน ร้อง รพ.ดังนนทบุรี(พระนั่งเกล้า)วินิจฉัยผิด-รอรักษาช้าเสียชีวิต  (อ่าน 90 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
พ่อแม่เด็ก 3 เดือน ร้องเรียน รพ.ดัง ใน จ.นนทบุรี รักษาช้า - ไม่ใส่ใจ รอนานกว่า 6 ชั่วโมง หลังลูกมีอาการผิดปกติ หายใจแรง รพ.จับตรวจ ช่วยปั๊มหัวใจ แต่ช่วยไม่ได้ จนเด็กเสียชีวิต
วันนี้ (16 ม.ค.2567) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล ทางอธิวัฒน์ สิริกังวาลวงศ์ ผู้ก่อตั้งเพจ "กล้าที่จะก้าว" ได้พาผู้ปกครอง ของ ด.ญ. วัย 3 เดือนเศษ ซึ่งเสียชีวิตใน โรงพยาบาลรัฐชื่อดังแห่งหนึ่ง ใน จ.นนทบุรี มาร้องเรียนที่ศูนย์ฯ โดยมี นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง

นายอธิวัฒน์ ระบุว่า การยื่นเรื่องวันนี้ เนื่องจากต้องการให้ฝ่ายเกี่ยวข้องตรวจสอบการทำหน้าที่ของโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ว่าเหตุใด จึงปล่อยระยะเวลาการรอคอย การรักษานานกว่า 6 ชั่วโมง ถึงจะนำเด็กเข้าไปตรวจสภาพร่างกาย และเช็กค่าออกซิเจน ซึ่งการนำมาร้องเรียนวันนี้ ยังพบว่าโรงพยาบาลแห่งนี้ ถูกประชาชนร้องเรียนผ่านทางเพจอีกกว่า 200 เรื่องที่มีผู้มาแสดงความคิดเห็นต่อระบบการรักษา จึงอยากให้ฝ่ายเกี่ยวข้องตรวจสอบ

ขณะที่ น.ส.วารินทร์ มารดาของเด็กวัย 3 ขวบเศษ ที่เสียชีวิต ได้ร้องขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของโรงพยาบาล และปรับปรุงแก้ไขระบบการให้บริการของประชาชนของโรงพยาบาล เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงเช่นนี้ กับลูกคนอื่น หรือ ผู้ป่วยคนอื่นอีก เนื่องจากที่ผ่านมา ได้ดูแลลูกเป็นอย่างดี รวมถึงเชื่อมั่นใจโรงพยาบาล เพราะเป็นโรงพยาบาลใหญ่ และช่วงตั้งครรภ์ ยังได้ฝากท้องไว้ที่โรงพยาบาลนี้ รวมถึงช่วงผ่าคลอดด้วย

มารดาเด็ก เล่าว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2567 ลูกสาวมีอาการผิดปกติ คือ ดูดนมได้น้อยลง และไม่ดูดนม จึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งแรก ใน อ.บางบัวทอง โดยแจ้งแพทย์ว่าลูกหายใจแรง จนซี่โครงยุบผิดปกติ แพทย์ชี้แจงว่า ตรวจละเอียดไม่ได้ เพราะไม่มีประวัติเด็ก พร้อมแนะนำว่า ถ้าต้องการตรวจละเอียด ให้พาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลชื่อดังในนนทบุรี ทางครอบครัว จึงตัดสินใจพาลูกกลับบ้านก่อนวันนั้น เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเย็นแล้ว

ต่อมา วันที่ 10 ม.ค.2567 ลูกยังมีอาการไม่ดูดนม และมีอาการหายใจแรงมากขึ้น และไม่ยอมกินนมตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 9 ม.ค.2567

สามีจึงให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลเกิดเหตุ ซึ่งไปถึงตั้งแต่เวลาใกล้เที่ยง ได้บัตรคิวที่ 45 แต่ระบบแจ้งว่า รอคิวจริงๆ อีกประมาณ 4-5 คนเท่านั้น ก็จะถึงคิวของครอบครัว

"ขณะรอเรียกคิวพบแพทย์ ลูกอาการแย่ลง จึงขอร้องพยาบาลช่วยแซงคิว แต่ก็ถูกปฏิเสธ และต้องรอต่อไป จนถึงเวลาประมาณ 17.00 น. จึงได้พบแพทย์ มีการตรวจและแจ้งว่าลูกปกติ วินิจฉัยว่าลูกเป็นโคลิค จะให้รับยาแล้วกลับบ้าน แล้วยังวินิจฉัยว่าแม่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด"

มารดาเด็ก เล่าต่อไปว่า ตอนนั้น ได้ทักท้วงแพทย์ เพราะลูกเริ่มหายใจลำบากจนซี่โครงท้องบุ๋ม แพทย์ จึงให้ลูกคอยเวรเปล อีก 1 ชั่วโมง กว่าได้จะรับการตรวจเข้าห้องตรวจ

ซึ่งช่วงนั้น เวลา 21.00 น. มือและเท้าของลูกเริ่มเป็นสีม่วง เจ้าหน้าที่ รีบนำตัวเข้าห้องไอซียู ผลเอ็กซเรย์ออกปรากฏว่า น้องหัวใจโต แพทย์แจ้งต้องทำการผ่าตัด แต่ต้องรอหมอเฉพาะทางเท่านั้น

"ตอนนั้น หมอที่มาดูอาการลูกในห้องไอซียูบอกว่า ให้ทำใจ และแจ้งว่า ต้องประคับประคองอาการเป็นรายชั่วโมง แต่ได้ให้ยากระตุ้นหัวใจลูกเราแล้ว จากนั้นมีการปั๊มหัวใจน้องไปแล้วรอบหนึ่ง ระหว่างนั้น พยาบาลแจ้งว่าต้องรอหมอหัวใจ ซึ่งเป็นหมอเฉพาะทางมาวินิจฉัย เพราะทั้งโรงพยาบาลมีหมอหัวใจคนเดียว ขอให้ทางญาติเข้าใจด้วย แล้วยังบอกว่า ถ้าลูกยังไหว ยังสู้ ก็อาจรอได้ถึงเช้า ถึงจะมีหมอหัวใจมาวินิจฉัยได้ แต่เจ้าหน้าที่บอกไม่ได้ว่า หมอจะว่างตอนไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ได้รับแจ้งว่า ลูกหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิต เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 11 ม.ค.67" มารดาเด็ก กล่าว

ทางครอบครัว ระบุด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ โรงพยาบาลไม่ได้รับผิดชอบใดๆ ตั้งแต่วันเกิดเหตุ จนกระทั่งการฌาปนกิจศพลูกไปแล้วเสร็จแล้ว ก็ไม่มีแม้แต่พวงหรีด หรือ คำขอโทษ หรือการแสดงความรับผิดชอบชดเชย หรือเยียวยาใดๆ และจากนี้ ทางครอบครัวจะร้องเรียนต่อแพทยสภา และ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ โรงพยาบาลที่เกิดเหตุ

ขณะที่นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับหนังสือร้องเรียนวันนี้ ระบุว่า เบื้องต้น ได้สอบถามไปที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทางปลัดแจ้งว่า ได้ให้โรงพยาบาล ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ไทม์ไลน์เรื่องของเวลา ยังไม่ตรงกัน

ส่วนการฌาปนกิจร่างเด็ก 3 เดือนไปแล้วนั้น นาย ธนกฤต ระบุว่า อาจทำให้การชันสูตรเพื่อแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น และขอฝากถึงประชาชนทั่วไปว่า ถ้าติดใจกรณีการเสียชีวิต ขออย่าเพิ่งฌาปนกิจ ขอให้เก็บร่างไว้ตรวจสอบก่อน เพื่อได้จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้

ทั้งนี้ เบื้องต้น นายธนกฤต ได้แจ้งกับผู้ปกครองของเด็กวัย 3 เดือนว่า จะช่วยประสานไปทางโรงพยาบาล เพื่อช่วยสอบถามข้อเท็จจริงและนำให้ทางผู้ร้องเรียนได้พบกับทางโรงพยาบาล แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่า ทางโรงพยาบาลมีสิทธิที่จะแถลงถึงแนวทางหลักปฏิบัติของโรงพยาบาล ซึ่งหากเราไม่มีภาพวงจรปิดของโรงพยาบาล หรือ หลักฐานที่ทำให้เห็นว่า เกิดความผิดพลาดจากระบบของโรงพยาบาล ก็อาจเอาผิดไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีช่องทาง

ซึ่งเรื่องนี้แนะนำให้ผู้ปกครอง ไปร้องเรียนแพทยสภาด้วยอีกทาง รวมถึง กระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลแห่งนี้ รวมถึงการพิจารณาร้องเรียนคดีทางแพ่ง แต่ก็ขอให้ผู้ปกครองเข้าใจด้วยว่า ถ้าร้องเรียนทางแพ่ง ต้องแปลว่า มีหลักฐานพอที่จะทำให้เห็นว่ากระบวนการรักษาหรือระบบของโรงพยาบาลเกิดความผิดพลาดจริง

16 ม.ค. 67
https://www.thaipbs.or.th/news/content/336014

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
รพ.พระนั่งเกล้า แสดงความเสียใจกรณี ด.ญ. 3 เดือน มารักษาแล้วเสียชีวิต แจงดูแลรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ พร้อมทำความเข้าใจกับญาติและดูแลเยียวยาตามขั้นตอน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แสดงความเสียใจกรณีเด็กหญิงวัย 3 เดือน มารักษาแล้วเสียชีวิต และพ่อแม่สงสัยรักษาล่าช้า วินิจฉัยผิดพลาด เผยแรกคลอด ทารกมีอาการหายใจเร็ว ออกซิเจนในเลือดต่ำ ดูแลรักษาจนอาการดีขึ้นกลับบ้านได้ นัดตรวจติดตามอาการอีก 1 สัปดาห์ แต่จากการตรวจสอบเวชระเบียน ไม่พบมารับการตรวจตามที่ได้นัดหมาย ก่อนมารักษาอีกครั้งเมื่ออายุ 3 เดือน ยันให้การดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพ โรงพยาบาลพร้อมให้ข้อมูล ทำความเข้าใจและดูแลเยียวยาญาติตามขั้นตอน

วันที่ 16 มกราคม พญ.ณิชาภา สวัสดิกานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวถึงกรณีข่าวมารดาพาลูกสาววัย 3 เดือนเข้ารักษาอาการหายใจผิดปกติ และระบุว่ารอการรักษานานกว่า 8 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัยผิดพลาดทำให้เด็กเสียชีวิต ว่า ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งหลังได้รับทราบเหตุการณ์ได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลทั้งประวัติการรักษาของเด็ก และภาพเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิดทันที โดยเด็กหญิงรายดังกล่าว เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 แรกเกิดไม่พบความผิดปกติของโรคหัวใจ แต่พบว่ามีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และหายใจเร็ว แพทย์ให้การรักษาด้วยการให้ออกซิเจนและให้ยาฆ่าเชื้อ เป็นเวลา 5 วัน จนอาการดีขึ้น หายใจปกติ จึงให้กลับบ้านได้ วินิจฉัยว่าเป็นภาวะหายใจเร็วชั่วคราว และนัดให้มาติดตามอาการอีกครั้งใน 1 สัปดาห์ แต่จากการตรวจสอบเวชระเบียน ไม่พบมารับการตรวจตามที่ได้นัดหมาย

ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2567 มารดาพามาโรงพยาบาลด้วยอาการร้องกวน กินนมได้น้อยลงมา 3 วัน ถึงแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมเวลา 13.48 น. พยาบาลซักประวัติ ตรวจวัดสัญญาณชีพ พบอยู่ในเกณฑ์ปกติ และได้รับการตรวจจากแพทย์เวลา 15.28 น. แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพราะมีอาการหายใจแรงกว่าปกติ วินิจฉัยเป็นปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และมีภาวะโคลิกร่วมด้วย จึงส่งไปเอกซเรย์ปอดก่อนขึ้นหอผู้ป่วยในเวลา 17.10 น. และส่งเลือดตรวจพร้อมให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ผลเลือดพบว่า มีภาวะเลือดเป็นกรด แพทย์จึงสั่งการรักษาเพิ่มเติม ต่อมา 19.30 น. แพทย์เวรมาตรวจติดตามอาการอีกครั้ง พบว่ามีภาวะหายใจลำบากและความดันโลหิตต่ำ จึงย้ายเข้าไอซียูและใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ยากระตุ้นหัวใจ และปรึกษาแพทย์ทางโรคหัวใจร่วมรักษาผู้ป่วย สงสัยมีปัญหาโรคหัวใจร่วมกับอาจมีภาวะหัวใจอักเสบและปอดอักเสบ กระทั่งเวลา 01.30 น. ของวันที่ 11 มกราคม 2567 ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้น 2 ครั้ง ได้ทำการปั๊มหัวใจและให้ยากระตุ้นหัวใจ และให้ข้อมูลการพยากรณ์โรคกับญาติเป็นระยะ สุดท้ายผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาและเสียชีวิตเวลา 02.43 น.

“จากการทบทวนระบบการทำงานของโรงพยาบาล ยืนยันว่า มีการปฏิบัติงานและรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจและดูแลรักษาตามขั้นตอน มีการควบคุมติดตามโดยแพทย์เฉพาะทางคือกุมารแพทย์ ส่วนหลังเกิดเหตุการณ์ วันที่ 12 มกราคม ทีมรับเรื่องร้องเรียนและทีมเชื่อมประสานใจ ได้โทรคุยประสานกับญาติซึ่งมีข้อสงสัยเรื่องความล่าช้าในการรักษา และวินิจฉัยตอนแรกคลอด จึงได้มีการนัดหมายเชิญญาติมาทำความเข้าใจและตอบข้อสงสัย ทั้งนี้ โรงพยาบาลพร้อมให้ข้อมูลและดูแลเรื่องการเยียวยาตามขั้นตอนต่อไป” พญ.ณิชาภากล่าว

17 มค 2567
มติชน