ผู้เขียน หัวข้อ: ระเบิดเวลา ‘หมอจบใหม่’ เมื่อเกิดเคสกระโดดตึก สะท้อนปัญหาระบบแพทย์อินเทิร์นที่ต้อ  (อ่าน 161 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ช่วงสถานการณ์โควิด หนึ่งในตัวเลขที่พุ่งสูงไม่แพ้กับจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม คืออัตราการฆ่าตัวตายที่ขยับขึ้นจากร้อยละ 6.64 ต่อประชากรแสนคน เป็นร้อยละ 7.37 ต่อประชากรแสนคน ถือว่าสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา
 
หนึ่งในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตอย่างหนักคือ บุคลากรทางการแพทย์
 
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร (สภ.) เมืองสระแก้ว ได้รับแจ้งเหตุ มีคนตกลงมาจากอาคารของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบว่าผู้เสียชีวิตคือ ‘แพทย์จบใหม่’

เพื่อนผู้เสียชีวิตได้กล่าวว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุ 3 วัน ผู้เสียชีวิตได้มาปรึกษาเรื่องความเครียดจากการได้รับมอบหมายตารางเวรที่ ‘หนักเกินไป’

ด้านครอบครัวผู้เสียชีวิตยืนยันว่าแพทย์ผู้นี้ไม่มีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้า มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวตามปกติ และได้เปิดเผยตารางเวรของผู้เสียชีวิต

พบว่าต้องทำงานติดต่อกัน 48 ชั่วโมงตั้งแต่วันแรกของการทำงาน และบางวันก็มีเวลาพักผ่อนจากภาระงานเพียงแค่ 4.30 ชั่วโมง

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และอีกหลายกรณีการฆ่าตัวตายของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ และบุคลากรทางการแพทย์ก่อนหน้าที่ได้อุบัติขึ้น
 
THE STANDARD สรุปประเด็นชวนตั้งคำถามถึงปัญหาของระบบแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (อินเทิร์น) ซึ่งอาจจะไม่ได้ปรากฏปัญหาขึ้นในช่วงสภาวะการระบาดของโควิดเท่านั้น แต่ได้สะสมกลายเป็นระเบิดเวลามาอย่างต่อเนื่อง

เหตุการณ์แพทย์จบใหม่ฆ่าตัวตาย
วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร (สภ.) เมืองสระแก้ว ได้รับแจ้งเหตุคนตกลงมาจากอาคารของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยทราบว่าผู้เสียชีวิตคือแพทย์จบใหม่จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาประจำในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุได้ 7 วัน
ด้านเพื่อนผู้เสียชีวิตกล่าวว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุ 3 วัน ผู้เสียชีวิตได้มาปรึกษาเรื่องความเครียดจากการได้รับมอบหมายตารางเวรที่มีความหนักเกินไป ในขณะที่ตนเองเป็นเพียงแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (อินเทิร์น) เท่านั้น
หลังเกิดเหตุการณ์ หลายสำนักข่าวรายงานว่าผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ต่อมาญาติยืนยันว่าไม่มีอาการดังกล่าว)
ต่อมาทางโรงพยาบาลได้เปิดประชุมคณะผู้บริหาร เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข และป้องกันไม่ให้มีกรณีนี้เกิดขึ้นกับแพทย์จบใหม่อีก
 
เปิดข้อมูลอีกด้านของครอบครัวแพทย์ผู้เสียชีวิต เผยตารางเวร-ส่งจดหมายไปยังโรงพยาบาล
ด้านครอบครัวผู้เสียชีวิต ภายหลังเกิดเหตุได้ออกมาส่งหนังสือไปยังผู้บริหารโรงพยาบาลเพื่อชี้แจงว่า แพทย์คนดังกล่าวไม่มีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้า มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวตามปกติ พร้อมทั้งเปิดเผยตารางเวรของผู้เสียชีวิต พบว่าในระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตารางเวรของแพทย์จบใหม่มีดังนี้
31 พ.ค. 16.30 น. – 2 มิ.ย. 16.30 น. (ทำงานติดต่อกัน 48 ชั่วโมง จากนั้นพัก 8 ชั่วโมง)
3 มิ.ย. 00.30 น. – 12.00 น. (ทำงานติดต่อกัน 11.30 ชั่วโมง พัก 17 ชั่วโมงเนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ)
4 มิ.ย. 05.00 น. – 16.00 น. (ทำงานติดต่อกัน 11 ชั่วโมง พัก 8 ชั่วโมง)
5 มิ.ย. 00.30 น. – 12.00 น. (ทำงานติดต่อกัน 11.30 ชั่วโมง พัก 19 ชั่วโมงเนื่องจากหยุดวันเสาร์)
6 มิ.ย. 07.00 น. – 12.00 น. (ทำงานติดต่อกัน 5 ชั่วโมง พัก 4.30 ชั่วโมง) ทำงานต่อ 16.30 น. – 00.30 น. (ทำงานติดต่อกัน 8 ชั่วโมง พัก 4.30 ชั่วโมง)
7 พ.ค. 05.00 น. – 8 พ.ค. 16.30 น. (ทำงานติดต่อกัน 35.30 ชั่วโมง)
รวมแล้วอยู่เวรนอกเวลาราชการถึง 61 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

จากการศึกษาข้อมูลแพทย์จบใหม่ โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา ในปี 2562 พบว่า 60% ของแพทย์ ต้องทำงานนอกเวลาราชการถึง 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อรวมกับในเวลาราชการ 40 ชั่วโมงแล้วเป็น 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งที่ 1 สัปดาห์มีเพียง 168 ชั่วโมงเท่านั้น และ 90% ของแพทย์ ยอมรับว่าความผิดพลาดในการรักษาผู้ป่วยเกิดจากภาระงานที่มากเกินไปและการอดนอน

ในขณะที่ประกาศจากแพทยสภา เรื่องการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ ปี 2560 ได้กำหนดให้แพทย์เพิ่มพูนทักษะควรมีชั่วโมงการทำงานนอกเวลาราชการไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ทางครอบครัวจึงตั้งคำถามไปยังโรงพยาบาลว่ามีการจัดตารางเวรอย่างไรถึงใช้แรงงานแพทย์จบใหม่หนักขนาดนี้
รวมถึงตั้งคำถามไปยังระบบอาจารย์แพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลสำหรับแพทย์จบใหม่ ว่ามีหลักเกณฑ์การคัดเลือกอาจารย์อย่างไรถึงทำให้แพทย์จบใหม่ต้องตกอยู่ในสภาวะกดดันแทนที่จะให้คำปรึกษาและสร้างความมั่นใจอย่างถูกต้อง โดยทางครอบครัวคาดหวังที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบจากการสูญเสียในครั้งนี้ และไม่อยากให้มีแพทย์หลุดออกนอกระบบจากกรณีเช่นนี้อีก เนื่องจากประเทศของเรายังต้องการบุคลากรทางสาธารณสุขอีกมาก

“เราไม่อยากให้เรื่องนี้เงียบหายไปด้วยการประโคมข่าวว่าเป็นหมอที่เป็นซึมเศร้า หรือเป็นเพราะครอบครัว เราไม่ได้จะบอกว่าสาเหตุนั้นเกิดจากอะไร เราบอกไม่ได้ เราเองก็อยากรู้ แต่ที่เรารู้คือพี่ของเราไม่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ไม่มีปัญหาทะเลาะกับครอบครัว เรายังช่วยพี่จัดกระเป๋าเตรียมตัวไปสระแก้วอยู่เลย แต่ทําไมแค่ 7 วันเท่านั้นที่พี่เดินออกจากบ้านไป ถึงกลับมาบ้านเป็นรูปถ่ายและเถ้ากระดูก มันเกิดอะไรขึ้น” ญาติของผู้เสียชีวิตกล่าวขณะให้สัมภาษณ์

ความเคลื่อนไหวจากแพทยสภาและโรงพยาบาล
ในเวลาต่อมา ทางแพทยสภาได้เปิดวาระการประชุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และการตั้งอนุกรรมาธิการเพื่อติดตามปัญหานี้อย่างเร่งด่วน
ด้านโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว หลังได้รับจดหมายจากครอบครัวผู้เสียชีวิตก็ได้ออกประกาศแสดงความเสียใจบนเพจเฟซบุ๊กของโรงพยาบาล และแก้ไขว่าแพทย์ผู้เสียชีวิตไม่เคยมีประวัติสุขภาพจิตใดมาก่อน รวมถึงจะวางแผนปรับระบบการศึกษาและการทำงานในสมดุลเพื่อลดความตึงเครียดจากการทำงานของแพทย์ต่อไป
 
ปัญหาของระบบแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (อินเทิร์น)
“คนไข้ทั้งวอร์ดเป็นของผมคนเดียวหรอ” เป็นหนึ่งในคำพูดจากปากของแพทย์จบใหม่ที่เสียชีวิตระหว่างการอยู่เวรในคืนหนึ่ง ที่พยาบาลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วจดจำเอาไว้ได้
เพื่อนของผู้เสียชีวิตเล่าให้ฟังว่า ผู้เสียชีวิตถูกตำหนิอย่างแรงจากแพทย์เฉพาะทางในขณะที่อยู่เวร เวลาประมาณ 02.00 น. เมื่อได้โทรไปสอบถามข้อมูลเนื่องจากมีคนไข้ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง และเป็นหน้าที่ของแพทย์เฉพาะทางที่จะให้คำปรึกษาแพทย์จบใหม่ เนื่องจากแพทย์จบใหม่ไม่มีความรู้ด้านนี้
ผู้เสียชีวิตเป็นแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือที่เรียกกันว่าอินเทิร์น ซึ่งก็คือแพทย์จบใหม่ที่ต้องทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลรัฐเป็นเวลา 3 ปี โดยจะมีแพทย์พี่เลี้ยงคอยประกบดูแลจากระบบแพทย์ที่ปรึกษา ซึ่งมีข้อสงสัยจากญาติผู้เสียชีวิตว่า ระบบพี่เลี้ยงนี้มีความบกพร่องในการคัดเลือกบุคลากรที่จะรับหน้าที่แพทย์ที่ปรึกษา
เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 เกิดเหตุการณ์ของกลุ่มแพทย์ใช้ทุน โรงพยาบาลตราด รวมตัวกันร้องเรียนไปยังกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากถูกแพทย์พี่เลี้ยงบังคับให้เข้าเวรจนแพทย์จบใหม่ทำงานไม่ไหวและไม่มีเวลาพักผ่อน แต่ถ้าหากปฏิเสธก็กังวลว่าจะส่งผลต่อการประเมินผล เนื่องจากแพทย์พี่เลี้ยงจะต้องทำหน้าที่ให้คะแนนแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการผ่านหรือไม่ผ่านการประเมิน

วันที่ 8 มิถุนายน เพจ ‘เลี้ยงลูกตามใจหมอ’ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีการฆ่าตัวตายของแพทย์จบใหม่ดังกล่าวว่า ภาระของแพทย์จบใหม่ใช้ทุนจะดีหรือไม่ดีนั้นมีความยึดโยงอยู่กับแพทย์ตามโรงพยาบาลที่ไปใช้ทุน หากเจอแพทย์ที่ไม่ดีก็อาจจะโดนบังคับขายเวร ผลักภาระการดูแลคนไข้ จนแทบจะไม่ได้เพิ่มพูนทักษะอะไรจริงๆ
ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ได้มีเพจบนเฟซบุ๊กชื่อ ‘วันนี้ฉันติ่งอะไร’ ออกมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับระบบอาวุโสในวงการแพทย์ เป็นต้นเหตุของการลงโทษด้วยถ้อยคำรุนแรง หากแพทย์จบใหม่แพทย์ระดับต่ำกว่าทำผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการไล่ให้ไปกระโดดตึก ด่าทอว่าโง่ หนักแผ่นดิน ไร้ค่า ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการที่แพทย์มักจะเจอเรื่องของการเกิด เจ็บ แก่ ตาย จนรู้สึกเฉยชาและมุ่งแต่ผลของการรักษาที่เรียกว่า Dehumanization หรือ ‘การทำให้คนไม่เป็นคน’ ที่สืบทอดกันต่อมาในระบบการสอนบุคลากร
 
ครบรอบ 1 เดือนของการสูญเสีย
วันนี้ (7 กรกฎาคม) เป็นวันครบรอบ 1 เดือนการเสียชีวิตของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจนี้จะไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีต้นเหตุมาจากสาเหตุใดกันแน่ แต่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตเองก็หวังว่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบแพทย์เพิ่มพูนทักษะในทางที่ดีขึ้น จากการจากไปของสมาชิกอันเป็นที่รักในครั้งนี้
 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:
https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp
https://mgronline.com/local/detail/9630000119872
https://th-th.facebook.com/SpoiledPediatrician/posts/3948853905211564/
https://www.facebook.com/1786654861643988/posts/2458534851122649/


7.07.2021
https://thestandard.co/suicide-fresh-graduate-doctors/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
บทเรียนที่กระทรวงสาธารณสุขควรหาทางป้องกันแก้ไข “ไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์เกิดซ้ำอีก” จากการฆ่าตัวตายของแพทย์จบใหม่

ก่อนที่จะเขียนบทความนี้ ผู้เขียนในฐานะแพทย์อาวุโส ในฐานะอดีตกรรมการแพทยสภาหลายสมัย ในฐานะอดีตอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแพทย์ ในฐานะหนึ่งในกลุ่มพลังแพทย์ และแพทย์อีกมากมาย ที่พยายามผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุข แก้ไขปัญหาการจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับภาระงาน ในฐานะแม่ของลูกที่เป็นหมอคนหนึ่ง และในฐานะประชาชนไทย ขอแสดงความเสียใจในความสูญเสียอันคาดไม่ถึงต่อครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ของน้องหมอที่เสียชีวิต และขอตั้งจิตอธิษฐานให้ดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ของน้องไปสู่สุคติในสัมปรายภพ

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 มีข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ได้รายงานเหตุการณ์ที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตกจากตึกแปดชั้นและเสียชีวิต โดยมีการปิดบังชื่อของแพทย์ท่านนั้น และชื่อของโรงพยาบาลด้วย แต่ต่อมาก็มีข่าวจาก 77kaoded ว่า วันที่ 10 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแพทย์ที่กระโดดตึก 8 ชั้นเสียชีวิต และผูกข้อมือรับเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับแพทย์หลังเกิดเหตุแพทย์จบใหม่เครียดกระโดดตึก 8 ชั้นอาคารหอพักแพทย์เสียชีวิต และในเนื้อความของข่าวบรรยายว่า นพ.สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ได้ชี้แจงว่า

“จากการประชุมคณะแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ทุกคนรู้สึกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ประชุมวางแผนเพื่อปรับปรุงระบบการทำงานของแพทย์เพิ่มพูนทักษะทั้งหมด เพื่อบรรเทาผลกระทบของความสูญเสียที่จะกระทบกับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ และงานดูแลรักษาผู้ป่วย”

ถ้าเนื้อความในข่าวนี้ตรงกับความจริงทั้งหมด แสดงว่าแพทย์ผู้นั้นไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน แต่น่าจะเป็นความเครียดและเป็นการตัดสินใจเนื่องจากความเครียดในการทำงานที่เกิดขึ้น จากภาระการรับผิดชอบอันหนักอึ้งจากการทำงานในโรงพยาบาล และผู้เขียนมีข้อมูลว่าคุณหมอผู้นี้เพิ่งมารับงานที่โรงพยาบาลนี้ได้เพียง 1 สัปดาห์ และมีตารางการทำงานดังนี้

สรุปน้องหมอมาทำงานวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 – 8 มิถุนายน 2564 คิดเป็นจำนวนวันทำงาน 8 วัน หรือเท่ากับ 192 ชั่วโมง น้องหมอคนนี้ต้องทำงาน 139 ชั่วโมงมีเวลาพักจริงๆ ที่ไม่มีตารางเวลาทำงาน 53 ชั่วโมง

แสดงว่าการจัดตารางการทำงานให้มนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ใช่เครื่องจักรทำงานติดต่อกันแบบนี้ ถ้าไม่ป่วยทางกาย ก็ต้องป่วยทางใจแน่นอน

ผู้เขียนอยากขอถามว่า ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข จะชดใช้ครอบครัวของน้องอย่างไร อยากขอคำตอบที่จริงใจ ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

ถึงแม้จะชดเชยอย่างไร ก็ไม่สามารถทดแทนความสูญเสียของครอบครัวได้ แต่ก็ขอเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขต้องปฏิรูปการทำงาน โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคลของกระทรวงอย่างเร่งด่วน อย่าให้น้องหมอผู้นี้ต้องตายฟรี

ขอเรียกร้องให้กรรมการแพทยสภา ทำหน้าที่ในการตรวจสอบว่า แพทย์ผู้ที่ต้องประกอบวิชาชีพเวชกรรมภายใต้การควบคุมของแพทยสภาให้ถูกต้องตามจริยธรรมและมาตรฐานของแพทยสภานั้น ถ้าแพทย์มีเวลาทำงานมากจนขาดเวลาพักผ่อนนอนหลับแล้ว แพทย์ผู้นั้นจะสามารถรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้หรือไม่ และขอเรียกร้องให้แพทยสมาคม ช่วยเป็นตัวแทนเรียกร้องมาตรฐานการทำงานและการพักผ่อนของแพทย์ ไม่ให้กระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้งานเยี่ยงทาส เช่นที่ผ่านมา

จากการศึกษาข้อมูลแพทย์จบใหม่ ของ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา ในปี พ.ศ. 2562 ได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า – แพทย์ 60 % ต้องทำงานนอกเวลาราชการมากกว่า 80 ชม. ต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ 1 สัปดาห์มี 168 ชั่วโมง แพทย์ทำงานนอกเวลาราชการ 80 ชั่วโมง และทำงานในเวลาราชการอีก 40 ชั่วโมง รวมเป็น 120 ชั่วโมง มีเวลาพักจากงานเพียงสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเท่านั้น

สภาพการทำงานของแพทย์จบใหม่ ซึ่งถูกบังคับให้มาทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะของไทย ตามที่นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ได้สำรวจมานั้น แสดงถึงภาระงานมากมายมหาศาล ที่แพทย์จบใหม่และต้องมาเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ จะต้องเผชิญตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ถูกกำหนดให้มาทำงานเพิ่มพูนทักษะ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องถือว่าถูกบังคับให้มาทำงาน “ชดใช้ทุนในการศึกษาแพทยศาสตร์” เพราะถ้าไม่ยินยอมมาทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ก็จะต้องจ่ายเงินที่รัฐบาลไทยอ้างว่า “ต้องชดใช้ทุนการศึกษา” ตามกฎของกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากที่แพทย์ผู้นั้นจะต้องจ่ายเงินชดใช้ทุนดังกล่าวแล้ว แพทย์ผู้นั้นยังไม่สามารถสมัครเข้าศึกษาฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ ตามข้อบังคับของแพทยสภา

ในวงการอนุรักษ์ป่า คุณสืบ นาคะเสถียร ได้เสียสละชีวิต โดยการฆ่าตัวตาย เพื่อให้คนในสังคมหันมาให้ความสนใจกับการอนุรักษ์ผืนป่า และทรัพยากรธรรมชาติ นับเป็นวีรบุรุษผู้พิทักษ์ผืนป่า

และหวังว่า น้องหมอคนนี้จะไม่ตายฟรี และจะเป็นเหมือนเทียนที่ยอมทำลายตัวเอง เพื่อนำพาแสงสว่างมาสู่ใจของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขให้ตื่นรู้ถึงปัญหาของการเพิ่มพูนทักษะของแพทย์จบใหม่ และแก้ไขปัญหาการทำทารุณกรรมแพทย์ (Doctor Abused) เพื่อยุติปัญหาการทำงานมากเกินกำลังที่มนุษย์จะทนทานได้

นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภาในขณะนั้น ได้ทำการสำรวจและได้รายงานคณะกรรมการแพทยสภามาแล้วในปี พ.ศ. 2562 และแพทยสภาได้ออกคำแนะนำว่า แพทย์ไม่ควรทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็เป็นเพียงคำแนะนำที่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถปฏิบัติตามได้

โดยอ้างว่า กระทรวงขาดแคลนบุคลากรแพทย์ เท่ากับว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการแพทย์เพิ่มพูนทักษะไปทำงาน แต่ไม่ดูแลในเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควรแก่ความเป็นมนุษย์ กลับใช้แรงงานเยี่ยงทาส ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “Doctor Abused” แปลได้ว่า “การทำทารุณแพทย์”

จึงเห็นว่า กระทรวงสาธารณสุขควรที่จะปฏิรูปการบริหารงานบุคคลใหม่ ให้มีบุคลากรทุกประเภทให้เหมาะสมกับภาระงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แพทย์จบใหม่ของเรามีมากถึงปีละ 2,500 คน น่าจะจัดสรรให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขได้มากขึ้น เพื่อจะได้สามารถปรับปรุงระบบการทำงานของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ และแพทย์ทั่วไปว่า ไม่ควรให้ทำงานติดต่อกันเกิน 12 ชั่วโมง และไม่ควรให้อยู่เวรกลางคืนเกินกว่า 10 คืนต่อ 1 เดือน และคืนไหนอยู่เวรแล้ว ควรให้มีเวลาพักอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนจะมาทำงานต่อ

ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยทำให้แพทย์สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตแพทย์ และทำให้แพทย์ยังมีใจรักที่จะทำงานเพื่อประชาชนในภาคราชการอย่างยั่งยืนด้วย

15 มิถุนายน 2564
https://thaipublica.org/2021/06/doctor-abused/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
หลังจากเพจ ANTI SOTUS ได้โพสต์เรื่องนักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตายเป็นประจำทุกปี โดยปีการศึกษานี้ก็มีปัญหาฆ่าตัวตายเกิดขึ้น และถูกสถาบันสั่งห้ามเผยแพร่ผ่านโซเซียลมีเดีย เพราะทำให้สถาบันเสื่อมเสียงชื่อเสียง นั้น

นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เลขาธิการแพทยสภา ยอมรับว่าปัญหานักศึกษาแพทย์ ฆ่าตัวตายมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความเครียดจากการเรียน และถูกกดดันจากครอบครัว ที่ต้องการให้เรียนแพทย์ทำให้ไม่มีความสุขในการเรียน ซึ่งในเบื้องต้นจะนำปัญหานี้เข้าหารือใน คณะกรรมการแพทยสภา อาจจะต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหานี้ โดยมีจิตแพทย์ร่วมเป็นคณะกรรมการวิเคราะห์สาเหตุ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ ไม่ใช่สาเหตุจูงใจการฆ่าตัวตาย และคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนได้ เพราะเป็นหลักสูตรมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ที่ปรึกษาแพทยสภา ยอมรับเช่นกันว่า ปัญหานักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นมากว่า 40 ปีแล้ว และปีการศึกษาล่าสุดก็มีเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุจากความเครียด แรงกดดัน ความคาดหวังของพ่อแม่ รวมถึงอาจารย์แพทย์ ขณะที่เด็กสมัยนี้ มีความเปราะบางด้านจิตใจมาก เมื่อถูกกดดัน และต้องแข่งขันด้านการเรียนกับเพื่อนที่เรียนเก่งมาก ทำให้ความเครียดจนนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้

สำหรับปัญหานี้ ทุกสถาบันการศึกษา ไม่ได้นิ่งนอนใจ และไม่เคยปกปิดข่าว แต่ที่ไม่ต้องการให้เผยแพร่ เพราะกลัวพฤติกรรมเลียนแบบ และได้หามาตรการดูแล สอดส่องนักศึกษาแพทย์ที่มีความเครียดสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยจะให้จิตแพทย์เข้าพูดคุยพร้อมแนะทางออกทันที หรือแนะนำให้เปลี่ยนคณะเรียนที่ตัวเองถนัด

ดังนั้นจึงขอให้นักศึกษาที่จะตัดสินใจเรียนแพทย์ ต้องเข้าใจและยอมรับการเรียนที่หนัก แรงกดดันที่สูง ที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรจะกดดันลูกในเรื่องการเรียน

ที่มา ช่อง 7

28 มีนาคม 2561
https://thai.ac/news/show/113103