ผู้เขียน หัวข้อ: "ชลน่าน" เร่งผลิตหมอเวชศาสตร์ครอบครัว เริ่มปี 67 ประจำสถานีอนามัยฯ 92 แห่ง  (อ่าน 593 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
"ชลน่าน" เร่งผลิตหมอเวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่ม และทีมนวัตกรรมสุขภาพ ดูแลคนในชุมชนทุกกลุ่มวัย เริ่มปี 67 ผลิตแพทย์อยู่ประจำสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ 92 แห่ง พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 6 หน่วยงาน ขับเคลื่อนดูแลสุขภาพ ปชช.ทุกพื้นที่

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มอบนโยบายการผลิตแพทย์ปฐมภูมิ และทีมนวัตกรรมสุขภาพ ในระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และสถานีอนามัยพระราชทานนาม (สอ.พระราชทานนาม) สู่ความเป็นเลิศ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข กับกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย



นพ.ชลน่าน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมกับส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ซึ่งโครงการฯ ที่สถาบันพระบรมราชชนกจัดขึ้นจะช่วยให้เกิดการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิแบบองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ ปัญญา และสุขภาพทางสังคม โดยมี 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการ สอน.ต้นแบบ 92 แห่งทั่วไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยในปี 2567 จะเริ่มผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อไปประจำอยู่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 92 แห่งๆ ละ 1 คน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

2.โครงการผลิตทีมนวัตกรรมสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Innovation Team)ประกอบด้วย 9 หมอ ได้แก่

1.แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
2.พยาบาล (ด้านชุมชน)
3.นักวิชาการสาธารณสุข
4.อสม.(ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยสาธารณสุข)
5.ทันตแพทย์ (ชุมชน)
6.เภสัชกร (ชุมชน)
7.ฉุกเฉินการแพทย์
8.แพทย์แผนไทย 
9.นักกายภาพบำบัด

โดยในปี 2567 สถาบันพระบรมชนกจะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด และในระยะที่ 2 (พ.ศ 2568 - 2577) แผนระยะ 10 ปี จะขยายการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมนวัตกรรมสุขภาพได้ครบ 9 คนต่อ 1 สถานีอนามัย/รพ.สต. และครอบคลุมทั้ง 9,820 แห่งทั่วประเทศต่อไป

"การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนร่วมผลักดันให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สามารถขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 6 หน่วยงานในวันนี้" นพ.ชลน่านกล่าว

13 ธ.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์