ผู้เขียน หัวข้อ: อันดับ 101 รั้งท้ายทั่วโลก!! “ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทย” ต่ำเพราะเรียนเพื่อสอบ?  (อ่าน 18 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สถิติเผย ภาษาอังกฤษคนไทย “ต่ำมาก” ลำดับที่ 101 จากทั้งหมด 113 ประเทศ เรื่องนี้อาจไม่ใช่แค่ “คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ” แต่เป็น “ระบบ” และ “ความเหลื่อมล้ำ” ด้านการศึกษาที่พูดกันมา 20 ปี แต่ไม่มีการแก้ไข!!

“ภาษาอังกฤษ” คนไทยทำไมถึง “ต่ำ”

รายงานจาก “Seasia Stats” จัดอันดับ “ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษประจำปี 2023” บอกสิ่งที่น่าตกใจว่า “ไทย” อยู่ลำดับที่ “101”

จาก 113 ประเทศ ซึ่งตามหลัง “พม่าที่อยู่อันกับที่ 90 และกัมพูชาอันดับที่ 98”

โดยมี “สิงคโปร์” ได้คะแนนสูงสุดในภูมิภาค และเป็นอันดับ 2 ของโลก อ้างอิงจากโดยสถาบันการศึกษาภาษาอังกฤษชื่อดังอย่าง “EF -Education First” ซึ่งคะแนนเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 502 คะแนน

ส่วนไทยถือว่า “ต่ำมาก” เพราะอยู่ที่ 416 คะแนน ทำให้ไทย อยู่อันดับที่ 21 จาก 23 ประเทศในเอเชีย ซึ่งจากการจัดอันดับตั้งแต่ปี 2011 คะแนนของไทยก็อยู่ประมาณนี้มาโดยตลอด

ทีมข่าวจึงชวนเจ้าของภาษาอย่าง “อาจารย์อดัม” อดัม แบรดชอว์(Adam Bradshaw) ครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดัง และ “ครูเคท” ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย ผู้อำนวยการ โรงเรียนสอนภาษาครูเคท มาช่วยวิเคราะห์ว่า ทำไม “ไทย” ถึงได้อันดับท้ายๆ ด้านภาษาอังกฤษตลอด?

เจ้าของภาษาอย่าง “อาจารย์อดัม” บอกว่า ตั้งาอยู่ไทยกว่า 18 ปี ปัญหาที่มีมาตลอด และไม่เคยเปลี่ยนคือหลักสูตรของไทยมักเน้นไปที่ “Grammar”หรือไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ไม่ได้เน้น “การฟังและพูด”และอีกเรื่องหนึ่งคือ “มุมมอง”

“อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง หลายคนที่ไม่เก่งอังกฤษ เพราะ เราไม่สนใจมันไม่เกี่ยวกับเขา เขาไม่ได้ใช้มันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว”

บางอาชีพในไทย การใช้ภาษาอังกฤษอาจจะไม่จำเป็นเท่าประเทศอื่น เช่น เกษตรกร การที่เขาพูดอังกฤษไม่ได้ ก็ไม่หมายความว่า เขาโง่ มันก็ขึ้นอยู่ กับ”สายอาชีพด้วย” แต่...

“ในคนทำธุรกิจ ถ้าเขาต้องการขยายให้ออกไปอินเตอร์ได้ เขาก็ต้องใช้ภาษา”

ด้าน “ครูเคท”คิดว่า เราไม่เก่งเพราะ เราไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจำวันนั้น “นั้นนี้เป็นความเชื่อที่โบราณ” เพราะโลกยุคทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมด แต่ที่เราไม่เก่งภาษาอาจต้องมองไปตั้งแต่ “การปูพื้นฐานตั้งแต่เด็ก”

“เท่าที่สังเกตมาโดยตลอดนะค่ะ รู้สึกว่ามันเป็นรากฐานการศึกษาตั้งแต่เล็กๆ เลยนะคะ แล้วก็ไม่ใช่แค่รากฐานของภาษาอังกฤษนะคะ พบความเชื่อมโยงระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ”

ภาษาไทย-อังกฤษ มีความคล้ายกัน คือ “การผสมเสียง” อย่าง กอ-อะ-กะ แต่มีส่วนหนึ่งที่ “ผสมเสียงไม่ได้” ทำให้เด็กใช้วิธี “จำเป็นคำ” แทน ภาษาไทยอาจจะไม่มีปัญหา

แต่มาเป็นอังกฤษ เด็กจะจำเป็นคำศัพท์ พอเจอคำแปลกๆ ที่ครูไม่เคยสอน เด็กก็จะงง และปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเราต่ำ คือ “เราเรียนเพื่อสอบ”

“ตรงนี้เป็นปัญหาหลักๆเลย และอีกปัญหาหนึ่งเลย พอทุกคนจะเรียนเพื่อสอนเนี่ย ทุกคนก็ท่องจำเพื่อสอบๆ ให้ผ่านไป”

ครูเคทอธิบายเพิ่มว่า “การเรียนเพื่อสอบ” กับ “การเรียนเอาไปใช้จริง” มันต่างกัน การจำเพื่อเอาไปสอบ เด็กจะไม่ได้ประสบการณ์ในการใช้ เพียงแต่จำไปเพื่อสอบ เสร็จแล้วก็ลืม เพราะไม่ได้ซึมซับกับภาษา

“ความเหลื่อมล้ำ” ที่ไม่เคยแก้ไข

เรื่องนี้อาจมองไปได้ลึกถึง “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา”เมื่อ อาจารย์อดัม เล่าถึงปัญหา การฟังและพูดภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนนานาชาติจะได้เปรียบเพราะเรียนกันเจ้าของภาษษตั้งแต่เด็ก

“อันนี้อาจจะเป็นประเด็นหนึ่งคือ ความเลื่อมล้ำด้วย เพราะว่าเด็กไทยที่จะได้ตรงนี้ อาจจะได้เปรียบเพราะพ่อแม่มีฐานะ สามารถส่งไปเรียนนานาชาติ หรือbilingualแต่เด็กทั่วๆ ไปอาจจะเข้าไม่ถึง เพราะเงิน”

แต่ อาจารย์อดัม ก็เข้าใจว่า มันเป็นไปไม่ได้ ที่ทุกโรงเรียนจะมีฝรั่งไปสอนภาษา แต่สมัยนี้ทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การเลือกสื่อในการสอนอย่าง เพลง หนัง ที่เป็นสื่อภาษาอังกฤษ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้เด็กไทยได้

แถมยังบอกอีกว่า เหตุผลที่คนอย่างเขามีงานทำในประเทศนี้ เป็นเพราะ “ระบบการศึกษา” ตอนนี้ส่วนใหญ่ที่มีมาเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ใช้เด็ก แต่เป็นคนวัยทำงาน ที่ละเลยเรื่องภาษษและเพิ่งมาเห็นความสำคัญในตอนโต

“ถ้าการเรียนการสอบในไทย ดีตั้งแต่แรก คนอย่าง อดัม ก็ไม่มีงาน (หัวเราะ) มันก็เลยย้อนแย้งนิดหนึ่ง”

ส่วน ครูเคท ก็มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน การที่เราเด็กไทยส่วนหนึ่ง เก่งภาษา นั้นเป็นกลุ่นน้อยมากๆ ที่มาจากโรงเรียนชั้นนำ หรือโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งเด็กเหล่านี้ “มีโอกาสมากกว่า”

ปัญหาหนึ่งคือเรือง “บุคลากร” คือ ครูในระดับอนุบาลกับประถม“ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ไม่คล่อง” และครูที่จบด้าน “เอกอังกฤษ มีไม่พอ” และมักไปสอนกันอยู่ที่ระดับ มหาวิทยาลัย ซึ่งก็เป็นปลายทางของการศึกษาแล้ว

มันเป็นอะไรที่ผิด “การปูพื้นฐาน” ตั้งแต่เด็กนั้นสำคัญ แต่พอเป็นอย่างนี้ทำให้กว่าจะ พัฒนาเด็กให้ไปถึง ระดับมหาวิทยาลัยได้ “พื้นฐานก็เละหมดแล้ว”

“ปัญหานี้ มันเป็นปัญหาโลกแตก มันปัญหาการจัดการระบบการศึกษาของไทย ไม่ใช้เด็กไทยIQไม่ดี อย่างที่บอก เราไม่สามารถเอาคนที่เก่งภาษาอังกฤษ ลงไปปูพื้นฐานให้เด็กได้ เรื่องนี้มาการพูดมา 20-30 ปีแล้ว แต่ไม่มีการแก้ไข”

ส่วนที่ 2 คือ วิธีการ ครูเคทบอกว่า หลักสูตรการเรียนของบ้านเรา “ไม่ได้แย่” แต่วีธรการสอนแบบ ท่องจำ สอนเพื่อเอาไปสอบ “มันเป็นวิธีการสอนที่ผิดปกติ”

และอีกอย่างคือ แม้จะมีการเอา ครูเจ้าของภาษามาสอน แต่ก็แค่ภาษาอังกฤษวิชาเดียว ซึ่งจริงๆ เราต้องนำเอาภาษาอังกฤษไปบูรณาการ กับหลายๆ วิชา เพื่อสร้างความเคยชินและการซึมซับภาษาอังกฤษ ให้กับเด็ก

สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
4 ธ.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์