ผู้เขียน หัวข้อ: โรงพยาบาลเอกชนดัง ปัดรับเคสฉุกเฉิน หนุ่มถูกรถชนหมดสติ  (อ่าน 130 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
หลักมนุษยธรรมหายไปไหน...ขอบคุณเจ้าหน้าที่กู้ชีพกู้ภัยและอาสาสมัครกู้ภัยทุกท่านที่ทำงานด้วยใจ..

#นี้หรอครับคำพูดของsupervisorโรงพยาบาลแห่ง1

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 01.50 น รับแจ้งจากศูนย์วิทยุพระนครให้ออกตรวจสอบเหตุ คนนอนหมดสติไม่ทราบสาเหตุ บนเกาะกลางถนนบริเวณปากซอยพัฒนาการ 50 กำลังอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญูพร้อมหน่อพยาบาลมูลนิธิร่วมกตัญญู ออกตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบผู้บาดเจ็บหมดสติชาย 1 รายนอนอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ถูกรถไม่ทราบชนิดเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี อาสาสมัคร ให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นและทำ CPR ประสานทีม กู้ชีพเข้าสนับสนุนให้การช่วยเหลือ คนไข้กลับมามีชีพจรอีกครั้ง และนำขึ้นรถพยาบาลเพื่อใส่คิ้วและ ใส่น้ำเกลือ

บนรถพยาบาลประสานโรงพยาบาลโดยรอบยังไม่มีโรงพยาบาลตอบรับ และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดก็เกิดขึ้นเนื่องจากคนไข้ หมดสติในรถพยาบาลอีกรอบเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาลเร่งทำ CPR ประสานศูนย์วิทยุศูนย์วิทยุ สั่งการให้นำเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงที่สุด ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 500 เมตร รถกู้ชีพได้เคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บหมดสติ รายนี้เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง เราถึงหน้าห้อง ER โรงพยาบาลแห่งนี้ และเวรเปลได้เดินออกมาบอกเราว่าอย่าเพิ่งเอาลงนะครับพี่เดี๋ยวพยาบาลออกมาคุยด้วย และพยาบาลคนนั้นก็ออกมาคุยกับเรา ได้ใช้ถ้อยคำที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่บ่นเราว่า ก็บอกแล้วไงว่าไม่รับจะนำมาทำไมที่นี่ ทำไมไม่ไปโรงพยาบาลอื่นโรงพยาบาลอื่นไม่มีหรือไงที่เป็นรัฐบาล ซึ่งโรงพยาบาล ที่เป็นรัฐบาลห่างจากจุดเกิดเหตุ ประมาณ 10 กิโลเมตร และได้ปิดประตูห้องerใส่พวกเรา และเราก็ยังคงทำ CPR ต่อเนื่องอยู่บนรถ

และได้มีเจ้าหน้าที่ อีกคนคือsupervisor พร้อมกับเจ้าหน้าที่ พยาบาลคนเดิมเดินออกมาว่าทีมกู้ชีพบริเวณหน้าห้อง ER ว่า ผู้บาดเจ็บเป็นชาวต่างชาติไม่มีญาติคุณนำมาส่งโรงพยาบาลเรา เราจะเบิกยังไง คุณไม่คิดบ้างหรอทำไมคุณไม่ไปโรงพยาบาลที่เป็นรัฐบาล...

เราอยากถามกลับไปกับ supervisor คนนี้จังเลยถ้าเป็นญาติคุณคุณจะพูดแบบนี้หรือเปล่า คุณจะออกมาว่าพวกเราแบบนี้หรือเปล่า คุณมีจรรยาบรรณในการช่วยเหลือคนหรือเปล่านี่คนนะครับไม่ใช่ผักไม่ใช่ปลาชีวิตคนทั้งคนคุณมองเห็นแค่ผลประโยชน์ตรงนี้หรอครับ ทำไมคุณไม่ช่วยเหลือเขาก่อน เรื่องผลประโยชน์ค่อยว่ากันทีหลัง... เราทำงาน กันอย่างเต็มที่แล้วแต่โรงพยาบาล ไม่ทำอะไรเลยกลับออกมาว่าเราอีกต่างหาก เหตุการณ์แบบนี้ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกเลยครับ แย่ที่สุดเลย..... #นี่คือชีวิตคนทั้งคน

8 ธันวาคม 2566
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=321047297400173&id=100084847147197&ref=embed_post

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สบส.จัดทีมตรวจสอบ รพ.เอกชน ย่านพัฒนาการ หลังถูกร้องเรียนปฏิเสธรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินชาวต่างชาติ บาดเจ็บทางถนนจนหมดสติ หากพบทำจริงลงดาบทันที

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่่อว่าโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในย่านพัฒนาการ ปฏิเสธที่จะให้บริการรักษาพยาบาลชาวต่างชาติ ซึ่งประสบอุบัติเหตุทางถนนจนหมดสติ โดยเมื่อกรม สบส.ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวก็มิได้นิ่งนอนใจรีบสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กองกฎหมายลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ โรงพยาบาลเอกชนที่ถูกกล่าวอ้าง ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จะมุ่งตรวจสอบในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่

1) ณ เวลาที่ผู้ป่วยถูกส่งตัวมาถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลได้มีการประเมิน และช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อเพื่อไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ได้จัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นอย่างเหมาะสมหรือไม่

2) โรงพยาบาลมีการประเมินเกณฑ์ผู้บาดเจ็บว่าเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤติ ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) หรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจสอบพบว่าทางโรงพยาบาลมิได้ดำเนินการตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด จะดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายโดยไม่มีการละเว้นแต่อย่างใด

นพ.สุระกล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ตั้งเกณฑ์ให้ผู้ป่วยที่หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ซึ่งจะต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การที่สถานพยาบาลเอกชนปฏิเสธที่จะให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ อีกทั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งกำหนดไว้ว่าหากสถานพยาบาลเอกชนแห่งใดปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สีแดง) หรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอเน้นย้ำให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งยึดประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง ห้ามนำค่าใช้จ่ายมาเป็นเงื่อนไขในการรักษา เพื่อร่วมคุ้มครองสุขภาพ ร่างกายของประชาชน สร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานพยาบาลเอกชนไทยต่อไป

10 ธ.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
โฆษก สธ. ชี้ รพ.เอกชน อ้างเตียงเต็มไม่รักษา นทท.ไต้หวัน ฟังไม่ขึ้น ชี้ห้องฉุกเฉินต้องพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ เผย "ชลน่าน" สั่ง สพฉ.สอบสวนข้อมูลตรงไปตรงมา หากปฏิเสธจริงเอาผิดตามกฎหมาย ลั่นต้องเคลียร์ข้อสงสัยให้ญาติและ ปชช.ส่วนเยียวยาจะดูแลเพื่อความเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ฝ่ายการเมือง เปิดเผยกรณีข่าวนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันประสบอุบัติเหตุรถชน ทีมกู้ชีพของศูนย์เอราวัณนำตัวส่ง รพ.เอกชนใกล้ที่เกิดเหตุ แต่ รพ.เอกชนปฏิเสธไม่รับการรักษาอ้างว่าเตียงเต็ม ให้ส่งไปรักษาที่ รพ.รัฐ ทำให้เสียชีวิตระหว่างส่งตัว ว่า เรื่องนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการ สธ. มีความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และร้อนใจเมื่อสื่อรายงานข่าวว่า เหตุผลของ รพ.ที่อ้างว่าเตียงเต็มจึงไม่รับตัวไว้รักษานั้น เป็นความจริงหรือไม่ ขณะนี้ทราบว่า เจ้าหน้าที่ทีมสอบสวนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสอบถามผู้เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งจะรอว่าสุดท้ายแล้ว ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้าพบว่า รพ.เอกชนกระทำผิดกฎหมายและผิดจริยธรรมก็ต้องรับโทษโดยไม่มีการละเว้น ส่วนจะหนักเบาอย่างไรให้ว่าไปตามข้อเท็จจริง

น.ส.ตรีชฎากล่าวว่า การเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน ซึ่งหมดสติจากการถูกรถชนและชีวิตระหว่างนำตัวส่ง รพ.รัฐเป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่า รพ.เอกชนได้ปฏิบัติการให้การรักษาในภาวะฉุกเฉินจนเต็มความสามารถก่อนการส่งตัวหรือไม่ ซึ่งมีเงื่อนไขว่า การส่งตัวผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องมีแพทย์ของ รพ.เอกชนแห่งนั้นให้การรับรอง โดยเห็นว่า จะป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น อีกประการหนึ่ง รพ.จะนำเอาเรื่องผู้ป่วยฉุกเฉินไม่มีเงินจ่ายค่ารักษามาอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ได้ เพราะผิดหลักจรรยาแพทย์ ส่วนจะอ้างว่าเตียงเต็มดังที่สื่อรายงานก็ฟังดูไม่สมเหตุสมผล เพราะห้องฉุกเฉินควรจะพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่เพื่อกู้ชีวิตผู้ป่วยซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤต มีโอกาสจะเสียชีวิตในทันทีทันใดหากปล่อยให้เวลาล่าช้าไปเพียงไม่กี่นาที

น.ส.ตรีชฎากล่าวว่า กรณีนี้มีกฎหมายสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้อง 2 ฉบับคือ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ซึ่งมุ่งคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน อีกฉบับหนึ่ง คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดมาตรการควบคุมกิจการสถานพยาบาลเพื่อคุ้มครองประชาขนผู้รับบริการสถานพยาบาล การกำหนดให้สถานพยาบาลต้องช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตราย และจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ ดังนั้น การสอบสวนข้อเท็จจริงจะขจัดข้อสงสัยต่างๆ ของครอบครัวญาติพี่น้องชาวไต้หวัน และคนไทยที่สนใจเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม การชดใช้เยียวยา หรือค่าสินไหมทดแทนเป็นเรื่องที่จะต้องดูแลเพื่อความเป็นธรรม

15 ธ.ค. 2566 ผู้จัดการออนไลน์