ผู้เขียน หัวข้อ: ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน "สงกรานต์ไทย" เป็นมรดกโลก  (อ่าน 69 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (6 ธันวาคม 2566) เวลาประมาณ 15.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา ในช่วงระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” ให้เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

กิจกรรมในช่วงประเพณีสงกรานต์ทั้งหมดถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ของมรดกทางวัฒนธรรม อาทิ บิณฑบาต สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ตลอดจนการแสดงละครพื้นบ้านและการแสดงที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานสงกรานต์ ดังนั้นสงกรานต์ในประเทศไทยจึงเป็นตัวแทนของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

“สงกรานต์ในประเทศไทย” ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” ในปี 2561, “นวดไทย” ในปี 2562 และ “โนรา” ของ ในปี 2564 โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ มีประเทศต่าง ๆ เสนอขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ ทั้งสิ้น 45 รายการ

Thainewsonline
6 ธันวาคม 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
หลังการประกาศรับรองให้ “สงกรานต์” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ที่เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา วันที่ 6 ธ.ค. 66

ในวันเดียวกันนี้ มีการรับรองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 44 รายการ แบ่งเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน และมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ดังนี้

หลังการประกาศรับรองให้ “สงกรานต์” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ที่เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา วันที่ 6 ธ.ค. 66

ในวันเดียวกันนี้ มีการรับรองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 44 รายการ แบ่งเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน และมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ดังนี้

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน
-การเป่าแก้วพื้นเมืองซีเรีย - สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
-ภูมิปัญญาพื้นเมืองด้านการเพาะปลูกต้นมะกอก - ประเทศทูร์เคีย (ตุรกี)
-ประเพณี Xeedho - ประเทศจิบูตี
-การแสดง Mek Mulung - ประเทศมาเลเซีย
-ศิลปกรรม Ingoma Ya Mapiko - ประเทศโมซัมบิก
-Poncho Para'i de 60 Listas' - เมืองพิริเบบุย ประเทศปารากวัย

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
-งานคาร์นิวาลหน้าร้อนเมืองรอตเทอร์ดาม - ประเทศเนเธอร์แลนด์
-ความรู้และเทคนิกการทำแผนที่และผ้าอาดราส - ประเทศทาจิกิสถาน
-เทศกาล Sango - ประเทศไนจีเรีย
-ระบำพื้นเมืองปาเลสไตน์ (Dabkeh) - ปาเลสไตน์
-การทอผ้าด้วยมือ (Aklan piña) - ประเทศฟิลิปปินส์
-ระบำ Polonaise - ประเทศโปแลนด์
-เทศกาลเฉลิมฉลองศาสดามุฮัมหมัด - ประเทศซูดาน
-วิถีชีวิตการเลี้ยงสัตว์บริเวณเชิงเขา - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
-ศิลปะการควบคุมและตกแต่งม้า Akhal-Teke - ประเทศเติร์กเมนิสถาน
-วิธีการทำและรับประทาน Harees (อาหารอาหรับพื้นเมือง) - ประเทศโอมาน, ซาอุดีอาระเบีย, และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
-การต้อนปศุสัตว์ด้วยวิธีดั้งเดิม (Transhumance) - ประเทศแอลแบเนีย, อันดอร์รา, ออสเตรีย, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, กรีซ, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, โรมาเนีย, และสเปน
-วิธีการตีเหล็กดั้งเดิม - ประเทศอาร์เมเนีย
-ศิลปะการวาดทราย (Sona) - ประเทศแองโกลา
-วิถีการจัดการ และเทคนิกด้านเกษตรกรรม - ประเทศออสเตรีย, เบลเยียม, เยอรมนี, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, และสวิตเซอร์แลนด์
-เทศกาล Junkanoo - ประเทศบาฮามาส
-การเล่นดนตรีจากบทกวี (Bolero) - ประเทศเม็กซิโก และคิวบา
-เทศกาล Shuwalid - ประเทศเอธิโอเปีย
-เทคนิก ทักษะ และศิลปะการสร้าง Al-Mudhif - ประเทศอิรัก
-ศิลปะการแกะสลักทอง เงิน ทองแดง - ประเทศอิรัก, แอลจีเรีย, อียิปต์, มอริเตเนีย, โมร็อคโค, ปาเลสไตน์, ซาอุดี อาระเบีย, ซูดาน, ตูนิเซีย, และเยเมน
-เทคนิกการประกอบอาหารแบบ Al-Man’ouché - ประเทศเลบานอน
-เทคนิกการสาน Sodai - ประเทศลิทัวเนีย
-ศิลปะการแสดง Hiragasy บริเวณที่สูงตอนกลางของมาดากัสการ์ - ประเทศมาดากัสการ์
-เทศกาลเฉลิมฉลองหมู่บ้าน Festa - ประเทศมอลตา
-การเรียนการสอนความรู้ภาษาถิ่น (Mahadra) - ประเทศมอริเตเนีย
-เทศกาลสงกรานต์ - ประเทศไทย
-ศิลปะการสลักลาย (Təzhib/Tazhib/Zarhalkori/Tezhip/Naqqoshlik) - ประเทศอิหร่าน, อาเซอร์ไบจาน, ทาร์จิกีสถาน, อุซเบกิสถาน, และทูร์เคีย (ตุรกี)
-เทศกาล Iftar/Eftari/Iftar/Iftor ในเดือนรอมฎอน - ประเทศอาเซอร์ไบจาน, อิหร่าน, อุซเบกิสถาน, และทูร์เคีย (ตุรกี)
-เทคนิกงานช่างและงานหัตถกรรม - ประเทศอาเซอร์ไบจาน และทูร์เคีย (ตุรกี)
-ศิลปะการแกะสลัก-ลงรักมุก - ประเทศอาเซอร์ไบจาน และทูร์เคีย (ตุรกี)
-ศิลปะการวาดรูป-ลงสี - ประเทศบังกลาเทศ
-พิธีกรรม Nguon ในชุมชนบามูน - ประเทศแคเมอรูน
-เทคนิกการทอผ้า - ประเทศโกตดิวัวร์
-เทศกาลคุชราต - ประเทศอินเดีย
-น้ำจามู - ประเทศอินโดนีเซีย
-เทศกาลเฉลิมฉลอง Sadeh/Sada - ประเทศอิหร่าน และทาร์จิกีสถาน
-พิธีกรรมและประเพณีการพันผ้าของผู้หญิง (Elechek, Kyrgyz) - ประเทศคีร์กีซสถาน
-เทคนิกและวิธีการทอผ้าไหมนากา - ประเทศลาว
-เทคนิกการสร้างเรือไม้ - ประเทศเกรนาดา

เรียบเรียงจาก UNESCO

PPTVHD36
6 ธ.ค. 66