ผู้เขียน หัวข้อ: สพฉ.แจงยุบ 1669 รวม 191 รอ ตร.คิกออฟ ยันคัดกรองไม่ช้า ต้องต่อได้ใน 2 นาที  (อ่าน 16 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เลขาฯ สพฉ. แจงควบสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ใช้เบอร์ “191” แทน ยังรอตำรวจคิกออฟ หลัง ครม.มอบอำนาจไปแลว ชี้ 1669 จะเป็น Second Call หลังตำรวจรับเรื่องคัดกรอง หากเป็นการแพทย์จะโอนสายต่อ ยัน “ต้องไม่ล่าช้า” ติดต่อใน 2 นาที

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการยุบรวมหมายเลขฉุกเฉิน 1669 ไปใช้หมายเลขฉุกเฉิน 191 ว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างรอทางตำรวจว่า จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้มีการวางระบบการทำงานไว้แล้ว งบประมาณก็มีแล้วประมาณ 7 พันล้านบาท ในส่วนของ กสทช. โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็มอบอำนาจให้ทางตำรวจไปดำเนินการแล้ว มีการจัดทำ TOR ไปแล้ว อยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ทุกอย่างถ้าเริ่มได้ก็รันไปเลย ทั้งนี้จากข้อมูลการโทรสายด่วน 1669 อยู่ที่ประมาณ 6 ล้านครั้งต่อปี ส่วน 191 อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านครั้งต่อปี หากรวมกันก็จะมีปริมาณสายที่โทรเข้ามาอยู่ที่ราวๆ 11 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งจากนี้หากเริ่มดำเนินการรวมหมายเลขฉุกเฉินแล้ว จะต้องโทรเข้า 191 เป็นอันดับแรก (First call) เพื่อคัดกรองก่อน หากเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ ก็จะส่งต่อมาที่ 1669 (Second call) ดังนั้น ทุกอย่างยังเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนให้ประชาชนมาโทรหมายเลข 191 เพียงหมายเลขเดียวเลย

เมื่อถามว่า หากรวมเป็น 191 แล้ว การพิจารณาอาการฉุกเฉินทางการแพทย์ ต้องจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ไปร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรับสายด่วนนี้หรือไม่ ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า อันดับแรกเมื่อโทรเข้า 191 เขาจะสอบถามก่อนว่า เป็นเรื่องเรื่องฉุกเฉินด้านใด หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางตำรวจก็จะส่งต่อไปที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หากไม่ใช่เรื่องตำรวจ อาจจะส่งไปที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือไปที่กระทรวง แล้วค่อยมาแยกว่า เป็นเรื่องการแพทย์หรือไม่ เพราะนี่เป็นการรวมหมายเลขฉุกเฉินหลายส่วนเข้ามา จากเดิมที่แยกกันอยู่ ต่างคนต่างทำ ตอนนี้ก็หวังว่า จะเป็นศูนย์เดียว เบอร์เดียว บูรณาการการจัดการร่วมกัน อยู่ระหว่างรอคิ๊กออฟก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของแอปพลิเคชัน “1669” ที่เอาไว้แจ้งเหตุและพิกัดนั้น ก็อาจจะต้องปรับปรุงใหม่ด้วยเช่นกัน

เมื่อถามว่า เนื่องจากอาการป่วยฉุกเฉินบางอย่างต้องการความรวดเร็วในการช่วยเหลือมาก การที่ต้องส่งต่อหมายเลขเป็นทอดๆ จะทำให้การช่วยเหลือทันเวลาหรือไม่ ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญคือ “ต้องไม่ช้า” ทั้งหมดต้องต่อให้ได้ภายใน 2 นาที ทั้งหมดต้องเชื่อมต่อกัน เราใช้ข้อมูลผ่านโปรแกรมเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อโทรเข้ามา คำถามแรกก็จะรู้ได้ว่า เป็นเรื่องสุขภาพหรือไม่ ถ้าไม่ใช่สุขภาพเลยก็ส่งต่อไปหน่วยงานอื่น ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพก็มาทางนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้มีปัญหาเรื่องความเข้าใจคำว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ที่แตกต่างกัน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า ไม่สามารถทำให้ทุกคนรู้ได้ แต่ให้ทุกคนถามได้ ถ้าไม่รู้ก็ให้ถาม

1 ต.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์