ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวออสเตรเลีย ป่วยจากสภาพอากาศสุดขั้ว เข้ารักษาตัวใน รพ. เพิ่มขึ้น  (อ่าน 18 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งออสเตรเลีย (AIHW) เปิดเผยรายงานว่า จำนวนชาวออสเตรเลียที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อันเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บที่เชื่อมโยงกับสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน ไฟป่า และพายุ เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยสภาพอากาศที่ร้อนจัดระหว่างปี 2012 ถึง 2022 ส่งผลให้ชาวออสเตรเลียต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมากกว่าสภาวะสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้เข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่มาจากสภาพอากาศสุดขั้วมากถึง 9,119 ราย และมีอัตราผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศเช่นนี้ ในช่วงระหว่างปี 2011 ถึง 2021ที่ 677 ราย
เฮเธอร์ สวอนตันส์ นักวิจัยจากสถาบันฯ ระบุว่า มีหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นว่า ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ภาวะอากาศสุดขั้วมีความถี่และรุนแรงมากขึ้น เช่น อากาศร้อนจัด ไฟป่า อากาศหนาวจัด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝน และพายุ โดยสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นผ่านการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในออสเตรเลีย

รายงานยังพบอีกว่า มีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกสามปี และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1,027 ราย ในปี 2013 ถึง 2014 เป็น 1,033 ราย ในปี 2016 ถึง 2017 และ 1,108 ราย ในปี 2019 ถึง 2020

การสัมผัสกับความร้อนจากธรรมชาติมากเกินไป เป็นสาเหตุการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดในทุกรัฐและดินแดนของออสเตรเลีย ยกเว้นแทสมาเนีย

ส่วนอากาศหนาวจัด ครองสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของการเข้ารักษาตัวจากการบาดเจ็บ ในช่วงการวิเคราะห์ระยะ 10 ปี แต่กลับครองสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 35

รายงานยังระบุด้วยว่า อาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับไฟป่า เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเชื่อมโยงกับสภาพอากาศที่ร้อน และแห้งแล้งขึ้นในออสเตรเลีย โดยเมื่อเดือนกันยายน สำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียประกาศการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018 ถึง 2019


PPTVHD36
5 พย 2566