ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ชง"ยาบ้า10 เม็ด"เท่ากับผู้เสพต้องเข้าบำบัด คาดเคาะ ธ.ค.นี้  (อ่าน 99 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
"ชลน่าน" เตรียมออกกฎกระทรวง มียาบ้าไม่เกิน 10 เม็ดถือเป็นผู้เสพ ต้องไปบำบัด ยันพิจารณา ตามมิติทางการแพทย์ เศรษฐกิจ กฎหมาย และพฤติกรรมผู้ค้า ร่วมกับ ป.ป.ส.

วันนี้ (30 ต.ค.2566)นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ปีงบประมาณ 2567 ว่า เรื่องยาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติ โดยเป็นเรื่องที่ต้องสู้ร่วมกัน เพื่อคืนลูกหลานเยาวชน และสร้างโอกาส ขับเคลื่อนมนุษย์วัยแรงงาน

ทั้งนี้ มั่นใจว่านโยบายเร่งรัดควิกวินเรื่องยาเสพติดจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ใน 100 วัน กิจกรรมที่ดำเนินการ คือ
1.มีมินิธัญญารักษ์ ครอบคลุมทุกจังหวัด เป็นสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
2.มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดทุกจังหวัด และ
3.มีกลุ่มงานด้านจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ เพื่อรองรับเป็นโครงสร้างการทำงาน โดยใช้กลไกทั้งสถานบริการเน้นหนักด้านการแพทย์ อีกส่วนคือ ชุมชนบำบัด เน้นหนักด้านพฤติกรรม ซึ่งจะต้องผสมผสานบูรณาการหลายภาคส่วน

นพ.ชลน่านกล่าวว่า นิยามตามกฎหมายผู้เสพคือผู้ป่วย คาดการณ์ว่า มีประมาณ 1.5 ล้านคน โดยผู้ใช้คือผู้เสพที่ไม่มีอาการ ใช้บางครั้งบางคราว ผู้เสพคือมีอาการต้องใช้ยามากขึ้น และผู้ติดแล้วมีอาการติดยาอย่างชัดเจน ส่วน การบำบัดรักษา แบ่งกลุ่ม ผู้ใช้จะเป็นชุมชนบำบัด ผู้เสพและผู้ติดจะเป็นหน้าที่ของมินิธัญญารักษ์และหอผู้ป่วยจิตเวช พร้อมย้ำการดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ในมุมของสาธารณสุข ไม่ได้เอา เม็ดยาเสพติด หรือ ยาบ้า มาตัดสิน

ตอนนี้ให้ทีมกฎหมายของกระทรวงฯ พิจารณาเชิงวิชาการ มิติสังคม เชิงเศรษฐกิจ และการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการครอบครองยา ต่ำกว่า 10 เม็ดถือเป็นผู้เสพ มากกว่า 10 เม็ดถือเป็นผู้ค้า ทุกอย่างดำเนินการร่วมกับ ป.ป.ส.พิจารณา เหลือขั้นตอนการออกประกาศกฎกระทรวงไม่ยุ่งยาก มั่นใจ ทำได้ภายในปลายเดือนนี้หรือเดือน ธ.ค.

30 ต.ค. 66
https://www.thaipbs.or.th/news/content/333353

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ตร.ยกเหตุผลแย้ง สธ. ชงยาบ้า 10 เม็ด เท่ากับผู้เสพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2023, 20:18:11 »
1 พ.ย.2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม กล่าวถึงกรณี กระทรวงสาธารณสุข เตรียมออกประกาศกำหนดให้ผู้ที่ถือครองยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) จำนวนต่ำกว่า 10 เม็ดนั้นให้ถือเป็นผู้เสพ ไม่ใช่ผู้ค้า โดยเป็นการอ้างอิงจากข้อมูลที่มีการระบุไว้ว่าผู้เสพยาจะใช้ยาบ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เม็ด ซึ่งเทียบเท่าเสพสารบริสุทธิ์ปริมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวันไม่มากเกินกว่านี้ว่า

ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเข้าสู่คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้ความเห็นชอบ และเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเรื่องจำนวน ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานด้านการปราบปรามยาเสพติดให้เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เรื่องการลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชนและตัดวงจรผู้ค้ารายย่อยให้หมดไป ก็เห็นควรกำหนดปริมาณยาเสพติดไว้ที่ 5 หน่วยการใช้ หรือ 5 เม็ดเท่านั้น

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ กล่าวอีกว่า การกำหนดปริมาณยาเสพติดที่ 5 หน่วยการใช้ หรือ 5 เม็ด ได้ผ่านการหารือจากหน่วยที่เกี่ยวข้องในเวทีการประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศอ.ปส.ตร.) แล้ว โดยขณะนั้นมี พล.ต.อ. ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ อดีต ผบ.ตร.เป็นประธาน ในการหารือให้เหตุผลว่าเป็นปริมาณยาเสพติดที่ผู้ค้ารายย่อยไม่คุ้มค่าความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี หากกำหนดปริมาณยาเสพติดที่ 10 หน่วยการใช้ หรือ 10 เม็ด จะเป็นปริมาณที่ผู้ค้ารายย่อยนิยมจำหน่ายในชุมชน หากถูกจับกุมก็สามารถเลี่ยงการถูกดำเนินคดี โดยสมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้ และจะทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดในชุมชน และเกิดผู้ค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอนาคตผู้ค้ากลุ่มนี้ จะพัฒนาไปเป็นผู้ค้ารายใหญ่ต่อไป
 
อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีการเพิ่มเติมเกณฑ์การกำหนดปริมาณที่ใช้ครอบครองเพื่อเสพชัดเจนแล้ว ผลดีที่จะตามมาคือจะช่วยให้การดำเนินการกับผู้ค้ารายย่อย และการคัดแยกผู้เสพเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษามีความชัดเจนขึ้น หากคัดแยกผู้ค้ารายย่อยไปสู่ระบบการดำเนินคดีได้มาก และลด ความต้องการซื้อจากผู้เสพในชุมชน จะช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องปรับแนวทางเพื่อรับเกณฑ์ใหม่อย่างไรบ้าง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ กล่าวว่า กรณีข้อหาครอบครองเพื่อเสพถือเป็นข้อหาใหม่ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้มาก่อน หากมีกฎกระทรวงประกาศใช้จริง ก็เห็นควรให้ ตร. แจ้งให้ทุกหน่วยทราบเพื่อถือปฏิบัติตาม ซึ่งที่ผ่านมาตลอด 2 ปี การที่ไม่มีกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดที่มีไว้ในครอบครองเพื่อเสพอย่างชัดเจน ถือเป็นปัญหาอุปสรรคในการจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายยาเสพติด โดยผู้ที่ถูกจับกุมจะอาศัยช่องว่างนี้แอบอ้างว่าเป็นผู้เสพ ทำให้เจ้าหน้าที่เองต้องใช้ดุลยพินิจในการแจ้งข้อหา หรือดำเนินคดี หรือต้องตรวจสอบพฤติการณ์คดีรายย่อยเพียงเพื่อทราบว่าเป็นผู้ค้าหรือผู้เสพ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ

Bangkokbiznews
1 พ.ย.2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สามารถ' ถามยาบ้า 10 เม็ดไม่ผิด จะแก้หรือส่งเสริม?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2023, 20:21:06 »
"สามารถ" ถามยาบ้า 10 เม็ดไม่ผิด จะแก้หรือส่งเสริม? ยกเคสผัวเสพยา 3 เม็ดแทงเมียตาย รัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วางนโยบายกำหนดจำนวนยาบ้าไม่เกิน 10 เม็ด ถือเป็นผู้เสพต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยเตรียมที่จะออกเป็นกฎหมายลูกว่าจะไม่ปล่อยผ่านเรื่องนี้ 

เพราะในฐานะที่เคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรียุติธรรมทำเรื่องปัญหายาเสพติดในกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ปัญหาเรื่องนี้มาตลอดยาเสพติดเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศและความมั่นคงของมนุษย์จะปล่อยให้คนไทยติดยาบ้าไม่ได้เพียงการอนุมัติให้ยาบ้าง 10 เม็ดถูกกฎหมายไม่ได้ หากจำกันได้กรรมาธิการในรัฐบาลที่แล้วได้ใช้เวลา 3 ปีเต็มศึกษา และดูงานหลายที่   และเป็นผู้ชี้แจงเสนอต่อสภา 

แต่นายแพทย์ชลน่าน คงไม่เข้าใจหรือไม่ได้อ่านรายงาน   อีกทั้งก่อนหน้านี้นพชลน่าน  ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ยังเคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ว่าเป็นรัฐบาลที่ทำให้ยาบ้าเกลื่อนเมือง   แต่วันนี้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุข  กลับทำให้ยาบ้า 10 เม็ดถูกกฎหมาย   

นายสามารถ  กล่าวต่อว่า  ก่อนหน้านี้นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่  ประธานกรรมธิการแรงงาน  ก็ออกมาต่อว่านายแพทย์ชลน่านว่าให้ยาบ้า 10 เม็ดถูกกฎหมายนั้นจะทำให้ยาบ้าระบาดหนัก  เพราะสามารถพกยาบ้า  10 เม็ดได้   ใครมียาบ้า100 เม็ด ขายเพียงวันละ 10 เม็ด  10 คน 10 รอบ ได้ 1,000 เม็ดแล้ว   

ส่วนตัวคาดการณ์ได้เลยว่าจะมีคนติดยาบ้าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนและไม่ได้หมายความด้วยว่าจะได้ผู้ป่วยเข้ามาบำบัดมากกว่าเดิม โดยใช้เกณฑ์จำนวนยาบ้ามาเป็นตัวชี้วัด เพราะบุคคลที่เสพก็ต้องเสพอยู่แล้ว

“ผมได้ขึ้นอภิปรายกับส.ส.ฟังทั้งสภา แต่วันนั้นผมไม่เห็น นายแพทย์ชลน่าน  ในห้องประชุม    ไม่ได้อ่าน หรืออย่างไรท่านถึงจะทำให้ยาบ้า 10 เม็ดไม่ผิดกฎหมาย ผมเองเห็นนายแพทย์ ชลน่าน  เคยเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ชี้หน้าด่าพล.อ ประยุทธ์  ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า  มีกฏหมาย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้มียาบ้าได้เเค่ 5 เม็ด ท่านยังด่าเลย    รัฐมนตรีสาธารณสุขในเวลานั้น  ชื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านบอกว่าให้มียาบ้าไม่เกิน 1 เม็ด ถ้าเกินก็ผิดแล้วจะไปแก้กฎกระทรวง  ผมสงสัยร่างที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีสาธารณสุขได้ทำไว้ เขาน่าจะตีแท่นเลข 1  เอาไว้ท่านอ่านผิดท่านเลยไปเติมเลข 0 หรือเปล่าครับ นายแพทย์ ชลน่าน   ที่มาเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกัน ผมเองแปลกใจมาก”   

นายสามารถ  กล่าวด้วยว่า  ปัจจุบันมีกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงปลอดภัย ที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านยาเสพติด    ซึ่งข้อมูลพบว่ามีการใช้เครื่องจักรผลิต  โดยเครื่อง 1 เครื่อง ใช้เครื่องจักรทำปั๊มยาบ้าได้ชั่วโมงละ 300,000 เม็ดหรืออาจจะมากกว่านั้น หากโรงงาน มีเครื่องจักร  10 เครื่อง จะผลิตได้ชั่วโมงละ 3,000,000 เม็ด  ถ้าทำ 10 ชั่วโมงต่อวัน มันจะได้ 30,000,000 เม็ด ต่อโรงงาน   

จึงขอฝากให้นายแพทย์ชลน่าน ว่าสิ่งที่เตรียมจะกำหนดจำนวนยาบ้านั้น  จะยิ่งเป็น การกระตุ้นยาเสพติดให้แพร่ระบาดถึงชาวบ้านมากขึ้นหรือไม่   เพราะหากอนุมัตินโยบายให้คนพกสต๊อกติดตัวได้ถึง 10 เม็ด เม็ดละ 30 บาท 10 เม็ด ก็ 300 แล้ว แต่ต้นทุนมันแค่ 50 สตางค์  ขายได้เพียงเม็ดเดียว แล้วทิ้งไป 59 เม็ด ก็ยังกำไร 

ฉะนั้นนโยบาย 10 เม็ด ถูกกฎหมายนั้นควรยกเลิก  แล้วนำร่างของนายอนุทิน  ชาญวีรกุล  สมัยเป็นรัฐมนตรีที่เขียนไว้ว่า 1 เม็ด  มาเซ็นแทน

"สามารถ" ถามยาบ้า 10 เม็ดไม่ผิด จะแก้หรือส่งเสริม? ยกเคสผัวเสพยา 3 เม็ดแทงเมียตาย รัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วางนโยบายกำหนดจำนวนยาบ้าไม่เกิน 10 เม็ด ถือเป็นผู้เสพต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยเตรียมที่จะออกเป็นกฎหมายลูกว่าจะไม่ปล่อยผ่านเรื่องนี้ 

เพราะในฐานะที่เคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรียุติธรรมทำเรื่องปัญหายาเสพติดในกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ปัญหาเรื่องนี้มาตลอดยาเสพติดเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศและความมั่นคงของมนุษย์จะปล่อยให้คนไทยติดยาบ้าไม่ได้เพียงการอนุมัติให้ยาบ้าง 10 เม็ดถูกกฎหมายไม่ได้ หากจำกันได้กรรมาธิการในรัฐบาลที่แล้วได้ใช้เวลา 3 ปีเต็มศึกษา และดูงานหลายที่   และเป็นผู้ชี้แจงเสนอต่อสภา 

แต่นายแพทย์ชลน่าน คงไม่เข้าใจหรือไม่ได้อ่านรายงาน   อีกทั้งก่อนหน้านี้นพชลน่าน  ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ยังเคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ว่าเป็นรัฐบาลที่ทำให้ยาบ้าเกลื่อนเมือง   แต่วันนี้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุข  กลับทำให้ยาบ้า 10 เม็ดถูกกฎหมาย   

นายสามารถ  กล่าวต่อว่า  ก่อนหน้านี้นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่  ประธานกรรมธิการแรงงาน  ก็ออกมาต่อว่านายแพทย์ชลน่านว่าให้ยาบ้า 10 เม็ดถูกกฎหมายนั้นจะทำให้ยาบ้าระบาดหนัก  เพราะสามารถพกยาบ้า  10 เม็ดได้   ใครมียาบ้า100 เม็ด ขายเพียงวันละ 10 เม็ด  10 คน 10 รอบ ได้ 1,000 เม็ดแล้ว   

ส่วนตัวคาดการณ์ได้เลยว่าจะมีคนติดยาบ้าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนและไม่ได้หมายความด้วยว่าจะได้ผู้ป่วยเข้ามาบำบัดมากกว่าเดิม โดยใช้เกณฑ์จำนวนยาบ้ามาเป็นตัวชี้วัด เพราะบุคคลที่เสพก็ต้องเสพอยู่แล้ว

“ผมได้ขึ้นอภิปรายกับส.ส.ฟังทั้งสภา แต่วันนั้นผมไม่เห็น นายแพทย์ชลน่าน  ในห้องประชุม    ไม่ได้อ่าน หรืออย่างไรท่านถึงจะทำให้ยาบ้า 10 เม็ดไม่ผิดกฎหมาย ผมเองเห็นนายแพทย์ ชลน่าน  เคยเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ชี้หน้าด่าพล.อ ประยุทธ์  ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า  มีกฏหมาย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้มียาบ้าได้เเค่ 5 เม็ด ท่านยังด่าเลย    รัฐมนตรีสาธารณสุขในเวลานั้น  ชื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านบอกว่าให้มียาบ้าไม่เกิน 1 เม็ด ถ้าเกินก็ผิดแล้วจะไปแก้กฎกระทรวง  ผมสงสัยร่างที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีสาธารณสุขได้ทำไว้ เขาน่าจะตีแท่นเลข 1  เอาไว้ท่านอ่านผิดท่านเลยไปเติมเลข 0 หรือเปล่าครับ นายแพทย์ ชลน่าน   ที่มาเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกัน ผมเองแปลกใจมาก”   

นายสามารถ  กล่าวด้วยว่า  ปัจจุบันมีกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงปลอดภัย ที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านยาเสพติด    ซึ่งข้อมูลพบว่ามีการใช้เครื่องจักรผลิต  โดยเครื่อง 1 เครื่อง ใช้เครื่องจักรทำปั๊มยาบ้าได้ชั่วโมงละ 300,000 เม็ดหรืออาจจะมากกว่านั้น หากโรงงาน มีเครื่องจักร  10 เครื่อง จะผลิตได้ชั่วโมงละ 3,000,000 เม็ด  ถ้าทำ 10 ชั่วโมงต่อวัน มันจะได้ 30,000,000 เม็ด ต่อโรงงาน   

จึงขอฝากให้นายแพทย์ชลน่าน ว่าสิ่งที่เตรียมจะกำหนดจำนวนยาบ้านั้น  จะยิ่งเป็น การกระตุ้นยาเสพติดให้แพร่ระบาดถึงชาวบ้านมากขึ้นหรือไม่   เพราะหากอนุมัตินโยบายให้คนพกสต๊อกติดตัวได้ถึง 10 เม็ด เม็ดละ 30 บาท 10 เม็ด ก็ 300 แล้ว แต่ต้นทุนมันแค่ 50 สตางค์  ขายได้เพียงเม็ดเดียว แล้วทิ้งไป 59 เม็ด ก็ยังกำไร 

ฉะนั้นนโยบาย 10 เม็ด ถูกกฎหมายนั้นควรยกเลิก  แล้วนำร่างของนายอนุทิน  ชาญวีรกุล  สมัยเป็นรัฐมนตรีที่เขียนไว้ว่า 1 เม็ด  มาเซ็นแทน

“อย่าไปอายครับ   ที่ท่านอนุทินทำไว้ยังไม่สำเร็จ มาสำเร็จตอนที่ท่านก็ได้ ในสมัยท่านก็ได้ ท่านสง่างามกว่าครับ ท่านนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หรือไม่ท่านก็โทรศัพท์ไปที่ ชั้น 14 ร.พ.ตำรวจ หน่อย ว่าจะปราบยาเสพติดยังไง เพราะสมัยท่านทักษิณเนี่ยเขายิงพ่อค้ายา เขาปราบจริงจัง วันนี้นายแพทย์   ผมไม่รู้ว่าท่านส่งเสริมพ่อค้ายาหรือไม่อย่างไร”

ล่าสุด นายสามารถ ยังได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คว่า ย้ำให้เห็นปัญหายาเสพติดเริ่มระบาดแล้ว 

"วันนี้เห็นข่าว ที่จังหวัดอุดรฯ  ผัวเสพยาบ้า 3 เม็ดแทงคอเมียทะลุตายคาที่ นี่แค่ 3 เม็ด นะถ้า 10 เม็ดแบบที่ หมอชลน่านให้เสพได้จะมีใครต้องตายอีกกี่คนนี่หรือนโยบายรัฐบาล?"

https://www.bangkokbiznews.com/politics/1096599
1 พ.ย. 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมประกาศกฎกระทรวงให้จัดเกณฑ์ผู้ครอบครองเมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า) 10 หน่วย หรือ 10 เม็ดให้อยู่ในสถานะผู้เสพสารเสพติดไม่ใช่ผู้ค้านั้น

ล่าสุด พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ส. บอกว่า ประเด็น ที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอเกณฑ์การครอบครองยาบ้า 10 เม็ด  ในมุมมองของผู้บังคับใช้กฎหมาย มองว่าการจัดเกณฑ์ครอบครอง 10 เม็ด ผลที่ตามมาคือจะทำให้เกิดผู้ค้ารายย่อยมากขึ้น

เพราะในการค้าแต่ละครั้งผู้ค้ารายย่อย จะไม่เกรงกลัวต่อการพกพายาบ้าเพราะสามารถพกได้ถึง 10 เม็ด ก็ไม่ถือว่าได้รับโทษ ทั้งนี้ส่วนตัวได้มีข้อเสนอว่าเกณฑ์การครอบครองควรจะอยู่ที่ 5 เม็ดซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานยึดหลักนี้มาตลอด

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวานนี้ ที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเร่งด่วน หรือ quick win ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบรามยาเสพติดเร่งดำเนินการนำผู้ใช้ยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยสำหรับการบำบัดนั้น  จากข้อมูลปัจจุบันพบว่ามีผู้ใช้ยาเสพติดทั่วประเทศประมาณ 530,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสพที่มีอาการทางจิตเวช และอาจใช้ก่อเหตุความรุนแรง 32,623 คน แบ่งเป็น กลุ่มเฝ้าระวัง สูงสุด 1963 คนกลุ่มเฝ้าระวังสูง 5,024 คนและกลุ่มเฝ้าระวังทั่วไป 25,636 คน

PPTVHD36
2พย2566