ผู้เขียน หัวข้อ: Quick Win 13 นโยบายสาธารณสุข ปี 67 รัฐบาลใหม่  (อ่าน 209 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
“หมอชลน่าน” ประกาศ Quick Win ใน 13 นโยบาย  27 จังหวัด 4 เขตสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียว 30บาทรักษาทุกโรคได้ทุกที่ เบื้องต้นครอบคลุมเฉพาะรพ.ในสังกัดสธ. ก่อน คาดเริ่มได้ภายใน 100 วัน-  50 เขต 50 รพ.ขนาด 120 เตียง ที่แรกเขตดอนเมือง ก่อสร้างใหม่รอพิจารณางบฯ
Keypoints :

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ประกาศ Quick Win ใน 13 นโยบายสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 ภายใต้รัฐบาลใหม่
เลือก 4 เขตสุขภาพ ครอบคลุม 27 จังหวัด เริ่มใช้บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่ ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค
  เสนอเพิ่มการผลิตแพทย์รองรับการปฏิบัติงานในรพ.สต. 25,000 คน ใช้งบประมาณราว 1 แสนล้านบาท ใน 12 ปี เฉลี่ยปีละ 10,000 ล้านบาท
     เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข แถลงภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุข พ.ศ. 2567 ในระยะสั้นและเร่งด่วน(Quick Win 100 วัน)ที่สามารถตอบโจทย์ประชาชนได้โดยเร็วและเห็นผล เพื่อให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเร่งรัดดำเนินการ ภายใต้ 13 นโยบายซึ่งแต่ละนโยบายมี Quick Win ประกอบด้วย
1.พัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  คือ คัดกรองมะเร็งผู้ต้องขังทุกราย ,รพ.อัจฉริยะต้นแบบในรพ.เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 10 แห่ง และรพ.เทพรัตนเวชชานุกูลฯ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ,สุขศาลาพระราชทานผ่านการรับรองคุณภาพทุกแห่ง

ตั้งรพ.เขตดอนเมือง

2.โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล ขนาด 120 เตียง  จะประกาศตั้งรพ.แรกในเขตดอนเมือง ซึ่งจะมีการก่อสร้างใหม่ ส่วนงบประมาณอยู่ระหว่างการพิจารณา

3.สุขภาพจิต/ยาเสพติด  ให้มีมินิธัญญารักษ์ดูแลบำบัดผู้ติดยาเสพติดทุกจังหวัด และงานจิตเวชทุกอำเภอ

4.มะเร็งครบวงจร ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มอายุ 11-20 ปี หรือระดับชั้น ป.5- มหาวิทยาลัยปี  2 จำนวน 1 ล้านโดส ในเดือนตุลาคมนี้ ,คัดกรองพยาธิใบไม้ตับ 1 แสนคนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

5.สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร มีการตั้งทีมแคร์ดีพลัสในสถานบริการทุกระดับ ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจระบบสุขภาพกับญาติและคนไข้ โดยเฉพาะในแผนกฉุกเฉินและส่วนงานที่มีความแออัด ,บรรจุข้าราชการพิเศษครบทุกตำแหน่ง และได้รับสิทธิเลื่อนเงินเดือนในช่วงลาศึกษาต่อ จากเดิมที่จะหยุดการขึ้นเงินเดือนไว้ 3 ปี


6.การแพทย์ปฐมภูมิ ตรวจเลือด รับยา การแพทย์ทางไกลเทเลเมดิซีน 1 จังหวัด  1 รพ. และ 1 อำเภอ 1 โรงเรียน อนามัยโรงเรียน

7.สาธารณสุขชายแดนและพื้นที่เฉพาะ  ขึ้นทะเบียนเบิกจ่ายเป็นเรียลไทม์บุคคลมีปัญหาสถานะและสิทธฺ กลุ่มเฉพาะ 5 จังหวัด

8.สถานชีวาภิบาล ตั้งจังหวัดละ 1 แห่ง  อาจจะในสถานที่ที่มีอยู่แล้วของพื้นที่ เช่น รพ.ชุมชน หรือวัด เป็นต้น ,Hospital @Home หรือโฮมหวอด และมีคลินิกผู้สูงอายุทุกรพ. 

9. พัฒนาโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย เติมเต็มศักยภาพให้ รพช.ที่จะรับการดูแลในระดับทุติยภูมิ มีการกำหนดเป้าหมาย เพิ่มศักยภาพ วินิจฉัยโรคด้วยเครื่องซีที เครื่อง MRI
Quick Win 13 นโยบายสาธารณสุข ปี 67 รัฐบาลใหม่
27จ.บัตรประชาชนใบเดียว
        10.ดิจิทัลสุขภาพ เป็นโครงการบัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกโรคได้ทุกที่  โดยจะเริ่มนำร่องระยะต้น 4 เขตสุขภาพ จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่

เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด  เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8จังหวัด สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี 
เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4จังหวัด นครราชสีมา  ชุยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
 และเขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม7 จังหวัด พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นเขตสุขภาพที่มีการเสนอความพร้อมว่าสามารถดำเนินการได้

      “ภายใต้นโยบายนี้ประชาชนในสิทธิ  30 บาทรักษาทุกโรค จะสามารถไปรับบริการในสถานพยาบาลได้ทุกที่ในทุกโรค ไม่เฉพาะรพ.ตามสิทธิเท่านั้น เบื้องต้นจะครอบคลุมเฉพาะรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขก่อน เนื่องจากรพ.ใน 4 เขตสุขภาพดังกล่าวมีการทำฐานข้อมูลผู้ป่วยในระบบดิจิทัลอยู่แล้ว เหลือเพียงการนำของแต่ละรพ.ในเขตนำข้อมูลขึ้นสู่คลาวด์ จากนั้นเมื่อผู้ป่วไปรับบริการที่รพ.สังกัดสธ.ในเขตเดียวกัน แพทย์ที่ได้รับอนุญาตก็จะสามารถดูข้อมูลคนไข้ได้ คาดว่าจะเริ่มให้บริการรูปแบบนี้ได้ภายใน 100 วัน ตั้งใจให้เป็นของขวัญปีใหม่ประชาชน ”นพ.ชลน่านกล่าว

         นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ส่วนการเชื่อมประสานรูปแบบนี้ไปยังสถานพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนั้น ในอนาคตเมื่อมีคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเลขานุการ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ดูนโยบายระบบสุขภาพของประเทศที่บูรณาการทุกหน่วยงาน ก็จะพิจารณาดำเนินการในส่วนเชื่อมต่ออื่นๆ
Quick Win 13 นโยบายสาธารณสุข ปี 67 รัฐบาลใหม่
เพิ่มกลุ่มโรคคัดกรองทารกแรกเกิด

11.ส่งเสริมการมีบุตร  ตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตร จังหวัดละ 1 แห่ง  และคัดกรองทารกแรกเกิดจากเดิม 24 กลุ่มโรค เพิ่มเป็น 40 กลุ่มโรค

12.เศรษฐกิจสุขภาพ ประกาศให้มี Wellness Community เขตสุขภาพละ 1 แห่ง  และอาจจะเพิ่มเติมเป็นรายจังหวัดที่มีความพร้อม คือ เชียงใหม่และน่าน  ,ขึ้นทะเบียน Wellness center 500 แห่ง ,ออกใบอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 100 รายการ และสร้างงานสร้างอาชีพ 500 คน เช่น นวด

13.นักท่องเที่ยวปลอดภัย  ให้มีพื้นที่ Safety เขตสุขภาพละ  1 แห่ง ,สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) จัดให้มี 1 เขต 1 Skydoctor
     
           ด้านสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้นำเสนอนโยบายเพิ่มเติมในการให้มีแพทย์ไปประจำที่รพ.สต.แต่ละแห่ง 3 คน เพื่อลดต้นทุนในการเดินทางไปเข้ารับการรักษาของประชาชน  ซึ่งจะต้องมีการผลิตแพทย์รองรับเพิ่มเติม จากที่มีรพ. 8,500  แห่ง จะต้องผลิตรองรับ 25,000 คน เฉลี่ยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาทต่อคน จะใช้งบประมาณลงทุนราว 1 แสนล้านบาท ใน 12 ปี เฉลี่ยปีละ 10,000 ล้านบาท  ซึ่งถือเป็นความจำเป็นในการกระจายรักษาพยาบาลลงไปในท้องถิ่น ซึ่งรมว.ได้รับไปหารือในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพต่อไป

21 ก.ย. 2566
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1089496

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คัด Quick Win 9 ประเด็น ที่จะดำเนินการเห็นผลเป็นรูปธรรมใน 100 วัน จากทั้งหมด 13 ประเด็น เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาเลือกเป็น Quick Win ของรัฐบาล ทั้งโครงการพระราชดำริฯ รพ.กทม. 50 เขต 50 รพ. มะเร็งครบวงจร สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร สถานชีวาภิบาล ดิจิทัลสุขภาพ เศรษฐกิจสุขภาพ ยาเสพติด และส่งเสริมการมีบุตร

วันนี้ (27 กันยายน 2566) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมประชุมรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 13 ประเด็น และพิจารณา Quick Win ที่จะดำเนินการให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมใน 100 วัน จาก 13 ประเด็น เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็น Quick Win เด่นของรัฐบาล

ซึ่งเบื้องต้นมีการนำเสนอ 7 ประเด็น ได้แก่

1) โครงการพระราชดำริฯ / เฉลิมพระเกียรติ / ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยจะมีเรือนจำต้นแบบ ราชทัณฑ์ปันสุข อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง และพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 11 แห่ง ให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ ระดับ Standard

2) โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล จะเพิ่มการจัดบริการโรงพยาบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ส่วนโรงพยาบาลในเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ระยะที่ 1 จะเปิดเป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทางก่อน

3) มะเร็งครบวงจร จะฉีดวัคซีน HPV ในหญิง 11 – 20 ปี 1 ล้านโดส เริ่มพร้อมกันทั่วประเทศปลายเดือนตุลาคมนี้

4) สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร นอกจากการบรรจุพยาบาลวิชาชีพ การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ การให้แพทย์ได้รับการยกเว้นเลื่อนเงินระหว่างลาศึกษาต่อ จะมีทีม Care D+ ที่ได้รับการเสริมทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติและบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 3 รุ่น

5) สถานชีวาภิบาล ให้การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน/ติดเตียง ผู้ป่วยระยะประคับประคอง จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขตสุขภาพละ 1 แห่ง

6) ดิจิทัลสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรับบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทุกแห่ง และมี Virtual Hospital และ

7) เศรษฐกิจสุขภาพ มี Blue Zone “น่านโมเดล” ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อน

“นอกจาก 7 ประเด็นที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเสนอมา ได้ขอให้เพิ่มเรื่อง ยาเสพติด โดยสิ่งที่จะทำให้เห็นเด่นชัด คือ 1 จังหวัด ควรมีสถานบำบัด ใช้ชื่อว่า "มินิธัญญารักษ์" ส่วนอีกเรื่อง คือ การส่งเสริมการมีบุตร โดยจะผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องทำให้เป็น Quick Win ที่ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน” นพ.ชลน่านกล่าว

27 September 2023
https://www.hfocus.org/content/2023/09/28503

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สธ.ตั้งทีม Sky Doctor ทั่วประเทศ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28 กันยายน 2023, 10:00:53 »
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่ง ตั้งทีมการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ หรือ Sky Doctor ทั่วประเทศ หวังเพิ่มความรวดเร็วการส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) ครั้งที่ 9/2566 โดยการประชุมในวันนี้มีประเด็นสำคัญคือ การมอบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดตั้งทีมการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศหรือ Sky Doctor ให้มีครบทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13  Quick Win 13 ประเด็น ให้เห็นผลใน 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ การเข้าถึงการรักษาเฉพาะทางได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลายพื้นที่ของประเทศมีปัญหาด้านการเข้าถึงตัวผู้ป่วยฉุกเฉิน เนื่องจากเส้นทางที่ห่างไกล ทุรกันดาร บนเกาะในทะเล หรือในเมืองที่การจราจรติดขัด การมีระบบ Sky Doctor ซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์นำทีมแพทย์ไปรับตัวผู้ป่วย จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้  ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ทีม Sky Doctor อยู่บ้างในพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคใต้ แต่ตนได้มอบนโยบายให้ทาง สพฉ. ไปดำเนินการพัฒนา และจัดตั้งทีมให้มีครบทั้ง 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา100 วัน เพื่อให้ทันรองรับเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง และอาจมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวยังที่ต่างๆของประเทศ หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็สามารถที่จะช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะถือเป็นของขวัญปีใหม่อย่างหนึ่งที่จะมอบให้ประชาชนคนไทย



อย่างไรก็ตาม จากสถิติการออกปฏิบัติการในช่วง พ.ศ. 2564 - 2566 มีจำนวน 401 ครั้ง ซึ่งเป็นการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉิน 398 ครั้ง และลำเลียงอวัยวะ จำนวน 3 ครั้ง มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ด้านอากาศยานที่ได้รับการอนุมัติ 9 หน่วย เป็นหน่วยที่อยู่ในเขตสุขภาพ 3 เขต คือ เขตสุขภาพที่ 1, 2 และ 11 หลังจากนี้ จะมีแผนที่จะเร่งดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตร Basic HEMS ให้กับทีมแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อให้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับเฉพาะทาง สาขาฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ ในทุกเขตสุขภาพ รวมถึงประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มทรัพยากร และซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติการการลำเลียงทางอากาศ คาดว่า จะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้

27 ก.ย. 2566
https://www.thaitv5hd.com/web/content.php?id=21536

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมคิกออฟ โครงการ Care D + เพิ่มทักษะการสื่อสารแบบใหม่ให้พยาบาลผู้ป่วยนอก เจ้าหน้าที่งานเผยแพร่และนักประชาสัมพันธ์ กว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ สร้างนักสื่อสารประสานใจ ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และ บุคลากรสาธารณสุข ลดช่องว่างการสื่อสาร

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการตรียมความพร้อมเปิดตัว ทีม Care D + ที่เป็นหนึ่งใน Quick Win ที่ต้องทำให้สำเร็จภายใน 100 วัน ว่า โครงการนี้เกิดจากความต้องการให้มีทีมประสานใจระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้ง กว่า 90% เกิดจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน การไม่สื่อสาร รวมทั้งขาดเทคนิคในการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติ ซึ่งทำให้สถานการณ์เล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่ในความเป็นจริงเพียงแค่สื่อสารไม่ตรงกันเท่านั้น           

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า Care D + ที่จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย ยกระดับ ปรับระบบบริการสาธารณสุข 30Baht + เป็นการปัดฝุ่นโครงการพยาบาลประชาสัมพันธ์ที่เคยมีตั้งแต่ปี 2534 แต่จัดรูปแบบใหม่ เนื่องจากความรู้ด้านการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป มีการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มใหม่ๆ รวมทั้งการที่ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้และสามารถ Share ข้อมูลผ่าน Social Media ได้แบบเรียลไทม์

สธ. เตรียมคิกออฟ โครงการ Care D + สร้างนักสื่อสารประสานใจ เป็นของขวัญปีใหม่

บางครั้งบริบทของการสื่อสารในขณะนั้นยังเป็นเรื่องของอารมณ์ ความคาดหวังและความรู้สึก ที่มีทั้งความกลัว ความไม่รู้ ปะปนกันอยู่ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้สื่อออกไปจึงกลายเป็นปัญหา เป็นความขัดแย้งที่ต้องมาตามแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและเสียเวลา

ทีม Care D+ คือ ทีมที่จะเข้ามาช่วยสร้างวัฒนธรรมใหม่ ใช้หลักใจเขาใจเรา ทำหน้าที่ประสานใจระหว่าง ผู้ป่วย ญาติ และ บุคลากรสาธารณสุข ให้เกิดความเข้าใจ ลดช่องว่างการสื่อสาร เพิ่มความเข้าใจเห็นอกเห็นใจ และที่มากไปกว่านั้น คือ ความใส่ใจ หรือ Care พร้อมที่จะโอบอุ้ม ดูแลกัน ส่วน D คือ ดีต่อใจ Develop พัฒนาทักษะการสื่อสาร ในธีมแบบง่ายๆ  Care for life Share for Love

นพ.ชลน่านยังกล่าวอีกว่า เริ่มต้นจะมีการจัดอบรมให้ความรู้ เทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ เป็นการ Upskill และ Re-skill นักประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 268 คน เจ้าหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทั้งในส่วนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 373 คน ก่อน

จากนั้นจะขยายผลไปยังพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะพยาบาลผู้ป่วยนอกที่มีอยู่ทั้งหมด 10,798 คน โดยจะมีทั้งการอบรมแบบ on site ในกรณีที่แต่ละเขตสุขภาพทำได้ และการอบรมโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual  online โดยวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสุขภาพ สื่อสารวิกฤต โดยตรง

ทั้งนี้ เชื่อว่า ทีม Care D+ จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่น ให้กับญาติ ผู้ป่วย เป็นอีกหนึ่งของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน

24 กันยายน 2566
https://www.posttoday.com/general-news/699904

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
“มะเร็งปากมดลูก” Quick Win 30 บาทพลัส ฉีด 11-20 ปี 1 ล้านโดส
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 28 กันยายน 2023, 10:05:37 »
โครงการ Quick Win ภายใต้นโยบาย 30 บาทพลัส เร่งฉีดวัคซีนป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก” ให้หญิง 11 – 20 ปี ทั่วประเทศ 1 ล้านโดส ภายใน 100 วัน หลังตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มปีละประมาณ 6,500 ราย โดยมะเร็ง ปากมดลูก เป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 2,000 ราย โดยมะเร็งชนิดนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papillomavirus (HPV) ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่ต้องฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

ซึ่งปัจจุบันอายุ 13 – 15 ปี ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงได้กำหนดให้การฉีดวัคซีน HPV เป็นหนึ่งในนโยบาย Quick win มะเร็งครบวงจร โดยเร่งรัดการฉีดวัคซีนสำหรับหญิงอายุ 11 – 20 ปี ซึ่งได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งกำหนดแนวทางการให้วัคซีน และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประเมินจำนวนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งมอบให้ สปสช. เร่งจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม

การฉีดจะมี 2 ส่วน คือ กลุ่มเด็ก ป.5 – ม.6 จะฉีดผ่านสถานศึกษา (School-based program) โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการฉีดเป็นกลุ่มเหมือนกับที่เคยฉีดวัคซีนโควิด ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นเด็กนอกระบบการศึกษา รวมถึงหญิงอายุ 18 – 20 ปี ที่จบชั้น ม.6 แล้ว จะได้รับการฉีดที่สถานพยาบาล

26/09/2023
https://www.topnews.co.th/news/809101

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
สธ.พบกับผู้แทน 3 ชมรมผู้บริหารทางการแพทย์ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับพื้นที่ที่มีความพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบาย โดยร่วมจัดทำแผนขับเคลื่อน 13 Quick Win สู่การปฏิบัติ เดินหน้าทั้งบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข ร่วมกับ 3 ชมรมทางการแพทย์ ได้แก่

ชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน

นพ.ชลน่านกล่าวว่า ทั้ง 3 ชมรมมาร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ตนและนายสันติเข้าได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี

สธ.อนุมัติแผน Quick Win 13 ประเด็น ให้เห็นผลใน 100 วัน

Quick Win! ขยาย “มินิธัญญารักษ์” จัดทำทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด 100 วัน

พร้อมทั้งร่วมจัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุขทั้ง 13 ประเด็น รองรับนโยบาย 30 บาทพลัส ที่กำหนด Quick Win ใน 100 วัน ลงสู่แผนการปฏิบัติและขับเคลื่อนดำเนินการซึ่งทั้ง 3 ชมรมได้แสดงความพร้อมที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหลาย Quick Win ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับทั้ง 3 ชมรมในฐานะหน่วยบริการ เช่น บริการปฐมภูมิ สุขภาพดิจิทัล หรือบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ One ID Card Smart Hospital ทั้งนี้ ได้ย้ำเป้าหมายสำคัญที่จะให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกสบาย เข้าถึงได้ง่าย เป็น One Province One Hospital หรือ 1 จังหวัด เสมือนมี 1 โรงพยาบาล ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า นี่คือโรงพยาบาลของประชาชน

สำหรับ Quick Win นำร่องบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ใน 4 เขตสุขภาพ ได้แก่

เขตสุขภาพที่ 1 เหนือตอนบน  ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน
เขตสุขภาพที่ 4 ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
เขตสุขภาพที่ 9 ภาคอีสานตอนใต้ ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
เขตสุขภาพที่ 12 ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ทั้ง 4 เขตสุขภาพได้เสนอที่จะรับดำเนินการ และส่วนกลางได้ประเมินความพร้อมทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานแล้วว่าจะสามารถเกิดผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าไว้ ส่วนเขตสุขภาพอื่นที่ต้องการดำเนินการก็จะมีการประเมินความพร้อมต่อไป เชื่อว่าภายในต้นปี 2568 จะสามารถขยายได้ครบทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศ ส่วน รพ.สต.ที่มีการถ่ายโอนไปท้องถิ่นแล้ว คาดว่าไม่น่าจะเกิดปัญหา เนื่องจากมีการเชื่อมโยงบริการระดับปฐมภูมิ นำระบบดิจิทัล เทเลเมดิซีน มาสร้างความเข้มแข็งในการให้บริการ รวมทั้งจะมีคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ขึ้นมารองรับ ทำให้แม้จะต่างสังกัดแต่ก็จะมีการบูรณาการให้การดำเนินการมีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน

นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่าชมรมต่างๆ ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีในขณะนี้ เป็นการจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือกันและมีการออกข้อระเบียบบังคับของตัวเอง แต่จะไม่มีกฎหมายมารองรับ ซึ่งการรวมตัวเป็นองค์กรของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ลักษณะนี้ จะมีความแน่นแฟ้น มั่นคง เป็นเอกภาพ ตอบสนองเชิงนโยบายและดูแลเรื่องสวัสดิภาพ สวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานได้ดี จึงมีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้เกิดกลไกทางกฎหมายรองรับ เช่น มีระเบียบหรือข้อบังคับกลางที่จะช่วยสนับสนุนให้ชมรมเหล่านี้ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงฯ เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบร่วมด้วย

22 ก.ย. 2566
https://www.pptvhd36.com/health/news/4049

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
“หมอชลน่าน” รมว.สาธารณสุข คัด 9 Quick Win เห็นผลใน 100 วัน เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาเป็น Quick Win รัฐบาล จ่อดัน “ส่งเสริมการมีบุตร” เป็นวาระแห่งชาติ

วันที่ 27 กันยายน 2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมประชุมรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 13 ประเด็น และพิจารณา Quick Win (แผนปฏิบัติงานเร่งรัด หรือ แผนงานระยะสั้น) ที่จะดำเนินการให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมใน 100 วัน เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็น Quick Win เด่นของรัฐบาล ซึ่งเบื้องต้นมีการนำเสนอ 7 ประเด็น ได้แก่

1. โครงการพระราชดำริฯ / เฉลิมพระเกียรติ / ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยจะมีเรือนจำต้นแบบ ราชทัณฑ์ปันสุข อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง และพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 11 แห่ง ให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ ระดับมาตรฐาน (Standard)

2. โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล จะเพิ่มการจัดบริการโรงพยาบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ส่วนโรงพยาบาลในเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ระยะที่ 1 จะเปิดเป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทางก่อน

3. มะเร็งครบวงจร จะฉีดวัคซีน HPV ในหญิง 11-20 ปี จำนวน 1 ล้านโดส เริ่มพร้อมกันทั่วประเทศปลายเดือนตุลาคม 2566

4. สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร นอกจากการบรรจุพยาบาลวิชาชีพ การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ การให้แพทย์ได้รับการยกเว้นเลื่อนเงินระหว่างลาศึกษาต่อ จะมีทีม Care D+ ที่ได้รับการเสริมทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3 รุ่น

5. สถานชีวาภิบาล ให้การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน/ติดเตียง ผู้ป่วยระยะประคับประคอง จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขตสุขภาพละ 1 แห่ง

6. ดิจิทัลสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรับบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทุกแห่ง และมี Virtual Hospital

7. เศรษฐกิจสุขภาพ มี Blue Zone “น่านโมเดล” ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อน

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า “นอกจาก 7 ประเด็นที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเสนอมา ได้ขอให้เพิ่ม เรื่องยาเสพติด โดยสิ่งที่จะทำให้เห็นเด่นชัด คือ 1 จังหวัด ควรมีสถานบำบัด ใช้ชื่อว่า มินิธัญญารักษ์ ส่วนอีกเรื่องคือ การส่งเสริมการมีบุตร โดยจะผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นเป็นเรื่องที่สำคัญต้องทำให้เป็น Quick Win ที่ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน”

27 ก.ย. 2566
https://www.thairath.co.th/news/politic/2728585

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุ เตรียมยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ให้เห็นผลแบบ Quick Win

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดมหกรรมการจัดการความรู้จากบทเรียนโควิด 19 และโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566 “ยกระดับสาธารณสุขไทยเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2566 ตอนหนึ่งว่า การยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ จะดำเนินการให้สอดรับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟู ซึ่งตามการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี สิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กัน คือการดูแลเรื่องภาระงานของบุคลากรให้สมดุลและขับเคลื่อนไปข้างหน้า

นอกจากนี้ ต้องก้าวข้ามการทำงานที่อยู่เฉพาะมิติการแพทย์และสาธารณสุข เพราะยังมีมิติอื่นๆ ที่ต้องทำควบคู่ด้วย โดยใช้หลักการจัดการความรู้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งทั้งหมดจะมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยให้เห็นผลเร็วที่สุดตามข้อสั่งการ Quick Win ของ รมว.สธ.

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การจัดงานประชุมวิชาการฯ เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่มีความรู้ด้านวิชาการมาถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่วนมหกรรมการจัดการความรู้จากบทเรียนโควิด 19 นั้น เป็นเพราะช่วงเวลา 3 ปีของโรคโควิด 19 ทำให้ประเทศไทยได้เรียนรู้ว่า

1.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็ง แต่ยังมีจุดที่สามารถพัฒนาได้หลายเรื่อง โดยเฉพาะระบบการจัดการสาธารณสุขในชุมชนที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเดิมอยู่ตามชายขอบ ชายแดน แต่โควิดทำให้ทราบว่า ปัญหาจริงๆ อยู่ใจกลางเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จึงต้องกลับมาทบทวนและจัดการ

2. การใช้ "เทเลเมดิซีน" ช่วยเพิ่มความครอบคลุมทั่วถึงของบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้ผล อีกทั้งคนไทยเข้าถึงสมาร์ทโฟนเกือบทุกคน จึงเป็นอีกนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ และให้ความรู้ประชาชนเพื่อรับมือภัยสุขภาพ ทั้งยามปกติและฉุกเฉิน

The Coverage • Movement • 12 กันยายน 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
18 ก.ย. 2566- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในการประชุมขับเคลื่อนการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมประชุม ที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมีดำริชัดเจนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยยึดหลัก “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” ชักชวน จูงใจให้เข้ารับการบำบัดรักษา และให้การช่วยเหลือเพื่อให้กลับเข้าสู่สังคมได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถาบันบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นสถาบันเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ 6 แห่งในภูมิภาคร่วมดูแล รวมถึงมีโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรมสุขภาพจิตเปิดวอร์ดให้การดูแลด้านจิตเวชและยาเสพติดโดยเฉพาะ

นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ได้รายงานที่ประชุมถึงระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ผู้ป่วยยาเสพติดในประเทศไทยมีประมาณ 1.9 ล้านคน มีการตั้งศูนย์คัดกรองทั่วประเทศ 9,852 แห่ง ทำหน้าที่คัดกรองและแบ่งการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง อาการรุนแรง หรือผู้ติดยาเสพติด มีประมาณ 2% หรือ 38,000 คน มีสถานพยาบาลกรมสุขภาพจิตและกรมการแพทย์ 27 แห่ง ดูแลแบบผู้ป่วยในระยะยาว 3-6 เดือน มีศักยภาพรองรับประมาณ 3,500 ราย เมื่ออาการดีขึ้นจะจัดเป็นกลุ่มสีส้ม มีสถานฟื้นฟูฯ ของกองทัพและกรมการปกครอง 61 แห่ง และได้เปิดมินิธัญญารักษ์ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้การดูแลอีก 42 แห่ง มีศักยภาพรองรับประมาณ 20,000 คน 2.ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือผู้เสพ มีประมาณ 24% หรือ 4.56 แสนคน มีโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปดูแลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในระยะสั้น 120 แห่ง และระดับปฐมภูมิคือโรงพยาบาลชุมชนดูแลเฉพาะผู้ป่วยนอก 935 แห่ง ทั้งหมดมีศักยภาพรองรับ 120,000 ราย และ 3.ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ใช้ยาเสพติด มีประมาณ 74% หรือ 1.4 ล้านคน จะบำบัดยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีประมาณ 10,000 แห่ง และเมื่อทุกกลุ่มอาการดีขึ้น จะมีศูนย์ฟื้นฟูสถานภาพทางสังคม กระทรวงมหาดไทย 3,258 แห่ง ดูแลเพื่อคืนคนดีสู่สังคม

“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส โดยมี 12 ประเด็น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องจิตเวช/ยาเสพติด มี Quick Win ในระยะ 100 วัน ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยจะจัดทำทะเบียน คัดกรอง บำบัดรักษา และฟื้นฟูกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ทั่วประเทศ เร่งรัดจัดตั้ง 4 สหายและมินิธัญญารักษ์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศแบบไร้รอยต่อ ซึ่งจะเสนอกำหนดตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษในโรงพยาบาลที่เปิดมินิธัญญารักษ์ 42 แห่ง และกำหนดกรอบอัตรากำลังนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อรองรับการดำเนินงาน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานบำบัดยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐานให้ครอบคลุมทุกตำบล/ชุมชนทั่วประเทศ ร้อยละ 50 ส่วนในระยะ 6 เดือน จะใช้เทเลเมดิซีนและปรับระบบบำบัดให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมาย พัฒนา System Manager และ Care Manager ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดูแลผู้ป่วย Long Term Care และผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว” นพ.โอภาสกล่าว .

18 กันยายน 2566
https://www.thaipost.net/news-update/450784/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) กล่าวถึงกรณีภาครัฐโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงการเดินหน้า พิจารณาปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง จากร่างกฎหมายเดิม ที่เสนอโดยพรรคภูมิใจไทยในรัฐบาลชุดที่แล้ว โดย นพ.ชลน่าน ระบุว่าจะเน้นการใช้ทางการแพทย์ และสุขภาพ โดยจะไม่ให้มีการใช้เพื่อสันทนาการ และไม่อนุญาตให้มีการปลูกบ้านละ 15 ต้น ตลอดจนการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข นำบางส่วนของกัญชากลับเข้ามาเป็นยาเสพติด ว่า ที่ผ่านมา ถ้าในฝั่งของบุคลากรทางการแพทย์และใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์นั้นไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาที่พบขณะนี้ คือพบว่า คนที่เจ็บป่วยจากการใช้กัญชาสันทนาการมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ ที่พบว่ามีการสูบกัญชามากขึ้น กว่า 10 เท่า ซึ่งจากข้อมูลการศึกษา ในกลุ่มเด็กอายุ 18-19 ปี ตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2022 มีการสูบเพิ่มขึ้น 10 เท่า หรือสูบเพิ่มขึ้น 9.7% จาก 0.9% จากสถานการณ์ดังกล่าว แน่นอนว่ากฎหมายมีการห้ามนำไปใช้ในเด็ก แต่เมื่อเราก็พบว่าเด็กไปหาซื้อกัญชาใต้ดินมาใช้ แปลว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม

รศ.พญ.รัศมน กล่าวต่อว่า ดังนั้นตนจึงเห็นด้วยให้มีการปรับปรุงกฎหมาย มาควบคุมเรื่องของการใช้กัญชา กัญชง เป็นการเฉพาะ ไม่อนุญาตให้มีการใช้สันทนาการโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน ต้องดูหลายๆ เรื่อง ดังนั้นจึงควรมีการปรับแก้หรือออกประกาศ ให้นำบางส่วนของกัญชา กลับเข้าไปอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภท 5 เหมือนเดิม เพราะปัจจุบันเข้าใจว่ามีการกำหนดให้เฉพาะ สารเมา หรือสาร THC เกิน 0.2% เท่านั้น ที่เป็นยาเสพติด ทั้งๆ ที่ต้นทางอย่างเช่น ดอกกัญชา ซึ่งมีสารเมาอยู่ในปริมาณมาก กลับไม่ถูกควบคุม ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายระดับ พ.ร.บ. ออกมา จึงควรมีประกาศควบคุมตั้งแต่ต้นทาง คือบางส่วนของกัญชาที่มีสาร THC  สูง

เมื่อถามว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศเป็นนโยบาย Quick Win ที่จะต้องเร่งดำเนินการหรือไม่ อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด กล่าวว่า ก็อยากให้มีการประกาศนโยบาย Quick Win เหมือนกัน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น จากปัญหาการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะการสูบเพื่อสันทนาการในกลุ่มเด็กๆ ดังนั้น ดีที่สุดคือการควบคุมตั้งแต่ต้น ทางที่เป็นตัวกำเนิดสาร THC ให้กลับมาเป็นยาเสพติด แต่ก็ต้องเขียนให้ชัดว่าอะไรที่ใช้ได้บ้าง เพราะถ้าจะควบคุมไปทั้งหมด ก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน...

23 กันยายน 2566
https://www.dailynews.co.th/news/2745437/