ผู้เขียน หัวข้อ: "ชลน่าน" ประกาศลุยนโยบาย "บัตรประชาชน" ใบเดียวรักษาได้ทุกที่  (อ่าน 71 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ 2 ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุมนั้น

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สาธารณสุข) ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายทางด้านสาธารณสุขโดยตอบข้อซักถามสมาชิกรัฐสภาประเด็นต่าง ๆ ในเชิงของนโยบายรัฐบาลว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงนำคำแถลงนโยบายของรัฐบาลนั้นไปแปลงเป็นนโยบายในเชิงปฏิบัติโดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะได้แถลงนโยบายกระทรวงในวันที่ 22 ก.ย.นี้

สำหรับนโยบายของรัฐบาลบางเรื่องที่ได้ประกาศเป็น Quick Win นั้นได้ดำเนินการนำร่องไปบ้างแล้วโดยดำเนินการภายใต้กรอบ 5 ด้านซึ่งประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการของประชาชน นโยบายของพรรคการเมือง เป้าหมายในอนาคตและผลลัพธ์สุขภาพ ที่ต้องสอดรับกันก่อนกำหนดออกมาเป็นนโยบายสาธาณสุขปี 2567 พร้อมยกระดับกระทรวงสาธารณสุขใหม่ จากกระทรวงที่ใช้เงินเป็นกระทรวงที่จะสร้างเม็ดเงินและหาเงินให้กับประเทศด้วยการให้บริการในเชิงสุขภาพ

พร้อมกันนี้เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าไม่เป็นเอกภาพนั้นจะเสนอให้มีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง นั่นก็คือ "คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ" ซึ่งมีนายกฯเป็นประธาน ที่แยกออกมาจาก "คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ"

นอกจากนี้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ประเทศไทยประกาศเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ เมดดิคอลฮับ ซึ่งสร้างความกังวลว่า จะทำให้ประชาชนคนไทยได้รับการบริการไม่ดีหรือเข้าไม่ถึงการให้บริการสาธารณสุขได้หรือไม่ นพ.ชลน่าน ยืนยันว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับประชาชนในการเข้าถึงการให้บริการ โดยได้นำร่องนโยบายใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ไปแล้ว จึงขอให้มั่นใจว่า แม้กระทรวงจะหารายได้เข้าประเทศก็จะไม่กระทบกับการให้บริการกับประชาชนคนไทย

สำหรับภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มากเกินไปนั้น นายแพทย์ชลน่าน กล่าวยอมรับว่า บางแห่งมีปัญหารวมถึงเรื่องการถ่ายโอนโรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ให้กับท้องถิ่นซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการให้บริการของโรงพยาบาลขนาดใหญ่นั้น ในเชิงของนโยบายเห็นพ้องกันว่า จะมีการคุยกับ กพ.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลบุคลากรของกระทรวงซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมี "คณะกรรมการบริหารงานบุคคลสาธารณสุข" หรือ กสธ.ที่ดูแลงานส่วนนี้จะเข้ามาบริหารงานเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้หรือไม่

นอกจากนี้ยืนยันว่า พร้อมเดินหน้านโยบาย 50 เขต 50 โรงพยาบาล เนื่องจากที่ผ่านมานั้นจากปัญหาโควิดที่เกิดขึ้นพบปัญหาการเสียชีวิตจำนวนมากใน กทม.เนื่องจากขาดแคลนสถานพยาบาลและไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากรในพื้นที่ อย่างไรก็ดี จะดูความจำเป็นในพื้นที่เป็นหลัก

สำหรับปัญหาเด็กแรกเกิดซึ่งทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างปัญหาประชากรของไทยบิดเบี้ยว โดยมีเด็กเกิดใหม่น้อยกว่า 50,000-60,000 คนจะผลักดันเรื่องนี้ให้เป็น "วาระแห่งชาติ" ต่อไป

Thansettakij
12 กย 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ.เผย ‘หมอชลน่าน’ ตั้งเป้า รพ.ทุกแห่งต้องเป็นของประชาชน บัตรใบเดียวรักษาทุกที่

เมื่อวันที่ 12 กันยายน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล ที่มีการแถลงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการ สธ. ประกาศยกระดับจากนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ให้เป็น 30 บาทพลัสว่า ทั้งนี้ จะต้องไม่ละเลยภาระงานของบุคลากรด้วย โดยหนึ่งในนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ สธ. คือการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้าโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง เป็นหน้าที่ของ สธ.และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ต้องบูรณาการร่วมกัน เพื่อแปลงเป็นภาคปฏิบัติให้เห็นโดยเร็ว ตามที่รัฐมนตรีว่าการ สธ.มอบหมาย

“20 ปี หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเปลี่ยนไปเยอะ จากเดิมชนบทเข้าไม่ถึงบริการ แต่วันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้วเพราะเรามีทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ จุดที่เข้าไม่ถึงบริการน้อยมาก แต่ตอนนี้ปัญหาคือ คนที่เข้าไม่ถึงบริการกลับเป็นคนในเมืองใหญ่ หรือคนที่อยู่อีกจังหวัดแล้วไปทำงานต่างจังหวัด เช่น พัทยา เชียงใหม่ โคราช (นครราชสีมา) ฯลฯ ฉะนั้น 30 บาทที่สามารถดูแลรักษาทุกที่ จะตอบโจทย์ได้ แต่ก็จะมีประเด็นข้อด้อยที่ฝ่ายปฏิบัติต้องเอาสองอย่างนี้มาทำให้เกิดความสอดคล้องกัน” นพ.โอภาสกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล จะมีขั้นตอนเป็นอย่างไร นพ.โอภาสกล่าวว่า ข้อมูลของประชาชนจะเชื่อมโยงกัน เจ็บป่วยที่ไหน ก็จะมีข้อมูลสุขภาพ แล้วนำบัตรประชาชนไปแสดงตัว รักษาได้ทุกที่ทั่วไทย แต่จะมี 2 เรื่องตามมา คือ 1.ระบบจัดการ และ 2.ระบบจ่ายเงิน ที่เป็นหัวใจสำคัญ จึงต้องให้ สปสช.และหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หารือร่วมกัน เพราะถ้าพูดถึงการบริการทางการแพทย์ สธ.จะครอบคลุมร้อยละ 70 ที่เหลือยังมี โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม และมีโรงพยาบาลเอกชนอยู่

“รัฐมนตรีว่าการ สธ. นพ.ชลน่าน ให้นโยบายว่า ต่อไปโรงพยาบาลทุกแห่งของประเทศ ต้องเป็นโรงพยาบาลของประชาชน ซึ่งหมายรวมถึงโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน เป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่เราต้องดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องการจ่ายเงินมีการพูดคุยกับเลขาธิการ สปสช.แล้ว เหลือแต่ลงรายละเอียดต่อไป” นพ.โอภาสกล่าว

เมื่อถามต่อไปว่า นโยบายยกระดับ 30 บาท จะเป็นการเพิ่มภาระงานของบุคลากรหรือไม่ ปลัด สธ.กล่าวว่า บางอย่างอาจเพิ่ม บางอย่างอาจลด เช่น ลดการบันทึกข้อมูลในกระดาษมาเป็นดิจิทัล แต่อาจเพิ่มงานหัตถการจำเป็น เช่น การดูแลรักษาระดับสูง การฟอกไต เป็นต้น แต่ก็จะมีเรื่องค่าตอบแทนให้สอดคล้องกัน

มติชน
12กย2566