ผู้เขียน หัวข้อ: ACT:คำมั่น 'เศรษฐา ทวีสิน' หยุดการวิ่งเต้น-โยกย้าย การโกงเอาตำแหน่ง  (อ่าน 75 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
“...การซื้อขายตำแหน่งการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมต้องหมดไป ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง มีความโปร่งใส เป็นธรรมเพิ่มขึ้น สร้างความยอมรับนับถือจากทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน...”


หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2566  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เผยแพร่แถลงการณ์เรื่อง หยุดการวิ่งเต้น-โยกย้าย การโกงเอาตำแหน่ง โดยเรียกร้องให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้โปรดแสดงบทบาทอย่างจริงจังทันทีตามที่ได้กล่าวเป็นคำมั่นกับสาธารณชนไว้ ในงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 6 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

**************

แถลงการณ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

เรื่อง หยุดการวิ่งเต้น-โยกย้าย การโกงเอาตำแหน่ง

จากเหตุการณ์นายตำรวจถูกยิงเสียชีวิตและบาดเจ็บในบ้านของผู้มีอิทธิพลที่จังหวัดนครปฐม โดยปรากฏในเวลาต่อมาว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าหาผู้มีอิทธิพลเพื่อผลประโยชน์และโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ การแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย ส่วย และธุรกิจสีเทา ที่ล้วนเป็นพฤติกรรมคอร์รัปชันซ้ำซากในสังคมไทย

คดีนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของระบบราชการที่ล้มเหลวเต็มไปด้วยการทุจริตคดโกง อันสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการที่ขาดธรรมาภิบาล ไม่รู้จักผิดชอบชั่ว ปล่อยให้ข้าราชการที่ไม่ดีไร้เกียรติก้มหัวเข้าหายอมเป็นเครื่องมือให้กับผู้มีอิทธิพล ในขณะที่ข้าราชการน้ำดีมักจะถูกกลั่นแกล้งกดหัวจนถึงขั้นเอาชีวิต ดั่งที่เพิ่งปรากฏเป็นข่าวที่สะเทือนขวัญของคนไทยในขณะนี้

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เห็นว่า เพื่อปกป้องและคืนความเป็นธรรมให้ข้าราชการน้ำดีไม่โกงกินได้มีที่ยืน และเติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ จำต้องกำจัดอภิสิทธิ์ชนและเครือข่ายอุปถัมภ์ของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล และนายทุนสีเทา โดยเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรีที่กล่าวในงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 6 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาว่า

“การซื้อขายตำแหน่งการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมต้องหมดไป ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง มีความโปร่งใส เป็นธรรมเพิ่มขึ้น สร้างความยอมรับนับถือจากทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน”

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดแสดงบทบาทอย่างจริงจังทันทีตามที่ได้กล่าวเป็นคำมั่นกับสาธารณชนไว้ เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการผู้มุ่งมั่นรับใช้แผ่นดินตลอดจนสังคมไทยที่เอือมระอา ต่อระบบราชการที่เต็มไปด้วยการโกงกิน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ พร้อมจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้การวิ่งเต้นซื้อตำแหน่งหมดไปจากระบบราชการไทยในช่วงการทำงานของรัฐบาลชุดนี้

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

11 กันยายน 2566


https://www.isranews.org/article/isranews-article/121807-inves09999.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
'เศรษฐา ทวีสิน' เผยรัฐบาลชุดนี้ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง ความโปร่งใส-เป็นธรรมเพิ่มมากขึ้น ด้าน ACT  เสนอข้อเรียกร้อง 5 ประการถึงรัฐบาลใหม่ กำหนดปราบคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ-องค์กรอิสระทำงานอย่างเป็นกลางไม่ถูกครอบงำ-เร่งออกกฎหมายต้านทุจริตที่ค้างคา-ทุกหน่วยงานเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบที่สามารถเขื่อมโยงกับ ACT Ai-แก้ระเบียบราชการที่ไม่เปิดเผยข้อมูลการทุจริต

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2566 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 2566 WHAT THE FACT? ค้นหาความจริง-ใจในการต่อต้านคอร์รัปชัน ภายในงานมีเวทีนำเสนอข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลใหม่และปาฐกถาพิเศษจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปราบปรามการทุจริตและเพื่อความโปร่งใสของรัฐบาลเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญอย่างยิ่งของรัฐบาล เป็นนโยบายที่หน่วยงานรัฐต่อปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อยกเว้น ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) เป็นอันดับที่ 101 ของโลก ในด้านของดัชนีการรับรู้การทุจริต เป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย และ เวียดนาม ซึ่งประเทศไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับ 3 ประเทศข้างต้นทั้งในด้านการรับรู้การทุจริตและด้านอื่น ๆ

การคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายกับภาครัฐ นักลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อกำจัดการทุจริตทางรัฐบาลของประชาชนชุดนี้ มีนโยบายในการใช้หลักนิติธรรม และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อให้ตรวจสอบกระบวนการทำงานของภาครัฐได้ เป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งจะช่วยประชาชนได้ทั้งในด้านการตรวจสอบความโปร่งใสและการให้บริการของภาครัฐที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ออกกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ของประชาชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นช่วยกำหนดทิศทางอนาคตของตนและประเทศ มีแผนปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เปลี่ยนรัฐอุปสรรคเป็นรัฐสนับสนุน ป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับสินบนจากประชาชน

“นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย การลงโทษเฉียบขาดและครอบคลุม เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อแสดงความโปร่งใสและให้ประชาชนตรวจสอบได้ การมีกฎหมายเข้มแข็งและการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้จะส่งเสริมความแข็งแกร่งในสังคมและกำจัดคอร์รัปชันให้หมดจากประเทศไทย” นายเศรษฐา กล่าว

นายเศรษฐา กล่าวต่อว่า นอกจากหลักนิติธรรมแล้วจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจสอบ เช่น นโยบายระบบจ่ายเงินภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด เปิดให้ขอใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้โปร่งใส ให้ตรวจสอบข้อมูลได้ เปลี่ยนประเทศให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น การซื้อขายตำแหน่งต้องหมดไป การโยกย้ายไม่เป็นธรรม ต้องให้เกียรติกับข้าราชการทุกตำแหน่ง เป็นภารกิจที่จะทำในรัฐบาลนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าข้าราชการได้รับความเป็นธรรม ได้รับการสนับสนุนเมื่อมีผลงานที่ดี เรื่องเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ต่อไป

“ผมเชื่อมั่นภายใต้รัฐบาลนี้ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง ความโปร่งใสและเป็นธรรมจะเพิ่มมากขึ้น และตามมาด้วยความน่าเชื่อถือ การยอมรับจากประชาชนและนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบที่ดีต่อเศราฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนทุกคน” นายเศรษฐา กล่าว

@ ข้อเสนอจาก ACT ถึงรัฐบาลใหม่

นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากตัวชี้วัด หรือการสำรวจต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ และสากล คงไม่สามารถบอกได้ว่า สถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยนั้น มันดีขึ้นจนเป็นที่จับต้องได้ แต่ยังคงน่ากังวลอยู่ สิ่งที่จะนำเสนอต่อ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย คือการที่เสนอให้ภาครัฐมีความจริงจัง มีนโยบายที่ชัดเจน มีมาตรการ กระบวนการที่บริหารจัดการ การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ร่วมกับภาคประชาชน โดยให้มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมกัน

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า การทุจริตคอร์รัปชัน นับเป็นวิกฤตขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน สร้างความเสียหายทางด้านสังคม เศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่องยาวนาน

"ดังนั้น ต้องยกระดับในการแก้ไขปัญหาทุจริต คำนิยามของ คอร์รัปชัน ในสากล ไม่ได้หมายความเรื่องของการให้สินบน รับสินบน การปฏิบัตินำผลประโยชน์เข้าสู่ตัวเองเท่านั้น มันครอบคลุมถึงการเอื้อประโยชน์ ให้กับเครือข่ายพวกพ้อง การสมรู้ การละเลย การไม่เอาโทษ-ไม่ดำเนินการ การใช้อิทธิพลเพื่อการรีดไถ การแต่งตั้งโยกย้าย การใช้ระบบอุปถัมภ์ การเอื้อประโยชน์การนโยบาย เพื่อให้การประโยชน์กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเบียดเบียนจากประชาชน" นายวิเชียร ระบุ

นายวิเชียร กล่าวว่า ถึงแม้ว่า จะยังไม่สามารถจับต้องผลสำเร็จของการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่ 12 ปีที่ผ่านมา เห็นโอกาส และมีความหวัง และทีสำคัญคือการตื่นตัวของภาคประชาชน องค์กรต่าง ๆ ในการร่วมกันเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับ และมีส่วนร่วมที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ สิ่งเหล่านี้เป็นพลังที่สำคัญที่จะต้องขับเคลื่อนกันต่อไป

นายวิเชียร กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลสัมฤทธิ์จากการที่มีกลไกของการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครภาคประชาชนในการเข้าไปร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ใน ’โครงการข้อตกลงคุณธรรม’ มีอาสาสมัครกว่า 200 กว่าคนเข้าไปมีส่วนร่วมตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีกระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างที่รองรับกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้มีการประหยัดงบประมาณไปกว่า แสนล้านบาท และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาให้มีความเข้มแข็งขึ้นไป อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จะเป็นการติดอาวุธให้กับประชาชนในการที่จะเป็นผู้ร่วมกันเฝ้าระวัง ช่วยกันตรวจสอบ-แจ้งเหตุ ในการป้องกันทุจริต นั้นคือ ACT Ai Demonstration

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า วันนี้เป็นโอกาสสำคัญที่มีนายกฯ ท่านใหม่ องค์ประกอบสำคัญที่ยังไม่เคยได้มาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐ ของผู้นำในการมุ่งมั่น มีนโยบายชัดเจน มีแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาทุจริต

นายวิเชียร กล่าวทิ้งท้ายว่า ร้องขอให้ทุกคน เราต้องมีความมุ่งมั่น มีความหวัง ความเชื่อ ว่าเราจะเอาชนะปัญหาทุจริตได้ เราจะไม่ทิ้งภาระให้ลูกหลานเราต่อไป

สำหรับ ข้อเรียกร้องที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันถึงรัฐบาลใหม่ มีดังนี้

1. กำหนดให้การปราบปรามคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนทุกภาคส่วน โดยมีนายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธาน พร้อมมี War Room เพื่อการทำงานอย่างทันเหตุการณ์

2. สนับสนุนให้ ป.ป.ช. สตง. และ ป.ป.ท. ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง มีอิสระ ไม่อยู่ในการครอบงำ มีศักดิ์ศรีของการปฎิบัติหน้าที่

3. เร่งรัดการออกกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ค้างคาอยู่ เช่น กฎหมายข้อมูลในการครอบครองของรัฐ กฎหมายปกป้องผู้เปิดโปงคอร์รัปชัน หรือกฎหมายป้องกันการการเกิดประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น

4. ทุกหน่วยงานพร้อมเปิดเผยข้อมูลนับจาก TOR ไปจนถึงสัญญาต่าง ๆ ในรูปแบบที่สามารถเขื่อมโยงกับ ACT Ai ตามมาตรฐานสากลได้อย่างโปร่งใสและถูกต้อง

5. แก้ไขกฎระเบียบราชการต่าง ๆ  ที่ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลปัญหาคอร์รัปชัน และเมื่อพบกรณีทุจริตคอร์รัปชัน ให้ติดตามแก้ไขลงโทษในทันที อย่าประวิงเวลาจนประชาชนลืม

6 กันยายน 2566
https://www.isranews.org/article/isranews-news/121681-isranewss-106.html