ผู้เขียน หัวข้อ: อคติไหม-รับไหวหรือเปล่า? เมื่อ “โรคจิต-อารมณ์ผิดปกติ” รับราชการได้!!  (อ่าน 75 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
ถอด “โรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ” ออกจากข้อห้ามรับราชการ!! คนสงสัย แล้วจะทำงานได้หรือ? และนี่คือคำตอบเจาะลึกจากจิตแพทย์โดยตรง

ไม่ห้ามรับราชการแล้ว “ผู้ป่วยโรคจิต”


กลายเป็นประเด็น เมื่อล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติ ให้ยกเลิก “โรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ” ออกจากร่างกฎ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ที่กำหนดโรคเป็นต้องห้ามในการรับราชการ

โดยบอกว่า การกำหนคโรคลักษณะนี้เอาว่าเป็น โรคต้องห้ามในการรับราชการ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า คนที่ป่วยโรคเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการทำงานและอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน

และการปรับครั้งนี้เพื่อให้ การเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า การนำ “โรคจิต(Psychosis)”หรือ”โรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorders)” ออกจากร่าง กำหนดการเข้ารับราชการ จะไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือ?

ต่อมา 21 ก.ค. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า แม้การนำ โรคเหล่านี้ออกไป แต่การคัดเลือกก็ยังมี การมีคัดกรองและพิจารณาสำหรับคนที่มีการอาการรุนแรงอยู่

“การจะสามารถสอบผ่านนั้นค่อนข้างยากอยู่แล้ว หากผู้สมัครสอบมีข้อบ่งชี้ว่าเจ็บป่วยรุนแรง เช่น หูแว่ว แพทย์จะต้องระบุไว้ในข้อมูลการตรวจร่างกาย หรือใบรับรองแพทย์ ซึ่งคณะกรรมการที่สัมภาษณ์นำไปพิจารณาได้”

ชวนคุยกับ พ.ต.ต.หญิง พญ.ดลนภา รัตนากรแพทย์เฉพาะทางทางด้านจิตเวชFounder “SynZ ”คลินิกสุขภาพใจออนไลน์ ว่ามุมมองอย่างไรกับเรื่องนี้ พญ.บอกว่า โรคจิต “เป็นคำค่อนข้างกว้าง”

“ที่จริงนะคะ อาการทางจิตเวช ความผิดปกติหลักๆแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทางด้านอารมณ์, ด้านวิตกกังวล แล้วก็กลุ่มทางด้านอาการทางจิต”

คำว่า โรคจิต(Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorders)ความหมายนั้นกว้างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยก็เช่น อารณ์ซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว(ไบโพลาร์) แต่กลุ่มที่มีอาการ “โรคจิต” ก็ยังสามารถทำงานได้ขึ้นกับระดับอาการและประเภทของโรค

“เราต้องดูตามประเภทของโรค ถ้าอาการรุนแรง เขาก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้ แต่ถ้าอาการน้อยๆ ปานกลาง หรืออยู่ระหว่างรักษา หายเขาก็สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ ต้องไปดูตัวโรคที่เป็นกับเลเวลนะค่ะ ว่าความรุนแรงเป็นระดับไหน”

จิตแพทย์หญิงมองว่า การรับคนที่ป่วยกลุ่มนี้ เข้ามาทำงานในองค์กร ต้องมองหน่วยงานนั้นๆ รับกับอาการป่วยของคนเหล่านี้ได้ระดับไหน และก็ขึ้นอยู่กับ บทบาทและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ

“เขาจะรับตรงนี้ได้มากแค่ไหน และก็มีความสำคัญหรือบทบาทยังไง อย่างเช่น องค์กรบางองค์กร ที่รับ นิติกร ก็ควรจะมีปัญหาเรื่อง ไซโคพาธ(ภาวะผิดปกติทางจิตใจ)น้อยหน่อย ระดับอ่อนๆ ได้หรือเปล่า เขารับตรงไหนเลเวลไหนได้”

อย่าอคติ “ปัญหาจิตเวช” เรื่องธรรมดา

หลายคนมองว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ส่วนหนึ่งเกิดจากข้าราชการ หรือผู้ที่สามารถครอบครองอาวุธได้ถ้าหากตัดเกณฑ์นี้ออกจะเกิดปัญญาภายหลังหรือไม่ “พญ.อัมพร”อธิบดีกรมสุขภาพจิต ตอบกับสื่อว่า

“ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เวลาใดก็ได้ ดังนั้นการสรุปเป็นครั้งๆ แล้วไปเหมารวม ก็อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ไม่ว่าคนมีเครื่องแบบ คนมีหรือไม่มีอาวุธ ถ้าเราไปเผชิญกับสิ่งที่รุมเร้าก็จะเกิดปัญหาได้“

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังอธิบายกับสื่อต่อว่า ทางที่ดีทุกองค์กรควร ดูแลและสนับสนุนให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่ แลพย้ำว่า “ผู้ป่วยจิตเวชรักษาได้”

ซึ่งก็สอดคล้องกับความเห็นของ พญ.ดลนภา ที่มองว่า คนป่วยจิตเวช สามารถรักษาให้หายขาด และกลับมาทำงาน หรือใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ “เราเรียกสิ่งนั้นว่า การฟื้นฟู”

“ที่เขามีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต พอเวลาที่เขาได้รับการดูแล ได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วเนี่ย เราจะต้องกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ มันก็จะต้องมีวิธีการ ในเรื่องของ การฟื้นฟู”

การฟื้นฟู จะมีการใช้กิจกรรมบำบัด หรือการเสริมสร้างสุขภาพจิตต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราทำกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้วเช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ ขึ้นอยู่กับหมอหรือนักจิตวิทยาว่า จะใช่แบบไหนและเหมาะกับใคร

แต่เมื่อพูดถึงคำว่า “โรคจิต”มักทำให้หลายคนรู้สึกไม่ดี มันกลายเป็นอคติหรือภาพจำแง่ลบในบ้านเราหรือเปล่า พญ.ดลนภา อธิบายว่า

X
“คือที่จริงถ้าเป็นเมื่องไทย มันก็คงเป็น ภาพจำเก่าๆ ของเรานี้แหละ เราพูดถึงด้านจิตเวช แล้วก็นึกถึง ศรีธัญญา สมเด็จเจ้าพระยา นึกถึงอะไรที่มันเป็นแบบ หนักๆแย่ๆ อะไรแบบนี้”

แต่ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อกหัก หย่าร้าง แต่งงาน ย้ายงาน เข้ากับที่ทำงานไม่ได้ เข้ากับเพื่อนในโรงเรียนไม่ได้ ทั้งหมดเป็นเรื่องสุขภาพจิต ทำให้ประเทศที่เจริญแล้วเขาใช้บริการด้านสุขภาพจิตกันเป็นเรื่องปกติ

“แต่ในบ้านเราอาจจำภาพเดิมๆ ที่ว่า จะต้องเป็นอาการที่หนักแล้วเท่านั้น ถึงจะต้องไปรับการรักษาหรือปรึกษา”

ณ ทุกวันนี้คุณหมอบอกว่า เรามีการตรวจสุขภาพประจำปี กลับไม่ค่อยมีการตรวจสุขภาพจิตประจำปี แม้หลายองค์กรเริ่มเห็นความสำคัญ แต่ส่วนใหญ่เป็น รัฐวิสาหกิจกับเอกชน

การถอด “โรคจิต”ออกจากการโรคต้องห้ามในการรับราชการ หลายคนในโลกออนไลน์วิจารณ์ว่า “ทำไมไม่รับคนดีๆ เข้าไปทำงาน” หมอแสดงความคิดเห็นที่น่าสนในประเด็นนี้ว่า

“เราแน่ใจได้อย่างไร คำว่าคุณโอเค คุณดีมันแปลว่าปกติ ถ้าคุณไม่เคยตรวจมาก่อน”

หลายคนที่มีการตรวจสุขภาพจิต คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตอ่อนๆ มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีปัญหา คือรู้สึกได้เบาๆ แต่ไม่รู้ว่ามันเป็นอาการที่ต้องได้รับการแก้ไข้และปรึกษา

“ตอนนี้ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เริ่ม เปิดกว้างมากขึ้น เพราะสมัยนี้ทุกคนเริ่มมองเห็นเป็นเรื่องปกติ และก็ปัญหาในเรื่องของสภาวะจิตเนี่ย ตอนนี้เป็นเรื่องปกติ แล้วใครที่รู้สึกตัวได้เร็ว แล้วรีบเข้ามารักษาเขาก็ยิ่งโอเคเร็ว”

สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
14 ส.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (18ก.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน

ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับเดิม โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออก ส่วนโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่ (1)โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2)โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3)โรคพิษสุราเรื้อรัง (4)โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ พร้อมกำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

18 ก.ค. 2566  ผู้จัดการออนไลน์