ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.ยกเลิก โรคจิต-อารมณ์ผิดปกติ ไม่เป็นโรคต้องห้ามเข้ารับราชการ  (อ่าน 105 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (18 กรกฎาคม 2566) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ฉบับเดิม โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ

สำหรับเหตุผลของการปรับปรุงกฎ ก.พ. ฉบับเดิม นั้นที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ

โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน

ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... โบดบใหม่ โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ ออกไปจากกฎ ก.พ.เดิม

ส่วนโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่

-โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
-โรคติดยาเสพติดให้โทษ
-โรคพิษสุราเรื้อรัง
-โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

พร้อมกันนี้ยังกำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

โดย ร่างกฎ ก.พ. ฉบับใหม่ จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

Thansettakij
18 กรกฎาคม 2566

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.ค. อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ ว่า โดยหลักการปฏิบัติยังคงคล้ายเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงมาก โดยทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เคยเสนอเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งสร้างความฮือฮามาก เป็นการพิจารณานำถ้อยคำว่า “การกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่” ออก หากมองในทางปฏิบัติ ถ้าเป็นการสอบเข้าระบบราชการ แล้วผู้สมัครสอบมีความเจ็บป่วยด้วยโรครุนแรง หรือเรื้อรั้ง การจะสามารถสอบผ่านนั้นค่อนข้างยากอยู่แล้ว หรือหากเป็นกระบวนการสอบสัมภาษณ์ที่ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบ ซึ่งหากผู้สมัครสอบมีข้อบ่งชี้ว่าเจ็บป่วยรุนแรง เช่น หูแว่ว แพทย์จะต้องระบุไว้ในข้อมูลการตรวจร่างกาย หรือใบรับรองแพทย์ ซึ่งคณะกรรมการที่สัมภาษณ์นำไปพิจารณาได้

เมื่อถามถึงหลายคนมองว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ส่วนหนึ่งเกิดจากข้าราชการ เช่น ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่สามารถครอบครองอาวุธได้ ถ้าหากตัดเกณฑ์นี้ออกจะเกิดปัญญาภายหลังหรือไม่ พญ.อัมพร กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เวลาใดก็ได้ ดังนั้น การสรุปเป็นครั้งๆ แล้วไปเหมารวม ก็อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้

“ไม่ว่าคนมีเครื่องแบบ คนมีหรือไม่มีอาวุธ ถ้าเราไปเผชิญกับสิ่งที่รุมเร้าก็จะเกิดปัญหาได้ ซึ่งทางที่ดีคือทุกองค์กร ควรดูแลและสนับสนุนให้บุคลากรมีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อไหร่ที่พบผู้มีความเสี่ยง ก็จะต้องมีการช่วยเหลือแก้ไข ซึ่งเราย้ำเสมอว่าผู้ป่วยจิตเวชรักษาได้

ถามย้ำว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากภาวะทางสุขภาพจิต อาจเกิดขึ้นภายหลังที่เข้ามาทำงานแล้วหรือไม่ พญ.อัมพร กล่าวว่า ใช่ แต่สิ่งที่น่าเสียดายไม่ว่าจะเกิดก่อนหรือเกิดหลังคือ คนรอบข้างปล่อยให้เขาเดินหน้าเข้าสู่ความเสี่ยงเรื่อยๆ ดังนั้นความใส่ใจและการช่วยเหลือดูแลกันเป็นยาวิเศษของงานสุขภาพจิต และเป็นตัวป้องกันความรุนแรงได้ในทุกมิติ

เมื่อถามว่าทุกหน่วยงานควรจะมีการดูแลสุขภาพจิตของคนในองค์กรอย่างไร พญ.อัมพร กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตพยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ เช่นการหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อดูว่าพอจะสามารถออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกาตรงไหนบ้างเพื่อมาดูแลเรื่องนี้ได้ หรือการนำบัญญัติสถานประกอบการ ที่จริงๆ มีการระบุว่าสถานประกอบการต้องดูแลสุขภาพจิตของคนทำงาน แต่อาจจะไม่ได้เป็นข้อกำหนดที่เป็นการกำหนดโทษ เป็นเพียงคำแนะนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้น เราอาจต้องนำเรื่องนี้มาทำให้เกิดรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันกระทรวงแรงงานก็ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้แล้ว จึงมีสถานประกอบการต้นแบบอยู่หลายแห่ง ขณะเดียวกันก็จะต้องหารือร่วมกับสำนักงานประกันสังคม กองทุนสำหรับดูแลผู้ประกันตนให้เข้ามาช่วยเรื่องนี้ด้วย

21 กรกฎาคม 2566
มติชน