ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เดินหน้าแก้ปัญหาภาระหนี้เสีย "บุคลากรสาธารณสุข" เล็งสถาบันการเงินลดดอกเบี้ย  (อ่าน 86 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปลัดสธ.ให้นโยบายช่วยภาระหนี้เสียบุคลากรสาธารณสุข เร่งหารือสถาบันทางการเงินลดดอกเบี้ย เล็งใช้ตัวอย่างกระทรวงศึกษาฯ และตำรวจ ส่วนเรื่องค่าเสี่ยงภัยอยู่ที่สำนักงบฯ ไม่ต้องกังวลได้แน่  เหมือนกับบรรจุขรก.โควิดยังอยู่ขั้นตอน ก.พ. 

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  แถลงภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า การประชุมวันนี้เป็นการติดตามงานเชิงนโยบายหลายๆเรื่อง ยกตัวอย่าง การดูแลบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเรื่องการจัดสรรตำแหน่งว่าง ซึ่งมีการติดตามพบว่า เปอร์เซ็นต์ตำแหน่งว่างลดลงจากเดิม 7-8% ลดเหลือ 5% จึงได้มีการเร่งรัดตรงจุดนั้น สำหรับเรื่องการดูแลขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ เราพบว่าบุคลากรของเราจะมีเรื่องภาระหนี้สินจำนวนหนึ่ง  แม้ไม่มากนัก แต่จำเป็นต้องดูแล จึงมอบให้นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดูแลเรื่องนี้ โดยประสานกับหน่วยงาน สถาบันการเงินต่างๆ ในการดูแลเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องการจัดสรรตำแหน่งว่างข้าราชการของกระทรวงฯ นั้นเมื่อทำแล้วเสร็จจะยังมีการจัดสรรการบรรจุข้าราชการโควิดรอบสองอีกหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นระยะ ซึ่งยังอยู่ในเรื่องที่มีการดำเนินการ

เมื่อถามถึงกรณีค่าเสี่ยงภัยโควิด 3 พันกว่าล้านบาทยังต้องรอสำนักงบประมาณใช่หรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า  ต้องรอสำนักงบประมาณ ซึ่งต้องรอสถานพยาบาลทุกสังกัด ไม่ใช่แค่กระทรวงฯ หากส่งหลักฐานไม่ครบ เราก็ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างอยู่ที่การดำเนินการ ได้รับแน่นอน เพียงแต่ล่าช้าหน่อย

เมื่อถามกรณีกลุ่มลูกจ้างที่ไปยื่นสำนักนายรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องสิทธิลูกจ้างในสังกัดกระทรวงฯ เมื่อวันแรงงานแห่งชาติที่ผ่านมา นพ.โอภาส กล่าวว่า จริงๆ เป็นเรื่องที่มีการหารือร่วมกันแล้ว แต่อย่างไรเสียจะขอรอข้อมูลจากทางสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดสธ. กล่าวถึงการช่วยเรื่องหนี้สินบุคลากร ว่า ขณะนี้จะมีการสำรวจหนี้สิน โดยเฉพาะกลุ่ม NPL ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งต้องคุยกับธนาคาร โดยเราจะดูตัวอย่างจากกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และของตำรวจ ซึ่งจะไปสำรวจ โดยพบว่ามีตัวเลขจากธนาคารแห่งหนึ่งมีตัวเลข 200 ล้านบาท โดยเราจะเจาะตัวบุคคล ดูเรื่องสถาบันการเงิน เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายต้นๆ มีทุกจังหวัด โดยสถาบันการเงินจะเข้ามาช่วยลดภาระหนี้ด้วยการลดดอกเบี้ยให้ ขณะนี้มีการพูดคุยของคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องหนี้อยู่ ล่าสุดธนาคารออมสิน ก็จะมีแนวทางในการลดดอกเบี้ยให้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะดูตัวอย่างความสำเร็จของสหกรณ์ฯ สัก 2-3 แห่ง และขยายต่อไป

เมื่อถามว่ากรณีการสำรวจข้อมูลหนี้สินบุคลากร นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า  ข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินของบุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างหายาก เบื้องต้นทราบว่ากระทรวงสาธารณสุขเคยร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำรวจปัญหาหนี้สินเมื่อปี 2562 ซึ่งตอนนั้นมีจำนวนประชากรที่สำรวจราว  6 หมื่นตัวอย่าง ก็จะนำข้อมูลนั้นมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่จะทำการสำรวจร่วมกับธนาคารออมสิน ว่าตรงกันหรือไม่อย่างไร แล้วจึงค่อยหาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยส่วนใหญ่บุคลากรจะกู้เงินไปเพื่อซื้อบ้าน และบางส่วนอาจมีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ ซึ่งในช่วงเกิดโรคโควิด-19 ระบาด อาจทำให้ประสบปัญหาด้านการเงิน ทำให้เป็นหนี้สิน โดยการแก้ปัญหาหนี้สินของกระทรวงสาธารณสุขนั้น จะศึกษาต้นแบบจากการแก้ปัญหาหนี้สินของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีการแก้ไขปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง

Tuesday, 9 May 2023
https://www.hfocus.org/content/2023/05/27621