
ตำแหน่งกรรมการแพทยสภามีมากขึ้น แต่(ร้อยละ)คนใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลง
"ปัญหาขององค์กรขนาดใหญ่" จะตามมา และ "ความสนใจของสมาชิกต่อแพทยสภา"เป็นวิกฤตศรัทธาหรือไม่?
"ปัญหาขององค์กรขนาดใหญ่"การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาครั้งแรกๆตาม พรบ.วิชาชัพเวชกรรม ๒๕๑๑ เลือกตั้งกันเพียง ๑๐ คน แต่วาระที่ผ่านมา (๒๕๖๖-๒๖๖๘) เลือกกันถึง ๓๒ คน
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑
มาตรา ๑๑ ...และกรรมการอื่นอีกมี
จำนวนสิบคน ซึ่งจะเลือกตั้งจากสมาชิกของแพทยสภา...
มาตรา ๑๒ ให้นายกแพทยสภา และกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละสี่ปี...
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๒๕
มาตรา ๑๔
และกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกอีก
จำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการโดยตำแหน่ง
มาตรา ๑๘
กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละสองปี...
วาระ ๒๕๔๘-๒๕๕๐ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๑๙ คน
วาระ ๒๕๕๐-๒๕๕๒ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๒๓ คน
วาระ ๒๕๕๒-๒๕๕๔ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๒๖ คน
...
วาระ ๒๕๕๘-๒๕๖๐ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๒๘ คน
...
วาระ ๒๕๖๒-๒๕๖๔ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๒๙ คน
วาระ ๒๕๖๔-๒๕๖๖ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๓๐ คน
วาระ ๒๕๖๖-๒๕๖๘ กรรมการจากการเลือกตั้ง ๓๒ คน
รวมกับกรรมการโดยตำแหน่งอีก ๓๒ คน เป็น ๖๔ คน เป็นคณะกรรมการที่ถือว่าใหญ่มาก ซึ่งปัญหาขององค์กรใหญ่จะตามมา ทั้งเรื่อง
ประสิทธิภาพขององค์กร เรื่อง
การมีส่วนร่วมของกรรมการในการบริหาร รวมทั้ง
การเมืองภายในจะทำให้การทำงานยากลำบากมากขึ้น เป็นประเด็นที่น่ากังวล และท้าทายเป็นอย่างยิ่ง
"ความสนใจของสมาชิกต่อแพทยสภา"การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา(ที่ผ่านมา)ที่มีผู้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งสูงสุด คือ การเลือกตั้งวาระ ๒๕๔๖-๒๕๔๘ (มีผู้ใช้สิทธิร้อยละ ๕๐.๕๕) มีผู้ใช้สิทธิเกินครึ่งของผู้มีสิทธิ แต่การเลือกตั้งวาระที่ผ่านมา วาระ ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดเท่าที่มีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภามา คือ มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเพียงร้อยละ ๑๙.๔๒ (ใม่ถึง ๒๐ % ด้วยซ้ำ) ทั้งๆที่มีการเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งด้วย
วาระ ๒๕๒๑-๒๕๒๕ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๔.๘๔ %
วาระ ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๖.๖๓ %
วาระ ๒๕๒๖-๒๕๒๘ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๐.๔๘ %
วาระ ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๙.๓๙ %
วาระ ๒๕๓๐-๒๕๓๒ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๘.๕๕ %
วาระ ๒๕๓๒-๒๕๓๔ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๒.๐๘ %
วาระ ๒๕๓๔-๒๕๓๖ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๕.๘๐ %
วาระ ๒๕๓๖-๒๕๓๘ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๒.๐๘ %
วาระ ๒๕๓๘-๒๕๔๐ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๐.๓๖ %
วาระ ๒๕๔๐-๒๕๔๒ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๖.๙๑ %
วาระ ๒๕๔๒-๒๕๔๔ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๔.๒๑ %
วาระ ๒๕๔๔-๒๕๔๖ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๖.๗๗ %
วาระ ๒๕๔๖-๒๕๔๘ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๕๐.๕๕ %วาระ ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๔.๕๓ %
วาระ ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๔๑.๘๒ %
วาระ ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๓.๘๔ %
วาระ ๒๕๕๔-๒๕๕๖ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๓๔.๒๐ %
วาระ ๒๕๕๖-๒๕๕๘ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๘.๓๔ %
วาระ ๒๕๕๘-๒๕๖๐ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๗.๔๘ %
วาระ ๒๕๖๐-๒๕๖๒ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๒.๑๗ %
วาระ ๒๕๖๒-๒๕๖๔ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๖.๔๑ %
วาระ ๒๕๖๔-๒๕๖๖ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๓.๖๘ %
วาระ ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ๑๙.๔๒ %
มีความพยายามหามาตรการเพื่อให้สมาชิกใช้สิทธิในการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภามากขึ้น วาระนี้มีการให้ทางเลือกในการใช้สิทธิเลือกตั้ิงทางออนไลน์ เป็นครั้งแรกด้วย แต่กลับเป็นวาระที่มีการใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภามา
สมาชิกแพทยสภาให้ความสนใจในการเลือกตั้งน้อย มีนัยยะอะไรบ้าง?เป็นโจทย์ที่แพทยสภาต้องหาเหตุผล และแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้แพทยสภาเป็นองค์กรที่แพทย์ทั่วประเทศให้ความสนใจ ใส่ใจและศรัทธา