ผู้เขียน หัวข้อ: ศัลยกรรมระบบประสาทในประเทศไทยยังวิกฤต แนวรบด้านนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง  (อ่าน 1211 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด


ในปัจจุบัน โรคที่จำเป็นต้องที่จะได้รับการดูแลรักษาด้านศัลยกรรมระบบประสาทเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคและ/หรือภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมระบบประสาท จากข้อมูล พบว่า โรคหลอดเลือดในสมองแตก  และการบาดเจ็บทางสมอง  เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประชากรไทย และโรคทางศัลยกรรมระบบประสาทอื่น ๆ อาทิ เนื้องอกสมอง เลือดคั่งในสมอง บาดเจ็บที่ไขสันหลัง  ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เป็นต้น ยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพ จนถึงทำให้ผู้ป่วยติดเตียง ประกอบกับยังมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนประสาทศัลยแพทย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึง (accessibility)  และคุณภาพ (quality) ในการรักษาของผู้ป่วย

          การพัฒนางานศัลยกรรมระบบประสาทอย่างรีบด่วน ด้วยมาตรการที่เหมาะสม และยั่งยืนจะช่วยลดความพิการและการตายที่ไม่สมควรลงได้ (preventable disability and death)*

ข้อมูลที่สำคัญ
1.โรคเกี่ยวกับสมองเป็นปัญหาสาธารณสุข

รูปที่ 1 รหัสโรค 10อันดับแรกของจำนวนผู้ป่วยใน (Inpatient)

ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวภายในโรงพยาบาล ผู้บาดเจ็บที่สมอง (S06)มีจำนวนมากรองจากโรคปอดอักเสบ (J12,J18) การคลอดและการเกิดของทารก (Z38,O80) โรคทางเดินอาหารอักเสบ (A09) และโรคไตวายเรื้อรัง (N18) แต่มากกว่าโรคหัวใจล้มเหลว (I50) โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (I63) และโรคเลือดจางทาลัสซีเมีย (D56)


รูปที่ 2 รหัสโรค 10อันดับแรกของจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล

โรคหลอดเลือดแตกในเนื้อสมอง (I61) และการบาดเจ็บที่สมอง (S06)ทั้งสองโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านศัลยกรรมระบบประสาท  เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากรองจากโรคปอดอักเสบ (J18,J12) แต่เสียชีวิตมากกว่าโรคหัวใจขาดเลือด (I21) โรคหัวใจล้มเหลว (I50) โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (I63) โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต (A41) และโรคทางเดินปัสสาวะ (N39)

2.จำนวนประสาทศัลยแพทย์ยังขาดแคลนหนัก


ปัจจุบัน (ตุลาคม 2565) ยังมี 9 จังหวัดที่ยังไม่มีประสาทศัลยแพทย์เลย ได้แก่ แม่ฮ่องสอน, สุโขทัย, สิงห์บุรี, เลย, บึงกาฬ, อำนาจเจริญ, ระนอง, พังงา และสตูล โดยต้องส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดอื่น  โรงพยาบาลที่สามารถให้การรักษาด้านศัลยกรรมระบบประสาทได้ ควรมีประสาทศัลยแพทย์อย่างน้อยแห่งละ 3 คน

อัตราส่วนประสาทศัลยแพทย์ต่อประชากร โดยประมาณ คือ 1 : 300,000 (โดยอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 1:100,000)**
กำลังคนด้านศัลยกรรมระบบประสาทยังขาดแคลนค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย จากข้อมูลในปี 2561 ซึ่งพิจารณาเฉพาะการเข้าถึงการผ่าตัดสมองในภาวะฉุกเฉิน มีประชากรในส่วนภูมิภาคมากถึง 18ล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในเวลาที่เหมาะสม   คิดเป็น 30 % ของประชาชนในภูมิภาคของประเทศไทย (รูปที่ 4)



รูปที่ 4 การเข้าถึงการผ่าตัดสมองในภาวะฉุกเฉินของประชาชนในส่วนภูมิภาค, ประมาณ 18 ล้านคน หรือ 30 % ยังมีปัญหาในการเข้าถึง

3.ข้อมูลหัตถการ หรือการผ่าตัดสมองในปีงบประมาณ 2564
มีหัตถการ หรือการผ่าตัดสมอง (icd-9 cm รหัส 01 และ 02)  จำนวน 32,887 ครั้ง ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขต1 ถึง เขต12 โดยมีการผ่าตัดรหัสต่างๆ ที่น่าสนใจตามรูปที่ 5***




*บทสรุปเรื่องภาวะวิกฤตด้านศัลยกรรมระบบประสาทในประเทศไทย (Executive Summary of Neurosurgery Crisis in THAILAND) วารสารประสาทศัลยศาสตร์  ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564
**The SOSSUS report and its impact on neurosurgery [Journal of Neurosurgery Volume 46: Issue 2 (Feb 1977)]
***ข้อมูล กบรส.

17 ธ้นวาคม2565
Story
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2023, 10:13:00 โดย story »