ผู้เขียน หัวข้อ: ปลัด สธ. สั่งเคลียร์หนี้ค่าตอบแทนบุคลากร ค่ายา ใน 1 เดือน  (อ่าน 248 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ. มอบนโยบาย สั่งเคลียร์หนี้ค่าตอบแทนบุคลากร ค่ายา กันเงินสำรอง วางแผนใช้เงินบำรุงลงทุนอำนวยความสะดวกประชาชน ยึดหลัก "ททท"

วันที่ 3 ต.ค.2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างประชุมมอบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน สธ.ต่อผู้บริหาร สธ.ส่วนกลางและผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังส่วนภูมิภาค ภายหลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า วันนี้เป็นวันแรกในการทำงานตามเวลาราชการ ขอให้บุคลากรยึดตามพระราชดำรัส "สมเด็จพระบรมราชชนก" ที่ให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง อยู่ในใจพวกเรา

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ปฏิบัติงานเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุขทุกมิติ ให้ถือเป็นภารกิจหลักที่ต้องดำเนินการปฏิบัติเป็นลำดับแรก ส่วนปี 2566 เป็นปีโอกาสของระบบสาธารณสุข เนื่องจากเราเพิ่งผ่านวิกฤตโควิด 19 มาได้อย่างดี ซึ่งวันที่ 30 ก.ย.เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นวันเกษียณอายุราชการ ศบค. ปิดเกมโควิดเรียบร้อยในแง่การระบาดใหญ่ แต่ภารกิจคงยังไม่หมด

"แม้โควิดจะหนักหน่วง ทดสอบระบบสาธารณสุขเรา แต่เชื่อว่าพวกเราสอบผ่านอย่างดี แสดงให้ชาวโลกเห็นว่าระบบและพวกเรามีความเข้มแข็งอย่างไร ซึ่งความเข้มแข็งมาจากนโยบายรัฐ ระบบสาธารณสุขรับมือได้ และความร่วมมือของประชาชน เป็นหัวใจสำคัญ ช่วงต่อไปเป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องดูแลประชาชนให้รับการบริการสุขภาพที่ดีและสอดคล้องนโยบาย สธ.ต่อไป" นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า วิธีการทำงานกับเครือข่ายทุกภาคส่วน ช่วงโควิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการทำงานดีมาก ทั้งรัฐ เอกชน ระดับนานาชาติ เป็นโมเมนตัมให้ทำงานช่วงต่อไปได้ดี ทั้งนี้ โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากรและอาหาร ภาวะสงคราม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในไทย เป็นผู้อายุมากขึ้น

นพ.โอภาส กล่าวว่า ระบบสาธารณสุขต้องปรับตัวรองรับ นโยบายของ รมว.สธ.ที่ให้ไว้ คือ Health For Wealth สุขภาพกับความร่ำรวยต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่ตัวเงินแต่ต้องสุขภาพด้วย สุขภาพดีเศรษฐกิจก็มั่งคั่ง ก็จะส่งผลกระทบให้ประชาชนดี เป็นภารกิจที่รับมอบมาทำงาน ซึ่งระยะ 3 ปีต่อจากนี้ จะเป็นโอกาสพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ขอให้ช่วยแปลงนโยบาย 5 ข้อไปสู่การทำงานภาคปฏิบัติ คือ

1.การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยกความรอบรู้ด้านสุขภาพทุกมิติ ต้องทำให้เกิดความไว้วางใจ ซึ่งเวลามีปัญหาอะไรที่ขัดข้องไม่เข้าใจ ชาวบ้านไปดูโซเชียลมีเดีย เรามีช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ขอฝากผู้บริหารปรับระบบการสื่อสารให้ประชาชนไว้วางใจ ข้อสงสัยซักถามมีปฏิสัมพันธ์กัน

2.เพิ่มความเข้มแข็งระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เพิ่มศักยภาพ 3 หมอ อสม. รพ.สต. และ รพ.เชื่อมโยงการทำงานกัน โดยเฉพาะเซอร์วิส แพลน ต้องเอาดิจิทัลมาร่วมดำเนินการด้วย ซึ่ง รพ.แต่ละแห่งมีการดำเนินไปพอสมควร ขอให้ รพ.จัดตั้งกลุ่มดิจิทัลทางการแพทย์ขึ้น เพื่อให้บริการประชานเป็นตัวรวบรวมข้อมูล พัฒนานวัตกรรมไปสู่ภาคปฏิบัติ ถ้าพร้อมแล้วดำเนินการได้เลย

3.ยกระดับความมั่นคงด้านสุขภาพ เตรียมพร้อมเรื่องกฎหมายรับมือกับภาวะคุกคามทางสุขภาพ ทั้งโรคระบาด ภัยพิบัติ น้ำท่วม ให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง

4.ส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และนานาชาติ อย่างเมดิคัล ฮับ เดิมกังวลว่าบุคลากรเพียงพอหรือไม่ ซึ่งบุคลากรเรามีความเพียงพอในแง่การผลิต ส่วนทิศทางจุดแข็งเรื่องการแพทย์ การแพทย์แผนไทย สมุนไพรก็ต้องทำให้ต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องกัญชา เป็นอีกจุดที่ต้องสื่อสารประชาชน โดยเฉพาะ ผอ.รพ.ว่ากัญชามีประโยชน์หลายประการ สธ.เน้นกัญชาทางการแพทย์ ที่บอกเสรีแล้วไปใช้แบบสันทนาการเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ต้องเน้นย้ำ หากพบเห็นอย่านิ่งดูดาย ต้องช่วยชี้แจง แจ้งผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการ

5.การพัฒนา รพ.เป็น รพ.ของประชาชน ซึ่งโควิดทำให้บุคลากรเราได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ 4.5 หมื่นอัตรา ปัญหาเชิงปริมาณจึงน้อยลง การกระจายตัวการก้าวหน้าต้องขับเคลื่อนต่อ และพัฒนาศักยภาพความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และทำให้เรามีเงินบำรุงเพิ่มขึ้น ไม่มีวิกฤตการเงินระดับ 7 ซึ่งสามารถเอามาทำให้ รพ.เรามาทำเป็น รพ.ของประชาชน คือ เข้ามาแล้วรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของ ได้ประโยชน์กลับไป ไม่ใช่มาแค่ตอนเจ็บป่วย

แต่รวมถึงกิจกรรมสนับสนุนป้องกันควบคุมโรค มาแล้วเกิดความสะดวกสบาย เดิมติดเรื่องงบประมาณระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อสถานะเงินบำรุงภาพรวมจากเดิม 3 หมื่นล้านบาท ตอนนี้น่าจะแสนล้านบาทก็ให้ลงทุนให้เกิดประโยชน์ประชาชน อะไรที่ติดหนี้ขอให้ใช้หนี้ก่อน ทั้งค่าตอบแทนบุคลากรต้องเคลียร์ให้เสร็จใน 1 เดือน ค่าโอทีต่าง ๆ หนี้ค่ายา วัสดุอุปกรณ์ จะได้รู้ว่ามีเงินเหลือพัฒนา รพ.เป็นงบลงทุนเท่าไร

"ขอให้ นพ.สสจ.ติดตามดู รพ. และ ผอ.รพ.วางแผนเงินบำรุงวางแผนไปข้างหน้า 3 ปี ทำให้เสร็จใน 1 เดือนในการวางแผน หักลบหนี้ วางแผนเงินสำรอง ที่เหลือเป็นงบลงทุนพัฒนา รพ. ส่วนลงทุนอะไรบ้าง อันดับแรกบ้านพักบุคลากร หากสร้างเป็นแฟลตก็ขอให้มีสเปซที่มีกิจกรรมร่วมกัน มีไวไฟ ที่มีชีวิตเหมือนคนยุคใหม่ เป็น Work Life Balance สอง รพ.จังหวัดที่แออัด ไม่มีที่จอดรถก็สร้างอาคารจอดรถได้ สามยุคโลกร้อน เรามีโครงการติดโซลาร์เซลล์โซลาร์รูฟเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าในอนาคตให้มีแผนจัดการเรื่องนี้ใน 2-3 เดือน และใน 1 ปี รพ.สธ.ทุกแห่งต้องมีใน รพ. ซึ่งจากการประเมินเราช่วยลดคาร์บอนได้หลายล้านตัน สี่ เรื่องการกำจัดน้ำเสียที่เราไม่มีงบประมาณก็เป็นโอกาสดำเนินการ และเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับเซอร์วิสแพลน" นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส กล่าวว่า และ 6.ขอให้ทุกหน่วยงานนำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ คิดในหลักการดำเนินงาน 4T ได้แก่ Trust นพ.สสจ. ผอ.รพ.ต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา รพ. บุคลากรสาธารณสุข , Teamwork&Talent ทำงานเป็นทีม ปีนี้งบประมาณถูกตัดไปเยอะ ส่วนกลางคงส่งทรัพยากรให้ได้ไม่มาก เป็นโอกาสดีมีเงินบำรุง รพ.ขอให้ทำงานด้วยกัน คิดว่า 1 จังหวัด 1 รพ. เพราะ รพ.ขนาดเล็กเงินบำรุงไม่มาก

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า นพ.สสจ.บริหารจัดการหมุนเงินบำรุงช่วยเหลือกัน ทุก รพ.พัฒนาไปพร้อมกัน และเชิดชูคนเก่ง ทำเป็นทีม และต้องมีคนเก่ง ทำควบคู่กัน , Technology ซึ่งอนาคตเทคโนโลยีจะมากขึ้น รวมถึงไบโอเทคโนโลยี และ Targets ทำงานแบบมุ่งเป้าหมาย จะมอบรองปลัด 4 คนช่วยดูแล Target แต่ละข้อของรองนายกฯ รวมถึงหัวหน้าผู้ตรวจราชการช่วยกัน เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม

"ขอให้ทุกคนยึดหลักปฏิบัติในการทำงาน "ททท" คือ "ทำทันที" "ทำอย่างต่อเนื่อง" และ "ทำแล้วพัฒนา" ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำ หากข้อมูลมีพร้อม แผนงานกิจกรรมมีพร้อมให้ทำทันที หากยังไม่แน่ใจขอให้ทำโดยศึกษาข้อมูลแล้วลงมือปฏิบัติ แต่อย่าดูนาน ผิดพลาดปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่องได้ อย่ามัวแต่คิด หากทำแล้วติดขัดมีข้อเสนอแนะให้ถามมา" นพ.โอภาส กล่าว

ข่าวสด
3 ต.ค.2565