ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.จุฬาฯ ได้รางวัลคุณภาพรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระดับนานาชาติแห่งแรกในไทย  (อ่าน 218 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (3 ตุลาคม 2565) โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ส่งผลให้ รพ.ได้รับรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วย “รางวัลคุณภาพการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระดับนานาชาติ” จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา Bronze Award from the American Heart Association (AHA) Get with the Guidelines heart failure เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระดับสากลที่ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัดของสมาคมโรคหัวใจ สหรัฐอเมริกา (AHA) ซึ่งได้แก่ มาตรฐานการได้รับยาที่เหมาะสม มาตรฐานการติดตามผู้ป่วย และมาตรฐานการประเมินการทำงานของหัวใจ

ทั้งนี้ ก่อนการแถลง รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบรางวัลดังกล่าว โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ รพ.จุฬาลงกรณ์ และคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ รับมอบ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล  เจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจ เข้าร่วมแสดงความยินดี ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ รพ.จุฬาฯ

ผศ.นพ.สมชาย ปรีชาวัฒน์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการ ซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวของคนไทยในช่วงวัยสูงอายุ รวมถึงวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้ทั้งสิ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่า 70 ล้านคน ประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว โดยคาดว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วย 1 ล้านคน ที่ประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 1 ใน 5 ของผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง หัวหน้าหน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า การใช้ชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ไม่เหนื่อยหอบ และมีอายุยืนขึ้นได้ ถ้าหากได้รับยาที่เหมาะสม ได้รับการประเมินการทำงานของหัวใจที่แม่นยำ และได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง

“หน่วยของเรามีบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ครบครันที่สามารถวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างงครบวงจร และมุ่งเน้นการดูแลติดตามผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างใกล้ชิดจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งหวังลดอัตราการเสียชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำน้อยลง และการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญ” ผศ.พญ.สมนพร กล่าว

ขณะที่ รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ หัวหน้าอนุสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ รพ.จุฬาฯ กล่าวถึง คุณภาพการดูแลผู้ป่วย (QUALITY IS OUR PRIORITY) และการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพในการดูแล ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพหัวใจ เป็นต้น ซึ่งการเน้นเรื่องคุณภาพจากการดูแลผู้ป่วย สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยความสำเร็จของการได้รางวัลคุณภาพในครั้งนี้ ได้จากความทุ่มเทของทุกฝ่าย ที่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมาตรฐานในนโยบายการดูแลผู้ป่วย การมั่งเน้นให้ความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ

“ตัวชี้วัดของรางวัลเป็นไปตามแนวเวชปฏิบัติ (guidelines) มาตรฐาน ซึ่งได้แก่ การได้รับยามาตรฐานที่เหมาะสม การได้รับการติดตามต่อเนื่อง การประเมินการทำงานของหัวใจที่แม่นยำ และการรักษาความเสี่ยงร่วม เช่น ไขมันสูงในเลือด เป็นต้น ซึ่งเราทราบดีว่าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามตัวชี้วัดเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้น ดังนั้นรางวัลนี้จึงมีขึ้นเพื่อวัดผลว่าเราได้ทำตาม guidelines มากน้อยเพียงใด และกระตุ้นให้เราทำให้ได้ตามเป้าหมาย โดยเกณฑ์เป้าหมาย คือ ต้องทำให้ได้มากกว่าร้อยละ 85 ของแต่ละตัวชี้วัด จึงจะได้รับตราคุณภาพนี้ หรือรางวัล” รศ.พญ.ศริญญา กล่าวและว่า การได้รับรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในครั้งนี้ เสมือนเป็นตราสัญญลักษณ์แห่งความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานระดับสากล ที่เกิดจากความทุ่มเทของทุกภาคส่วน เป็นแรงบันดาลใจในการพัมนาดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

มติชน
3ตค2565