ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ปลัด-อธิบดี  (อ่าน 227 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2565 ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เกษียณอายุราชการ ได้แก่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ส่งผลให้สธ.มีปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารในหลายส่วน โดยผู้บริหารระดับสูงสธ.ปัจจุบัน ได้แก่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ เป็นปลัดสธ.คนใหม่

นพ.ณรงค์ สายวงศ์  รองปลัดสธ.

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดสธ. คนใหม่

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดสธ.คนใหม่

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกต์ รองปลัดสธ.คนใหม่

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คนใหม่

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย

นพ.ธงชัย กีรติหัตถากร อธิบดีกรมการแพทย์ คนใหม่

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คนใหม่

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คนใหม่

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2565  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ได้เดินทางเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงสาธารณสุขเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ โดยสักการะพระพุทธนิรามัย ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระพรหม พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร  พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชยครินทร์ และพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร

        นพ.โอภาส ให้สัมภาษณ์ภายหลังสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ในภาพรวม 1 ต.ค.2565 ประเทศไทยโดยเฉพาะระบบสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก  โดนเฉพาะสถานการณ์โควิด-19มีผลกระทบหลายด้านทั้งบวกและลบ  โดยด้านลบมีความสูญเสียทั้งผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผลกระทบทางเศรษฐกิจ   ซึ่งต้องนำมาเป็นบทเรียนในการจัดการ รวมทั้งทั่วโลกแม้แต่องค์การอนามัยโลก(WHO) เดือนนี้น่าจะมีการประชุมทบทวนประกาศภาวะฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม

    สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาได้ร่วมความร่วมมือร่วมใจจากคนทั้งประเทศทำให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติด้วยดี ประกอบด้วย
1.เชิงนโยบาย ทั้งระดับรัฐบาล ศบค. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สธ.ที่นโยบาย สนับสนุน กำกับติดตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกประเมินว่าเป็นหนึ่งในจุดแข็งของไทย 
2.ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในทุกสังกัดมีความเข้มแข็ง ทั้งการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค การรักษา การสนับสนุนจัดยาและวัคซีน การกระจายกำลังคน และอสม.
3.ประชาชน มีความตื่นตัวให้ความร่วมมือได้อย่างดียิ่ง ทำให้ผ่านวิกฤติเป็นจุดแข็งที่ต้องนำมาพัฒนาปรับปรุงระบบต่อไป

         ส่วนข้อดีของโควิด-19 สำหรับระบบสาธารณสุขมีหลายเรื่อง ได้แก่
1. ได้รับการแก้ปัญหาในเรื่องบุคลากรทั้งปริมาณและการกระจายตัว  ทำให้ที่มีการเรียกร้องเรื่องของอัตราบรรจุข้าราชการมาอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่ดีได้รับตำแหน่งบรรจุข้าราชการ 45,000 อัตรา เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจ
2.สถานะการเงินของรพ. ซึ่งเดิมมีปัญหาสภาพคล่องและหนี้สิน เงินบำรุงรพ.ไม่พอ ทำให้เงินบำรุงรพ.ดีขึ้นมากและ 3ปีข้างหน้าจะสามารถพัฒนาหน่วยงาน รพ.ในสังกัดได้ทุกหน่วย เป็น 2 เรื่องหลักที่เป็นจุดแข็งที่จะพัฒนาต่อไป

         สำหรับมาตรการที่จะดำเนินการ จะต้องยึดตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูประบบสาธารณสุข และนโยบายรองนายกฯและรมว.สธ.ให้ความสำคัฐใน 5 เรื่องที่จะเน้นสุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง(Health for Wealth) ได้แก่ 
1.การทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น โดยเพิ่มความครอบคลุมการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ
2.ยกระดับการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อคนไทยแข็งแรง
3.ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง
4.นำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ
5. ข้อมูลสุขภาพต้องเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน โดยจะพัฒนาข้อมูลดิจิทัลสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

      “ความมั่งคั่งไม่ได้แปลว่าตัวเงินอย่างเดียว แต่สุขภาพที่ดีก็เป็นต้นทุน ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของประเทศหากประชาชนสุขภาพดี ทำให้สุขภาพและความมั่นคั่งสมดุลไปด้วยดัน จากโควิด-19ก็ทราบถ้ามีการคุมโรคมากเกินไป ระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจก็จะทรุดตัวลง สุดท้ายก็มีผลต่อสุขภาพประชาชน”นพ.โอภาสกล่าว

         นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า หลักที่จะถ่ายทอดนโยบายในวันจันทร์ 3 ต.ค.2565 จะให้รพ.ประเมินศักยภาพทางการเงินของรพ. และให้ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารจอดรถ  บ้านพักเจ้าหน้าที่  อนุรักษ์พลังงาน แก้ปัญหาน้ำเสีย รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างดิจิทัลและอื่นๆ พิจารณาตามความจำเป็นของแต่ละแห่ง เป็นสิ่งที่สธ.จะลงทุน และให้รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป  ตั้งกลุ่มงานดิจิทัลทางการแพทย์ เพื่อให้บริการประชาชน โดยเหมาะกับชุมชนในเมือง เนื่องจากมีความแออัด เวลามารพ.จะรอนาน ถ้าปรับได้จะทำให้การรับบริการสะดวกขึ้น ลดความแออัด

         “การพัฒนาระบบสาธารณสุข ซึ่งเงินบำรุงรพ.ในภาพรวมมีมาก นอกจากช่วยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของรพ.และหน่วยงานต่างๆแล้ว สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย โดยมีการลงทุนกระจายทุกอำเภอ การสร้างการลงทุนจะอยู่ระดับอำเภอก็จะทำให้ระบบสาธารณสุขเข้มแข็งขึ้น และเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจควบคู่กัน”นพ.โอภาสกล่าว

       ส่วนเรื่องการถ่ายโอนรพ.สต. นพ.โอภาส กล่าวว่า สธ.เห็นด้วยกับการถ่ายโอนเพราะเป็นประโยชน์และทิศทางของโลก แต่ประชาชนจะต้องไม่ได้รับผลกระทบ บริการที่เคยได้รับก็ต้องได้รับ ได้มีการสั่งการตั้งศูนย์ติดตามเรื่องนี้ในส่วนกลางและภูมิภาค รวมถึง อบจ.ที่พร้อมลงนาม ก็ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(นพ.สสจ.)ไปลงนามร่วมกับนายกอบจ.และถ่ายโอนได้ทันที  อย่างไรก็ตาม ยังติดขัดอยู่เรื่องเดียว คือเดิมอนุกรรมการถ่ายโอนได้กำหนดให้อบจ.จ้างลูกจ้างด้วย เพราะฉะนั้นอบจ.ที่พร้อมจ้างลูกจ้างก็ถ่ายโอนได้ทันที สัปดาห์นี้คาดว่าน่าจะหลายอบจ.ที่รับถ่ายโอน และสธ.พร้อมช่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

1 ต.ค. 2565
กรุงเทพธุรกิจ