ผู้เขียน หัวข้อ: กรมสุขภาพจิต-ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำร่องดูแล นศ. เผยช่วยลดเครียดได้กว่า 800 ราย  (อ่าน 224 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
กรมสุขภาพจิต-ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำร่องดูแล น.ศ. เผยช่วยลดเครียดได้กว่า 800 ราย

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จัดแถลงผลการดำเนินงานโครงการ “คู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” พบผู้มีความเครียดสูง 841 ราย จากการสำรวจกว่า 2,853 คน พร้อมชี้เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเท่าเทียม

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การสื่อสาร ค่านิยมและโรคระบาดที่สำคัญ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงด้านการเรียน การทำงาน สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด หากความเครียดที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่มากจนเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น กลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย หากมีความเครียดสะสมในระดับที่มากเกินไป จะส่งผลกระทบทางต่อสุขภาพกาย ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ใจสั่น และส่งผลต่อสุขภาพจิต ได้แก่ หงุดหงิด โกรธง่าย เบื่อหน่าย คิดมาก วิตกกังวล เศร้าหมอง ไม่มีสมาธิ รวมทั้งทางพฤติกรรม ได้แก่ เงียบขรึม เก็บตัว สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราตลอดจนการใช้สารเสพติดตามมา บางรายมีการขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยขึ้น และอาจเกิดพฤติกรรมรุนแรง หากมีภาวะเครียดรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก่อให้ซึมเศร้า หรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตามมาได้

พญ.อัมพรกล่าวว่า ผลการประเมิน Mental Health Check In โดยกรมสุขภาพจิต ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 34,579 คน มีปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญ คือ มีความเครียดสูงเสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าทุกกลุ่มวัย ข้อมูลจากการรายงานของสายด่วน 1323 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ปี 2564 ระบุว่า ปัญหาที่กลุ่มวัยรุ่นอายุ 11-19 ปี โทรศัพท์ขอรับคำปรึกษาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน ปัญหาเรื่องการปรับตัว และภาวะซึมเศร้า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เด็กและวัยรุ่นยิ่งพบความยุ่งยากในใช้ชีวิตและการเรียน และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตของวัยทำงานตอนต้นได้ กรมสุขภาพจิตจึงดำเนินการเชิงรุก เพื่อดูแลสุขภาพใจของวัยเรียนในสถานศึกษา ได้ลงนามประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง เพื่อดำเนินโครงการ “คู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” และมีแผนที่จะขยายการช่วยเหลือไปสู่นักเรียนนักศึกษาในทุกระดับ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ

“ซึ่ง มรส.เป็นแห่งแรกที่เริ่มดำเนินการดูแลสุขภาพใจนักศึกษา โดยความร่วมมือของหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตในพื้นที่ คือ โรงพยาบาล (รพ.) สวนสราญรมย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 เชื่อมโยงการดูแลร่วมกับหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัด สธ. คือ รพ.สุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นิคมสร้างตนเองขุนทะเล เพื่อให้นักศึกษาได้รับการดูแลต่อเนื่อง นับเป็นความร่วมมือของเครือข่ายใน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อการดูแลจิตใจนักศึกษา ให้สามารถดูแลจิตใจตนเอง ปรับตัว ปรับใจในสถานการณ์วิกฤตต่างๆ เพื่อก้าวสู่คนไทยคุณภาพต่อไป” พญ.อัมพรกล่าว

มติชน
21กย2565