ผู้เขียน หัวข้อ: งานวิจัยสหรัฐชี้ ฟาวิพิราเวียร์ ไร้ประสิทธิภาพ  (อ่าน 441 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ผลวิจัยในผู้ป่วย 1,187 คนพบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาหลอกกับกลุ่มที่ได้รับ ฟาวิพิราเวียร์ ทีมวิจัยยังแนะนำว่าให้ไม่ควรใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย

วันที่ 10 กันยายน 2565 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึง งานวิจัยล่าสุดในสหรัฐอเมริกาที่ทดลองประสิทธิผลของยา Favipiravir และไม่พบความแตกต่างระหว่างยาฟาวิพิราเวียร์ และยาหลอก

ดร.อนันต์ กล่าวว่า งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาฟาวิพิราเวียร์ ในผู้ป่วยโควิด-19 ออกมาไม่ใช่ข่าวดีเท่าไหร่ครับ ทีมวิจัยในสหรัฐอเมริกาเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโควิดที่ใช้ยาจริงและยาหลอกและพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างในผลการรักษา… พร้อมคำแนะนำให้ไม่ควรใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์​ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก​อธิบายการทดลองนี้ว่า เราทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอกที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิลสร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้ (ดูรูป)

ในที่สุดผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 (ดูรูป) การศึกษาทำในช่วงพฤศจิกายน 2563-ตุลาคม 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน เม็กซิกัน 163 คน บราซิล 65 คน)

โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คนรับยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คนรับยาหลอก

ผลการศึกษาพบว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโรค ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กินยาฟาวิพิราเวียร์ มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8%

ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย อินโดนีเซีย ดูไบ และประเทศไทยรวมอยู่ด้วย

บทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19

ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 ยาโมลนูพิราเวียร์ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์นานแล้ว และเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์และแพ็กซ์โลวิดซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล

องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ และไม่ควรส่งยาฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

ประชาชาติธุรกิจ
10กย2565

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโควิด-19 กรอบวงเงิน 3,995.2708 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน (ก.ค. -ก.ย. 65) แบ่งเป็นสำหรับซื้อยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (ของใหม่) ได้แก่

1.Favipiravia/Molnupiravia เฉลี่ย 27 ล้านเม็ด/เดือน (จำนวน 1,296.00 ล้านบาท) และ 2.Remdesivir จำนวน 57,000 vial/เดือน (จำนวน 21.96 ล้านบาท) วงเงินรวม 1,317.96 ล้านบาท

รวมทั้งเป็นการแบ่งค้างชำระ สำหรับ Favipiravia/Molnupiravia 165 ล้านเม็ด (จำนวน 2,653.81 ล้านบาท) และค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 1 ล้านชุด (จำนวน 23.50 ล้านบาท) ของเดือน มี.ค.- มิ.ย. 65 รวมวงเงิน 2,677.31 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับ เตยมความพร้อมในการรับมือและป้องกันโรคโควิด-19 และดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัยในหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ

วันที่ 18 กรกฎาคม 25
ประชาชาติธุรกิจ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ยาทั้ง 2 ตัวมีข้อบ่งชี้การใช้งานกับผู้ป่วยระดับสีต่าง ๆ และผลข้างเคียงแตกต่างกัน

วันที่ 10 มีนาคม 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มมาตรการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบคนไข้ผู้ป่วยนอกโดยเฉพาะฟาวิพิราเวียร์ และตัวล่าสุด โมลนูพิราเวียร์ ที่กำลังเริ่มนำเข้ามาใช้ในเดือนมีนาคมนี้ โดยแต่ละตัวมีข้อบ่งชี้ในการใช้ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป

ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)

ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัส มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ด้วยการออกฤทธิ์ 2 แบบ คือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสด้วยการขัดขวางการสร้าง RNA ของไวรัส และทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสจนหมด หรือเหลือปริมาณน้อยจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม สามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ได้เอง ในชื่อยาฟาเวียร์ (200 มิลลิกรัมต่อเม็ด)

ใครได้ใช้ฟาวิพิราเวียร์
ตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนั้น ยาฟาวิพิราเวียร์จะเริ่มใช้ในผู้ป่วยระดับสีเขียวอ่อนและระดับสีเหลือง

ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (สีเขียวอ่อน) และผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน (สีเหลือง)

ทั้งวิธีการใช้และปริมาณยา ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

ผลข้างเคียงของยาตัวนี้มีหลายรูปแบบ
1.การเกิดภาวะตาสีฟ้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีเมลานิน หลังร่างกายดูดซึมยาฟาวิพิราเวียร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีที่บริเวณจอตา ถุงหุ้มแก้วตา และบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีเกิดขึ้นบริเวณเล็บและน้ำลายเกิดเป็นสีฟ้าด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันพบว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น รวมถึงสามารถหายได้เองเมื่อหยุดใช้ยาประมาณ 14 วัน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในระยะยาว
2.อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
3.มีผลต่อการทำงานของตับ อาจทำให้ตับอักเสบได้
4.ในหญิงตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หากรับประทานยาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

โมลนูพิราเวียร์ (molnupiravir)
ยาโมลนูพิราเวียร์ จะออกฤทธิ์กับโครงสร้างของไวรัส SARS CoV2 ทำให้โครงสร้างผิดไปจากเดิม ไวรัสจึงไม่สามารถจำลองแบบพันธุกรรมและเพิ่มจำนวนต่อไปได้

ใครได้ใช้โมลนูพิราเวียร์
ตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนั้น จะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ในกลุ่มผู้ป่วยระดับสีเหลือง และระดับสีแดง

หรือผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสาคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน (สีเหลือง) และผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤ 94%) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates (สีแดง) โดยเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย

ผลข้างเคียง

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ระบุว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ พร้อมแนะนำว่าไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ เนื่องจากการทดลองในสัตว์พบว่า ยาส่งผลกระทบกับตัวอ่อนในครรภ์ รวมถึงไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก

20 กรกฎาคม 2565
ประชาชาติธุรกิจ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เปิดเหตุผล สธ. ไม่จ่ายยา “ฟาวิพิราเวียร์” ให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน ทำไมต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสขาดแคลน “ฟาวิพิราเวียร์” ประกอบกับความเข้าใจว่า เมื่อตรวจพบเชื้อโควิด-19 แล้ว จะต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มารับประทานทุกคน ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพยายามออกมาอธิบายว่า เหตุใดถึงไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยทุกคน

ตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยาฟาวิพิราเวียร์จะเริ่มใช้ในผู้ป่วยระดับสีเขียวอ่อนและระดับสีเหลือง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (สีเขียวอ่อน) และผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน (สีเหลือง)

ทำไม? ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า เหตุที่ไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิดทุกคน เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วย เช่น อาการตับอักเสบ และหากใช้ยากับผู้ป่วยในวงกว้างเกินความจำเป็น จะส่งผลให้เชื้อดื้อยาได้ ทำให้ยาลดประสิทธิภาพ การให้ยา จึงต้องให้ตามดุลพินิจของแพทย์

เช่นเดียวกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า แพทย์จะใช้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิดที่รับไว้ในสถานพยาบาล โดยกรมควบคุมโรคระบุให้ใช้กับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการของโรค ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่มีอาการ หรือใช้เพื่อเป็นการป้องกันโรค

แล้วยาฟาวิพิราเวียร์จะต้องรอให้มีอาการเท่านั้นหรือไม่ ผศ.นพ.พิสนธิ์ ระบุว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่จะเริ่มใช้ยากับผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่มีอาการบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น อายุมาก เป็นเบาหวาน หรืออ้วน เป็นต้น

หรือแม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้นก็สามารถใช้ยานี้ได้ทันที

ฟาวิพิราเวียร์ คืออะไร
สำหรับยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัส มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ด้วยการออกฤทธิ์ 2 แบบ คือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสด้วยการขัดขวางการสร้าง RNA ของไวรัส และทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสจนหมด หรือเหลือปริมาณน้อยจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้

ผลข้างเคียงจากฟาวิพิราเวียร์
ผู้ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนี้

1.การเกิดภาวะตาสีฟ้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีเมลานิน หลังร่างกายดูดซึมยาฟาวิพิราเวียร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีที่บริเวณจอตา ถุงหุ้มแก้วตา และบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีเกิดขึ้นบริเวณเล็บและน้ำลายเกิดเป็นสีฟ้าด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันพบว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น รวมถึงสามารถหายได้เองเมื่อหยุดใช้ยาประมาณ 14 วัน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในระยะยาว
2.อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
3.มีผลต่อการทำงานของตับ อาจทำให้ตับอักเสบได้
4.ในหญิงตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หากรับประทานยาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

21 กรกฎาคม 2565
ประชาชาติธุรกิจ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
แพทย์ชนบท เผย ยาฟาวิพิราเวียร์ และ โมลนูพิราเวียร์ขาดแคลนอย่างหนัก สาเหตุเพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ สธ.ประกาศ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเภสัชกรหญิงศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม ได้มีการบริหารจัดการสำรอง “ยาฟาวิพิราเวียร์” เพื่อรองรับกับสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19  จำนวน 25 ล้านเม็ด เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา

โดยได้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายตามการจัดสรรของศูนย์ PHEOC  อย่างต่อเนื่องทุกวันไม่เว้นวันหยุด

ทางด้านชมรมแพทย์ชนบได้ออกมาแจงผ่าน เฟซบุ๊กชมรมแพทย์ชนบท กรณี ยาฟาวิพิราเวียร์ และ โมลนูพิราเวียร์ ขาดแคลนอย่างหนัก โรงพยาบาลต้องขอยืมด้วยกันเอง โดยข้อความระบุว่า

แม้องค์การเภสัชจะบอกว่าฟาวิมีพอ แต่ความจริงยังขาดแคลนหนัก ฟาวิพิราเวียร์ และ โมลนูพิราเวียร์ขาดแคลนอย่างหนัก ไลน์โรงพยาบาลร้อนฉ่า หยิบยืมฟาวิกันพัลวัน คนหนึ่งต้องใช้ฟาวิอย่างต่ำ 50 เม็ด หรือถ้าเป็นโมลนูพิราเวียก็คนละอย่างต่ำ 40 เม็ด โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่ง เหลือฟาวิ 2,477 เม็ดใช้ได้เพียง 49 ราย โดยต้องอยู่ให้ถึงอย่างน้อย 22 กรกฎาคม 65 หรืออีก 5 วันของจึงจะมา แปลว่าใช้ได้วันละไม่เกิน 10 คน

โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนึ่งก็ได้จัดสรรโมลนูพิราเวียมาแก้ขัดช่วงฟาวิขาดแคลน ได้จัดสรรมาก่อนแห่งละ 120 เม็ด (ใช้ได้กับผู้ป่วย 3 คนเอง) ที่องค์การเภสัชกรรมบอกว่ามีส่งตลอดไม่ขาดแคลนนั้น เป็นเพียงการแถลงแถไปเรื่อยหรือเปล่า ถ้าส่งโรงพยาบาลต่างๆจริงก็เอาหลักฐานมาดูหน่อยนะ สังคมจะได้เชื่อมั่น

สาเหตุที่ยาขาดแคลนเพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ สธ.หลอกตัวเองนั่นแหละ มีข้อสังเกตเหมือนกับว่า จะมีการเน้นควบคุมเลขไม่เน้นควบคุมโรคทุกครั้งเลยที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฟาวิและโมลนูขาดแคลนหนักมาก ขอผู้ป่วยเข้าใจ แพทย์จำต้องจ่ายยาที่มีน้อยนิดให้กับคนที่จำเป็นที่สุดก่อนเท่านั้น

18 กรกฎาคม 2565
ประชาชาติธุรกิจ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (11 กันยายน 2565) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องจากมีประเด็นการนำเสนอข้อมูลว่าการใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์ไม่ได้ผลในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด- 19 โดยอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยแบบหลายสถาบัน (https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciac712/6692456?login=false) จำนวน 40 แห่งในทวีปอเมริกาเหนือ (จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล) มีอาสาสมัครในโครงการวิจัยจำนวน 1,187 คน (เป็นผู้ป่วยอ้วนร้อยละ 70 ผู้ป่วยสูงอายุร้อยละ 15) ซึ่งเป็นการใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ได้ใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์โดยมิได้มีการปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยเกือบทุกรายได้รับยาประมาณวันที่ 3 ภายหลังเริ่มมีอาการ ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีนหรือเคยป่วยเป็นโควิด- 19 มาก่อน รวมถึงการประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกับที่ใช้ในประเทศไทย นอกจากนี้การรายงานผลลัพธ์การรักษาทำโดยผู้ป่วยเป็นผู้รายงานเองผ่านระบบโทรศัพท์ ซึ่งมิได้เป็นการวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะโดยบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการวัดประสิทธิผลของยาฟาร์วิพิราเวียร์ได้

“ในส่วนของประเทศไทยได้มีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/22221751.2022.2117092) โดยมีผู้ป่วยโควิด- 19 ทั้งหมดจำนวน 93 คน ในโรงพยาบาล 3 แห่ง (ทุกคนอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว เป็นผู้ป่วยที่อ้วนร้อยละ 25) ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งได้รับยาฟาร์วิพิราเวียร์ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีอาการโดยไม่มีผู้ที่เคยเป็นโควิด -19 และ/หรือได้รับวัคซีนมาก่อน (ทุกคนมีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง ไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในโครงการวิจัย) ผู้ป่วยได้รับการรักษาและติดตามอาการในโรงพยาบาล รวมถึงการวัดประสิทธิผลของยาฟาร์วิพิราเวียร์โดยด้วยระบบ NEWS (ประกอบไปด้วยอัตราการหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด การให้ออกซิเจน อุณหภูมิ ความดันซิสโตลิก อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความรู้สึกตัว) ซึ่งต้องประเมินโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ไม่ใช้การประเมินตามความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์วัด พบว่ายาฟาร์วิพิราเวียร์ทำให้อาการรุนแรงของการประเมินด้วย NEWS ของผู้ป่วยโควิด- 19 ดีขึ้นได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน (ครึ่งหนึ่งดีขึ้นใน 2 วันเมื่อได้รับยาเปรียบเทียบกับ 14 วันในกลุ่มควบคุม) ผลการศึกษา ทั้งสองยังพบว่า ยาฟาร์วิพิราเวียร์มิได้ช่วยลดปริมาณไวรัสลงหรือทำให้ไวรัสหายไปได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด และไม่สามารถเห็นประสิทธิผลเมื่อประเมินอาการจากความรู้สึกผู้ป่วย เช่น อาการอ่อนเพลีย ไอ รวมถึงพบว่า ยาฟาร์วิพิราเวียร์มีความปลอดภัยแม้จะพบระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้นแบบไม่มีอาการก็ตาม” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

นพ.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เราไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาฟาร์วิพิราเวียร์จากสองการศึกษานี้ได้ เนื่องจากรายละเอียดและวิธีการศึกษามีความแตกต่างกัน การศึกษาในทวีปอเมริกาแสดงให้เห็นว่าการเริ่มให้ยาช้าในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง มีอาการรุนแรง และมีน้ำหนักมากโดยไม่มีการปรับขนาดยา อาจมีผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเป็นเพราะการประเมินผลซึ่งส่วนหนึ่งได้จากความรู้สึกอาการของผู้ป่วย อาจทำให้ผลการศึกษาไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ยาฟาร์วิพิราเวียร์ทำให้ผู้ป่วยโควิด- 19 ที่มีความเสี่ยงต่ำที่ไม่รุนแรงมีอาการดีขึ้นได้เร็วขึ้น แต่การศึกษาในประเทศไทยไม่มีข้อมูลประสิทธิผลของยาฟาร์วิพิราเวียร์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปอดบวมหรือลดการเสียชีวิต กรมการแพทย์ยินดีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ความรู้เชิงประจักษ์ที่มีมากขึ้นจากการศึกษาจะช่วยในการปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยโควิด -19 มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

11กย2565
มติชน