ผู้เขียน หัวข้อ: 10 ข้อใช้กัญชาด้วยปัญญา ไม่มีปัญหา?  (อ่าน 362 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
10 ข้อใช้กัญชาด้วยปัญญา ไม่มีปัญหา?
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2022, 12:28:41 »
ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เปี่ยมไปด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศ ไม่เว้นแม้แต่กัญชา

แต่คำถามสำคัญก็คือคนไทยในอดีต ใส่กัญชาในการประกอบอาหารอย่างไร และใส่อาหารไปแล้วได้ประโยชน์อะไร

ประการแรก อาหารโดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใส่กัญชาเสมอไป เพราะรสอาหารจะอร่อยได้ด้วยศิลปะการปรุงอาหารให้เกิดความอร่อยกลมกล่อม เหมาะสมกับรสและกลิ่นในอาหารนั้น ๆ

ประการที่สอง กัญชาในอดีตใช้ยอดใบอ่อน ใช้ก้าน ใช้ราก หรือใช้ใบในการประกอบอาหาร และใส่ในอาหารเพียงเล็กน้อย โดย “ไม่ใช้ส่วนช่อดอกกัญชา” เป็นส่วนของน้ำซุปตามสูตรของแต่ละคน แต่ไม่ได้มีประสงค์เพื่อให้เมา และการรับประทานกัญชาเป็นส่วนประกอบอาหารนั้น เป็นไปเพื่อ “ชูรสอาหาร” ไม่ใช่เพื่อรสของกัญชาเป็นรสหลัก คล้ายใบกระเพา ใบสระแหน่ ที่ไม่ใช่เนื้ออาหารหลักของเมนูอาหาร

ประการที่สาม สาร THC เป็นสารเมา จะไม่เกิดขึ้น หากกินใบกัญชาโดยไม่ผ่านความร้อน เช่น การับประทานสดจะได้สาร THCA ที่ยังไม่กลายสภาพเป็นสารเมา ดังนั้น การรับประทานใบกัญชาสด ใบกัญชาปั่นสด จะไม่ทำให้เกิดอาการเมา แต่จะช่วยทำให้ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระโดยรวม ช่วยลดไขมัน ฯลฯ

ประการที่สี่ การรับประทานที่ผ่านความร้อนในอุณหภูมิสูง สารที่ไม่เมาคือ THCA จะสามารถกลายเป็น THC ที่เป็นสารเมา แต่เป็นสารที่ละลายในน้ำได้น้อยมาก จะละลายได้ดีในน้ำมัน ไขมัน และแอลกอฮอล์ ดังนั้น หากรับประทานใบกัญชาในรูปของชากัญชายังคงมีความปลอดภัย

ประการที่ห้า ใบกัญชาโดนความร้อนสูงและนาน และยิ่งถ้าใช้น้ำมันทอด หรืออบร่วมกับไขมัน (เช่น เนย นม) จะทำให้มีความเสี่ยงที่สารไม่เมา THCA จะกลายเป็นสารเมา THC มากขึ้นจึงต้องใช้ใบกัญชาอย่างระมัดระวัง แม้จะมีส่วนสาร THC อยู่ในปริมาณที่น้อย (ไม่ควรเกิน 2 ใบ) แต่สำหรับบางคนอาจมีความไวต่อสาร THC ไม่เท่ากัน

ประการที่หก รากกัญชาไม่มีสารเมาใดเลย ไม่จะกินสด กินผ่านความร้อน หรือกินผ่านการทอดด้วยน้ำมัน จึงมีความปลอดภัย

ประการที่เจ็ด สำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ “สารสกัด” ถ้าเป็นน้ำมันกัญชงที่มีสาร CBD สูง ก็ไม่ก่อให้เกิดอาการเมาเช่นกัน

ประการที่แปด ผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารสำเร็จรูปที่ผ่านความเห็นชอบขึ้นทะเบียนอาหาร องค์การอาหารและยา และมีฉลากชัดเจน มีความปลอดภัยสูง ไม่เกิดอาการเมา สามารถบริโภคได้ และส่วนใหญ่เป็นกัญชง ไม่มีอันตราย

ประการที่เก้า ร้านอาหารจะต้องมีการติดป้ายหน้าร้านว่าร้านใดใช้กัญชาในการประกอบอาหาร และเมนูใดที่มีกัญชา และไม่จำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ประการที่สิบ ผลิตภัณฑ์ใดที่ผ่านการอบและมีไขมัน โดยเฉพาะกลุ่มเบเกอรี จะต้องมีความระมัดระวังใช้กัญชาแต่น้อย เพื่อป้องกันความเสี่ยงมิให้เกิดอการเมาจากการใช้กัญชา

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข
โฆษกและกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ….

25 ก.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์