ผู้เขียน หัวข้อ: มือปืน ได้รับการุณยฆาตในคุกแล้ว ก่อนการพิจารณาคดี หลังศาลสเปนอนุมัติคำขอ  (อ่าน 360 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 24 ส.ค. บีบีซี รายงานว่า นายมาริน เอวเกน ซาเบา อายุ 46 ปี มือปืน ในคดียิงเพื่อนร่วมงานบาดเจ็บ 3 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 1 นาย ในเมืองตาร์ราโกนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน เมื่อเดือนธ.ค. 2564 ได้รับการทำการุณยฆาตในเรือนจำ ก่อนเข้ารับการพิจารณาคดี

ภายหลังนายซาเบาถูกตำรวจยิงเข้าที่กระดูกสันหลัง จนร่างกายเป็นอัมพาตบางส่วน ระหว่างการยิงต่อสู้กับตำรวจ ร้องขอการทำการุณยฆาตแทนการพิจารณาคดี และศาลในเมืองตาร์ราโกนาอนุมัติคำร้องของนายซาเบา

แม้ว่าโจทก์จะยื่นอุทธรณ์เพื่อคัดค้าน โดยแย้งว่า นายซาเบาควรถูกเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ศาลตัดสินว่า นี่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของนายซาเบาที่จะร้องขอการุณยฆาตโดยพิจารณาอาการของนายซาเบา และว่า เพื่อเป็นไปตามกฎหมาย ระบบตุลาการไม่มีสิทธิ์แทรกแซง

ด้านนายโฆเซ นาโตนิโอ บิโตส ทนายความของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากนายซาเบา ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เอล ปายส์ เกี่ยวกับคำตัดสินว่า ศาลสูญเสียโอกาสในการตัดสินคดีพิเศษนี้ไป

"นี่ไม่ได้เกี่ยวกับการป้องกันการทำการุณยฆาต แต่เราต้องการให้เหยื่อได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม" ทนายความกล่าว

ทั้งนี้ นายซาเบา พนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้มีพื้นเพมาจากโรมาเนีย ยิงเพื่อนร่วมงานบาดเจ็บ 3 คน ที่บริษัทรักษาความปลอดภัยที่นายซาเบาเคยทำงานเมื่อเดือนธ.ค. 2564 ก่อนหลบหนีไปขังตัวเองในบ้านที่เต็มไปด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ นายซาเบายิงต่อสู้กับตำรวจจนเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 1 นาย ภายหลัง กองกำลังความมั่นคงไล่ต้อนนายซาเบา และยิงนายซาเบาหลายนัด

นายซาเบาต้องถูกตัดขาไป 1 ข้าง และเป็นอัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ นายซาเบากล่าวว่า อาการบาดเจ็บทำให้ตนเจ็บปวดเรื้อรังและได้รับการตัดสินว่า เขามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเพื่อร้องขอการุณยาตได้

 
กฎหมายว่าด้วยการุณยฆาตซึ่งผ่านการรับรองในสเปนเมื่อปีที่แล้วระบุว่า ผู้ใหญ่ที่มีอาการร้ายแรงและไม่สามารถรักษาหายได้ ซึ่งเกิดความทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถทนได้ สามารถเลือกจบชีวิตตัวเองได้

ข่าวสด
24สค2565

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ซาร์โก’ (Sarco) แคปซูลการุณยฆาตรูปทรงล้ำสมัยที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการแล้วที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซาร์โกถูกออกแบบโดย ฟิลิป นิทสช์เก นักเคลื่อนไหวด้านการุณยฆาตชาวออสเตรเลีย และอเล็กซานเดอร์ แบนนิง นักออกแบบชาวดัตช์

ซาร์โก เป็นเทคโลโนยีที่มนุษย์สามารถเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาก็ต้องผ่านการทดสอบด้านจิตวิทยาเสียก่อนเพื่อยืนยันการตัดสินใจว่าต้องการที่จะลาโลกนี้ไปแล้วจริงๆ ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเข้มงวดSarco device - Wikipedia

ฟิลิป ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแคปซูลซาร์โกว่า “เมื่อคุณได้เอนตัวนอนลงไปในแคปซูล คุณจะรู้สึกสบายและผ่อนคลายเอามากๆ หลังจากนั้นเมื่อคุณรู้สึกว่ามันถึงเวลาอันสมควร และคุณได้ตอบคำถามทั้งหมดในชีวิตเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่กดปุ่มที่อยู่ด้านในทุกอย่างก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสมบูรณ์”

เมื่อเครื่องเริ่มทำงานร่างกายจะเกิดปฏิกิริยา Hypoxia หรือ ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควบคู่ไปกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดที่ลดลง ทั้งนี้ ทำให้คนที่อยู่ด้านในไม่มีอาการแพนิคหรือสำลักก่อนที่จะเสียชีวิต

ซาร์โก จะค่อยๆลดปริมาณออกซิเจนลงและแทนที่อากาศด้านในด้วยไนโตเจน ก่อนที่มันจะลดปริมาณออกซิเจนให้เหลือ 1 เปอร์เซ็นต์อย่างรวดเร็ว คนที่ด้านในจะหมดสติและเสียชีวิตลงในที่สุด นายฟิลิปยังบอกอีกว่าไนโตรเจนจะทำให้เรารู้สึกอิ่มเอมใจและผ่อนคลายพอสมควรก่อนที่จะลาโลกนี้ไป ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้น

การุณยฆาต ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศทวีปในยุโรป อาทิ เนเธอร์แลนด์,สวิตเซอร์แลนด์,เบลเยียมและแคนาดา โดยแต่ละประเทศนั้นก็จะมีกฎหรือข้อบังคับที่แตกต่างกันไป

ปีค.ศ.2020 เนเธอร์แลนด์ตกเป็นประเทศที่มีการการุณยฆาตมากที่สุด ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งเราอาจพูดได้ว่าการุณยฆาตคืออีกทางเลือกหนึ่งของการหลุดพ้นจากความเจ็บปวดที่ไม่สามารถเยียวยาได้

6 ธ.ค. 2564
ข่าวสดออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ลุงทรมานโรคปอด – รอยเตอร์ และ เอเอฟพี รายงานว่า นายบิกเตอร์ เอสโกบาร์ เป็นชาวโคลอมเบียคนแรกในประเทศ สามารถเลือกเสียชีวิตได้ด้วยวิธีการุณยฆาตตามกฎหมาย แม้จะไม่ใช่ผู้ป่วยใกล้ตาย (non-terminal illness) เมื่อช่วงปลายของวันศุกร์ที่ 7 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่น

ก่อนเสียชีวิต นายเอสโกบาร์ วัย 60 ปี เฉลิมฉลองสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นชัยชนะในการใช้เวลาต่อสู้ 2 ปี กับโรคปอดที่ทำให้เขาไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้ จากนั้น เข้ารับการุณยฆาตในคลินิกแห่งหนึ่งในกาลี เมืองหลักของจังหวัดบาเยเดลเกากา ทางตะวันตกของประเทศ

“เราบรรลุเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยคนอื่นเหมือนผม ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยใกล้ตายแต่เป็นความทรุดโทรมของร่างกาย เพื่อชนะการต่อสู้ครั้งนี้ การต่อสู้ที่เปิดประตูให้ผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่ตามหลังผม และผู้ต้องการเสียชีวิตอย่างสง่างามตอนนี้

“ผมไม่ได้บอกว่า “ลาก่อน” แค่บอกว่า “พบกันใหม่” ” นายเอสโกบาร์ ซึ่งเป็นคริสตชนนิกายคาทอลิก กล่าวในวิดีโอข้อความที่มีการเผยแพร่ไปตามสื่อต่างๆ

นายลูอิส กีรัลโด ทนายความของนายเอสโกบาร์กล่าวกับรอยเตอร์ว่า นายเอสโกบาร์ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลงอย่างมาก รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ อีกหลายประการ

นายเอสโกบาร์ใช้เวลาต่อสู้มา 2 ปี เพื่อสิทธิ์การุณยฆาต จากการเผชิญเสียงคัดค้านจากหมอ คลินิก และศาล และคริสตจักรที่คัดค้านการช่วยฆ่าตัวตายแก่ผู้อื่นอย่างเด็ดขาด แม้ว่าเมื่อเดือนก.ค. 2564 ศาลสูงจะขยายนิยามของสิทธิในการเสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่เฉพาะ “ผู้ป่วยใกล้ตาย” (terminal illness) เพียงอย่างเดียว

วิดีโอสุดท้ายของนายเอสโกบาร์ที่ยังมีชีวิตอยู่เผยเขาที่มีรอยยิ้มและครอบครัวที่ล้อมรอบ ก่อนถูกวางยาสงบและได้รับการฉีดยาตาย และไม่นานก่อนเสียชีวิต นายเอสโกบาร์กล่าวว่า พระเจ้าไม่ทรงชอบที่จะเห็นคนทนทุกข์ทรมาน “ผมไม่คิดว่าพระเจ้าจะทรงลงโทษผมที่พยายามหยุดความทุกข์ทรมาน”

นอกจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะสุดท้าย นายเอสโกบาร์ยังมีโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เขาต้องนั่งรถเข็นและมีอาการกระตุกที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ส่งผลให้ครอบครัวของเขาสนับสนุนแนวคิดการุณยฆาต

นายเอสโกบาร์กล่าวว่า ป่วยจากการทำงานหลายปีในการในการสัมผัสกับแร่ใยหิน ซึ่งเป็นวัสดุฉนวนที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อมะเร็ง และเคยยื่นคำการุณยฆาต แต่ถูกคณะกรรมการที่คลินิกอิมบานาโกปฏิเสธเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งแย้งว่า นายเอสโกบาร์ไม่ใช่ผู้ป่วยใกล้ตาย จึงยังมีวิธีพยายามบรรเทาความทุกข์ทรมาน และหลังจากสองปีของการยื่นคำร้องก่อนหน้านั้น นายเอสโกบาร์ถูกปฏิเสธเช่นกัน

“ผมรู้สึกไม่สบายอยู่แล้ว ผมรู้สึกเหมือนว่าปอดของผมไม่เชื่อฟังผม” นายเอสโกบาร์ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีในเวลานั้น

ต่อมา นายเอสโกบาร์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลและชนะคดี และเลือกเสียชีวิตในวันที่ 7 ม.ค. ซึ่งเป็นวันศุกร์ เป็นการง่ายที่ญาติๆ ที่จะไปงานศพในวันหยุดสุดสัปดาห์

“ผมป่วยด้วยโรคต่างๆ และผมทนทุกข์ทรมานเมื่อเห็นครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผม” นายเอสโกบาร์ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว’

นอกจากนายเอสโกบาร์แล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ม.ค. มาร์ธา เซปูเบดา สตรีชาวโคลอมเบียวัย 51 ปี กลายเป็นคนที่สองของประเทศ ที่เข้ารับการุณยฆาตเช่นกัน ในเมืองเมเดลลิน ตอนช่วงเที่ยงวัน หลังทนทุกข์ทรมานกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ตั้งแต่ปี 2561

เดสก์แลป (DescLAB) กลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิทางกฎหมายของโคลอมเบีย ซึ่งให้การสนับสนุนเคสของเซปูเบดา ออกแถลงการณ์ว่า ก่อนหน้านี้ เซปูเบดามีกำหนดเข้ารับการุณยฆาตตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 2564 แต่ถูกระงับใน 11 ชั่วโมงก่อนการุณยฆาตด้วยเหตุผลที่ว่าอาการป่วยยังไม่ถึงขั้นใกล้ตาย ต่อมา ศาลอนุญาตให้เซปูเบดาสามารถเลือกเสียชีวิตได้ด้วยการุณยฆาต หลังเจ้าตัวเผยแพร่เคสของตัวเอง

โมนิกา กีรัลโด แห่งมูลนิธิเพื่อสิทธิในการตายอย่างมีศักดิ์ศรี องค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) อธิบายว่า โรงพยาบาลบางครั้งปฏิเสธคำขอการุณยฆาตเนื่องจากจุดยืนทางอุดมการณ์ หรือยกเลิกในนาทีสุดท้ายเนื่องจากความกังวลทางกฎหมาย

ขณะนี้มูลนิธิเพื่อสิทธิในการตายอย่างมีศักดิ์ศรีกำลังทำงานร่วมกับ 5 คนที่ต้องการความช่วยเหลือการุณยฆาต ในจำนวนนี้ 2 คนไม่ใช่ผู้ป่วยใกล้ตาย

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญของโคลอมเบียยกเลิกบทลงโทษสำหรับผู้ทำการุณยฆาตในบางกรณีเมื่อปี 2540 และสั่งการควบคุมการุณยฆาตในปี 2557 โดยบุคคลแรกในโคลอมเบียที่มีอาการป่วยใกล้ตายและสามารถเลือกเสียชีวิตได้เกิดขึ้นในปี 2558

รัฐบาลโคลอมเบียกล่าวว่า มีคนเลือกการุณยฆาตอย่างน้อย 157 คน ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายในเดือนกรกฎาคม 2564 ขณะที่ DescLAB เปิดเผยข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 15 ต.ค. 2564 ว่า มีผู้ป่วยใกล้ตาย 178 ราย ได้รับการุณยฆาตตามฎหมายในโคลอมเบียตั้งแต่ปี 2558


10 ม.ค. 2565
ข่าวสดออนไลน์