ผู้เขียน หัวข้อ: ซ้ำซาก! เด็กติดในรถตู้จนเสียชีวิต ล่าสุดเกิดขึ้นที่ ร.ร.ดังเมืองพานทอง จ.ชลบุรี  (อ่าน 308 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์ข่าว​ศรี​ราชา​ - แม่ใจสลาย! ลูกสาววัย 7 ขวบ ติดในรถตู้รับส่งนักเรียนโรงเรียนดังเมืองพานทอง จ.ชลบุรี จนเสียชีวิต ข้องใจเด็กติดในรถแต่เช้าไม่มีใครเห็น ซ้ำเหตุใดครูประจำรถไม่เช็กชื่อนักเรียน แถมมาหาถึงบ้านไม่พูดความจริง และยังหลอกถามลูกมีโรคประจำตัวหรือไม่ ยันเอาเรื่องถึงที่สุดหวั่นลูกถูกทำร้าย

ผู้​สื่อข่าว​รายงานว่า เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ (30 ส.ค.)​ พ.ต.ต.ประเสริฐ กุลบุตรดี สว.(สอบสวน) สภ.พานทองได้รับแจ้งมีเหตุเด็กนักเรียนเสียชีวิตภายในรถตู้รับส่งของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.พานทอง จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งจึงประสานแพทย์เวรโรงพยาบาลพานทอง และหน่วยกู้ภัยสว่างอุทยานพานทอง ลงพื้นที่ตรวจสอบ

โดยที่เกิดเหตุอยู่บริเวณลานจอดรถโรงเรียน และบริเวณด้านหลังเบาะที่นั่งคนขับรถตู้รับส่งนักเรียนหมายเลข 3 ยี่ห้อโตโยต้า ทะเบียน 1 นข 5421 กรุงเทพมหานคร มีร่างของ ด.ญ.เขมนิจ ทองอยู่  หรือน้องจีฮุน อายุ 7 ขวบ นักเรียนชั้น ป.2/2  สภาพนอนเสียชีวิตในลักษณะ​คว่ำหน้า และมีเลือดไหลออกปาก เนื้อตัวซีด บนเบาะที่นั่งพบกระเป๋าเป้สะพายสีดำ และแก้วน้ำดื่มวางอยู่

ขณะที่ครูของโรงเรียนให้ข้อมูลเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทีมแพทย์ ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาตนเองได้ปฏิบัติ​หน้าที่รับนักเรียนลงจากรถตู้จนหมด ก่อนจะให้ครูผู้ทำหน้าที่ขับรถนำรถไปจอดที่ลานจอดของโรงเรียน กระทั่งในเวลา 16.00 น.ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้เตรียมนำรถมาจอดรอรับนักเรียนเพื่อจะส่งกลับบ้าน

แต่เมื่อเปิดประตูก็พบ น้องจีฮุน ในสภาพนอนคว่ำหน้าจึงได้ช่วยกันเรียก และเขย่าขาแต่ไม่มีอาการตอบรับจึงตกใจจนทำอะไรไม่ถูก จึงรีบแจ้งครูคนอื่นๆ ให้ช่วยตรวจสอบซึ่งพบว่าน้องไม่หายใจแล้ว

ด้าน น.ส.เมทิกา โกศลปลั่งศรี อายุ 31ปี และนายไทยอนันต์ ทองอยู่ อายุ 28 ปี พ่อและแม่ของน้องจีฮุน ที่ได้เดินทางไปดูศพลูกด้วยความโศกเศร้า ก่อนจะเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่ สภ.พานทอง ไว้เป็นหลักฐานเหตุประมาทและความไม่รอบคอบ​ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจนทำให้ลูกของตนเองเสียชีวิต

น.ส.เมทิกา ยังเผยอีกว่า เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาได้มีครูประจำชั้น และครูซึ่งทำหน้าที่ขับรถรับส่ง รวมทั้งครูพี่เลี้ยง เดินทางมาหาตนเองที่บ้านด้วยอาการอ้ำอึ้งโดยไม่ยอมบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ตนเองได้รับทราบ ในทางกลับกันได้แต่ถามตนเองว่า ลูกสาวมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่

"เมื่อถามไปว่ามีเหตุอะไร เพราะเราเองก็กลัวว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีกับลูก แต่กลับได้รับคำตอบว่าน้องไม่หายใจแล้ว ตอนนั้นช็อกและทำอะไรไม่ถูก แต่ครูยังไม่ยอมบอกว่าเกิดอะไรขึ้นจนต้องเค้นกันอยู่นานจนรู้ว่าลูกเสียชีวิตในรถตู้"

ทั้งนี้ ตนเองติดใจในการเสียชีวิตของลูกเพราะลูกเป็นผู้หญิงและเรียนอยู่ชั้น ป.2 แล้ว จึงไม่น่าที่ครูประจำรถจะมองไม่เห็น ซึ่งสิ่งที่ติดอยู่ในใจคือสาเหตุ​การเสียชีวิตที่อาจไม่ใช่การขาดอากาศหายใจ แต่เกรงว่าจะเป็นการถูกทำร้ายและทำอะไรไม่ดีจนเกิดการอำพรางศพ

และยังบอกอีกว่าลูกสาวจะต้องไม่ตายฟรีและตนเองจะเดินหน้าสู้เพื่อลูก เพราะที่ผ่านมาได้ยอมที่จะจ่ายค่าเทอมแพงเพื่อให้ลูกได้เรียนสบายและมีรถรับส่งแต่กลับมาเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ เผยว่า หลังจากนี้จะได้ส่งศพน้องจีฮุน ไปผ่าพิสูจน์​ที่สถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงก่อนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

30 ส.ค. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ตำรวจแจ้งข้อหาครู-คนขับรถตู้ทิ้งน้องจีฮุนไว้ในรถตู้แล้ว อัปเดต "รถตู้ส่งนักเรียน" ขณะที่ผลชันสูตรศพเบื้องต้น ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย สาเหตุเกิดจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน ขณะที่ทั้งสองคนรับสารภาพ ด้านรองผบ.ตร.แจง สถิติกรมควบคุมโรค เด็กถูกลืมทิ้งไว้ในรถสูงถึง 129 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย

 อัปเดตข่าว "รถตู้ส่งนักเรียน" ว่าที่ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศจร.ตร.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี น้องจีฮุน อายุ 7 ขวบ เสียชีวิตในรถตู้โรงเรียน ที่จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 65 เวลาประมาณ 17.00 น. ที่ผ่านมานั้น

ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พานทอง จ.ชลบุรี ได้สอบปากคำพยานและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว จากผลการตรวจชันสูตรศพเบื้องต้น ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน (เด็กที่ติดในรถจะเสียชีวิตจากกรณีนี้เป็นส่วนใหญ่)

ตำรวจพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา คนขับรถตู้ และครูเวรประจำรถรับส่งนักเรียน ในข้อหา “กระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย” มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ผู้ต้องหาทั้งสองให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่ปี 2557 - 2563 มีเหตุการณ์ที่เด็กถูกลืมทิ้งไว้ในรถโรงเรียนตามลำพังมากถึง 129 ครั้ง ในจำนวนนี้ มีเด็กเสียชีวิตจำนวน 6 ราย จากนี้ไปคงต้องมาทบทวนมาตรการความปลอดภัยกันแบบบูรณาการกันอีกครั้ง ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน หมายถึงกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก

คืบหน้าล่าสุด พ.ต.ต.ประเสริฐ กุลบุตรดี สว.(สอบสวน) ได้เรียกตัวนายบุญลือ แก้วดวงศรี อายุ 63 ปี ครูประจำชั้น ป.6 และเป็นครูที่ขับรถประจำหมายเลข 3 ของโรงเรียนและนางสาวอารยา อายุวัฒนะ ตำแหน่งครูเวรประจำรถตู้หมายเลข 3 และเด็กนักเรียนที่อยู่บนรถวันนั้นจำนวน 6 คน มาสอบสวนอย่างละเอียด โดยทางพนักงานสอบสวน ได้สอบแยกระหว่างนางสาวอารยา อายุวัฒนะ และ นายบุญลือ แก้วดวงศรี เครียดนานกว่า 7 ชั่วโมง และล่าสุดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตั้งข้อกล่าวหาแก่ครูทั้งสอง ในข้อหากระทำการอันเป็นการประมาทเป็นเหตุผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยทางพนักงานสอบสวนได้อนุญาตให้ประกันตัวไปด้วยหลักทรัพย์หรือเงินสดคนละ 2 แสนบาท

ด้านนายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการการกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ หลังเกิดเหตุได้ลงมาตรวจสอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตั้งใจมาให้กำลังใจกับครอบครัวที่สูญเสีย แต่ยังไม่พบ พร้อมกล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยทางโรงเรียนยินดีที่จะดูแลและรับผิดชอบทุกอย่าง ทางโรงเรียนเองก็เสียใจ กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จึงพร้อมที่จะเยียวยาทุกอย่าง จริงๆแล้วก็มีเรื่องกฎระเบียบรถรับส่งนักเรียนอยู่แล้วเช่นรถตู้ก็ต้องกระจกโปร่งใส ต้องมีทั้งคนขับและคุณครูประจำรถ เคสนี้จึงถือว่าเป้นการประมาท ไม่ยอมตรวจเช็กเด็กๆหลังจากเด็กได้ลุกลงจากรถแล้ว ในเบื้องค้นทางกระทรวงศึกษาธิการก็มีกฎระเบียบการลงโทษอยู่แล้ว ส่วนเรื่องทางคดีของทางตำรวจก็คงก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย


1กย2565
https://www.bangkokbiznews.com/health/1024218

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สถิติพบเด็กเสียชีวิต ในรถตู้เฉลี่ยปีละ 1 คน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 03 กันยายน 2022, 11:54:27 »
กรณีเด็กหลับในรถ ก่อนที่จะถูกลืมทิ้งไว้ในรถตู้รับส่งนักเรียน และสุดท้ายเกิดความเศร้าสลด เพราะเด็กตัวน้อยๆ ได้เสียชีวิตจากไปนั้น นับว่าเป็นเรื่องซ้ำซากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง และทุกวันนี้ยังพบปัญหาเดิม

ย้อนไปดูคดีต่างๆ  ที่เคยเกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่ปี 2555 มาจนถึงเคสล่าสุดนี้ มีเคสที่เคยเกิดขึ้นแล้ว อย่างน้อยอีก 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2555-2559 เป็นเด็กหญิง 2 คน เด็กชาย 2 คน อายุ 3 ขวบ 2 คน อายุ 4 ขวบ 2 คน เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ทั้ง สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาฬสินธุ์ และชลบุรีครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นกรณี เด็กหลับในรถตู้ แต่คนขับมองไม่เห็น ส่วนใหญ่มีการขับรถไปจอดกลางแดด อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และสุดท้าย เพื่อพบเด็ก เด็กก็ได้เสียชีวิตลงแล้ว
 
ทีมข่าวพูดคุยกับ นพ. ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ระบุว่า ปี 2557-2563 ประเทศไทย เกิดเหตุลืมเด็กในรถรวมทั้งสิ้น 129 คน เฉลี่ยปีละ 18 คน ส่วนกรณีที่เด็กเสียชีวิตมากที่สุดเกิดขึ้นบนรถตู้หรือรถรับส่งนักเรียน รวม 5 คน หรือเฉลี่ยปีละ 1 คน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ขวบ

คุณหมอธนะพงศ์ มองว่า ปัจจัยหลัก คือ เราไม่ได้ให้ความสำคัญ กับการเช็กจำนวนนักเรียนทั้งตอนขึ้น และลงจากรถ เมื่อเด็กหลงอยู่ในรถ และหากรถตากแดดอยู่ ในเวลาเพียงประมาณครึ่งชั่วโมง อุณหภูมิในรถจะเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียส แต่หากนานหลายชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อุณหภูมิในรถจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดฮีทสโตรก เด็กจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด และการทำงานของไต จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด

สำหรับแนวทางการป้องกันนายแพทย์ธนะพงศ์เน้นย้ำว่า หัวใจสำคัญที่สุดคือการเช็กจำนวนเด็กนักเรียนทั้งก่อนขึ้นรถและหลังลงจากรถ หรืออาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างที่หลายๆ โรงเรียนทำ คือ ระบบสแกนบัตรนักเรียน เพื่อที่พ่อแม่ผู้ปกครองและคุณครูจะได้ทราบว่าเด็กเข้าโรงเรียนเรียบร้อยแล้วหรือยัง

คุณหมอธนะพงศ์ ยังได้ยกตัวอย่างระบบ Child Safety Alarm Act ของรถโรงเรียนในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระบบที่จะส่งสัญญาณเตือน ให้คนขับรถตรวจสอบว่ายังมีเด็กอยู่บนรถหรือไม่ หลังจากที่ส่งนักเรียนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งระบบนี้ก็เกิดขึ้นหลังจากที่ฟลอริดา มีรายงานเด็กเสียชีวิตเพราะติดอยู่ในรถที่อากาศร้อนหลายเคส

สำหรับตัวเด็กเอง ควรที่จะมีการสอนให้เด็กรู้จักการบีบแตร เคาะเรียก หรือปลดล็อก เมื่อติดอยู่ในรถ โดยเฉพาะเด็กเล็กวัยประมาณ 2-3 ขวบ

ส่วนกรณีเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่เสียชีวิตบนรถที่จังหวัดชลบุรี นพ.ธนะพงศ์ตั้งข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่แล้วเหตุการณ์เด็กติดในรถ มักไม่ค่อยเกิดกับเด็กโต หรือวัยประถม เพราะเป็นวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว โดยส่วนตัวมองว่าอาจมีสาเหตุอื่นอย่างโรคประจำตัว หรือการทำร้ายร่างกาย หรือไม่ ซึ่งยังฟันธงไม่ได้ ต้องรอผลชันสูตร

ด้าน นส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ ได้รับรายงานเรื่องนี้แล้ว เป็นโรงเรียนเอกชน ได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า นักเรียนที่เสียชีวิต สาเหตุที่แท้จริงเป็นอย่างไร ที่ผ่านมากำชับเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษามาตลอด โดยเฉพาะรถรับส่งนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีมาตรการเรื่องระบบรถรับส่งนักเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมาอย่างเข้มงวด

ส่วน ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่า เรื่องนี้ หากเป็นการลืมเด็กในรถโรงเรียนจนเด็กเสียชีวิต ก็ถือเป็นความบกพร่อง ละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่ ศธ.กำหนด  เช่น จะต้องมีคนขับ และครูที่ดูแลตามจำนวนที่กำหนด ก่อนปิดรถก็ต้องตรวจสอบให้ละเอียดว่ามีเด็กค้างอยู่หรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้จะต้องมีผู้รับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น

31 ส.ค. 2565
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/179674

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ย้อนสถิติพบ 9 ปี พบเด็กติดในรถอย่างน้อย 130 เหตุการณ์ เสียชีวิต 7 คน ล่าสุดสูญเสียเด็กหญิงวัย 7 ขวบ ที่ จ.ชลบุรี ขณะที่กรมควบคุมโรค แนะ 3 ข้อควรจำ นับจำนวนเด็กก่อนขึ้น-ลงรถ ตรวจดูให้ทั่วก่อนล็อกรถ และอย่าประมาท

กรณี ด.ญ.วัย 7 ขวบ เสียชีวิต ถูกลืมทิ้งในรถตู้โรงเรียน จ.ชลบุรี โดยพ่อแม่เข้าแจ้งความดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวานนี้ (30 ส.ค.2565)

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ได้เฝ้าระวังข่าวจากสื่อตั้งแต่ปี 2557-2563 พบประเด็นที่น่าสนใจคือ มีเหตุการณ์เด็กที่ถูกลืมและทิ้งให้อยู่ในรถตามลำพัง 129 เหตุการณ์ เป็นเด็กอายุ 2 ปี มากที่สุดร้อยละ 38.0 รองลงมาคือเด็กอายุ 1 ปี และ 3 ปี ร้อยละ 20.9 และ 19.4 ตามลำดับ เกิดขึ้นในรถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุดร้อยละ 96.0 โดยมีเด็กเสียชีวิต 6 คน เป็นเพศหญิง 3 คน เพศชาย 3 คน อายุระหว่าง 2- 6 ปี ทั้ง 6 คน เสียชีวิตเกิดเหตุขึ้นในรถรับส่งนักเรียน 5 คน และรถยนต์ส่วนบุคคล (ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 คน) ทั้งหมดถูกลืมทิ้งไว้นานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเด็กนอนหลับ และรถถูกจอดไว้หลังจากรับส่งนักเรียนเสร็จ และล่าสุดเคส ด.ญ. อายุ 7 ปี เสียชีวิตเมื่อวานนี้ (30 ส.ค.) รวม 9 ปี เกิดเหตุเด็กติดในรถ 130 คน

แนะ 3 ข้อ “นับ ตรวจตรา อย่าประมาท”
ทั้งนี้ แนะนำผู้ปกครอง พนักงานขับรถรับส่งนักเรียน และครูอาจารย์ ให้เตือนตนเองใน 3 ข้อควรจำ เพื่อป้องกันการลืมเด็กในรถ ดังนี้ “นับ ตรวจตรา อย่าประมาท” ได้แก่ นับจำนวนเด็กก่อนขึ้นและหลังลงจากรถทุกครั้ง, ตรวจตรา ก่อนล็อคประตูรถ ตรวจดูให้ทั่วรถ และอย่าประมาท อย่าทิ้งเด็กไว้เพียงลำพังแม้ช่วงเวลาสั้น ๆ

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่า การปล่อยเด็กไว้ในรถช่วงกลางวัน และรถจอดตากแดดไว้ หรืออยู่ในร่มก็มีความอันตราย เพราะอากาศโดยรอบอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว เมื่อร่างกายพยายามไล่ความร้อน และร่างกายคุมไม่อยู่ ความร้อนจะเข้ามาในร่างกายและไม่สามารถขับออกได้ ตัวจะแดงและผิวแห้ง ต่อมาเซลล์อวัยวะต่าง ๆ จะเริ่มตาย ภาวะเลือดเป็นกรด ช็อก หมดสติ สมองบวมและกดศูนย์หายใจที่ก้านสมอง จนเด็กหยุดหายใจ โดยรวมทั้งหมดไม่เกิน 2 ชั่วโมง เด็กที่ติดอยู่ในรถก็อาจจะเสียชีวิตได้

“รถตากแดดไม่เกินครึ่งชั่วโมง อุณหภูมิในรถจะขึ้นมา 42 องศาฯ ความร้อนจะรั่วเข้าร่างกาย ร่างกายก็พยายามไล่ออก ไม่เกิน 2 ชั่วโมงจะหมดพลังและอุณหภูมิภายในร่างกายเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ”
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า การลืมเด็กไว้ในรถโรงเรียน หรือรถสาธารณะไม่น่าจะเกินขึ้นได้เลย เพียงผู้ขับขี่และผู้ดูแล เช็กชื่อเด็กที่ขึ้นมาบนรถและนับจำนวนเด็กขณะลงจากรถว่าครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งไม่น่าจะเกิน 15 คนต่อคัน

รถโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการภายนอก ทำให้โรงเรียนไม่รับผิดชอบเรื่องนี้เลย ทั้งที่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ 30 ปีมาแล้ว ระบุให้ "รถโรงเรียน" ที่โรงเรียนเป็นผู้ประกอบการเอง หรือผู้ประกอบการภายนอกนั้น โรงเรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด

ส่วนการสอนเด็กให้บีบแตร หรือเปิดประตูรถนั้น เด็กปฐมวัย (อายุน้อยกว่า 5-6 ปี) อาจยังเชื่อมโยงเหตุผลได้ไม่ดี เมื่อเกิดช่วงวิกฤตอาจไม่ได้นำความรู้ หรือทักษะมาใช้ อาจร้องและทุบกระจกจนหมดแรง

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ยังตั้งคำถามถึงเคสล่าสุดเด็กอายุ 7 ปี เสียชีวิตในรถ สามารถเชื่อมโยงเหตุผลและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง เป็นเรื่องน่าแปลก ปกติไม่เคยพบเคสเด็กอายุมากเท่านี้ อาจต้องตรวจสอบปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติม

“รถโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการภายนอก ขาดหน่วยกำกับดูแล ถ้าโรงเรียนไม่ดูแลแล้ว ความหวังจะให้ขนส่งจังหวัดมาดูแล ก็เป็นเรื่องยาก”
รศ.นพ.อดิศักดิ์ แนะหลักการ 3 ข้อ คือ ต้องจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยตั้งแต่แรก ผู้ดูแลต้องใกล้ชิดตลอดเวลา และสอนเด็กให้รู้ถึงจุดเสี่ยงและอันตราย โดยสอนให้เด็กกดแตรรถยนต์ให้เสียงดัง ใช้แอปพลิเคชันตรวจนับจำนวนรถเด็กขึ้น-ลงรถ ที่สำคัญให้คนขับตรวจนับจำนวนเด็กด้วยตัวเองทุกครั้ง และต้องมีระบบควบคุมการปฏิบัติงานของคนขับอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ หากพบเห็นเด็กถูกลืมไว้ในรถ ขอให้เรียกหาเจ้าของรถเพื่อให้มาเปิดรถโดยเร็ว กรณีที่ไม่พบเจ้าของรถขอให้คนรอบข้างช่วยเหลือ และโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร.1669

31 สิงหาคม 2565
https://news.thaipbs.or.th/content/318945