หมวดหมู่ทั่วไป > ห้องพักผ่อนรวม (Common Room)

วิจัยสหรัฐ ชี้ "ขึ้นเงินเดือน" ให้พนักงาน ทำให้ได้งานมีประสิทธิภาพจริง!

(1/1)

story:
ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา เผย บริษัทหรือผู้ประกอบการห้างใหญ่-ร้านค้าที่ "ขึ้นเงินเดือน" หรือเพิ่ม "ค่าแรงขั้นต่ำ" ให้พนักงาน ทำให้บได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการ "ลาออก" ของลูกจ้างได้จริง!

เมื่อไม่กี่วันก่อน (29 ก.ค. 65) มีผลสำรวจของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา เรื่อง “Minimum Wage and Individual Worker Productivity” ได้สำรวจและวิจัยการทำงานของพนักงานขายปลีก 40,000 คน ที่ทำงานกับร้านค้าขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ พบว่า บริษัทที่ "ขึ้นเงินเดือน" หรือเพิ่ม "ค่าแรงขั้นต่ำ" ให้แก่พนักงานตามผลงาน ช่วยให้ลูกจ้างทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลาออกน้อยลง!

โดยทีมวิจัยได้สำรวจข้อมูลจากพนักงานที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่ (ห้างสรรพสินค้า) ในสหรัฐอเมริกามากกว่า 10% จากทั่วประเทศ รวมถึงร้านค้าทั่วไปมากกว่า 2,000 แห่งทั่วทั้ง 50 รัฐ ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน (ยอดขายต่อชั่วโมง ทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย) กับกลุ่มลูกจ้างที่ได้ค่าแรงแบบกำหนดตายตัวแบบถัวเฉลี่ย (ไม่ว่าจะทำยอดขายได้มากหรือน้อยก็จ่ายเท่ากัน) ทำให้เห็นผลวิจัยที่ชัดเจนดังข้างต้น

โดยเหตุผลที่ทำให้การขึ้นเงินเดือนส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้าง ก็เนื่องมาจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นแรงจูงใจให้พนักงานไม่อยากลาออก เพราะกลัวจะเสียค่าตอบแทนที่สูงขึ้น จึงยิ่งกระตุ้นตนเองทำงานให้ดียิ่งขึ้นๆ เพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วย

ขณะเดียวกันทีมวิจัย ม.ชิคาโก ก็ค้นพบอีกอย่างว่า การขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำบ่อยเกินไป จะส่งผลให้กำไรของบริษัทลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับทุกบริษัท การจัดรูปแบบค่าจ้างที่เหมาะสมต่อทั้งสวัสดิการของลูกจ้าง ประสิทธิภาพของผลงาน และผลกำไรของบริษัท ล้วนสำคัญเท่าๆ กัน และต้องบาลานซ์ให้เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยจาก Paychex องค์กรด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล เงินเดือน สวัสดิการ และบริการประกันภัยในสหรัฐ ก็สะท้อนผลวิจัยสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากประเด็นการ “ขึ้นเงินเดือน” ที่จะรั้งพนักงานที่ทำผลงานดีให้อยู่กับบริษัทได้แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะช่วยจูงใจพนักงานได้อีก

โดยทีมวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นจากพนักงาน 4.3 ล้านคนในสหรัฐ ที่เพิ่งจะลาออกจากงานในช่วงเดือน พ.ค. 65 ที่ผ่านมา และพบว่านอกเหนือจากค่าตอบแทนและสวัสดิการแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ส่งผลมากที่สุด ต่อการตัดสินใจของพนักงานที่จะอยู่ทำงานต่อกับบริษัทนั้นๆ ได้แก่

การรับรู้ถึงความมั่นคงในบริษัทที่ทำงาน 60%
การรู้สึกว่างานนี้มีความหมายกับชีวิต 45%
การมีแพชชันในสายงานของตนเอง 33%
 
ส่วนปัจจัยที่พนักงานให้ความสำคัญน้อยที่สุด ในการที่จะเลือกอยู่ต่อกับบริษัทนั้นๆ (แม้ว่าหลายๆ บริษัทจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบเหล่านี้ก็ตาม) ได้แก่

แบรนด์ของบริษัท 19%
วัฒนธรรมองค์กร 19%
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท 13%

Alison Stevens ผู้อำนวยการฝ่าย HR Services Paychex กล่าวว่า “ผลวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพนักงานเกือบครึ่ง ไม่ต้องการเปลี่ยนบริษัทภายใน 12 เดือนข้างหน้า แต่ก็ไม่รับประกันว่าพนักงานเหล่านั้นจะยังคงอยู่ในระยะยาว การลาออกครั้งใหญ่กำลังใกล้เข้ามา บริษัทต่างๆ ควรใช้โอกาสนี้เพื่อเสนอโปรแกรมสิทธิพิเศษ และผลประโยชน์ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน”

อีกทั้ง ผลสำรวจชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเหตุผลสำคัญในการเลือกทำงานกับบริษัทต่างๆ ของพนักงาน โดยแบ่งตาม #เจนเนอเรชัน ได้แก่ Baby Boomers (32%), Gen X (35%) และ Millennials (31%) สามกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับบริษัทที่ให้ความมั่นคงในอาชีพการงาน แต่กลุ่ม Gen Z (18%) จะให้ความสำคัญกับงานที่มีความหมายต่อตนเองมากกว่าความมั่นคง

ที่สำคัญ.. ผลสำรวจยังบอกอีกว่า การที่องค์กรจะรักษาพนักงานให้ทำงานในระยะยาวได้นั้น ต้องมีปัจจัยเหล่านี้ด้วย นั่นคือ

การประกันสุขภาพ 64%
แผนการเกษียณอายุ 62%
ผลประโยชน์ด้านสุขภาพจิต 23%

"ผลประโยชน์ด้านสุขภาพจิต" กำลังเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z (23%) โดยพวกเขาระบุว่า ผลประโยชน์ด้านสุขภาพจิตทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะอยู่ที่องค์กรของตนในระยะยาว มากกว่าคนรุ่น Millennials (14%), Gen X (5%) และ Baby Boomers (3%)

--------------------------------------

อ้างอิง : Journals.uchicago.edu, Paychex 

3 ส.ค. 2565
กรุงเทพธุรกิจ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version