ผู้เขียน หัวข้อ: กรอบเวลาการทำงานของแพทย์ ประกาศแพทยสภามีอะไรใหม่?  (อ่าน 1976 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด






๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) และแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาล  ยื่นจดหมายถึงคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนขอความเป็นธรรม "ชั่วโมงการทำงานบุคลากรทางการแพทย์" หลังพบกว่า 60% ทำงานเกิน 80ชม./สัปดาห์ และอีกกว่า 30%ทำงานเกินกว่า 100 ชม./สัปดาห์ หลายคนดูแลผู้ป่วยติดต่อกันกว่า 40 ชม.

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 ที่รัฐสภา ตัวแทนจากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) และแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาล  นำโดย นพ.ณัฐ ศิริรัตน์บุญขจร สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.)  ยื่นจดหมายถึงคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อร้องขอความเป็นธรรม เรื่องชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ สืบเนื่องมาจากปัจจุบันบุคลากรแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาลจำนวนมากต้องอยู่เวรนอกเวลาและดูแลผู้ป่วยนอกเวลาราชการ ซึ่งเมื่อรวมแล้วมีจำนวนชั่วโมงสูงกว่ามาตรฐานในกฎหมายแรงงานทั่วไปอ้างอิงจากการส่ำรวจในปี พ.ศ. 2562 เรื่อง "ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย" โดย รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถามมากถึง1,105 คน ค้นพบว่า

-แพทย์กว่า 60% ทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-แพทย์กว่า 30% ทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-แพทย์หลายคนต้องทำงานดูแลผู้ป่วยติดต่อกันนานกว่า 40 ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาพักผ่อน

   โดยปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤติ รวมถึงสงผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์โดยตรง หลายคนลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใด้แรงกดดัน ด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ ถึงแม้จะมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวร แต่แพทย์ส่วนมากไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งแพทย์ไม่เพียงพอ

    ว่าด้วยปัญหาการทำงานดังกล่าวนี้ แม่ในอดีตจะเคยมีการทำข้อเสนอเพื่อควบคุมชั่วโมงเวลาการทำงานของแพทย์และมีการหารือหลายครั้งเพื่อพยายามแก้ไขปัญหา ในที่สุดแล้วก็ยังไม่เคยมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือมีการกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมการทำงานแต่อย่างใด

    ดังนั้น สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) จึงขอร้องเรียนให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ได้มีกฎหมายกำหนดชั่วโมงการทำงาน ลักษณะคล้ายกับของอาชีพนักบิน เพื่อลดโอกาสความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเป็น อันตรายต่อผู้ป่วยรวมถึงเพื่อรักษาสุขภาพของตัวบุคลากรเองด้วย



30 มิย 2565
https://www.hfocus.org/content/2022/06/25420

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมาพันธ์แพทย์ฯ ร้องขอความเป็นธรรม หลังทำงานหนักจนไม่มีเวลาพัก เกินชั่วโมง 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไม่เป็นไปตามกฎหมายแรงงานกำหนด
     
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนายสุเทพ อู่อ้น ประธาน กมธ.การแรงงาน และคณะ รับยื่นหนังสือจาก พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน และคณะ เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมเรื่องชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องมาจากปัจจุบันบุคลากรแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาลจำนวนมากต้องอยู่เวรนอกเวลาและดูแลผู้ป่วยนอกเวลาราชการ
 
ซึ่งเมื่อรวมแล้วมีจำนวนชั่วโมงสูงกว่ามาตรฐานในกฎหมายแรงงานทั่วไป โดยอ้างอิงจากการสำรวจในปี 2562 เรื่อง “ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย”
 
โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถามมากถึง 1,105 คน พบว่า แพทย์กว่าร้อยละ 60 ทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์กว่าร้อยละ 30 ทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และแพทย์หลายคนต้องทำงานดูแลผู้ป่วยติดต่อกันนานกว่า 40 ชั่วโมง โดยไม่มีเวลาพักผ่อน
 
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน จึงขอร้องเรียนให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ได้มีเวลาพักอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หลังจากออกเวรดึก คือเวลา 00.00 – 08.00 น. และหลังจากทำงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง
 
รวมทั้งขอชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในวันต่อไป และลดโอกาสความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย รวมถึงเพื่อรักษาสุขภาพของบุคลากรเองด้วย
 
ด้าน นายพิธา กล่าวว่า เมื่อนำระบบสาธารณสุขของไทยไปเปรียบเทียบกับความเป็นสากลจะเห็นได้ชัดว่าการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข และต้องปรับโครงสร้างระบบสาธารณสุขให้มีระบบ Primary Care ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อไม่ให้งานทุกอย่างมาอยู่ที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว
 
ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในคณะ กมธ.การแรงงาน ในสัปดาห์หน้า ซึ่งนายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ. ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว


30 มิย 2565
INN News

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ออกเเถลง ถึงอนุทิน ด่านหน้าไม่ไหว ขอเรียกร้องในฐานะมนุษย์ ทำงาน 72 ชั่วโมง ไม่ได้พัก

โดย สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า

“ถึง อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

พวกเรา แพทย์หน้างานที่ปฏิบัติงานเป็นด่านหน้าของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงพี่น้องบุคลากรทางการแพทย์หลายวิชาชีพ ที่ทำงานร่วมมือกันเพื่อสุขภาพของประชาชนไทย ด้วยแรงและกำลังทั้งหมดที่เรามี

วันนี้พวกเราหลายคนเหนื่อยล้า จากภาระงานที่บีบคั้นให้พวกเราละทิ้งครอบครัว ละทิ้งการพักผ่อน และสุขภาพที่ดี บีบให้พวกเราต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการทำงานที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ป่วย

พวกเราในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อหยุดยั้งความเสียหายดังกล่าวนี้

เราขอเรียกร้องในฐานะมนุษย์ ที่ไม่ต้องการทำงานติดต่อกัน 72 ชั่วโมงโดยไม่ได้พักผ่อน ขอให้พวกเราได้พัก เพื่อร่างกายของพวกเราและคนไข้

ในฐานะ ผู้ใต้บังคับบัญชาใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข พวกเราขอส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ เรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมเพื่อหาทางออกเรื่องการกำหนดกรอบอัตรากำลังเพื่อแก้ไขชั่วโมงการทำงานของแพทย์ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฏาคม 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ตามที่คณะกรรมาธิการแรงงาน ได้ส่งจดหมายเชิญท่านรัฐมนตรีแล้ว

นอกจากท่านรัฐมนตรี เรายังขอเชิญ แพทยสภา ,สภาการพยาบาล ,คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) และรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม”

นอกจากนี้ ในเพจ สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ยังโพสต์ถึงเหตุผลที่ต้องออกมาจี้ให้เเก้ปัญหา เพราะ ปัญหาปัจจุบันที่แพทย์ต้องเจอ คือ

- จำนวนแพทย์ที่ผลิตจะล้นในอีกไม่นาน แต่ตำแหน่งบรรจุเท่าเดิม

- แพทย์ที่ทำงานปัจจุบัน 1 คน แบกภาระงานที่ควรให้หมอ 4 คนทำ

- จำนวนหมอที่ สธ.นับ มีแพทย์ที่ทำงานบริหาร และแพทย์อายุมาก ที่อยู่เวรข้ามคืนไม่ไหว ทำให้จำนวนไม่ตรงกับความจริง

- แพทย์ทำงานเกิน 36 ชั่วโมงจนเป็นปกติ ความปกติที่ไม่ปกติ

- แพทย์กว่า 60% ทำงานเกิน 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (หนึ่งสัปดาห์มี 168 ชั่วโมง เหลือเวลาส่วนตัว 48 ชั่วโมง = 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอันนี้ต้องรวมเวลานอนเข้าไปด้วย ไม่มีเวลาส่วนตัวให้ครอบครัว และตัวเอง)

อีจัน
เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ค., 2022