ผู้เขียน หัวข้อ: คำตัดสินศาลสูงสุดสหรัฐ “สิทธิทำแท้ง” ที่ถูกลิดรอน  (อ่าน 378 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
คำตัดสินศาลสูงสุดสหรัฐ “สิทธิทำแท้ง” ที่ถูกลิดรอน
“ศาลสูงสุดสหรัฐ” ลงมติ 6 ต่อ 3 “คว่ำ” คำตัดสินคดี “โรกับเวด” (Roe v. Wade) ที่ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินเอาไว้เมื่อปี 1973 จากที่เคยเปิดทางให้ “การทำแท้ง” เป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นว่าในเวลานี้ สิทธิทำแท้งของผู้หญิงอเมริกันกำลังถูก “ลิดรอน” ลงไป

คำตัดสินของศาลสูงสุดสหรัฐเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา จากเดิมที่ทั้งประเทศมีสิทธิทำแท้งได้เท่ากับคำตัดสินในปี 1973 แต่นับจากนี้ “รัฐแต่ละรัฐ” ในสหรัฐอเมริกาสามารถออกกฎหมาย “ห้าม” การทำแท้งที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ หรือ “เพิ่มความเข้มงวด” สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการทำแท้งได้

คำตัดสินดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในการทำแท้งของผู้หญิง หรือกลุ่ม “โปรชอยส์” ออกมาชุมนุมประท้วงบนท้องถนนไปทั่วประเทศ และเกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในสังคมว่า “ผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกทำแท้งด้วยตัวเองได้หรือไม่?”

คดี “โรกับเวด” (Roe v. Wade)

จุดเริ่มต้นของการการต่อสู้ทางสังคมครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นจากคดี “โรกับเวด” หรือคดีระหว่าง “เจน โร” และ “เฮนรี เวด”

“เจน โร” เป็นนามแฝงของ “นอร์มา แม็คคอร์เวย์” หญิงโสดวัย 22 ปี ไม่มีงานทำ และกำลังตั้งท้องลูกคนที่ 3 ยื่นฟ้องต่อรัฐเท็กซัสในปี 1969

แม็คคอร์เวย์ต้องการทำแท้งแต่ “รัฐเท็กซัส” ที่อาศัยอยู่นั้นกลับมีกฎหมาย “ห้ามทำแท้ง” เว้นแต่จะเป็นกระบวนการเพื่อช่วยชีวิตมารดาเท่านั้น

ขณะที่ “เฮนรี เวด” เป็นอัยการจาก “ดัลลัสเคาน์ตี้” รัฐเท็กซัส เป็นคู่กรณีของ แม็คคอร์เวย์ ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐเท็กซัสอย่างเคร่งครัด นั่นส่งผลให้ แม็คคอร์เวย์ ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อ “เวด” โดยอ้างว่า “กฎหมายห้ามทำแท้ง” ของรัฐเท็กซัสไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติไว้ว่าให้คุ้มครองเสรีภาพของชาวอเมริกัน
ในคดีดังกล่าวองค์คณะผู้พิพากษา 3 คนของศาลแขวงของรัฐเท็กซัสไต่สวนคดีและวินิจฉัยให้แม็คคอร์เวย์ ชนะคดี ก่อนที่เวดจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดสหรัฐต่อไป

การต่อสู้คดีล่วงเลยมาถึงปี 1973 ศาลสูงสุดสหรัฐมีคำวินิจฉัยด้วยมติ 7-2 คุ้มครองสิทธิของ แม็คคอร์เวย์ ในการทำแท้งได้ โดยศาลสูงสุดให้สิทธิผู้หญิงอเมริกันสามารถตัดสินใจทำแท้งได้ในช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งภรรภ์โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่รัฐสามาถจำกัดสิทธิบางอย่างได้ในการตั้งครรภ์ช่วง 4-6 เดือน และสามารถห้ามทำแท้งได้ในช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือนได้ เนื่องจากทารกใกล้คลอดและสามารถมีชีวิตอยู่นอกครรภ์มารดาได้แล้ว

แม้แม็คคอร์เวย์ที่สู้คดียาวนานถึงเกือบ 4 ปี ไม่ได้ทำแท้งตามที่ต้องการ โดยคลอดลูกสาวระหว่างการสู้คดีและยื่นเรื่องให้มีผู้รับอุปการะต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ครั้งนี้ส่งผลให้กฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งที่แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ต้องเป็นเป็นตามคำตัดสินของศาลสูงสุดที่ “มีอำนาจวินิจฉัย” ตีความประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้กับทุกรัฐในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คดี “ด็อบบ์กับแจ๊คสัน” (Dobbs v. Jackson)

กลับมาที่คำตัดสินของศาลสูงสุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็นคดีที่มีชื่อว่า “ด็อบบ์กับแจ๊คสัน” โดย “ด็อบบ์” คือชื่อของ “โธมัส ด็อบบ์” นายแพทย์สาธารณสุขแห่งรัฐมิสซิสซิปปีในฐานะตัวแทนของรัฐมิสซิสซิปปี

ส่วน “แจ๊คสัน” คือชื่อคลินิกที่รับทำแท้งแห่งเดียวในรัฐ ที่ยื่นฟ้องต่อรัฐมิสซิสซิปปี ที่ในปี 2018 ออกกฎหมายห้ามทำแท้งหลังอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ พร้อมกับมีข้อยกเว้นเพียงไม่กี่ข้อ ซึ่งไม่รวมถึงการถูกข่มขืนและการมีเพศสัมพันธ์ของผู้มีพันธุกรรมใกล้ชิดกันเข้าไปด้วย โดยคลินิกแจ๊คสันอ้างว่าการออกกฎหมายดังกล่าวของรัฐมิสซิสซิปปี เป็นการออกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ

คดีถูกตัดสินในศาลแขวงและศาลอุทธรณ์สหรัฐ ซึ่งให้คลินิกแจ๊คสัน “ชนะคดี” ทำให้กฎหมายของรัฐมิสซิสซิปปี “เป็นโมฆะ” แต่รัฐมิสซิสซิปปี้ก็ยื่นเรื่องให้ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินในคดีดังกล่าวแบบเดียวกับคดี “โรกับเวด” ต่างกันตรงที่ศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันมีผู้พิพากษาสายอนุรักษนิยมในสัดส่วนมากกว่า

สุดท้ายศาลสูงสุดตัดสินด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 เสียง ให้ฝั่ง “ด็อบบ์” ชนะคดีทำให้คำตัดสินในคดี “โรกับเวด” เมื่อ 50 ปีก่อนเป็นโมฆะลงโดยปริยาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาลสูงสุดสหรัฐมีผู้พิพาษาที่มีแนวคิดอนุรักษนิยม 6 เสียงต่อผู้พิพากษาสายเสรีนิยม 3 เสียง ซึ่งสัดส่วนเอียงข้างดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรครีพับลิกัน ที่สามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาสายอนุรักษนิยมเข้าไปดำรงตำแหน่งได้มากถึง 3 คน จนฝั่งอนุรักษนิยมมีเสียงข้างมากเหนือผู้พิพากษาฝั่งเสรีนิยมถึง 2 เสียง

ไบเดนเผยจะเกิดปัญหาตามมา

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ แสดงความเห็นเกี่ยวกับคำตัดสินในครั้งนี้โดยระบุว่า ผู้พิพากษาศาลสูงสุดที่ส่วนมากเป็นฝ่ายอนุรักษนิยม ได้แสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจในเสียงส่วนใหญ่ของสังคมอเมริกันอย่างมาก และว่าคำตัดสินดังกล่าวเป็น “ความผิดพลาด”


ไบเดนยืนยันว่า เรื่องนี้จะยังไม่จบ โดยรัฐบาลจะปกป้องสิทธิในการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ และสิทธิที่ผู้หญิงจะเดินทางไปเข้ารับการทำแท้งในรัฐที่อนุญาตให้ทำได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่นอัตราการตายของแม่ระหว่างตั้งครรภ์จะพุ่งสูงขึ้น ขณะที่เหยื่อข่มขืนบางคนอาจต้องถูกบังคับให้อุ้มท้องลูกของอาชญากร เป็นต้น

ประธานาธิบดีสหรัฐระบุด้วยว่า กฎหมายคุ้มครองสิทธิการทำแท้งที่มีรากฐานจากคดี “โรกับเวด” นั้นเป็นหลักการที่ถูกต้องและสมดุล ซึ่งชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติศาสนาให้การยอมรับมานาน เพราะมีทั้งการรับรองสิทธิส่วนบุคคลในร่างกายของผู้หญิง และยังเปิดโอกาสให้รัฐเข้าควบคุมการทำแท้งได้ตามความเหมาะสม แต่หลักการนี้ต้องถูกทำลายลงเมื่อมาถึงยุคทรัมป์ เนื่องจากสังคมอเมริกันถูกทำให้ขัดแย้งแตกแยกกันมากขึ้น

ไบเดนระบุว่า การตัดสิทธิของหญิงอเมริกันในครั้งนี้ เป็นความพยายามของฝ่ายอนุรักษนิยมที่มีมานานหลายทศวรรษ เพื่อที่จะทำให้ “อุดมการณ์สุดโต่ง” กลายเป็นนโยบายที่ถูกนำมาใช้จริงในที่สุด

จะเกิดอะไรขึ้นหลังคำตัดสิน?

สำหรับผลที่ตามมาจากคำตัดสินในครั้งนี้อาจส่งผลให้ 26 รัฐในสหรัฐอเมริกาฐานเสียงพรรครีพับลิกันที่มีนโยบายอนุรักษนิยม จะสามารถพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่ให้สิทธิในการทำแท้งให้เข้มงวดมากขึ้น หรืออาจถึงขั้นออกกฎหมายห้ามทำแท้งในทุกกรณีตามมาได้

ขณะที่งานวิจัยของ “Planned Parenthood” องค์กรให้บริการยุติการตั้งครรภ์ระบุว่าคำตัดสินดังกล่าวอาจทำให้ผู้หญิงอเมริกันที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์จำนวนราว 36 ล้านคน จะไม่สามารถเข้าถึงบริการทำแท้งได้เลยหลังจากนี้

บทความในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สเองยอมรับว่า คำตัดสินของศาลสูงสุดสหรัฐจะส่งผลให้ผู้หญิงเสี่ยงที่จะต้องทำแท้งแบบผิดกฎหมายและอันตรายกับสุขภาพและชีวิตมากขึ้น

การเข้าถึงการทำแท้งอาจยังคงเข้าถึงได้สำหรับผู้หญิงในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคเดโมแครตที่มีนโยบายเสรีนิยม รวมไปถึงผู้หญิงที่มีเงินมากพอที่จะเดินทางไปทำแท้งในรัฐอื่น

แต่สำหรับผู้หญิงที่ยากจน โดยเฉพาะในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรครีพับลิกันที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมแล้ว การเข้าถึงการทำแท้งนั้นจะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง

ด้านผลสำรวจของ “ซีเอ็นเอ็น” เกี่ยวกับคำตัดสินของศาลสูงสุดสหรัฐนั้นก็มีผลที่น่าสนใจเมื่อพบว่ามีชาวอเมริกัน 30 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องการให้ศาลสูงสุดคว่ำคำตัดสินคดี “โรกับเวด” ลง แต่ก็มีชาวอเมริกันอีกมากถึง 69 เปอร์เซ็นต์ที่คัดค้านคำตัดสินดังกล่าว

จากนี้ไปประเด็นเรื่อง “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิงในสหรัฐคงจะเป็นศูนย์กลางการต่อสู้ทางการเมืองในสหรัฐต่อไป โดยพรรครีพับลิกัน พรรคการเมืองสายอนุรักษนิยมที่สนับสนุนแนวคิด “โปรไลฟ์” ซึ่งหมายถึงการคัดค้านการทำแท้งและสนับสนุนสิทธิของทารกในครรภ์ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน มองคำตัดสินของศาลสูงสุดครั้งนี้เป็นเหมือนกับชัยชนะ

ขณะที่พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดีไบเดน ที่มีนโยบายแบบ “โปรชอยส์” เองก็ยืนหยัดในจุดยืน และประกาศที่จะใช้การเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นประเด็นสำคัญในการชี้วัดความต้องการของสังคมด้วยเช่นกัน

3 กรกฎาคม 2565
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3433918

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน ใช้อำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหาร ลงนามในคำสั่งว่าด้วยการปกป้อง และเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้แก่สตรีอเมริกัน ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพื่อการคุมกำเนิดและการยุติการตั้งครรภ์ หรือการทำแท้ง

ไบเดนสั่งคุ้มครองสิทธิทำแท้งสตรีอเมริกัน อัดศาลฎีกา “ใช้อำนาจเกินขอบเขต”
สำหรับสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าว เป็นการที่ผู้นำสหรัฐมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขขยายขอบเขตของบริการ "ยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์" และบริการอื่นทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งรวมถึงการคุมกำเนิด การให้คำปรึกษาด้านการวางแผนครอบครัว และการรักษาความเป็นส่วนบุคคลให้กับสตรีที่เข้ารับบริการทำแท้ง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจน ว่าคำสั่งของไบเดนจะได้ผลในทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด เนื่องจากตอนนี้ทั้ง 50 รัฐและกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษ สามารถบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งได้เองแล้ว ตามมติครั้งประวัติศาสตร์ของศาลฎีกา ซึ่งผู้นำสหรัฐยังคงวิจารณ์ว่า "เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต" และ "ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง"

ทั้งนี้ คณะตุลาการศาลสูงสุดในกรุงวอชิงตัน มีคำพิพากษาเมื่อปลายเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ด้วยเสียงข้างมาฉิวเฉียด 5 ต่อ 4 เสียง กลับคำวินิจฉัยคดี “โรกับเวด” ( Roe v. Wade ) ฉบับปี 2516 ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิการยุติตั้งครรภ์ของผู้หญิงในประเทศในระดับเดียวกัน หมายความว่า นับจากนี้ แต่ละรัฐของเมริกาสามารถกำหนดกฎหมายและข้อจำกัดเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ได้เอง

ปัจจุบัน มี 26 รัฐ ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้และในภูมิภาคมิดเวสต์ หรือทางตะวันตกตอนกลางของสหรัฐ และบริหารโดยผู้ว่าการรัฐจากพรรครีพับลิกัน มีจุดยืนชัดเจนว่า พร้มออกกฎหมายห้ามทำแท้ง เมื่อใดก็ตามที่ศาลฎีกาของประเทศพลิกคำตัดสินคดีโรกับเวด จึงมีความเป็นไปได้มากว่า ผู้หญิงในรัฐกลุ่มนี้ซึ่งประสงค์ทำแท้ง แม้ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ต้องเดินทางข้ามไปยังรัฐอื่น ที่สิทธิดังกล่าวยังคงได้รับความคุ้มครอง.

9 กค 2565
เดลินิวส์