ผู้เขียน หัวข้อ: พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพื่อใคร? นพ.อรุณ วิทยะศุภร  (อ่าน 1996 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ตามที่ทราบกันทั่วแล้วว่า มีการเสนอร่าง พรบ.เพื่อคุมครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ถึง 6 ฉบับ ซึ่งทั้งหมดทุกฉบับไม่ว่าจะใช้ร่างฉบับใดหนึ่ง หรือนำทุกร่างมาผสมพันธ์กัน ก็จะได้ พรบ.ที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านการให้บริการที่มากกว่าและหนักกว่าที่เคยประสบ มาใน พรบ.ประกันสุขภาพ และอาจมี...........

ตามที่ ทราบกันทั่วแล้วว่า มีการเสนอร่าง พรบ.เพื่อคุมครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ถึง 6 ฉบับ ซึ่งทั้งหมดทุกฉบับไม่ว่าจะใช้ร่างฉบับใดหนึ่ง หรือนำทุกร่างมาผสมพันธ์กัน ก็จะได้ พรบ.ที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านการให้บริการที่มากกว่าและหนักกว่าที่เคยประสบ มาใน พรบ.ประกันสุขภาพ และอาจมีการหมกเม็ดสร้างขุมทรัพย์กองใหม่ที่รีดมาจากสถานบริการทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งรายเล็กใหญ่ แม้กระทั่งคลินิคต่างๆ รวมถึงร้านขายยา จึงเห็นควรยกเลิก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ทั้ง 6 ฉบับ ไม่จำเป็นต้องแก้ไข ด้วยเหตุผลพอสรุปได้ ดังนี้

1.       ประชาชนผู้เจ็บป่วย ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรสามารถเข้าถึง (accessibility) การบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพ (quality) ได้อย่างเสมอภาค (equality) ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของภาครัฐที่ต้อง ดำเนินการ ในส่วนการประเมินตรวจสอบคุณภาพมีองค์การของสภาวิชาชีพต่างๆด้านสาธารณสุข ดูแล เนื่องจากการบริการทางสาธารณสุขเป็นที่คาดหวังของผู้ขอรับบริการ แม้ให้บริการอย่างเต็มความสามารถตามมาตรฐานแล้วก็ตาม สามารถเกิดผลอันมิพึงปรารถนาได้  ฉนั้นการมาขอรับ บริการย่อมหวังผลหายจากความเจ็บป่วย มิใช่หวังผลว่าเมื่อมารับบริการแล้วสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้  แต่พบว่าในร่าง พรบ. ทุกฉบับมีมาตราที่บังคับใช้ไม่ตรงตามเจตนารมย์ของกฎหมาย หรือมีเจตนารมย์ของกฏหมายไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมกับสิทธิและเสรีภาพของผู้ให้บริการ  อันจะ ส่งผลต่อมูลค่าการบริการที่จะสูงขึ้นเกินจำเป็น เนื่องจากสถานบริการต้องระมัดระวังตัวอย่างเข้มงวดและให้บริการในลักษณะการ ป้องกันตนเองอย่างมาก เช่น การกำหนดให้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการจำนวนมาก ให้การรักษาที่เกินความจำเป็นมากขึ้น  ในขณะเดียวกัน บุคลากรผู้ให้บริการจะมีการป้องกันตนเองมากขึ้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงการให้บริการแก่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีโอกาส หายน้อย ทำให้ความสามารถในการเข้าถึงบริการของประชาชนไม่เสมอภาค ดังที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ รวมทั้งหลายๆกรณีในบ้านเรา เช่นการส่งต่อผู้ป่วยไปเรื่อยๆ จนการดำเนินของโรคก้าวหน้าไปมาก ท้ายที่สุดผลเสียทั้งหมดก็กลับมาตกอยู่ที่ประชาชนนั่นเอง  และ กรณีมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ผู้ประกอบวิชาชีพก็สูญเสียศักดิ์ศรีทางสังคมตั้งแต่บัดนั้น   ดังนั้น  การเยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขไม่ เพียงแต่ต้องไม่ให้ประชาชนเข้าใจว่าเมื่อรับบริการแล้วไม่ถูกใจจะได้รับเงิน ชดเชย จะต้องไม่มีเจตนารมย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพไม่ให้ถูกฟ้องร้องด้วย หากประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้มาตรฐานอันเหมาะสมสมควร  (การประกอบวิชาชีพ มี พรบ.เฉพาะควบคุมกำกับอยู่แล้ว)     ดังนั้น การเยียวยาควรมุ่งที่ผู้ รับบริการที่ได้รับความเสียหายภายหลังเข้ารับบริการทางสาธารณสุขที่สมควรได้รับการเยียวยา ไม่ใช่ทุกคน `กล่าวคือ เราต้องการให้เมื่อประชาชนเจ็บป่วยควรเข้ารับการบริการด้านสาธารณสุข และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น การเยียวยา ควรเป็นการเยียวยาทางสังคมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกคน โดยไม่คำนึงว่าเป็นความบกพร่องหรือผิดพลาดของผู้ใดหรือไม่  โดย(คณะ)ผู้ พิจารณาควรเป็นผู้ที่รู้จักหรือเข้าใจสภาพเศรษฐานะและความรับผิดชอบในครอบครัวของผู้รับความเสียหาย ตลอดจนได้รับความกระจ่างในแง่ความเจ็บป่วยและมาตรฐานการรักษาจากสถาบัน วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่า จะเยียวยา เพียงใด อย่างไร  ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องการบริการผิดมาตรฐานวิชาชีพ เนื่องจากมีสภาวิชาชีพ และหน่วยงานที่รับผิดชอบคอยกำกับ ดูแล และยังมีศาลยุติธรรมในกรณีที่ต้องการคำตัดสิน ผิด ถูก

2.       ในความเป็นจริงโดยระเบียบบริหารราชการในปัจจุบัน สามารถให้การเยี่ยวยาผู้ได้รับความเสียหายได้อยู่แล้ว โดยอยู่ในอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข และเราได้ให้การเยียวยาโดยอำนาจดังกล่าวมาเนืองๆในหลายกรณี เช่นให้การรักษาพยาบาลฟรีตลอดชีพ (ก่อนมี พรบ.ประกันสุขภาพ)  การให้ทุนเรียนด้านสาธารณสุขแก่บุตรหลาน การให้การเยียวยาทางจิตใจ แม้แต่การให้เงินอุดหนุน เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้ใช้คณะกรรมการ ไม่ได้ใช้กองทุน แต่อาศัยการเจรจาโดยสถานบริการกับผู้เสียหายหาย และอาจมีผู้แทนจากส่วนกลางเข้าร่วม  ซึ่งในปัจจุบัน หากกระทรวงจะพิจารณาทุเลาปัญหานี้ กระทำได้โดยใช้อำนาจทางกฏหมายที่มีแต่งตั้งคณะกรรมพิจารณาฯโดยให้บุคคลที่ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆให้ความเคารพนับถือ เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ (พิจารณาตามความเหมาะสมของสถานะของผู้เสียหาย) เป็นต้น  ในส่วนของวิชาชีพต่างๆด้านสาธารณสุขนั้น ควรเป็นแค่เพียงที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรเป็นกรรมการ  โดย คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาว่าควรให้การเยี่ยวยาหรือไม่ เพียงใด อย่างไร แล้วนำเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (ปลัดฯหรือรัฐมนตรี ขึ้นกับวงเงินการอนุมัติ)

3.       การกำหนดให้มี เงื่อนไขทางการแพทย์ในการเยียวยานั้น หากพิจารณาเผินๆเป็นการดี แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว จะเห็นว่า กว่าจะเยียวยาได้ (ในผู้ที่สมควรได้รับการเยียวยาทางสังคม) คงต้องใช้เวลานาน เพราะต้องตัดสินให้แน่ชัดก่อนว่าไม่ผิดเงื่อนไข  แต่ ร่าง พรบ.ต่างๆพยายามซ่อนปมโดยร่างทุกฉบับพยายามให้มีวิชาชีพเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย  ซึ่งเนื้อแท้แล้ว ผู้แทนเหล่านี้ไม่มีสิทธิตัดสินแทนสภาวิชาชีพ หรือผู้พิพากษา  หากผ่านร่างกฏหมายเหล่านี้ไปได้ ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นต่อสภาวิชาชีพ และในคณะกรรมการยังมีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่วิชาชีพ และน่าจะไม่มีโอกาสรู้พีดเถาเหล่ากอผู้เสียหายเลย โดยเฉพาะ NGO  ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้ มาเป็นคณะกรรมการร่วมตัดสินมาตรฐานการปฏิบัติของวิชาชีพได้อย่างไร

4.       ร่าง พรบ.ทุกฉบับ เหมือนมีความต้องการแอบแฝงสร้างพลังอำนาจในการให้ หรือเพียงต้องการระดมเงินมากองรวมไว้เพื่อใช้จ่าย  คล้ายๆ พรบ.ทางสาธารณสุขหลายๆฉบับที่ผ่านมา จะมี NGO กลุ่มเดิมๆ คนเดิมๆ เข้ามามีบทบาทเป็นคณะกรรมการมากมาย ทำให้รัฐต้องสูยเสียเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่าเบี้ยประชุม เบี้ยงเลี้ยง ค่าเดินทาง การดูงาน ฯลฯ ทั้งๆที่ หากดำเนินตามข้อ 2  ค่าใช้จ่ายจะน้อยมาก และเป็นที่ยอมรับมากกว่า

5.       การระดมเงินเพื่อนำ มาใช้นั้นมองในแง่ผิวเผินเป็นการดี แต่หากมองลึกๆแล้ว จะเห็นว่าหลายๆกองทุนเพิ่มภาระและทำให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากเงินมีจำนวนมาก ในกรณีนี้ การระดมเงินทุนจากโรงพยาบาลของรัฐดูเป็นเรื่องแปลก เพราะหยิบเงินกระเป๋าซ้าย(ซึ่งเป็นรูกลวงโบ๋อยู่แล้ว) ไปไว้กระเป๋าขวา (เพื่อให้อีกกลุ่มมาทำหน้าที่ใช้จ่ายแทน) เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่ประหยัด  การเรียกเก็บ เงินจากสถานบริการเอกชน ไม่ทราบว่าใช้เกณฑ์ใดในการเก็บ เพราะค่าบริการภาคเอกชนสูงกว่าภาครัฐตั้งแต่ 2  เท่าในชนบท จนถึง 10 เท่าในเมืองใหญ่  ร้าน ขายยารับผิดชอบอย่างไรในเมื่อการขายยาที่มีอยู่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน

โดย ความสรุป ไม่จำเป็นต้องมี พรบ.คุ้มครองฯ เราก็สามารถทำได้ดีเกือบร้อยอยู่แล้ว  เห็นควรคิด ร่าง พรบ. ใหม่ให้เหมาะสมกับเจตนารมย์จริงๆ ไม่มีเรื่องแอบแฝงแล้วค่อยนำเสนอดีกว่านะครับ

นพ.อรุณ  วิทยะศุภร