ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.หวั่นการเมืองแทรกหนัก “หลักประกันสุขภาพคนไทย” ถอยหลัง  (อ่าน 1510 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
เผยวิจัยหลักประกันสุขภาพช่วยคนจน-แรงงานนอกระบบ-คนอีสาน “หมอวิชัย”โชว์ประสิทธิภาพกว่าอีก 2 กองทุน หวั่นการเมือง-ธุรกิจแทรกแซงถอยหลัง “ดร.อัมมาร์” ชี้ สปสช.สำเร็จในชนบท-ล้มเหลวในเมือง
 
วันที่ 6 ม.ค.55 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จัดประชุม “หนึ่งทศวรรษระบบหลักประกันสุขภาพไทยกับทิศทางในอนาคต” ที่โรงแรมทีเคพาเลซ โดย นพ.สมศักดิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย นำเสนอการวิจัยประเมินผลว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเข้าถึง บริการสุขภาพที่ดีขึ้น เป็นนโยบายที่ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลเอื้อคนจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่อยู่นอกภาคการจ้างงานและคนอีสาน
 
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่านอกจากนี้ยังทำให้ระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอเข้มแข็งขึ้น ศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่เพิ่มขึ้นชัดเจนทั้งด้านคน-งบประมาณ-บริการ และทำให้ท้องถิ่น-ชุมชนมีส่วนร่วมด้านสุขภาพอย่างแท้จริงจากการมีกองทุนสุข
ภาพตำบล
 
นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าการมีระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้บริการสุขภาพเป็นสิทธิที่ประชาชนต้องได้รับไม่ใช่การสงเคราะห์ นอกจากนี้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ยังมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบเงินจ่ายรายหัวกับอีก 2 กองทุน มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง เช่น การล้างไตทางช่องท้อง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผ่าตัดต้อกระจก ปลูกถ่ายหัวใจและตับ มีระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1330 ทุกวัน 24 ชั่วโมง มีกองทุนสุขภาพชุมชนเกือบทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวทำให้สมัชชาอนามัยโลกเมื่อเดือน พ.ต.54 เสนอให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนโยบายแต่ละประเทศ
 
นพ.วิชัย ยังกล่าวถึงแนวโน้มน่าห่วงซึ่งจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพไทยถอยหลัง ได้แก่ ข้อเสนอให้จัดสรรงบประมาณตามขนาดหน่วยบริการแทนจัดสรรตามภาระการดูแลประชากร  ข้อเสนอให้ส่งเงินให้เขต สธ.และผู้ตรวจฯ จัดสรร ซึ่งเคยมีบทเรียนว่าในช่วง 3 ปีแรกตามบทเฉพาะกาล(พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ)ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)บริหาร ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนเกือบล้มละลายหลายร้อยแห่ง ส่วนข้อเสนอตัดโอนงบประมาณป้องกันส่งเสริมสุขภาพออกจากงบเหมาจ่ายกลับไปให้ สธ. ขอยกตัวอย่างว่าเมื่อเปลี่ยนระบบการซื้อยามาให้ สปสช.ดูแลเช่นปัจจุบัน ประหยัดงบประมาณไปได้อย่างมากกว่าการรวมศูนย์ที่ สธ.
 
“คณะกรรมการฯมีการเปลี่ยนแปลง ถูกกำหนดโดยฝ่ายการเมือง ภาคธุรกิจเข้ามามีอิทธิพล เหมือนที่เกิดขึ้นกับรัฐวิสาหกิจและแพทยสภามาแล้ว มีความพยายามตั้งคณะอนุกรรมการมาบริหารกองทุนฯ และอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างแทน สปสช. มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนการจ้างผู้บริหาร สปสช.ให้เหมือนรัฐวิสาหกิจที่กำหนดได้โดยนักการเมือง ซึ่งจะทำให้งาน สปสช.ขาดประสิทธิภาพ-ไม่ต่อเนื่อง เหมือนระบบราชการ” นพ.วิชัย กล่าว
 
ด้าน ศ.ดร.อัมมาร์ สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประสบความสำเร็จอย่างดีในชนบท แต่มีรูรั่วใหญ่ในเมืองที่ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจในคุณภาพบริการจนทำให้เกิดทัศนคติว่าเ ป็นบริการสุขภาพชั้นสอง ทั้งๆที่หลายบริการดี
 
“สปสช.ควรจะมองว่าอะไรที่ต้องสงวนไว้สุดชีวิตหรือยอมไม่ได้ ผมมองว่าระบบที่ สปสช.สร้างขึ้นมาและดีมากๆคือการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีและรัดกุม และสิทธิประโยชน์ใหม่ๆที่คุ้มค่า” ดร.อัมมาร์ กล่าว .

โดย วิมล กิจวานิชขจร ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา
7 มกราคม 2012