ผู้เขียน หัวข้อ: กลุ่มเส้นด้าย จี้ "รัฐบาล" ชัดเจน "โรคโควิด" แก้ปัญหาคนป่วยนอนข้างถนน  (อ่าน 291 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มเส้น-ด้าย จี้ "รัฐบาล" แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับ "โรคโควิด" เพื่อไม่ให้คนป่วยต้องนอนรอข้างถนน ทั้งที่ยังมีเตียงในระบบรองรับ

วันที่ 22 ก.พ. ที่ศูนย์ประสานงาน กลุ่มเส้น-ด้าย ถ.พหลโยธิน นายคริส โปตระนันทน์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเส้น-ด้าย เปิดเผยถึงสถานการณ์ฮอสพิเทลหลายที่เริ่มปิดรับคนไข้เนื่องจากเตียงเต็ม ทำให้คนไข้หลายคนรอคอยอยู่ที่บ้าน และผู้ป่วยบางคนต้องออกมานอนรอเตียงริมถนน ก่อนขอความช่วยเหลือมาที่กลุ่มเส้น-ด้าย ให้ช่วยหาเตียงเข้าพักรักษาตัว ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นเพราะความไม่ชัดเจนในนโยบายบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ว่าจะตัดสินใจไปทางไหน ระหว่างจะให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป หรือจะให้โควิดเป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน

ซึ่งกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาลวันนี้มันครึ่งๆ กลางๆ คือ โควิดยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป แต่ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคนกันเอง จึงไม่มีโรงพยาบาลไหนอยากรับรักษาผู้ป่วยโควิดเพิ่ม ทั้งที่ยังมีเตียง เพื่อเก็บเตียงให้กับกลุ่มผู้ป่วยโควิด ที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำให้เกิดเคส รปภ.รายหนึ่งติดเชื้อโควิด ต้องมานอนบริเวณหน้าธนาคารรอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

หรือกรณีล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ. ที่มีคุณลุงท่านหนึ่งตรวจโควิดจากโรงพยาบาลผลออกมาติดเชื้อ ระดับการป่วยสีเหลือง-สีแดง แต่ไร้ที่รักษา บ้านก็ไม่มีจึงมานอนข้างทาง ยังไม่นับกรณีที่กลุ่มบริษัทประกันภัยบางบริษัท ตั้งเงื่อนไขจะไม่จ่ายเงินชดเชยรายวันให้กับผู้เอาประกันที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล จึงทำให้ประชาชนที่ป่วยไม่รุนแรงเกิดความตื่นตระหนกหาเตียงกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ระบบเตียงในโรงพยาบาลยังมีพอรองรับได้ เพราะจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ขั้นรุนแรงมีระดับน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

นายคริส กล่าวอีกว่า หากรัฐบาล ทั้ง ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข มีความชัดเจนว่า จะเลือกปฏิบัติแนวทางไหน ถ้าให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป ก็ต้องมีระบบ HI ที่ดี มีความรวดเร็วในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน และต้องมีระบบ CI ในทุกชุมชน เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถอยู่ในระบบ HI ได้ รวมทั้งต้องให้ผู้ป่วยที่ทำประกันโควิดที่อยู่ในรักษาทั้งระบบ HI และ CI มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัย เช่นเดียวกับการเข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล

หรือถ้ารัฐบาลให้โควิด เป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน ก็ต้องเปิดเสรีในการรักษาพยาบาล ทุกโรงพยาบาลต้องรักษาผู้ป่วยโควิดอย่างเท่าเทียมทุกคน เปิดเสรีการฉีดวัคซีนตามความสมัครใจ และเลิกควบคุมการจำหน่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลมีความชัดเจนในทางปฏิบัติทางใดทางหนึ่งอย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มเส้น-ด้าย ก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

ด้าน น.ส.ปูเป้ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ย่านรังสิต จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตอนนี้ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ประชาชนตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด รัฐให้ไปโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่ไปถึงหน้าโรงพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะตรวจ RT-PCR ให้ หลายวันมานี้ มีคนโทรมาขอคำปรึกษาเรื่องนี้ถี่ขึ้นวันละหลายๆ คน ยอดเพิ่มขึ้น สถานการณ์เดิมกำลังวนมา ขณะที่รัฐก็กำลังจะยกเลิกนโยบายการรับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ แต่ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น ยกเว้นกรณีฉุกเฉินวิกฤติยังสามารถใช้ระบบการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ จนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤติหรือไม่เกิน 72 ชม.

ขณะที่ศูนย์พักคอยก็ทยอยเต็ม Hospitel ก็ทยอยปิดไปหลายแห่งแล้ว ที่เหลืออยู่ก็ผู้ป่วยเต็ม อย่างน้อยโรงพยาบาลตามสิทธิควรรับตรวจ RT-PCR แล้วแนะนำให้เขา HI ส่งยาให้ก็ได้ ตอนนี้ถ้าใครตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ก็ลงทะเบียน HI แล้วอยู่บ้านทำ HI ไปตามมีตามเกิด รอไป รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา อาการไม่หนักไปโรงพยาบาลเขาไม่รับ ดังนั้นก็ต้องดูแลตัวเองกันดีๆ.

ไทยรัฐออนไลน์
22 ก.พ. 2565

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้ ผู้ป่วยโควิดไม่จำเป็นต้องมานอนข้างถนน กลับไปอยู่บ้านสวมหน้ากากแบบห่างๆ คนในครอบครัวได้ มอง ติดต่อหลายทางเตียงที่เตรียมไว้ก็ไม่ได้ใช้

วันที่ 22 ก.พ. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกรณีผู้ป่วยชายรายหนึ่งตรวจ ATK แล้วทราบผลเป็นบวก จนต้องนอนข้างถนนเนื่องจากเกรงจะนำเชื้อไปติดคนในครอบครัว ขณะรอทำการตรวจที่โรงพยาบาลในวันรุ่งขึ้น โดยโรงพยาบาลให้เหตุผลว่าเป็นวันหยุดราชการ ซึ่ง นพ.เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีการชี้แจงในวันนี้ ว่า เจ้าหน้าที่พยาบาลแนะนำให้กลับบ้าน พร้อมทั้งปฏิบัติตัวตามมาตรการทางการแพทย์ และให้มาตรวจซ้ำในเช้าวันจันทร์ที่ 21 ก.พ. ซึ่งผู้ป่วยมาตามที่แนะนำ แต่เนื่องจากมีผู้รับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ทางโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีจึงขออภัยในข้อผิดพลาดดังกล่าว และพร้อมจะเปิดบริการตรวจคัดกรองในวันหยุดราชการตั้งแต่ 26 ก.พ. เป็นต้นไป

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถกลับบ้านได้จริงๆ จะทำอย่างไรในช่วยระยะเวลารอคอย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวได้คุยกับผู้ป่วยรายนี้โดยตรง พร้อมระบุว่าอันดับแรกผู้ป่วยควรจะโทรสายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งไม่แน่ใจว่าโทรหรือยัง ซึ่ง ณ ตอนนี้เราพยายามประกันว่าไม่เกิน 6 ชั่วโมงจะมีคนติดต่อกลับ

“ต้องขอบคุณคนไข้คนนี้ที่เกรงว่าจะติดลูกกับภรรยา แต่ความเป็นจริงกลับไปอยู่บ้าน แล้วก็อยู่ห่างๆ ใส่แมสก์ตลอดเวลาได้ ไม่ได้จำเป็นต้องมานอนอย่างนี้ เข้าใจหัวอกคนเป็นพ่อ ก็เป็นห่วงลูก พวกเราที่เป็นหมอทุกคนเราพยายามเข้าใจคนไข้ทุกคน แต่ว่าความเป็นจริงแล้วเราก็มีกระบวนการที่เตรียมไว้แล้ว ณ วันนั้นเข้าใจว่ามีโทร. 1669 ด้วย ศูนย์เอราวัณก็เตรียมจะเอาเข้า CI (Community Isolation) ทางนี้ก็เตรียมจะเอาเข้าวอร์ดถ้ามีอาการมาก แต่ว่าคนไข้ไปนอน Hospitel ก่อนแล้ว”

นพ.สมศักดิ์ ระบุต่อไปว่า ทำอย่างไรเราจะมีความร่วมมือกันทุกภาคส่วนได้ พรุ่งนี้ (23 ก.พ. 2565) กรมการแพทย์จะเชิญภาคประชาสังคมทั้งหมดมาพูดคุยกันช่วงบ่าย เพื่อจัดระบบสิ่งเหล่านี้ว่าถ้าติดต่อที่ใดที่หนึ่งขอให้ชัดเจนสักอัน หลายทางก็กลายเป็นว่าหลายคนก็เตรียมไว้ กลายเป็นว่าเตียงที่เตรียมไว้ก็ไม่ได้ใช้อีก ต้องไปนอนที่อื่น อยากให้ประสิทธิภาพการดูแลคนไข้ดีที่สุด

ส่วนคำถามถึงภาพรวมการครองเตียง นพ.สมศักดิ์ เผยว่า ดูการครองเตียงทุกวัน ภาพรวมปริมาณการครองเตียงยังอยู่ที่ประมาณแค่ 60% แต่บางโรงพยาบาลเต็ม พร้อมยกตัวอย่างการครองเตียงที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) จะครองเตียง 80-90% เราใช้วิธีการหมุน คือ เอาเข้ามาอยู่โรงพยาบาล โดยเฉพาะเด็กเล็ก พ่อแม่เป็นห่วง ก็เข้ามาอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน พออาการคงที่ ดูแล้วไม่มีอะไรแน่นอนเราก็ขอให้กลับไป Home Isolation (HI) เพื่อจะรับคนใหม่เข้ามา ทางด้านตัวเลขที่นครราชสีมา เตียงสีแดง กับเตียงสีเหลือง เหลือ แต่เตียงสีเขียวมีอยู่ 1 วันที่เป็น 100% เมื่อวานนี้ (21 ก.พ. 2565) ลดลงมาเหลือ 80-90%

“เข้าใจว่าพี่น้องประชาชนอยากนอนโรงพยาบาลมากกว่า แต่ก็อยากขออนุญาตกราบวิวงวอนอีกครั้งว่าอยากให้เก็บสำรองเตียงในโรงพยาบาลสำหรับคนที่จำเป็นต้องนอน เช่น แม้จะเป็นสีเขียวแต่มีโรคร่วมที่ควบคุมไม่ได้ บางคนเป็นโรคหัวใจ ช่วงนั้นอาจจะเหนื่อยผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ ร่วมเข้ามาอีก ต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่งจะจัดเป็นสีเหลืองถึงแม้อาการโควิดจะไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น โดยเฉลี่ยเตียงยังพอมี แต่อาจจะตึงเป็นบางโรงพยาบาล”

ขณะที่เรื่องคณะรัฐมนตรีให้กลับไปทบทวนประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ชะลอประกาศเรื่องข้อกำหนดเกณฑ์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน (UCEP) ซึ่งจะให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาฟรีตามสิทธิ์การรักษาของแต่ละคนนั้น ทำให้แพทย์หน้าใสขึ้น เพราะในช่วงที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น หากมีหลายภาคส่วนมาช่วยกันรับก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะฉะนั้นตอนนี้โควิด-19 ยังไม่ถูกนำออกจาก UCEP ยอมรับว่าประชาชนเกิดความสับสนในการเข้ารักษา และพยายามเข้าใจประชาชนว่า HI ไม่สะดวก CI ก็ไม่อยากไป อยากไปนอน Hospitel ขอเรียนว่า Hospitel อาจจะน้อยลงเพราะเราจำกัดค่าใช้จ่ายสีเขียว หลักๆ อาจจะเป็น Hotel Isolation ที่ภาคเอกชนก็ยังทำได้.

ไทยรัฐออนไลน์
22 ก.พ. 2565