ผู้เขียน หัวข้อ: การค้างจ่ายค่าตอบแทน(P4P)ของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ตามระเบียบค่าตอบแทน ฉบับ9  (อ่าน 1981 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเกิดปัญหาโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) ค้างจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติ หรือพีฟอร์พี (p4p :pay for permanance) ให้กับบุคลากรภายในโรงพยาบาล(รพ.) 89 แห่ง โดยค้างจ่ายตั้งแต่ 1 เดือน ไปจนถึงมากสุด 27 เดือน โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ปัญหาเพราะนโยบายพีฟอร์พี ทำให้รพ.ไม่มีเงินในการนำมาจ่ายในส่วนนี้ ขณะที่อีกกลุ่มมองว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เป็นเพราะงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรืองบบัตรทองจัดสรรให้ รพ.ไม่เพียงพอนั้น

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า ปัญหาการค้างจ่ายเงินพีฟอร์พีมีกระแสกันไปมาก แต่บางประเด็นก็คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่มีการค้างจ่าย ประกอบด้วย

1. ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 จนถึงเดือนกันยายน 2558 มีการระงับการจ่ายเนื่องจากยังไม่มีการประเมินหลักเกณฑ์จ่ายค่าตอบแทนฉบับ 8 และ 9 ตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม ซึ่งกว่าจะมีการอนุมัติให้จ่ายได้ก็สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 แล้ว และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แจ้งให้จ่ายได้เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ทำให้มีการค้างจ่ายสะสมในโรงพยาบาลมากกว่า 12 เดือน

2. สถานะการเงินของรพ. โดยเฉพาะรพ.ทั่วไปขนาดเล็ก และจังหวัดที่มีรพศ./รพท.หลายแห่ง ซึ่งคงทราบกันดีอยู่ว่ารายได้หลักมาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและจำนวนเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเอาเงินเดือนไปผูกรวมอยู่ด้วย และวิธีการจ่ายของ สปสช.ที่เป็นปัญหา

3.อย่างการจ่ายพีฟอร์พีก็ต้องทยอยจ่าย ไม่สามารถจ่ายทีเดียวได้ เพราะหากจ่ายทั้ง 12เดือน กาจต้องจ่ายตั้งแต่ 15-50 ล้านบาทตามขนาดรพ. บางแห่งจ่ายครั้งละ2-3เดือนทุกเดือน บางแห่งทุก 3 เดือน ตามสภาพคล่องของรพ. เนื่องจากค้างหนี้เจ้าหน้าที่ได้ แต่ค้างหนี้บริษัทยา คุรุภัณฑ์ต่างๆไม่ได้ เพราะอาจถูกฟ้องร้อง และ

4. ในภาพรวม ผู้บริหารรพศ./รพท. รักษาวินัยทางการเงินการคลังได้ดี ยึดหลักรพ.ต้องไม่ขาดสภาพคล่องเพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับผู้ป่วย

5.ผู้บริหารรพศ/รพท. ไม่ได้รับผิดชอบการเงินแค่ในรพ. แต่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดูแลในภาพรวมของจังหวัด รวมทั้งร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ดูแลในภาพรวมระดับเขต มีการชะลอหนี้ และยกหนี้ให้กันในหมู่พี่น้องรพศ/รพท.และโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)

“สรุปในภาพรวมมีการจ่ายแน่ๆแต่ต้องทยอยจ่าย มีเพียงไม่กี่รพ.ซึ่งวิกฤตมาก ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือกันเป็นการเฉพาะหน้าคงแค่บรรเทาอาการเท่านั้น ตราบเท่าที่ปัญหาเรื่องวิกฤตการเงินของรพ.ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกจุด ลากกันไปเรื่อยๆแบบนี้คงจะเห็นการล่มทั้งระบบในเร็ววันนี้” นพ.ธานินทร์ กล่าว

7 มิถุนายน 2559
https://www.matichon.co.th/local/news_163847