ผู้เขียน หัวข้อ: “จุรินทร์” แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย(22 มิถุนายน 2553)  (อ่าน 1981 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
“จุรินทร์” แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เป็นของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่เอ็นจีโอ ชี้กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เชื่อช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์
จากการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจาก การรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และล่าสุดศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ลงนามในหนังสือถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ทบทวนมติดังกล่าว และดูผลกระทบวงกว้าง เพื่อที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะได้ไม่สร้าง ปัญหาต่อเนื่องไปยังหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวอ้างว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเสนอโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้กลุ่มแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีสาระ กำหนดให้ผู้เสียหายสามารถฟ้อง อาญา แพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และสถานีอนามัย นั้น


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า กรณีร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการรับบริ การสาธารณสุข พ.ศ.... อาจเป็นความเข้าใจผิด ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เสนอร่างของคนใดคนหนึ่งเข้า สู่การประชุม พิจารณาของคณะรัฐมนตรี ตนเองเข้ามาในช่วงที่เลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้สอบถามว่าเห็น ด้วยกับร่างที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาแก้ไขเสร็จ เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ได้ยืนยันว่าเห็นด้วย ซึ่งต้นร่างจริงๆ เป็นของกระทรวงสาธารณสุขเดิม ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกับร่างที่กฤษฎีกาแก้ไข และได้ส่งต่อไปยังสภาผู้แทน ราษฎร และได้มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ โดยหลักการจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้รับบริการคือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้บริการ ถ้าเกิดกรณีที่เป็นอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการ จากการบริการทางการแพทย์ ก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งพิจารณาชดใช้ความเสียหายเบื้องต้น ให้กับผู้ได้รับความเสียหาย หากเป็นที่พึงพอใจก็จะเป็นการช่วยลดกรณีฟ้องร้องแพทย์และ บุคลากรสาธารณสุขลงได้ เพราะมีการชดเชยที่มีกฎหมายรองรับ รวดเร็วทันท่วงทีตามระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด และหวังว่าจะเป็นธรรมขึ้น ในส่วนแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข ผู้ให้บริการ จะได้ไม่ถูกฟ้องร้อง หรือถ้าถูกฟ้องร้องจริง ก็มีปริมาณที่ลดลง เพราะผู้เสียหายได้รับการชดเชยได้รวดเร็วทันท่วงที ซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดไว้ตั้ง แต่เข้ามารับตำแหน่งที่กระทรวงสาธารณสุข

นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนรายละเอียดของร่างกฎหมาย หากมีข้อแก้ไขในรายละเอียดก็สามารถดำเนินการได้ เมื่อผ่านเข้าสู่สภาฯเมื่อผ่านวาระหนึ่งแล้ว ก็จะไปขั้นการพิจารณาของกรรมาธิการ ซึ่งเป็นขั้นที่แก้ไขรายละเอียดได้ ถ้าแก้ไขไปแล้วยังต้องปรับปรุงต่อไปอีก วุฒิสภาก็ยังปรับปรุงแก้ไขได้อีก หากไม่เห็นพ้องกัน ก็ยังสามารถตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภาได้อีก ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็จะตั้งหน่วยงานหรือตัวแทนของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็น กรรมาธิการด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการ ซึ่งหากไม่ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ กฎหมายนี้ก็ไม่มีโอกาสได้นับหนึ่ง จะติดค้างอยู่เช่นนี้ ไม่มีโอกาสบังคับใช้ในอนาคต โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้ จะเข้าสู่ที่ประชุมในสมัยหน้า เข้าใจว่าจะบรรจุในระเบียบวาระต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร

*********************************** 22 มิถุนายน 2553

แหล่ง ข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ
[มิถุนายน อังคาร 22,พ.ศ 2553 16:27:27]

หมายเหตุ จากผู้บันทึก

ร่างที่เสนอเป็นร่างของเอ็นจีโอ ที่ตัดผู้เป็นตัวแทนสภาวิชาชีพออก จากการเป็นกรรมการ และจะทำให้มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนมหาศาลจากทุกส่วน รัฐบาล โรงพยาบาลทุกแห่ง คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพทุกประเภท

เฉพาะคนป่วยที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ปีละ๑๖๐ล้านครั้ง กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องจ่ายให้กองทุนนี้หัวละ๕บาทต่อ การใช้บริการ๑ ครั้ง ปีละเกือบหมื่นล้านบาท ที่ยังไม่รวมการเรียกเก็บจากส่วนอื่นๆ

การใช้เงินจากกองทุนนี้ ไม่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังก็ได้ เพราะ กรรมการกำหนดระเบียบเองได้ และสตง.ตรวจสอบไม่ได้เช่นเดียวกับการใช้เงินจากกองทุน สปสช. กรรมการมาจากพวกของเอ็นจีโอ ๘ คน จากรัฐและไม่ใช่พวกเอ็นจีโอ ๗ คน

จำนวนคนตายในโรงพยาบาลปี๒๕๕๒ ประมาณ๑.๗หมื่นคน รวมกับตายนอกโรงพยาบาลอีกรวมแล้ว ประมาณ ปีละ ๔แสนคน หากหัวหมอเรียกค่าเยียวยา ก็จะใช้เงินเฉพาะคนตายหัวละห้าหมื่น-สองแสนบาท ตกราวปีละ๘,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ยังไม่นับรายที่ไม่ตาย แต่มีเหตุให้ไม่พอใจการดูแลรักษา และรายที่อาการแย่ลง อีกไม่รู้จำนวน ยังมีรายที่เป็นความพิการตามเหตุตามปัจจัยอีก รายที่โรคกลายเป็นโรคเริื้อรัง อีก

การเรียกเงินค่าเสียหายอีกโดยไม่นับครั้ง

เหตุนี้นำไปสู่การเป็นขาใหญ่ของ เอ็นจีโอ เพราะสามารถโหวตเอาเงินได้ ผลประโยชน์ตรงนี้ จะนำไปสู่อะไร? ลองคิดดู จะเกิดอะไรในวงการแพทย์และสาธารณสุขบ้านเรา เมื่อมีแรงจูงใจและคนจูงใจให้เกิด การเรียกร้องค่าเสียหายแบบ ไม่ต้องพิสูจน์

ในแง่กฎหมาย ยังมีการวิเคราะห์ว่า พรบ.ฉบับนี้ยังเป็นการแสดงความรับผิด ดังนั้น เมื่อไปฟ้องอาญาต่อ ก็ต้องชนะอีก ไม่ใช่กฎหมายจำกัดสิทธิที่จะฟ้อง ร้องเอาความผู้ให้บริการ และไม่เป็นการปกป้องผู้ให้บริการที่ตั้งใจดูแลผู้ป่วยอย่าง ซื่อตรง แต่เป็นการปกป้องคนไม่รับผิดชอบให้พ้นผิดโดยไม่ต้อง พิสูจน์หากไม่มีการฟ้องร้อง แต่หากมีการฟ้องร้อง ผู้ให้บริการทั้งหมด มีความผิด โดยไม่ต้องพิสูจน์

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เจริญแล้วซิ....ชาวสาสุข