ผู้เขียน หัวข้อ: หมอธีระวัฒน์ แนะฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง หลังฉีดเข้ากล้ามเนื้อตายทะลุ 2 พันราย  (อ่าน 323 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
หมอธีระวัฒน์ชี้โอไมครอนอาการไม่หนัก แนะให้ระวังผลข้างเคียงจากวัคซีนแทน หลังผู้ฉีดวัคซีนในไทยตายทะลุ 2 พันราย ย้ำฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนังผลข้างเคียงน้อยกว่า 10 เท่า ภูมิคุ้มกันสูงเทียบเท่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วันที่ 29 ธันวาคม 2564 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สถานการณ์โอไมครอนที่ดูอาการไม่หนัก ดังนั้น ต้องระวังผลข้างเคียงจากวัคซีน โอไมครอนน่าจะดูดี เพราะที่อยู่โรงพยาบาลจำนวนไม่มากจากข้อมูลประเทศอังกฤษ และอาการไม่หนักมาก เสียชีวิต 39 ราย และหลังติดเชื่ออาการเกิดขึ้นเร็วภายใน 2 วัน และจบภายใน 8 ถึง 9 วัน กักตัวถ้าไม่มีอาการ 5 วัน

จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ โอไมครอนครองสัดส่วนเป็น 90% (จาก ดร.จอห์น แคมป์เบล 29/12/64)
ดังนั้น ในประเทศไทยถ้าเป็นตามในประเทศอังกฤษ โอไมครอนเข้ามาแทนที่เดลต้า โดยถ้ายังไม่ยกระดับความรุนแรงจาก “ร้ายอาจกลายเป็นดี” ได้

ทั้งนี้ ต้องไม่มีสายประหลาดเกิดใหม่ด้วย เพราะฉะนั้น การฉีดวัคซีนที่ระดมมหาศาลขณะนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยคุณต้องฉีดเป็นการเข้าชั้นผิวหนัง

จากข้อมูล สปสช. มีผู้ขอชดเชยค่าเสียหายที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด 11,911 ราย เป็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ 955 ล้านบาท และยังมีกรณีที่อยู่ในการอุทธรณ์ เลียชีวิต 19.15% ของ 11,911 ราย นั่นคือ มากกว่า 2,000 ราย
เกิดจากวัคซีนแอสตร้าฯ 6,043
ซิโนแวค 4,239
ซิโนฟาร์ม 467
ไฟเซอร์ 811
ทั้งนี้ ต้องจับตาไฟเซอร์ที่เริ่มใช้ขณะนี้ และแอสตร้าฯที่ใช้แต่แรกจนปัจจุบันในเรื่องผลข้างเคียงและการเสียชีวิต

ขณะที่ประเทศไทยเสียชีวิตจากโควิด 21,598 ราย เสียชีวิตจากโควิดวัคซีนมากกว่า 2,100 ราย ตามที่มีการเรียกร้องค่าชดเชยจาก สปสช. นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยใช้ปริมาณน้อยกว่า และกลไกคนละแบบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและภูมิไม่ได้ลดลงเร็วกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยระดับภูมิได้เท่ากัน

นพ.ธีระวัฒน์ขยายความในโพสต์ต่อมาเกี่ยวกับความเข้าใจการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังว่า ภูมิคุ้มกันขึ้นเท่ากับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อโดยตรง แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่า 10 เท่า ขณะที่ภูมิคุ้มกันหลังฉีดอยู่ได้นานพอกัน

ส่วนในเรื่องของทีเซลล์การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีน 2 ชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ทีเซลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณ 4 วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อการกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

โดยตัวคนแต่ละคนที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูง กลาง และต่ำ ซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010 ขึ้นอยู่กับอายุและมีโรคประจำตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน แม้แต่ SV SV AZ แม้กระตุ้นภูมิได้น้ำเหลืองได้สูงมากแต่การตอบสนองของที่เซลล์นั้นยังพบได้น้อยก็มี

29 ธันวาคม 2564
https://www.prachachat.net/general/news-831522