ผู้เขียน หัวข้อ: แล้วเป็นไง “มาดากัสการ์” ประเทศที่เลือก “สมุนไพร”นำหน้า “วัคซีน” !?  (อ่าน 730 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

“มาดากัสการ์” เป็นประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา เป็นเกาะที่มีทะเลล้อมรอบ มีประชากรประมาณ 28 ล้านคน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้น้ำหนักในเรื่องสมุนไพรมากกว่าการฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบัน “มาดากัสการ์” เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาซึ่งยากจน เช่นเดียวกับหลายประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกา อันเป็นเหตุที่ทำให้ช่วงเวลาที่แย่งกันฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และ 3 สัดส่วนการฉีดวัคซีนได้น้อยกว่า ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย เอเชีย

ด้วยความยากจนนี้เองทำให้ระบบการสาธารณสุขของหลายประเทศในทวีปแอฟริกานี้ไม่เข้มแข็งเท่ากับประเทศที่ร่ำรวยกว่า ดังนั้นเมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากๆจากโรคโควิด-19 ระบบสาธารณสุขในประเทศมาดากัสการ์ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ทั้งโรงพยาบาล แพทย์และยา และส่งผลทำให้สัดส่วนของผู้เสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ในระดับที่สูงมาก

ย้อนกลับไปในการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2553 ค่าเฉลี่ยของมาดากัสการ์ มีสัดส่วน 3 เตียงในโรงพยาบาลต่อประชากร 10,000 คน ในประชากร 22 ล้านคนในปีดังกล่าว มีแพทย์เพียง 3,150 คน มีพยาบาลเพียง 5,661 คน มีเภสัชกรเพียง 175 คนเท่านั้น
ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อปี พ.ศ. 2551 มาดากัสการ์จำเป็นต้องลงงบประมาณของประเทศถึงร้อยละ 14 กับภาคการพัฒนาสาธารณสุข โดยในจำนวนนี้เป็นการใช้งบประมาณภาครัฐร้อยละ 70 และได้รับการบริจากจากองค์กรต่างชาติและภาคเอกชน [1]

เมื่อปี 2557 มาดากัสการ์ ได้เกิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic palgues) และกาฬโรคปอด (pneumonic plagues) มีผู้ติดเชื้อ 263 คน เสียชีวิต 71 คน, ปี 2560 ทั้ง 2 โรคระบาดซ้ำอีกในปี ทำให้มีผู้ป่วย 2,575 คน เสียชีวิต 221 คน, ปี 2562 มาดากัสการ์โรคหัดระบาด มีผู้ป่วย 118,000 คน เสียชีวิต 1,688 คน

แม้ในปี 2561 ความยากจนของดากัสการ์ ประชาชนเข้าสู่ภาวะทุพโภชนาการและขาดสารอาหารมากถึงร้อยละ 42[2]
ความยากจนของประเทศ ความอ่อนแอของระบบการสาธารณสุข เมื่อผนวกเข้ามากับปัญหาการแย่งชิงวัคซีนในช่วงแรก ได้เป็นผลทำให้ นายอันดรี่ ราฌูลินา ประธานาธิบดีแห่งดาดากัสกา ได้ตัดสินใจในการ “พึ่งพาตนเอง” เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการใช้สมุนไพรประจำถิ่น

และสมุนไพรที่นายอันดรี่ ราฌูลินา ประธานาธิบดีแห่งมาดากัสกา ได้เลือกคือ “โกฐจุฬาลำพา”โดยทำเป็นเครื่องดื่มโทนิคแจกให้ประชาชนได้รับประทานเพื่อรักษาตัวเองในยามเจ็บป่วย

โกฐจุฬาลัมพา (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia annua) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุลโกฐจุฬาลำพา วงศ์ทานตะวัน ภาษาจีนกลางเรียกว่า หวงฮวาเฮา (黃花蒿) และตำรายาแผนโบราณจีนเรียกส่วนตากแห้งว่า ชิงเฮา (จีน: 青蒿[3][4]; แต้จิ๋ว: cên1 hao1, แชเฮา)

โกฐจุฬาลำพา เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนประปราย เมื่อแก่หลุดร่วงไป ใบมีต่อมน้ำมัน ดอกช่อ สีเหลืองหรือเหลืองเข้ม พบในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ทางเหนือของแอฟริกาและทวีปเอเชีย ตำรายาไทยใช้แก้หืด แก้ไอ ขับเหงื่อ[5] ตำรายาจีนใช้แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรค มีสารอาร์ติมิซินิน (จีน: 青蒿素, ชิงเฮาซู่) ที่สามารถต้านเชื้อไข้จับสั่นได้ดี

สำหรับ “โกฏ”ในตำรับยาไทยนั้นพบว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ เครื่องยาไทยพิกัดนี้เขียนด้วยคำว่า “โกด” หมด [6]

อย่างไรก็ตามคำที่ออกเสียง “โกด” ที่ใช้เรียกเครื่องยานั้นควรเขียนเป็น “โกษฐ์” เพราะเป็นภาษาเปอร์เซีย (อิหร่าน) ที่เทียบเสียงเป็น “kushta” แปลว่า “ปราบ กำจัด หรือทำให้หายไป”[6] แสดงให้เห็นว่าพืชกลุ่มโกดนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลงมาจากกลุ่มเอเชียตะวันออกกลาง อีกทั้งทำให้เห็นว่าการแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์บูรณาการพืชข้ามถิ่นที่อาศัยรสยาและสรรพคุณของยาเป็นหลัก และแปลว่าสามารถพัฒนาตำรับได้ตลอดเวลาตามองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากสมุนไพรจากต่างประเทศ

โดยส่วนใหญ่โกษฐ์จะเป็นของเทศที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยแต่โบราณ เป็นเครื่องยาที่ใช้ในปริมาณเล็กน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดโรคในระยะเวลาสั้นๆ โดยแบ่งพิกัดโกษฐ์ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ พิกัดโกษฐ์ทั้งหลาย พิกัดโกษฐ์ทั้งเจ็ด พิกัดโกษฐ์ทั้งเก้า และพิกัดโกษฐ์พิเศษ ดังนี้

พิกัดโกษฐ์ทั้งห้า ประกอบด้วย โกษฐ์เชียง โกษฐ์สอ โกษฐ์หัวบัว โกษฐ์เขมา และโกษฐ์จุฬาพา

พิกัดโกษฐ์ทั้งเจ็ด มี โกษฐ์ก้านพร้าว และโกษฐ์กระดูกเพิ่มเข้ามา

พิกัดโกษฐ์ทั้งเพก้า มีโกษฐ์พุงปลา และโกษฐชฎามังษีเพิ่มเข้ามา

และพิกัดโกษฐ์พิเศษ มีโกษฐ์กะกลิ้ง โกษฐ์กักตรา และโกษฐ์น้ำเต้า

โดยตำรายาโบราณได้ให้สรรพคุณโดยรวมของพิกัดโกษฐ์ไว้ว่ามีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น กระจายลม แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้ลมในกองธาตุ [6]

แต่เฉพาะโกษฐ์จุฬาลำพานั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน โดยใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น และแก้ริดสีดวงทวารมาแต่โบราณ เครื่องยาชนิดนี้เดิมเข้าใจว่าได้จากพืชในวงศ์และสกุลเดียวกันที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Artemisia vulgarisms L. ที่จีนเรียกว่า “เหี่ย” (แต้จิ๋ว) หรือ “อ้าย” (ภาษาจีนกลาง) โดยชนิดหลังนี้จีนใช้เป็นวัสดุในการบำบัดโรคด้วยการรมยา (Moxibustion) [7]

โดยคนโบราณในประเทศไทยใช้ “โกษฐ์จุฬาลำพา” แก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน ซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอ เป็นยาขับเหงื่อ[7]

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโกษฐ์จุฬาลำพาที่เคยใช้ในแอฟริกาและเอเชีย มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องภูมิปัญญาคือช่วยบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับไข้ และทางเดินหายใจ ย่อมแสดงให้เห็นถึงการยอมรับสรรพคุณสมุนไพรชนิดนี้ว่ามีโอกาสที่จะนำมาใช้ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนายอันดรี่ ราฌูลินา ประธานาธิบดีแห่งมาดากัสกา จึงเลือกหนทางในการรณรงค์ให้ประชาชนใช้โกษฐ์จุฬาลำพาทำเป็นเรื่องดื่มโทนิกเรียกชื่อว่า “โควิด ออกานิกส์” แล้วทำการแจกจ่ายให้ประชาชนดื่มฟรี เพื่อการพึ่งพาตัวเอง โดยระบุว่ายาชนิดนี้เคยนำมาใช้โรคไข้มาลาเรีย และสามารถบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ได้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมา โดยระบุว่าเบื้องต้นมีผู้ป่วยอาการดีขึ้นและไม่ทำให้เสียชีวิต [8]

หลังจากนั้น นายอันดรี่ ราฌูลินา ประธานาธิบดีแห่งมาดากัสกา ได้ถูกโจมตีกลับจากนักวิจัยทั้งหลายจากต่างประเทศรวมถึงองค์การอนามัยโลกถึงประสิทธิภาพของโกษฐ์จุฬาลำพาว่า “ยัง” ไม่มีงานวิจัยรองรับ และเป็นการรีบร้อนเกินไป [9]

แต่นายอันดีร ราฌูลินา ก็โต้กลับทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือองค์การอนามัยโลกก็ตาม โดยถามกลับความตอนหนึ่งในการสัมภาษณ์วิทยุว่า

“ถ้าประเทศในยุโรปเป็นผู้ค้นพบการรักษานี้ จะยังมีคำถามสงสัยมากขนาดนี้หรือไม่?”[10]

คำถามของนายอันดรี่ ราฌูลินา นั้นเนื่องด้วยเพราะโควิด-19 นั้นเป็นโรคอุบัติใหม่ ในขณะที่ทั่วโลกยังไม่มียาชนิดใดในโลกที่ได้วิจัยสำเร็จ เหตุใดจึงมีการโจมตีแต่สมุนไพรที่ประชาชนหรือประเทศยากจนที่จะพึ่งพาตัวเองได้? และในขณะที่ทั่วโลกยังไม่มีใครวิจัยได้สำเร็จเหตุใดจึงจ่ายยาพาราเซตตามอล หรือยาอื่นๆที่ไม่ได้งานวิจัยให้กับผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสงสัยว่าใช้กับโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

ต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2563 ปรากฏว่าโรคโควิด-19 ได้ระบาดในมาดากัสการ์อย่างหนัก ทำให้กลายเป็นโอกาสในการโจมตีจากสื่อต่างชาติถึงความล้มเหลวของการใช้โกษฐ์จุฬาลำพาของประเทศมาดากัสการ์

โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ปรากฏว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 10,104 คน มีผู้เสียชีวิต 93 คน [10] และสำนักข่าวบีบีซี นิวส์ ก็ร่วมถล่มข่าวอย่างหนักพาดหัวว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของโกษฐ์จุฬาลำพา[11]

แต่ถึงกระนั้นนายอันดรี่ ราฌูลินา ประธานาธิบดีแห่งมาดากัสกา ยังคงเดินหน้าเรื่องโกษฐ์จุฬาลำพาต่อไป โดยเดือนตุลาคมได้พัฒนาและตั้งโรงงานทำให้โกษฐ์จุฬาลำพากลายเป็นสมุนไพรที่ทำเป็นผงบรรจุแคปซูลแจกจ่ายให้กับประชาชน รวมทั้งยังมีแผนที่จะส่งยาชนิดนี้ไปจำหน่ายในต่างประเทศด้วย[12]

หลังจากนั้นแทบไม่มีใครในโลกได้ข่าวความคืบหน้าว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้นในประเทศมาดากัสการ์ เพราะโลกโชเชียลมีเดียที่คนเราจะค้นคว้าได้ ทั้งเฟสบุ๊ค และยูทูป ได้ทำการบล็อกเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับความคืบหน้าของการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งรวมถึงโกษฐ์จุฬาลำพา และฟ้าทะลายโจรด้วย

การต่อสู้ในมาดากัสการ์ ยังคงดำเนินต่อไปโดยที่ไม่มีใครได้ข่าวความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไร จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 ได้ปรากฏผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งอย่างเงียบถึง “สารสกัด” โกษฐ์จุฬาลำพา ในวารสารด้านไวรัสวิทยาชื่อ Virology Journal โดยคณะวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน

โดยในงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ได้ทำการวิจัย “สารสกัด”ของโกษฐ์จุฬาลำพา โดยบทคัดย่อดังกล่าวได้อ้างถึงการนำโกษฐ์จุฬาลำพามาใช้ในรูปชาและเครื่องดื่มที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริการในการป้องกันและรักษาโรคโควิด-19

ผลการวิจัยในหลอดทดลองสรุปว่า “สารสกัด”ของโกษฐ์จุฬาลำพาสามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ทีมนักวิจัยก็ยังให้ความเห็นต่อไปว่า ยังเหลือประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนว่าหากจะสามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่เพียใดในการบริโภคแบบเป็นชาหรือเป็นเครื่องดื่ม[13]

สถานการณ์ของโกษฐ์จุฬาลำพาของแอฟริกา ก็คงคล้ายๆกับฟ้าทะลายโจรของประเทศไทย คือ ไม่มีเจ้าภาพคนใดอยากจะวิจัยสนับสนุนให้บริโภคแบบตามธรรมชาติที่ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องสกัด เพราะการจะวิจัยในรูปของสารสกัดอาจนำไปสู่การจดสิทธิบัตรหรือการพึ่งพาโรงงานผลิตยาเท่านั้น จึงสามารถไปทำธุรกิจถอนทุนให้กับงานวิจัยได้ แต่การวิจัยเพื่อการพึ่งพาตัวเองคงไม่มีนายทุนบริษัทยาที่มีศักยภาพที่ใดอยากจะจ่ายงบประมาณเพื่อวิจัยให้ ยังไม่นับว่าการวิ่งเต้นของบริษัทยาต่อนักการเมือง คงยิ่งไม่อยากให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้เช่นกัน

หลังจากนั้นเรื่องสถานการณ์โรคระบาดในประเทศมาดากัสการ์ ได้หายไปท่ามกลางความสับสนในการกลับมาระบาดหนักในยุโรป และสายพันธุ์โอไมครอน

แต่ในที่สุดเว็บไซต์ Our World data ที่สามารถค้นข้อมูลและทำกราฟเปรียบเทียบจึงพบว่า ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ยุโรปได้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วร้อยละ 58.90 ในขณะที่มาดากัสการ์ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วเพียงร้อยละ 1.90 เท่านั้น

แต่สิ่งที่เราได้พบก็คือ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 พบว่า

เมื่อเทียบจำนวนประชากร 1 ล้านคนเท่ากัน มาดกัสการ์ มี “ผู้ติดเชื้อรายใหม่” ค่าเฉลี่ย 7 วันอยู่ที่ 2.36 คน ในขณะที่ยุโรปมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 489 คน มากกว่ามาดากัสการ์ 207 เท่าตัว [14]

เมื่อเทียบจำนวนประชากร 1 ล้านคนเท่ากัน มาดกัสการ์ มี “ผู้เสียชีวิตรายใหม่” ค่าเฉลี่ย 7 วันอยู่ที่ 0.03 คน ในขณะที่ยุโรปมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 5.09 คน มากกว่ามาดากัสการ์ 170 เท่าตัว [14]

ส่วนการลดอัตราการเสียชีวิต ที่ยุโรปภายใต้การนำการฉีดวัคซีนอาจจะประสบความสำเร็จในการลดอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19จริง แต่ก็พอๆกันหรือใกล้เคียงกับมาดากัสการ์ โดยอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 สะสมในยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 1.87 ในขณะที่มาดากัสการ์ซึ่งฉีดวัคซีนน้อยมากมีอัตราการเสียชีวิต-19 สะสมอยู่ที่ร้อยละ 2.17 [14]

ความท้าทายของมาดากัสการ์ต่อมหาอำนาจดังที่ปรากฏข้างต้นนั้น กำลังเผชิญหน้าทางการเมืองครั้งสำคัญเพราะมีความพยายามในการรัฐประหารรัฐบาลชุดดังกล่าวนี้โดยมีชาวต่างชาติอยู่เบื้องหลังด้วย โชคดีที่สามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว[15] และกำลังเดินหน้าสอบสวนเบื้องหลังคววามจริงนี้ต่อไป

ด้วยความปรารถนาดี

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

อ้างอิง
[1] World Health Statistics 2011 (PDF). Paris: World Health Organization. 2011. ISBN 978-92-4-156419-9. Archived (PDF) from the original on 25 November 2011. Retrieved 21 January 2012.

[2] WFP Madagascar Country Brief (Report). World Food Programme. February 2021. Archived from the original on 30 March 2021. Retrieved 23 March 2021.

[3] 中国药典2015版第一部 (PDF) (ภาษาจีน). 中国医药科技出版社. p. 198<. ISBN 9787506773379. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-19. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017. “本品为菊科植物黄花蒿 Artemisia annua L. 的干燥地上部分。秋季花盛开时采割,除去老茎,阴干。

[4] "抗瘧疾中藥──青蒿研究新知". 卫福部国家中医药研究所. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2017-01-19. “青蒿為菊科(Compositae)植物黃花蒿(Artemisia annua L.)的乾燥地上部分,性寒,味苦、辛,歸肝、膽經,主治暑邪發熱、陰虛發熱、夜熱早涼、骨蒸勞熱、瘧疾寒熱、濕熱黃疸”

[5] ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์ (2548). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม ๕ คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. หน้า 95–97. ISBN 978-974-27-2916-5.

[6] ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, และวิเชียร์ จีรวงส์, คำอธิบาย ตำราโอสถพระนารายณ์​ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ​: อัมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา, 2548, 777 หน้า ISBN 974-272-347-8 หน้า 229-230

[7] เรื่องเดียวกัน, หน้า 240-243

[8] Abdur Rahman Alfa Shaban with AGENCIES,africanews.com, COVID-organics: Madagascar launches Africa's first cure for virus. 22 April 2020
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.africanews.com%2F2020%2F04%2F22%2Fcovid-organics-madagascar-launches-africa-s-first-cure-for-virus%2F%3Ffbclid%3DIwAR1nOf90yxavYGDS6ljsu5lpq8Oy1lXka84dm8pduwR-7EgV_VHbbU8WTjY&h=AT06JV6vOnpE3CDG9GUBRgeHUajP_5lIRQxCZ8eXhKatGOOhAMO0fJojhz-TO1IC3DmnwlLkTEPuf1IzF6X-tvz0N5ELQ1Em_jHmBZIlze8WltNz8qRm-m8Mx4u1O0Ua4SnH&__tn__=-UK-R&c[0]=AT0DbO9VS0RK8JjQaNQZFeCL02nYbHqOQjRIKyRR40-RGc5mZ2nBuC5MWcRF-5ggP-1c6evizXJ2LJw9Eb-oBIT6oi5k5oJMJFPlVjhCLKXh4JSPtn4NBDGHrGHbAp5j-w9NPsg_YUHEBiMrEHKIkaSbqmZ-_-vkplAfUULBVv_I-oY

[9] BBC News, Coronavirus: Caution urged over Madagascar's 'herbal cure', 22 April 2020,
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.bbc.com%2Fnews%2Fworld-africa-52374250%3Ffbclid%3DIwAR1Z69UYsPcmFzvmpdH5y7aNgDXGRyBRQmqxzfk1gNpP2BN9nMsL1emQOww&h=AT3MJojGZ4a8t4sip-6MAClgI3GwfHh7AmbotZ-IRNQxfVfC9nqesLEievIoPDWI4ZDZSkmQpqWVYgiH_q_rz8VqRqwSG93pzVtBkqdPzr5u59kApXjx01sj83VsnDj94SPK&__tn__=-UK-R&c[0]=AT0DbO9VS0RK8JjQaNQZFeCL02nYbHqOQjRIKyRR40-RGc5mZ2nBuC5MWcRF-5ggP-1c6evizXJ2LJw9Eb-oBIT6oi5k5oJMJFPlVjhCLKXh4JSPtn4NBDGHrGHbAp5j-w9NPsg_YUHEBiMrEHKIkaSbqmZ-_-vkplAfUULBVv_I-oY

[9] Felix Tih, aa.com.tr, Madagascar slams WHO for not endorsing its herbal cure
President Rajoelina said WHO has shut eyes, as a drug to combat COVID-19 has been discovered by a poor African country., 11 May 2020
https://www.aa.com.tr/en/africa/madagascar-slams-who-for-not-endorsing-its-herbal-cure/1836905?fbclid=IwAR2D_mS7vRJCPyHqKEgqWPApiwbIgn82zp5fh7aR3uCWN21_E5KsatTec7U

[10] Africanews, Madagascar COVID-19: caseload hits 10,000 mark, Last updated: 29/07/2020
https://www.africanews.com/2020/07/29/madagascar-prez-dismisses-all-critics-would-they-doubt-european-cure/?fbclid=IwAR0veLCH-A8JPBlsbHm_XHMd_-i64NJrn8BOG9vOopEjFS4s7_mFKBn7qPo

[11] Raïssa Ioussouf, BBC Madagascar president's herbal tonic fails to halt Covid-19 spike, 14 August 2020
https://www.bbc.com/news/world-africa-53756752

[12] Kizzi Asala with AFP,Africanews.com, Malagasy Organic Covid-19 Capsule Cure, 05 October, 2020
https://www.africanews.com/2020/10/05/malagasy-organic-covid-19-capsule-cure/?fbclid=IwAR0KncC7zPl8cr_72mbkT45iEemHNJN-yWKMaU0fQ--Kx_p-8mSXKKxcN5U

[13] Chuanxiong Nie, et al., In vitro efficacy of Artemisia extracts against SARS-CoV-2, Virology Journal, Published: 08 September 2021
https://virologyj.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12985-021-01651-8?fbclid=IwAR0ttpuOv1tQbmx3SDyTdPH_v8b7FHCEtlIZaxo1RMxZ_JbkHEOzk0rumRE

[14] Website Our World in Data,
https://ourworldindata.org/covid-cases

[15] Rédaction Africanews, Madagascar: Trial of alleged masterminds of attempted coup begins, Last updated: 07/12 - 18:16
https://www.africanews.com/2021/12/07/madagascar-trial-of-alleged-masterminds-of-attempted-coup-begins/?fbclid=IwAR3HJLfl7bnULV5NH8bLlZIO7QNIxgj0VCeSkAI3Gft9gWsTd-2opYsGsAI

10 ธ.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์